Advertisement
|
|
|
|
|
|
การตั้งถิ่นฐาน
เมืองจันบุรีเป็นชุมชนโบราณเก่าแก่มีอายุมากกว่า 1,000 ปี ยังมีร่องรอยอารยธรรมโบราณของชุมชนก่อนประวัติศาสตร์
ที่มีอายุไม่น้อยกว่า 6,000 - 4,000 ปี หลักฐานที่ปรากฏทั้งด้านมานุษยวิทยาศิลปะและประวัติศาสตร์ แสดงให้เห็นถึงการ
ตั้งถิ่นฐาน การเติบโตอย่างกว้างขวางในท้องถิ่น การขยายตัวติดต่อค้าขายกับต่างถิ่น การรับและถ่ายทอดการผสมผสาน
ทางวัฒนธรรม ซึ่งมีการพัฒนาการยาวนานต่อมาจนกระทั่งเป็นเมืองจันทบุรีในปัจจุบัน
|
|
|
|
สมัยก่อนประวัติศาสตร์จันทบุรี
สมัยก่อนประวัติศาสตร์จันทบุรีเป็นการศึกษาเรื่องราวของจันทบุรีในอดีตจากหลักฐานต่าง ๆ ที่พบ โดยการสำรวจและ
ขุดค้นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์บริเวณพื้นที่จังหวัดจันทบุรี การศึกษาในทางโบราณคดีแยกศึกษาได้
อย่างกว้าง ๆ เป็น 2 ยุคสมัย คือ
|
|
|
|
โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ( Prehistoric Archaeology ) คือ
ช่วงเวลาก่อนที่จะมีประวัติศาสตร์เป็นลายลักษณ์อักษร จึงครอบคลุมเพียงแต่ช่วงเวลาที่เกิดบรรพบุรุษรุ่นแรกของคน
วัฒนธรรมของคนในโลกมาถึงช่วงที่คนเริ่มจดบันทึกเท่านั้น จุดเริ่มต้นของสมัยก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งยึดหลักฐานทาง
วัฒนธรรมกำหนดนั้น ในแต่ละภูมิภาคต่าง ๆ ในโลกจะเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน เนื่องจากการอพยพ การตั้งถิ่นฐาน
ตลอดจนวิวัฒนาการของมนุษย์
|
|
|
|
โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ ( Historic Archaeology )
เป็นช่วงเวลาที่มีประวัติศาตร์เป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว หลักฐานต่าง ๆ เหล่านั้นเรียกหลักฐานทางประวัติศาสตร์
( HistoricalEvidences ) ได้แก่ จารึก ตำนาน พงศาวดาร ปูมโหร ปูมแพทย์ บันทึกการเดินทาง จดหมายเหตุเนื่องจาก
มนุษย์ในดินแดนต่าง ๆ ของโลกเริ่มทำการบันทึกเวลาต่าง ๆ ไม่พร้อมกัน การสิ้นสุดของสมัยก่อนประวัติศาสตร์ หรือ
เริ่มต้นของสมัยประวัติศาสตร์ในดินแดนต่าง ๆ ของโลกจึงปรากฏขึ้นในเวลาที่แตกต่างกัน
ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ของบางภูมิภาคจะเป็นช่วงที่พบหลักฐานทางภาษา
หรือตัวหนังสือ แต่ไม่สามารถอ่านหรือนำมาเป็นข้อมูลประวัติศาสตร์ได้ จึงเรียกช่วงเวลานี้ว่า สมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์
( Proto History )
|
การศึกษาประวัติของจังหวัดจันทบุรีที่ผ่านมาจะศึกษาจากตำนานเรื่องเมืองกาไวและพระนางกาไวเรื่องราวของตำนาน
จะเชื่อมโยงถึงวัดทองทั่ว ตำบลคลองนารายณ์ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ซึ่งพบทับหลังลักษณะศิลปะถาลาบริวัตรต่อ
สมโบร์ไพรกุก พ.ศ. 1150 ( สุภัทรดิศ ดิศกุล : 2504 ) และทับหลังแบบศิลปะไพรกเมง พ.ศ. 1180 - 1250 เป็น
เบื้องต้น ต่อจากนั้นจะศึกษาจากหลักฐานในหนังสือฝรั่งเศสชื่อ แคมโบช ซึ่งชาวฝรั่งเศสชื่อ ม. อิติเมอร์ เขียนไว้เมื่อ
พ.ศ. 2444 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ศึกษาเรื่องราวของเมืองจันทบุรีจากการที่พระเจ้าอู่ทองทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาขึ้นใน
ปี พ.ศ.1893 แล้วทรงประกาศว่ากรุงศรีอยุธยามีประเทศราชอยู่ 16 หัวเมือง ในจำนวนนั้นมีชื่อเมืองจันทบุรีช่วงปลาย
สมัยกรุงศรีอยุธยาศึกษาจากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่พม่ายกทัพมาตีและล้อมกรุงศรีอยุธยาสมเด็จพระเจ้าตากสิน
มหาราชเมื่อครั้งยังเป็นพระยาวชิราปราการ ได้นำกำลังตีฝ่าวงล้อมของพม่ามายึด เมืองจันทบุรีไว้เป็นแหล่งสะสมอาหาร
รวบรวมพลเพื่อกอบกู้กรุงศรีอยุธยาต่อไปในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ศึกษาจากเรื่องราวในสมัยรัชกาลของพระบาทสมเด็จ
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ไทยเกิดกรณีพิพาทกับญวน ถึงต้องทำสงครามกันด้วย เรื่องเจ้าอนุวงศ์ พระบาทสมเด็จ
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเกรงว่าญวนจะยึดเมืองจันทบุรี ซึ่งเป็นเมืองชายฝั่งทะเลทางทิศตะวันออกเป็นที่มั่นเพื่อทำการ
ต่อสู้กับไทย จึงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างป้อมค่ายและเมืองขึ้นใหม่ที่บ้านเนินวง ซึ่งปัจจุบันคือโบราณสถานค่ายเนินวงรวม
ทั้งโปรดเกล้าฯ ให้สร้างป้อมไพรีพินาศและป้อมพิฆาตปัจจามิตรที่หัวหาดแหลมสิงห์ อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2436 ( ร.ศ.112 ) ไทยกับ
ฝรั่งเศสเกิดกรณีพิพาทด้วยเรื่องดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง จนถึงขั้นปะทะกันด้วยอาวุธ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 1436
จะเห็นได้ว่าการศึกษาประวัติศาสตร์ของจังหวัดจันทบุรีที่ผ่านมาเป็นการศึกษาทางโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
|
|
|
|
หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์
การสำรวจและขุดค้นแหล่งโบราณคดีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 จนถึงปัจจุบันพบแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์
บริเวณพื้นที่จังหวัดจันทบุรีจำนวน หลายแห่ง ทำให้การศึกษาประวัติศาสตร์ของจังหวัดจันทบุรี มีรายละเอียดทั้งแนว
กว้างและแนวลึกมากขึ้น เรื่องราวสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เริ่มต้นตั้งแต่การพบหลักฐานทางโบราณคดีที่เป็นร่องรอย
ของคนในอดีตที่อาศัยอยู่และดำรงชีวิตในบริเวณพื้นที่ของจันทบุรี หลักฐานที่พบเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ของคนสมัย
ก่อนประวัติศาสตร์ มีอายุประมาณ 10,000 - 6,000 ปีมาแล้ว ต่อเนื่องถึงหินใหม่ตอนปลาย มีอายุประมาณ 4,000 -
2,000 ปีมาแล้ว รวมถึงยุคโลหะที่คนรู้จักการทำสำริดและเหล็ก คือ เมื่อประมาณ 1,500 ปีมาแล้ว เข้าสู่สมัย
พุทธศวรรษที่ 12 ได้พบจารึกเพนียด ( หลักที่ 52 )ถือว่าสมัยก่อนประวัติศาสตร์จันทบุรีได้สิ้นสุดลงและเริ่มเข้า
สู่สมัยประวัติศาสตร์
|
|
|
|
การตั้งถิ่นฐานเมืองจันทบุรีในยุคประวัติศาสตร์
ประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 - 18 ได้พบหลักฐานชุมชนสมัยประวัติศาสตร์ในจันทบุรี เป็นเมืองโบราณเก่าแก่ซึ่งน่าจะมี
อายุถึงปลายสมัย ฟูนัน ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 เป็นชุมชนที่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมศิลปะศาสนาจากขอมโบราณ
ซึ่งปรากฏหลักฐานในหนังสือฝรั่งเศส ชื่อ "แคมโบช" (Le Cambodge) เขียนโดยมองสิเออร์ เอเตียนน์ เอโมนิออร์
(Etienne Aymonier) ปี พ.ศ. 2444 ว่ามีบาทหลวงองค์หนึ่งพบศิลาจารึก ภาษาสันสกฤตที่ตำบลเขาสระบาป ในศิลาจารึก
มีข้อความว่า เมื่อพันปีล่วงมาแล้วมีเมือง ๆ หนึ่งชื่อว่า " ควนคราบุรี " เป็นเมืองที่มีอาณาเขตกว้างขวางตั้งอยู่บริเวณ
บ้านเพนียด บ้านสระบาป ตำบลคลองนารายณ์ อำเภอเมือง ผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้างประมาณ 1 กิโลเมตร
ยาวประมาณ 2 กิโลเมตร ร่องรอยทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีของชุมชนโบราณในจังหวัดจันทบุรีในสมัยยุค
ประวัติศาสตร์นั้นปรากฏชัดเจนราวพุทธศตวรรษที่ 11 แต่อาจจะมีชุมชนตั้งหลักแหล่งอยู่ก่อนแล้ว และขยายตัวขึ้นเป็น
ชุมชนขนาดใหญ่ระดับเมือง หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ามีการตั้งถิ่นฐานนั้นอยู่ณบริเวณวัดทองทั่วและพื้นที่บริเวณใกล
้เคียง ตำบลคลองนารายณ์อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ภูมิประเทศเป็นที่ราบหน้าเขาสระบาปที่มีลำน้ำคลองนารายณ์
ไหลลงมาจากเขาสระบาปทางตอนเหนือ ผ่านไปออกสู่แม่น้ำจันทบุรีทางตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณที่พบแหล่งโบราณสถาน
มี 4 แห่ง คือ
|
|
|
|
1. เนินโบราณสถานวัดเพนียด (ร้าง)
2. โบราณสถานเพนียด
3. เนินโบราณสถานใกล้วัดทองทั่ว
4. เนินโบราณสถานวัดสมภาร (ร้าง)
# จากภาพถ่ายทางอากาศพบว่าตัวเมืองมีผังเมืองเกือบเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส แนวถนนสุขุมวิทพาดผ่านในแนวเฉียง
เนินโบราณสถานที่เก่าที่สุดตามหลักฐานที่พบคือ จารึก ทับหลัง เสาประดับ กรอบประตู เคยเป็นที่ตั้งของวัดเพนียด
ที่ปัจจุบันเหลือเพียงเนินขนาดใหญ่ฐานล่างก่อด้วยอิฐ ลึกจากพื้นดินปัจจุบันลงไปประมาณ 4 เมตร เนินดินเป็นรูป
สี่เหลี่ยมผืนผ้า นอกจากนี้ยังปรากฏร่องรอยของแนวศิลาแลงยาวประมาณ 15 เมตร หลักฐานทางโบราณคดีที่พบทำให้
สันนิษฐานได้ว่า บริเวณนี้คงมีชุมชนอยู่อย่างหนาแน่นพอสมควรในราวพุทธศตวรรษที่ 11 และเมื่อมีการขยายชุมชน
ออกไปพร้อมกับสภาพทางการเมืองที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของขอมโบราณตั้งแต่สมัยแคว้นเจนละเป็นต้นมาปรากฏว่า
สอดคล้องกับหลักฐานทางสถาปัตยกรรม ซึ่งได้แก่ ทับหลังแบบถาลาบริวัตรและทับหลังแบบสมโบร์ไพรกุก ราวพุทธ-
ศตวรรษที่ 12 ทับหลังแบบไพรกเมง ราวพุทธศวรรษที่ 13 เสาประดับกรอบประตูในศิลปะขอมสมัยก่อนเมืองพระนคร
จารึก ๒ หลัก กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 14 ภาชนะดินเผาเป็นกระปุกทรงลูกจัน รูปแบบอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่
15 - 16 ไหเท้าช้าง ซึ่งเป็นที่นิยมมากในพุทธศตวรรษที่ 17 - 18 เป็นต้นมา
# เนินโบราณสถานบริเวณวัดสมภาร (ร้าง) ได้แสดงให้เห็นถึงการขยายชุมชนออกไป บริเวณนี้สันนิษฐานว่าน่าจะ
เป็นศาสนสถานเช่นกัน เนื่องจากได้พบประติมากรรมขนาดเล็กในอิทธิพลของศิลปะขอมแบบนครวัด ราว พ.ศ. 1650 -
1725 ประติมากรรมที่พบมีทั้งสลักจากศิลาและทำด้วยสำริดนอกจากนี้ยังได้พบหลักฐานทางด้านสถาปัตยกรรมที่หลงเหลือ
อยู่น้อย ได้ถูกเคลื่อนย้ายมาไว้ที่บริเวณวัดสระบาปที่อยู่ใกล้เคียงกัน
# เนินโบราณสถานบริเวณใกล้กับวัดทองทั่ว ในพื้นที่นี้ใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง ในบริเวณนี้ยังได้
พบเศียรประติมากรรมรูปเคารพขนาดเล็กสลักจากศิลาทรายสีแดง กำหนดได้ว่าเป็น ศิลปะร่วมในศิลปะขอมแบบบายน
ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘
# หลักฐานที่หลงเหลืออยู่อย่างชัดเจนก็คือโบราณสถานเพนียด ซึ่งใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุในการก่อสร้างทั้งหมดการ
ใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุก่อสร้างนั้น เป็นรูปแบบการก่อสร้างที่สำคัญในศิลปะขอมแบบบายน ซึ่งอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 18
ดังเช่น ปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น โบราณสถานเพนียดนี้แต่เดิมมี ๒ แห่ง สร้างคู่กันในแนวเหนือใต้
ปัจจุบันเหลืออยู่เพียงแห่งเดียว
# ต่อมาได้มีการย้ายเมืองมายังบริเวณบ้านหัววัง เรียกกันว่า เมืองพุงทะลาย แต่ทำเลบริเวณนี้ไม่เหมาะสม น้ำท่วม
เป็นประจำ จึงทำให้มีการย้ายเมืองอีกครั้งมายังบริเวณบ้านลุ่ม ริมแม่น้ำจันทบุรี ซึ่งเป็นที่ตั้งของตัวเมืองในปัจจุบัน
# ดังนั้น จึงอาจสันนิษฐานได้ว่า ชุมชนบริเวณนี้คงจะมีการตั้งถิ่นฐานอย่างค่อนข้างหนาแน่นราวพุทธศตวรรษที่ 11
เป็นต้นมา ในรูปแบบสังคมเกษตรกรรม ได้รับอิทธิพลทางด้านศิลปะและสถาปัตยกรรมร่วมสมัยกับขอมคติความเชื่อทาง
ศาสนาทั้งศาสนาพราหมณ์ ศาสนาพุทธ การนับถือผีของชนพื้นเมืองที่เรียกว่า ชาวชอง มีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี
ในระดับหนึ่ง ซึ่งอาจได้รับการถ่ายทอดจากชุมชนอื่นร่วมสมัยเดียวกัน เป็นชุมชนเปิดที่มีการคมนาคมสะดวกทั้งทางบก
และทางทะเล สามารถติดต่อกับชุมชนภายนอกได้ รวมทั้งมีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญคือ เขาสระบาปและแม่น้ำ
จันทบุรี พื้นที่ลุ่มเหมาะสมกับการทำเกษตรกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่สำคัญในการตั้งถิ่นฐานและการขยายตัวของ
ชุมชนจนกระทั่งเป็นเมือง ซึ่งในตำนานพื้นเมืองเรียกกันว่า เมืองเพนียดหรือ เมืองนางกาไวมีระบบการปกครองที่มี
กษัตริย์เป็นเจ้าเมือง
|
|
|
|
|
|
# การตั้งถิ่นฐาน สิ้นสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ( พ.ศ.1724 - 1763 ) จันทบุรีคงจะเป็นอิสระจากขอม เนื่องจากตอน
กลางพุทธศตวรรษที่ 18 ขอมได้ประสบความหายนะทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองเนื่องจากการโหมสร้างปราสาทหิน
จำนวน 600 แห่งจึงเกิดชุมชนอิสระปรากฏขึ้นทั่วไป เมื่อจันทบุรีเป็นอิสระแล้วไม่มีหลักฐานยืนยันว่าจันทบุรีขึ้นกับสุโขทัย
หรือไม่ แต่ในสมัยอยุธยาเมื่อสมเด็จพระเจ้าอู่ทองทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยา ปี พ.ศ. 1893 ปรากฏชื่อเมืองจันทบุรีเป็น
ส่วนหนึ่งของอยุธยาเรียกว่า จันตะบูร หรือ จันทบูร
# จันทบุรีสมัยอยุธยาตอนต้นมีฐานะเป็นประเทศราช น่าจะเป็นเมืองที่มีความสำคัญทั้งทางด้านการเมืองและ
เศรษฐกิจเนื่องจากที่ตั้งจันทบุรีเหมาะที่จะเป็นเมืองท่าและเมืองที่คอยควบคุมเขมรในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ทรงยกกองทัพไปตีเมืองเขมร ดังปรากฏในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ กล่าวว่าพระองค์ทรงให้กองทัพ
เมืองจันทบูรคุมเรือ 150 ลำ ( กรมศิลปากร, 2507 : 223 ) ปรากฏว่าเขมรถูกตีแตกยับเยิน และได้กวาดต้อนผู้คนลงมาถึง
30,000 คน ซึ่งน่าจะนำมาไว้ที่จันทบุรีบ้าง แต่ไม่ปรากฎหลักฐาน
# ที่ตั้งของตัวเมืองสันนิษฐานว่าน่าจะย้ายจากเมืองเพนียดตั้งแต่ขอมหมดอำนาจลงใน พ.ศ. ๑๗๖๓มาตั้งถิ่นฐาน
บริเวณบ้านหัววัง ตำบลพุงทะลาย (ปัจจุบันคือตำบลจันทนิมิต) ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำจันทบุรี บริเวณดังกล่าวได้พบ
หลักฐานที่เป็นชุมชนเก่าแก่ และมีร่องรอยศิลปกรรมร่วมในอยุธยาตอนต้น และได้พบใบเสมาหลายชิ้น ( ศาลหลัก
เมืองจันทบุรี, 2536 : 48 )
# ประมาณพุทธศตวรรษที่ 2 ชุมชุมบริเวณพุงทะลายได้ขยายตัวกระจายไปตามลุ่มแม่น้ำจันทบุรีจนถึงปากอ่าว
ในระยะนี้ชุมชนจันทบุรีคงจะประกอบไปด้วยหลายเชื้อชาติ เช่น ชองซึ่งเป็นชนพื้นเมืองเดิม คนไทยซึ่งเข้ามาในลักษณะ
เป็นผู้ปกครอง ลาว เขมร ซึ่งถูกกวาดต้อนเข้ามาในสมัยอยุธยาเนื่องจากสงคราม กลุ่มชนเหล่านี้จะอยู่กันเป็นกลุ่ม ๆ
ดังปรากฏชื่อในปัจจุบัน คือ บ้านขอม บ้านลาว
# การย้ายตัวเมืองจันทบุรีจากพุงทะลายมายังบ้านลุ่ม เนื่องจากมีชัยภูมิที่เหมาะกว่า ประกอบกับที่เดิมเป็นที่ราบ
ค่อนข้างลุ่ม มีน้ำท่วมขัง เมืองมีความคับแคบ ส่วนที่ใหม่เป็นที่ราบลาดสูงชัน เหมาะเป็นที่อยู่อาศัยและป้องกันเมือง
# ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ( พ.ศ. 2199 - 2231 ) เขมรเกิดจลาจลทั้งไทยและญวนต่างเข้าไปแทรกแซง
นับตั้งแต่นั้นมาเขมรกลายเป็นดินแดนกันชนระหว่างไทยกับญวนเรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จันทบุรีกลาย
เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ในการส่งข่าวเหตุการณ์ในเขมรและญวนให้ทางราชสำนักทราบ และเป็นเมือง
หน้าด่านทางตะวันออกที่คอยป้องกันการรุกรานของเขมรและญวน ดังนั้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงทรงให้
สร้างกำแพงเมือง ป้อมคูเมือง หอรบ ตามแบบตะวันตก ปัจจุบันยังคงมีหลักฐานหลงเหลืออยู่บริเวณค่ายตากสินฉะนั้น
จะเห็นว่าจันทบุรีเป็นเมืองที่มีความสำคัญทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ มาตั้งแต่สมัยอยุธยา
# ในคราวกู้อิสรภาพกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ.2310 นั้น จันทบุรีเป็นแหล่งที่ตั้ง รวมกำลังของพระยาตากจน
สามารถนำกองทัพเข้าต่อสู้กับพม่า กระทั่งกู้อิสรภาพกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ
# ประวัติเมืองจันทบุรีในสมัยอยุธยานั้นไม่มีเรื่องราวเกี่ยวกับสงครามมากเท่าใดนัก อาจกล่าวได้ว่าเมืองจันทบุรี
เป็นเมืองที่สงบสุขเรื่อยมา ทั้งนี้เพราะว่าในสมัยอยุธยาไทยเราทำสงครามติดพันกับพม่าซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับไทย
เฉพาะทางภาคพายัพ ( ตะวันตกเฉียงเหนือ ) และตะวันตกเท่านั้น
# ในสมัยกรุงศรีอยุธยาปรากฏว่า สมเด็จพระราเมศวรเสด็จขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ได้เมื่อ พ.ศ. 1927 ( ศักราชที่
กล่าวนี้เป็นศักราชที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาแต่เท่าที่สอบสวนใหม่ปรากฏว่าอยู่ในแผ่นดิน
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ) ขุนหลวงพะงั่วกวาดต้อนเชลยล้านนามาไว้ในเมืองต่าง ๆ ทางภาคใต้และชายทะเล
ตะวันออกหลายเมือง เช่น นครศรีธรรมราช สงขลาพัทลุงและจันทบุรี จึงน่าจะอนุมานได้ว่าพวกไทยคงจะออกมาตั้งถิ่นฐาน
บ้านช่องกันอยู่อย่างมากมายแล้วตั้งแต่แผ่นดินสมเด็จพระราเมศวรเป็นต้นมา ครั้นต่อมาชาวไทยที่ถูกกวาดต้อนเข้ามา
ในครั้งนี้คงจะได้สมพงษ์กับชาวพื้นเมืองเดิม เช่น พวงขอมและพวงชอง เป็นต้น จึงทำให้สำเนียงและคำพูดบางตอน
บางคำตลอดจนขนบธรรมเนียนประเพณีผิดแผกแตกต่างไปจากทางภาคกลาง และภาคพายัพบ้าง แม้จะผิดแผกแตก
ต่างกันไปประการใดก็ตาม ชาวเมืองจันทบุรีก็ยังคงใช้ภาษาไทยเป็นภาษาถิ่นพูดกันโดยทั่วไปตลอดทั้งจังหวัด ยกเว้น
แต่ชนหมู่น้อย เช่น ชาวจีนและชาวญวนซึ่งอพยพเข้ามาในครั้งหลังเท่านั้นที่ยังพูดภาษาของตนอยู่
# เมืองเดิมที่เขาสระบาป ตำบลคลองนารายณ์นี้น่าจะย้ายมาอยู่ใหม่ที่บ้านลุ่มซึ่งอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรี
ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นต้นมา เพราะในรัชกาลนี้ทรงจัดระเบียบการปกครองใหม่ คือทรง
จัดตั้งจตุสดมภ์ มีเวียง วัง คลัง นา ขึ้น และทรงตั้งตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีขึ้นอีก 2 ตำแหน่ง คือ ตำแหน่งฝ่ายทหาร
มีชื่อเรียกว่า สมุหกลาโหม และฝ่ายพลเรือนตำแหน่งหนึ่ง มีชื่อเรียกว่า สมุหนายก ส่วนนอกราชธานีออกไปก็จัดการ
ปกครองหัวเมืองต่าง ๆ ลดหลั่นกันลงไปตามความสำคัญของเมืองนั้น ๆ โดยทรงตั้งเมืองเอก เมืองโท เมืองตรี และ
เมืองจัตวา ขึ้นไปตามลำดับ จึงทำให้เข้าใจว่าเมืองจันทบุรีน่าจะย้ายมาตั้งที่บ้านลุ่มในสมัยนี้ด้วย เพราะเมืองเดิมที่เขา
สระบาปนั้น มีภูเขาขนาบอยู่ข้างหนึ่ง คงจะไม่มีทางที่จะขยายให้ใหญ่โตออกไปจากเดิมได้ การสร้างเมืองใหม่ที่บ้านลุ่มนี้
คงทำคูเมืองป้อมเหมือนที่เมืองโบราณทั้งหลาย คือ มีคูและเชิงเทินรอบเมืองทำรูปสี่เหลี่ยมกว้าง ยาว ประมาณด้านละ
60 เมตร เมืองจันทบุรีตั้งอยู่ที่ตำบลนี้มาตลอดจนสิ้นสมัยอยุธยา ในสมัยอยุธยาตอนปลายเกิดจลาจล
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงทรงยกพลขึ้นบกออกมาจากเมืองระยองมาตีเมืองจันทบุรีก็มาตีเมืองซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านลุ่มนี้
# แต่ในสมัยสมเด็จพระราเมศวร ไทยเกิดศึกเขมร ชาวจันทบุรีถูกกวาดต้อนไปบ้าง ต่อมาสมัยสมเด็จพระนเรศวร
มหาราชเมื่อ พ.ศ. 2126 พระองค์ทรงอพยพไปตีกัมพูชาและให้เกณฑ์กองทัพอาสาและกองทัพเมืองจันทบุรีคุมเรือรบ 150
ลำพลรบพลแจวหมื่นหนึ่งสรรพ ไปด้วยเครื่องศัสตราวุธปืนใหญ่น้อย กระสุนดินประสิว ให้พระยาราชบังสันเป็นแม่ทัพตี
ไปทางปากน้ำพุทไธมาศเนื่องจากราษฎรได้รับความเดือดร้อนจากประเทศกัมพูชาอยู่เนือง ๆ เป็นเหตุให้สมเด็จ
พระนเรศวรมหาราชพิโรธและตีกัมพูชาแตกและจับพระยาละแวกสำเร็จโทษ
# ในตอนปลายของกรุงศรีอยุธยาจันทบุรีปรากฏชื่ออีกครั้งหนึ่งเมื่อกรมหมื่นเทพพิพิธพระเจ้าลูกยาเธอในแผ่นดิน
พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้ถูกควบคุมตัวมาไว้ที่เมืองจันทบุรี ด้วยสาเหตุที่เกรงว่าจะชิงราชสมบัติ
# ใน พ.ศ. 2310 เมื่อคราวจะเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า เนื่องด้วยกรมหมื่นเทพพิพิธเป็นเจ้าและมิได้ทรงกระทำ
ความผิดคิดร้ายประการใด ประชาชนยังคงให้ความเคารพนับถืออยู่มาก ทรงได้กำลังชายฉกรรจ์จากจันทบุรี จัดเป็น
กองทัพน้อย ๆ รวมกับกองกำลังจากปราจีนบุรียกไปช่วยตีกองทัพพม่าที่ล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ โปรดให้ทัพหน้าตั้งพลอยู่
ณ ปากน้ำโยทะกา พม่าทราบข่าวก็จัดทหารเข้าตีกองทัพหน้าของไทยซึ่งตั้งมั่นแตกกระจายไป กรมหมื่นเทพพิพิธเมื่อทราบ
ว่ากองทัพหน้าถูกตีแตก ก็เสด็จหนีไปที่เมืองนครราชสีมา
# เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชได้ยกทัพมาถึงเมืองระยองซึ่งเป็นหัวเมืองขนาดเล็กในขณะเมืองข้าง เคียงเป็นเมือง
ขนาดใหญ่ต่างตั้งเมืองเป็นอิสระ จึงมีความจำเป็นที่พระองค์ต้องยึดเมืองที่มีขนาดใหญ่กว่าเป็นที่ตั้งมั่น เมืองจันทบุรีเป็น
เมืองใหญ่ที่สุดในหัวเมืองตะวันออก เหมาะที่จะยึดเป็นที่ตั้งมั่น ได้มีการวิเคราะห์เหตุผลไว้ดังนี้
1. จันทบุรีเป็นเขตที่พม่าไม่ตามมารบกวน
2. จันทบุรีเป็นหัวเมืองชายทะเลด้านตะวันออกเป็นศูนย์กลางการติดต่อกับส่วนอื่น ๆ ได้ง่าย เช่น ติดต่อกับปักษ์ใต้
เขมร และพุทไธมาศ
3. จันทบุรีเหมาะเป็นทางที่จะหนีต่อไปที่อื่นได้ง่าย
# ณ เมืองระยองนี้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ปรึกษานายทหารและรี้พลทั้งปวงตั้งตัวเป็นอิสระเป็นเสมือน
เจ้าผู้ครองเมืองเอกทั้งหลาย เพื่อให้เป็นที่เคารพยำเกรงซึ่งจะเป็นหนทางให้กอบกู้แผ่นดินได้โดยง่าย พวกนายทหาร
เห็นชอบ ต่อมาคนทั้งปวงจึงเรียกท่านว่า "เจ้าตาก"
|
# พระยาจันทบุรี ปฏิเสธที่จะเป็นไมตรีกับสมเด็จพระตากสินมหาราช และปรึกษากับขุมรามหมื่นซ่อง ซึ่งหนีมาจาก
ระยอง ร่วมกันออกอุบายลวงสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชให้เข้า เมืองจันทบุรี แล้วคงกำจัดได้โดยง่ายจึงนิมนต์พระสงฆ์
สี่รูปเป็นทูตไปเจรจาว่าพระยาจันทบุรีมีความยินดีช่วยเจ้าตากกู้ชาติ และออกอุบายให้หลวงปลัดนำทัพเลี้ยวไปทางใต้
โดยให้ข้ามแม่น้ำจะคอยเข้าโจมตีเมื่อพลทหารข้ามแม่น้ำ (เป็นพื้นที่ลุ่มและป่าชายเลนน้ำเค็มแม่น้ำนี้ คือ คลองน้ำใส
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยกกองทหารจากเมืองระยองดินทาง ๕ วัน ถึงบ้านพลอยแหวน) สมเด็จพระเจ้าตากสิน
มหาราชได้ทราบอุบายห้ามกองทหารวกกลับลงมาทางขวา ตรงเข้าประตูท่าช้าง พักกองทหาร ณ วัดแก้ว ริมเมืองจันทบุรี
( ประตูท่าช้าง คือ บริเวณบ้านท่าช้างและคลองท่าช้าง วัดแก้วอยู่ในบริเวณค่ายตากสินเมื่อฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรี
ได้สร้างอาคารคลังกระสุนทับบริเวณวัดเดิม)
# สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเรียกประชุมแม่ทัพ สั่งให้ทหารหุงอาหารและให้เทอาหารทิ้งเสีย ต่อยหม้อข้าว
หม้อแกงให้หมด คืนนี้ตีเอาเมืองจันทบุรีให้ได้ ไปหาข้าวเช้ากินในเมือง ถ้าตีเมืองไม่ได้ก็ให้ตายด้วยกัน ณ วัน ๑๙ ๙ ๕ ๗
ค่ำ จุลศักราช 1129 ปีกุน นพศก ( พ.ศ. 2310 ) เพลายาม พระเจ้าตากสินมหาราชทรงช้างพังคีรีกุญชรฉัททันต์ โดยมีหลวง
พิชัยอาสา ทหารเอกคุมทหารเดินเท้าเข้าโจมตีเมืองเจ้าเมืองจันทบุรีทิ้งเมืองหนีเอาตัวรอดไปเมืองพุทไธมาศ จากจันทบุรี
เมื่อพระองค์ทรงรวบรวมไพร่พลได้ประมาณ 5,000 คน ต่อเรือและรวบรวมเรือได้ 100 ลำ ทรงนำทัพสู่อ่าวไทยเข้าสู่ปากน้ำ
เจ้าพระยา ยกพลขึ้นบกที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์ โจมตีกองกำลังของนายทองอิน และเข้าตีค่ายโพธิ์สามต้นของพม่าจนแตกพ่าย
ยับเยิน พระเจ้าตากสินมหาราชทรงใช้เวลาเพียงเจ็ดเดือนกอบกู้เอกราชได้สำเร็จ
|
|
|
|
พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของเมืองจันทบุรีสมัยธนบุรี
การตั้งถิ่นฐาน เมืองจันทบุรีในสมัยกรุงธนบุรียังคงตั้งอยู่ที่บริเวณบ้านลุ่ม และมีความสงบสุขไม่มีศึกสงครามตลอดมาจน
สิ้นสมัย จันทบุรีในสมัยธนบุรีเป็นเมืองที่ค่อนข้างสงบไม่มีศึกสงครามมาติดพันเป็นเพียงเมืองท่าหลักชายฝั่งทะเลตะวัน
ออกและเป็นเมืองยุทธศาสตร์ที่มีชัยภูมิเหมาะสมแก่การตั้งรับข้าศึกทาง ด้านญวนและ เขมร
|
|
|
|
พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของเมืองจันทบุรีในสมัยรัตนโกสินทร์
# การตั้งถิ่นฐาน ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า
นภาลัย เมืองจันทบุรียังคงอยู่ที่บ้านลุ่ม ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรี ครั้นต่อมาในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระนั่ง
เกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศไทยเกิดพิพาทกับญวนเนื่องจากเจ้าอนุวงศ์ผู้ครองเมือง
เวียงจันทน์ เอาใจออกห่างจากไทยไปสวามิภักดิ์กับญวน การทำสงครามในครั้งนั้น ใช้กองทัพบกและกองทัพเรือเมือง
จันทบุรีเป็นเมืองชายทะเลทางทิศตะวันออกอยู่ใกล้กับญวน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเกรงว่าญวนจะมายึด
เอาเมืองจันทบุรีเป็นที่มั่นเพื่อทำการต่อสู้กับไทยและเมืองจันทบุรีในขณะนั้นตั้งอยู่ในที่ลุ่มไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นฐานทัพ
ต่อสู้กับญวนฉะนั้นจึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพระคลัง ( ดิศ บุนนาค ) เป็นแม่กองออกมาสร้างป้อมค่ายและเมืองขึ้น
ใหม่ที่บ้านเนินวง ตำบลบางกะจะ ตำบลที่จะสร้างเมืองใหม่ตั้งอยู่ในที่สูงอยู่ห่างจากเมืองเดิม ไปทางทิศตะวันตกประมาณ
8 กิโลเมตร เป็นชัยภูมิดี เหมาะแก่การสร้างฐานทัพต่อสู้ข้าศึก ลักษณะของเมืองที่สร้างมีกำแพงสร้างด้วยศิลา ป้อมคู
ประตู 4 ทิศ เป็นรูปสี่เหลี่ยม กว้างประมาณ 14 เส้น ยาว 15 เส้น มีปืนใหญ่ตั้งเรียงรายอยู่ตามช่องใบเสมา สร้างเมื่อ
พ.ศ. 2377 ภายในเมืองได้สร้างศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ดังปรากฏอยู่ในวัดโยธานิมิตว่า ได้ฝังอาถรรพณ์หลักเมืองที่
บ้านเนินวง ณ วันเสาร์ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะแม จุลศักราช 1197 คลังเก็บอาวุธกระสุนปืนใหญ่ และคลังดินปืน
กับทั้งสร้างวัดชื่อ " วัดโยธานิมิต " ขึ้นภายในเมืองใหม่นั้นด้วย
# เมื่อได้สร้างเมืองใหม่ขึ้นที่บ้านเนินวงแล้ว รัฐบาลไทยในสมัยนั้นได้สั่งย้ายเมืองจันทบุรีจากที่บ้านลุ่มไปอยู่ที่
เมืองใหม่และมีความปรารถนาที่จะให้ประชาชนอพยพจากเมืองเก่าที่ตั้งเป็นจังหวัดในปัจจุบันไปอยู่ที่เมืองใหม่ด้วย
แต่เนื่องด้วยตัวเมืองใหม่อยู่บนที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 30 เมตรและตั้งอยู่ห่างจากคลองน้ำใสซึ่งเป็นคลองน้ำจืด
ประมาณ 1 กิโลเมตร ไม่สะดวกแก่ประชาชนในเรื่องน้ำใช้ ประชาชนจึงไม่สมัครใจอยู่ คงอยู่ที่เมืองเก่าเป็นส่วนมาก
พวกที่อพยพไปตั้งถิ่นฐานก็มีแต่ข้าราชการ ปัจจุบันยังมีบุตรหลานของข้าราชการสมัยนั้นตั้งเคหสถานอยู่ที่บ้านทำเนียบ
(อยู่ในบริเวณบ้านเนินวง) ในเมืองใหม่มาจนทุกวันนี้ ต่อมาเมื่อญวนตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส สงครามระหว่างไทย
กับญวนจึงสงบลง เมืองใหม่ก็ไม่มีความสำคัญอะไรที่ประชาชนจะต้องอพยพไปอยู่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
จึงโปรดเกล้าฯ ให้ราษฎรเลือกอยู่ได้ตามความสมัครใจ ยกเว้นจวนเจ้าเมืองยังคงอยู่บ้านเนินวงจนกระทั่งรัชกาลที่ 5
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายตัวเมืองกลับไปตั้งอยู่ที่บ้านลุ่มตามเดิม
# ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จันทบุรีจัดเป็นหัวเมืองขึ้นต่อกรมท่าต่อมาในปี พ.ศ.
2449 ได้จัดตั้งมณฑลจันทบุรีขึ้น โดยมีเมืองจันทบุรี ระยอง และตราด อยู่ในเขตปกครอง เมื่อถึงสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. ๒๔๗๖ ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้ยกเลิกมณฑลเทศาภิบาล และจัดระเบียบบริหาร
ราชการส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัด และอำเภอเมืองจันทบุรีได้ขยายจากบริเวณบ้านลุ่ม ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำจันทบุรี เข้ามา
บริเวณพื้นที่ในส่วนที่เป็นที่ราบลอนลูกคลื่น อย่างไรก็ตามบริเวณบ้านลุ่มก็ยังเป็นแหล่งที่มีผู้คนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น
มาจนกระทั่งปัจจุบัน
# จึงกล่าวได้ว่า เมื่อเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ตัวเมืองจันทบุรี มีการตั้งถิ่นฐานดังนี้
1. บริเวณบ้านเพนียด วัดทองทั่ว ตำบลคลองนารายณ์ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ( สมัยขอมเรืองอำนาจ )
2. บริเวณบ้านพุงทะลาย ตำบลจันทนิมิต อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ( สมัยก่อนอยุธยา )
3. บริเวณบ้านลุ่ม ตำบลท่าช้าง อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ( สมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ )
4. บริเวณบ้านเนินวง ตำบลบางกะจะ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ( สมัยรัชการที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ )
5. บริเวณตัวเมืองจันทบุรีในปัจจุบัน ( สมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา )
|
|
|
|
# ตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
เมืองจันทบุรียังคงอยู่ที่บ้านลุ่ม ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรี จันทบุรีปรากฏชื่อในประวัติศาสตร์อีกครั้งในรัชกาลของ
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศไทยเกิดกรณีพิพาทกับญวนจนเป็นให้
ต้องสร้างเมืองใหม่ที่บ้านเนินวง พร้อมกับการสร้างเมืองใหม่นี้ หมื่นราชามาตย์ซึ่งต่อมาเป็นเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ได้ให้
พระยาอภัยพิพิธ ( ต่อมาเป็นเจ้าเมืองตราด) เป็นแม่กองสร้างป้อมที่ด่านปากน้ำแหลมสิงห์ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอม -
เกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานนามในภายหลังว่า ป้อมพิฆาตปัจจมิตร และบนยอดเขาแหลมสิงห์ชื่อ
ป้อมไพรีพินาศในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในขณะที่ผนวชอยู่ได้เสด็จมาถึงจันทบุรี ได้โปรดให้สร้าง
จุลสีห์จุมภตเจดีย์ ไว้เป็นที่ระลึกบริเวณน้ำตกคลองนารายณ์
# ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไทยเกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส ทำให้จันทบุรีต้องตกเป็น
เมืองประกันของฝรั่งเศส ในระหว่างที่ปะทะกับฝรั่งเศสนั้นทางจันทบุรีได้เตรียมต่อสู้ป้องกันตามกำลังพอที่จะกระทำได้
เพราะในเวลานั้นมีกองทหารเรืออยู่ในตัวเมืองและป้อมที่ปากน้ำแหลมสิงห์ แต่เมื่อทราบว่ารัฐบาลยอมให้ฝรั่งเศสยึด
เมืองจันทบุรีกองทหารเรือทั้งสองแห่งก็ได้โยกย้ายไปอยู่ที่เกาะจิก และอำเภอขลุง ต่อมาไม่กี่วันกองทหารฝรั่งเศสก็เคลื่อน
เข้าสู่จันทบุรีตรงกับปี พ.ศ.2436 ทหารที่เข้ามาโดยมากเป็นทหารญวนที่ส่งมาจากไซ่ง่อนที่เป็นทหารฝรั่งเศสมีจำนวนไม่
มากนักจำนวนทหารญวนและฝรั่งเศสโดยรวมประมาณ 600 นาย ได้แยกกันอยู่ 2 แห่ง คือ ที่ป้อมปากน้ำแหลมสิงห์
พวงหนึ่ง ฝรั่งเศสได้รื้อป้อมปัจจามิตรแล้วสร้างที่พักและกองบัญชาการทหาร เรียกว่า"ตึกแดง" ทั้งได้สร้างที่คุมขังนักโทษ
ชาวไทยไว้ด้วย เรียกกันว่า " คุกขี้ไก่ " อีกพวกหนึ่งตั้งอยู่ที่ตัวเมืองจันทบุรีในบริเวณพื้นที่ค่ายตากสินในปัจจุบันนี้
ฝรั่งเศสจะปกครองในส่วนกองทหารฝรั่งเศสและบุคคลที่อยู่ในความคุ้มครองของฝรั่งเศสเท่านั้น ส่วนไทยยังคงปกครอง
ดินแดนนอกเขตฝรั่งเศสยึดครองโดยมีพระยาวิชยาธิบดี (หวาด บุญนาค) เป็นเจ้าเมืองจันทบุรี
# รัฐบาลไทยและฝรั่งเศสได้ทำสัญญาตกลงกัน เมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๖ ว่าฝ่าย ไทยยินยอมยก
ดินแดนเมืองตราด ตลอดจนถึงเมืองประจันตคีรีเขตให้แก่ฝรั่งเศส ฝรั่งเศสจึงยอมถอนทหารออกไปจากจันทบุรีจนหมด
เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๗ รัฐบาลไทยจึงได้ย้ายกองทหารเรือที่เกาะจิกและที่อำเภอขลุงกลับมาตั้งอยู่ในเมือง
จันทบุรีตามเดิม
# พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสเมืองจันทบุรีถึง ๒ ครั้ง ดังปรากฏในจดหมายเหตุ
สมเด็จประพาสหัวเมืองตะวันออก และทรงพอพระราชหฤทัยในธรรมชาติที่น้ำตกพลิ้วเป็นอย่างมาก จึงโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างอนุสรณ์เป็นเจดีย์ทรงลังกาไว้เมื่อปี พ.ศ.2419 พระราชทานนามว่า อลงกรณ์เจดีย์ และในปี พ.ศ. 2424 โปรด
เกล้าฯ ให้สร้างอนุสาวรีย์ที่ระลึกความรักแด่พระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ซึ่งเคยเสด็จประพาสต้น
ณ ที่นี้ เมื่อ พ.ศ. 2417 สร้างเป็นพีระมิดใกล้กับอลงกรณ์เจดีย์ภายในพีระมิดนี้ได้บรรจุพรอังคารของสมเด็จพระนางเจ้า
พระองค์นี้ด้วย
# สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ได้เสด็จมาประทับที่จันทบุรี ได้พระราชทานชื่อ
บริเวณที่ประทับว่า "สวนบ้านแก้ว" ปัจจุบันเป็นสถานศึกษาคือ สถาบันราชภัฏรำไพ-พรรณี นอกจากนี้ยังได้ทรงอุปถัมภ์
โรงพยาบาลประจำจังหวัดจันทบุรีจนกลายเป็นโรงพยาบาลใหญ่โตทันสมัย คือ โรงพยาบาลพระปกเกล้า
# ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช จังหวัดจันทบุรีได้รับการพิจารณาให้จัดตั้ง
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ คือ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อำเภอ ท่าใหม่ ศูนย์แห่งนี้ได้จัดตั้งขึ้น
สำหรับการพัฒนาการประมงชายฝั่งและอนุรักษ์ป่าชายเลน รวมถึงสภาพแวดล้อมโดยรอบ
# จึงอาจกล่าวได้ว่า จังหวัดจันทบุรีมีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นมาอย่างต่อเนื่องและบางคราวก็เข้า
มาเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทยแม้ในปัจจุบันก็เป็นเมืองกันชนชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาในด้านเศรษฐกิจ
ก็เป็นแหล่งที่ทำรายได้จากผลไม้ที่เป็นพืชเศรษฐกิจ อัญมณี แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ นำรายได้เข้าสู่ประเทศอย่าง
มหาศาลชาวจันทบุรีควรภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
|
|
|
|
|
May 19, 2009 • ท่องเที่ยว
วัดทองทั่ว แหล่งเรียนรู้สำคัญของเมืองเพนียด
จันทบุรีเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติความเป็นมายาวนานนับพันปี ตั้งแต่ก่อนที่เราจะรู้จักกันในนามเมืองจันทบูร อดีตหัวเมืองชายทะเลตะวันออกสมัยอยุธยาที่พระเจ้าตากสินมหาราชรวบรวมไพร่พลกอบกู้เอกราชคืนแก่ปวงชนชาวไทย สันนิษฐานว่าจันทบุรีเคยเป็น“เมืองเพนียด”มาก่อน
เมืองเพนียด มีชื่อปรากฏในพงศาวดารแต่แรกสร้างกรุงศรีอยุธยา จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า เมื่อประมาณ พุทธศตวรรษที่ 12 คือปลายสมัยฟูนันได้ค้นพบเมืองโบราณเก่าแก่ที่ได้รับวัฒนธรรมมาจากอินเดียมากกว่า 1,000 ปี ชาวบ้านเรียกว่า เมืองเพนียด หรือเมืองกาไว โดยเชื่อกันว่าชุมชนแรกที่เริ่มเข้ามาก่อตั้งคือ ชุมชนชอง ตั้งอยู่บริเวณที่ราบชายเขาสระบาป
พระพุทธสุวรรณมงคลศากยมุนีศรีสรรญเพ็ชญ์ หรือ หลวงพ่อทอง
เมืองเพนียด มีลักษณะเป็นเนินดินรูปสี่เหลียมผืนผ้า กำแพงก่อด้วยศิลาแลงขนาดกว้าง 16 ม. ยาว 26 ม. สูง 3 ม. ภายในเมืองมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ และยังเชื่อว่า สถานที่แห่งนี้แต่เดิมเป็นเมืองคล้องช้างหรือขังช้าง ต่อมาได้ย้ายเมืองมาตั้งถิ่นฐานบริเวณบ้านหัววัง ต.พุงทะลาย เมืองเพนียดจึงถูกปล่อยให้เป็นเมืองร้าง แต่เนื่องจากเมืองพุงทะลายมีทำเลที่ไม่เหมาะมีน้ำท่วมเป็นประจำ จึงมีการย้ายเมืองไปยังบ้านลุ่ม ริมแม่น้ำจันทบุรี ซึ่งเป็นที่ตั้งของตัวเมืองในปัจจุบัน
มีตำนานเล่าสืบต่อกันมาเกี่ยวกับเมืองเพนียดว่า เมืองเพนียดมีพระเจ้าพรหมทัต เป็นกษัตริย์ผู้ปกครองนคร พระมเหสีคือ พระนางจงพิพัฒน์ มีพระราชโอรสด้วยกัน 2 พระองค์ คือ เจ้าชายบริพงษ์ และเจ้าชายวงศ์สุริยคาส ต่อมาพระนางจงพิพัฒน์ทรงสิ้นพระชนม์ลง พระนางกาไวจึงได้ทำเสน่ห์ให้พระเจ้าพรหมทัตหลงใหลและอภิเษกกัน จนพระนางได้ตั้งครรภ์จึงได้อ้อนวอนขอสิ่งที่พระนางปรารถนา พระเจ้าพรหมทัตจึงพลั้งพระโอษฐ์ให้
ผู้เฒ่าผู้แก่ร้องรำเพลงโบราณในโบราณสถานเมืองเพนียด
เมื่อพระนางได้ประสูติพระไวยทัต พระราชโอรส พระนางกาไวก็ได้ทูลขอพระราชสมบุติให้แก่พระไวยทัตตามที่เคยรับปากไว้ จึงทำให้เจ้าชายบริพงษ์ และเจ้าชายวงศ์สุริยคาส ต้องอพยพไปสร้างเมืองใหม่ทางเหนือของเมืองเพนียดในดินแดนเขมร เรียกว่า เมืองสามสิบ
ครั้นต่อมาพระเจ้าพรหมทัตสวรรคต พระไวยทัตขึ้นครองราชย์สมบัติโดยมีพระนางกาไวเป็นผู้สำเร็จราชการแทน เมื่อเจ้าชายบริพงษ์ และเจ้าชายวงศ์สุริยคาสทราบข่าวจึงยกทัพมาตีเพื่อเอาพระนครคืน พระไวยทัตสู้ไม่ไหวจึงถอยทัพร่นกลับแต่ก็ถูกตีแตก พระไวยทัตถูกฟันคอสิ้นพระชนม์บนหลังช้าง ตรงบริเวณเกาะทัพแตก ซึ่งเพียนมาเป็นเกาะตะแบกในปัจจุบัน
เมื่อพระนางกาไวทราบข่าวพระไวยทัตสิ้นพระชนม์ จึงได้ขนทรัพย์สินแก้วแหวนเงินทองออกมาโปรยหว่าน เพื่อล่อให้ข้าศึกเก็บ แต่ครั้นจะหนีก็เห็นว่าไม่มีทางรอด จึงดื่มยาพิษชื่อว่า ยามหาไวย สิ้นพระชนม์ในห้องบรรทม และสถานที่ที่พระนางกาไวหว่านทรัพย์สินเงินทองนั้น เรียกว่า ทองทั่ว และเป็นสถานที่ตั้งของ “วัดทองทั่ว” ในปัจจุบัน
โบราณวัตถุบางส่วนถูกเก็บอยู่ที่วัดทองทั่ว
สำหรับ “วัดทองทั่ว” ต.คลองนารายณ์ อ.เมือง จ.จันทบุรี เป็นวัดเก่าแก่ที่มีความเจริญรุ่งเรื่องมาช้านานพร้อมกับตำนาน และโบราณสถานโบราณวัตถุที่มีอายุกว่าพันปี ตามประวัติบอกไว้ว่าวัดแห่งนี้มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิมชื่อ วัดเพนียด บริเวณใกล้วัดยังมีหลักฐานกำแพงเมืองปรากฏอยู่ มีหลักฐานเก่าให้เชื่อว่าเป็นวัดโบราณ อาทิ ใบเสมาของอุโบสถเก่าเป็นแบบใบเสมาคู่ ภายในวัดยังมีพระพุทธรูปหล่อทองสัมฤทธิ์องค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนปลาย
โดยเชื่อว่าวัดแห่งนี้เป็นพระอารามหลวง เนื่องจากพบใบสีมาคู่เก่าแก่รอบพระอุโบสถทั้ง 8 ทิศ ตามลักษณะใบสีมาจัดอยู่ในสมัยนิยมอยุธยา มีรูปเทวดาถือดอกบัว 2 ดอก แยกออกซ้ายขวา บางแห่งกล่าวว่าเป็นศิลปะศรีวิชัย ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐาน “พระพุทธสุวรรณมงคลศากยมุนีศรีสรรญเพ็ชญ์” หรือ “หลวงพ่อทอง” เป็นพระพุทธรูปที่มีอายุเก่าแก่คู่มากับพระอุโบสถ
หน้าวัดทองทั่วมีเจดีย์โบราณรูปทรงลังกา ลักษณะนิยมสมัยอยุธยา
ตามคำบอกเล่าของคนเก่าคนแก่ เล่าว่า เมื่อพ.ศ.2471 ได้มีการบูรณะอุโบสถพร้อมพระประธาน ซึ่งพระประธานได้เอียงทรุดไปด้านหนึ่ง จึงได้เกณฑ์ชาวบ้านมาช่วยกันดีดแล้วค้ำยันองค์พระให้ตั้งตรง แต่ส่วนฐานพระประธานกลับหลุดกะเทาะ ตรงปูนปั้นด้านหน้าฐานพระที่เรียกว่า ผ้าทิพย์ ก็ได้พบโกศงาช้างกลึงสวยงาม ภายในโกศมีกระดูก 2 ชิ้น มีผ้าดิ้นลายทองยกรูปดอกไม้พื้นสีออกม่วงห่อไว้
และได้พบแผ่นทองคำรูปใบโพธิ์เขียนจาตึกเป็นตัวหนังสือไว้ว่า พระอัฐิ พระเจ้าตาก พระยาจันทบุรีเป็นผู้นำมาไว้ แต่ต่อมาแผ่นทองนั้นก็ได้หายไป อีกทั้งจนปัจจุบันก็ยังไม่สามารถสืบค้นได้ว่าพระยาจันทบุรีนี้คือใคร และนำมาไว้ที่วัดแห่งนี้เมื่อใด สันนิษฐานว่าคงจะนำมาไว้เมื่อสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อถวายพระเพลิงพระศพเรียบร้อยแล้ว
ซากโบราณสถานเมืองเพนียด
นอกจากนี้ยังมีโบราณวัตถุอีกมากมาย อาทิ ธรรมมาส สร้างในปีพ.ศ.2467 โดยขุนนราพิทักกรม มีลวดลายแกะสลักที่งดงามตามยุคสมัย ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุเรียบร้อยแล้วและยังคงมีการใช้แสดงธรรมในวันพระ 8 ค่ำ และ 15 ค่ำ
ตู้พระไตรปิฎกลายทอง อายุราว 200 กว่าปี เป็นตู้ลายรดน้ำลายทองเป็นลายกนกเปลวเพลิง ด้านข้างเป็นลายกนกเปลวเพลิงเล่าเรื่องรามเกียรติ์และสัตว์ป่าหิมพานต์ ที่บานประตูเป็นรูปเทวดาเปรียบเหมือนเป็นผู้รักษา มี 2 ชั้นใช้สำหรับเก็บพระไตรปิฎก
กระดูกที่สันนิษฐานว่าเป็นพระอัฐิพระเจ้าตาก
หีบคัมภีร์ขนาดใหญ่ อายุราว 300 กว่าปี มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู แกะสลักลานกนกใบเถาวัลย์เป็นรูปสัตว์ต่างๆ และลายเทพพนม และหีบพระธรรม อายุราว 200 ปี เป็นหีบสำหรับใส่หนังสือพระมาลัย ใช้สวดพระมาลัย เป็นทำนองที่ไพเราะ เป็นลายกนกเปลวเพลิงมีเทวดา 3 องค์ และรูปเล่าเรื่องรามเกียรติ์เป็นลายรดน้ำปิดทอง
ด้านนอกพระอุโบสถยังมีเจดีย์ 2 องค์ เป็นรูปทรงลังกา ลักษณะนิยมสมัยอยุธยา จึงสันนิษฐานว่าเจดีย์ทั้ง 2 องค์น่าจะสร้างขึ้นในสมัยนั้นคู่มากับวัด แต่ก็มีชาวบ้านเล่ากันว่า เจดีย์องค์ที่อยู่หลังอุโบสถ ปัจจุบันคือองค์หน้าศาลาการเปรียญได้สร้างก่อนทั้ง 2 องค์ มีลายศิลปะผสมผสานกันอายุราว 200 ปี นับเป็นโบราณสถานของวัดชิ้นหนึ่งที่บ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองมานับร้อยปี
อีกทั้งยังมีการค้นพบหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรบริเวณเมืองเพนียด เป็นจารึกศิลาแลง ขนาดกว้าง 49 ซม. สูง 47 ซม. หนา 16.5 ซม. จารึกด้วยอักษรขอมโบราณ ภาษาสันสกฤตและเขมร ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่หอพระสมุดวชิรญาณ กรุงเทพฯ ชื่อว่า “จารึกวัดทองทั่ว-ไชยชุมพล”
จารึกที่พบอีกหลักก็คือ “จารึกเพนียด” เป็นจารึกอักษรขอมโบราณ สันสกฤต และเขมร มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 15 ปัจจุบันก็เก็บรักษาไว้ที่หอพระสมุดวชิรญาณ กรุงเทพฯ เช่นกัน และยังพบ “จารึกเพนียดหลักที่ 52″ จารึกด้วยอักษรขอมโบราณ อายุราวเดียวกับจารึกเพนียดเช่นกัน
โบราณวัตถุที่ขุดค้นพบบริเวณเมืองเพนียดจัดเก็บไว้ที่วัดทองทั่ว
นอกจากนี้ยังมีการขุดพบโบราณวัตถุ ชิ้นส่วนเทวรูป และเศษถ้วยชามต่างๆ ภายในเมืองเพนียด ซึ่งปัจจุบันจัดเก็บไว้ที่วัดทองทั่ว จากหลักฐานที่พบในเมืองเพนียดพอจะระบุได้ว่าเมืองเพนียดตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 12 ถึงราวพุทธศตวรรษที่ 18 คงจะร่วมอยู่ในวัฒนธรรมเขมร จนกระทั่งอาณาจักรเขมรถูกอยุธยาเข้ายึดครอง
และวัดทองทั่วแห่งนี้ กรมการศาสนาได้ออกหนังสือรับรองสภาพวัดว่าได้ตั้งวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2310 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.2318 ในสมัยกรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร ศิลปะโครงสร้างเดิมเป็นที่นิยมในสมัยอยุธยา แต่ปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงต่อเติมบางส่วนจนเป็นดังปัจจุบัน
ตำนานเรื่องเมืองจันทบุรีโบราณ นานมาแล้วยังมีกษัตรย์ผู้ครองนครโบราณพระองค์หนึ่งเข้าใจว่านครนั้น คือ เมือง
จันทบุรี ที่เชิงเขาสระบาป ทรงพระนามว่าพระเจ้าพรหมทัต พระองค์ทรงสืบราชบัลลังค์มาจากใคร เมื่อใดไม่ทราบทราบแต่ว่า
พระองค์มีเอกอัครมเหสี และมีราชโอรสด้วยกันสองพระองค์ องค์โตทรงพระนามว่าเจ้าบริพงษ์ องค์น้องทรงพระนามว่าเจ้าวงษ์
สุริยมาศ ต่อมามเหสีสิ้นพระชนม์ พระเจ้าพรหมทัตได้ทรงอภิเษกมเหสีองค์ใหม่ขึ้นอีก ทรงพระนามว่าพระนางกาไว ซึ่งมีพระ
ศิริโฉมงามมาก เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าพรหมทัตยิ่งนัก และมีพระโอรสด้วยกัน ๑ พระองค์ ทรงพระนามว่าพระไวยทัต
|
พระนางกาไวเป็นผู้มีจิตใจอิจฉาริษยาในราชโอรสที่ประสูตจากพระมเหสีองค์เดิมและ
มักใหญ่ใฝ่สูงหวังจะให้พระไวยทัตราช โอรสครองนคร ตนจะได้มีอำนาจต่อไป หากว่า
พระเจ้าพรหมทัตเสด็จสวรรคตแล้ว จึงทรงวางแผนกำจัดเจ้าบริพงษ์ และเจ้าวงษ์สุริย
มาศ ซึ่งตามกฏมณเฑียรบาลย่อมมีสิทธิในราชสมบัติมากกว่า เพื่อมิให้เป็นที่กีดขว้าง
แผนงานของตน ความคิดนี้คงจะทรงคิดมาตั้งแต่แรกที่ได้ทรงเสกสมรส ครั้นเมื่อตนมี
พระ
วันที่ 13 ส.ค. 2552
ขายดีมากครับคุณครู (พร้อมส่ง) เครื่องเคลือบบัตรA4 รุ่นSL200 เครื่องเคลือบกระดาษA4 A3 A5 ABSป้องกันการ์ด ในราคา ฿368 - ฿999 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/4VLvxbi7ho?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง เปิดอ่าน 7,181 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,167 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง เปิดอ่าน 7,167 ครั้ง เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,165 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,244 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,163 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,159 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,160 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,172 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,170 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 40,594 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,768 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,386 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,647 ครั้ง |
เปิดอ่าน 25,276 ครั้ง |
|
|
|
|
|
ครูบ้านนอกดอทคอม
เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย
|
|
|
|
kroobannok.com |
© 2000-2020 Kroobannok.com
All rights reserved.
Design by : kroobannok.com
ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory
|
วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
|
ครูบ้านนอกดอทคอม
เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง
ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร
แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร
ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู
ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย
เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา
และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ |
เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548
Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
| | | |