Advertisement
สอนอย่างไร … ให้โดนใจวัยโจ๋
โดย ชัยวิชิต เจษฎาภัทรกุล
ปัญหาด้านการศึกษาที่ถูกกล่าวขวัญถึงในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มค่า GPA ในการใช้คัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา การลดปัญหาการเรียนกวดวิชา หรือการปฏิรูปการเรียนรู้ ถ้าจะมองให้เป็นรูปธรรมแล้ว ปัญหาเหล่านี้บางส่วนมีรากเหง้ามาจากการจัดการเรียนการสอนของครูอาจารย์ในการศึกษาในระบบ (Formal Education) เพราะถ้าครูในโรงเรียนสอนดีแล้วจะช่วยลดปัญหา เรื่องมาตรฐานทางวิชาการที่ไม่เท่ากันของแต่ละโรงเรียน ยิ่งถ้าครูอาจารย์สอนดี (กว่าครูอาจารย์กวดวิชา) การกวดวิชาจะต้องสูญพันธุ์ไปโดยปริยาย ทักษะในการนำเสนอ (Skills of Presentation) เนื้อหา บางครั้งมีความสำคัญมากกว่าความแม่นยำในเนื้อหาเสียอีก เพราะเนื้อหาวิชาการมักมีความเครียด แฝงอยู่แล้วโดยธรรมชาติ จากการวิจัยชั้นเรียนเชิงคุณภาพหลายชิ้น พบว่า สภาพห้องเรียนระดับมัธยมศึกษาของไทยเต็มไปด้วยความเครียด ความน่าเบื่อ เด็กไม่รู้สึกสนุกกับการเรียน แนวคิด Child-Centered ถูกตีความอย่างน่าสับสน ด้วยการให้นักเรียนแบ่งกลุ่มทำรายงาน หาข้อมูลจากแหล่งสารสนเทศต่างๆ แล้วนำมาเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน ในทางปฏิบัติกลุ่มทำรายงาน 5-10 คน มีนักเรียนที่ทำจริง 2-3 คนเท่านั้น เวลาขึ้นมานำเสนอรายงาน ก็ไม่ค่อยมีใครฟังมีครูฟังอยู่คนเดียว เพื่อนคนอื่นก็มักจะคุยกันเอง นักเรียนหลายคนบอกว่า ขนาดครูสอนเองยังไม่ค่อยสนใจฟังเลย นี่เพื่อนมาสอนก็ยิ่งไม่อยากฟังเข้าไปใหญ่ เพราะการนำเสนอ ส่วนมากน่าเบื่อ เหมือนออกมาอ่านให้ฟัง สุดท้ายรายงานก็ถูกเก็บเข้าแฟ้มสะสมงาน (Portfolio) การแก้ปัญหาความน่าเบื่อของการนำเสนออาจต้องใช้วิธีการการสร้างอารมณ์ขำจากมุกตลก (ที่ไม่แป้ก) และการพูดจาคาบลูกคาบ[คำไม่พึงประสงค์]กบ้างพอให้สนุก
Child-Centered แบบไหนจึงจะใช้ได้ผลในยุคข้อมูลข่าวสาร
เป็นที่เห็นได้ชัดว่าปัญหาการเรียนการสอนส่วนหนึ่งมาจากตัวครูอาจารย์เองที่ยังสอนไม่โดนใจเด็ก ไม่สามารถครองใจนักเรียนวัยรุ่นได้ ครูอาจารย์ต้องไม่สร้างช่องว่างระหว่างวัย (Generation Gap) กับนักเรียน คำว่า '' นักเรียนเป็นสำคัญ '' ครูต้องรู้และเข้าใจนักเรียนในหลายๆ เรื่อง อาทิ กีฬา ครู อาจารย์ควรติดตามผลการแข่งขันแมทช์สำคัญๆ เช่น เทนนิส ฟุตบอลลีคของอังกฤษ เยอรมัน และอิตาลี บาสเกตบอล NBA เพลง ก็ควรติดตาม Chart และ MV ตามสถานีวิทยุและโทรทัศน์ทั้งของ G"MM' RS Bakery และ Indy รวมทั้งเพลงสากลต่างประเทศหลากหลายแนว ภาพยนตร์ ติดตามทั้งหนังโรงและหนังแผ่น ละครหลังข่าว 20.20-22.20 น. ละครวัยรุ่นวันเสาร์-วันอาทิตย์ รายการสนทนาข่าว เช่น ถึงลูกถึงคน เรื่องเล่าเช้านี้ ผมชอบยามเช้า หนังสือและนิตยสาร ควรได้ อ่านวรรณกรรมเยาวชน Pocket Book ที่เป็น Bestseller เช่น แฮร์รี่ พอตเตอร์ ทั้ง 7 เล่ม และไตรภาคของเดอะ ลอร์ด ออฟ เดอะ ริงส์ เดอะบอย I-SPY เธอกับฉัน คอมพิวเตอร์ สิ่งที่ควรรู้คือ การใช้อินเทอร์เน็ทเข้าไปใน เว็บไซท์ต่างๆ ทั้งเพื่อหาความรู้และความบันเทิง เช่น Eduzones Dek-d Yindii Lemononline และ Kapook เกมคอมพิวเตอร์ เช่น Ragnarok Counter Strike เ[คำไม่พึงประสงค์]ะซิมเวอร์ชั่นต่างๆ โปรแกรมสนทนา (Chat) เช่น MSN, PIRCH, MIRC, ICQ ย่านวัยรุ่น ครูอาจารย์ควรจะได้มีโอกาสไปสำรวจพฤติกรรมและแฟชั่นวัยรุ่น ณ แหล่งวัยรุ่น แบบเซ็นเตอร์พ้อยท์ สยามดิสคอฟเวอรี่ สยามพารากอน โทรศัพท์มือถือ เด็กวัยรุ่นกับโทรศัพท์มือถือเป็นของคู่กันไปแล้ว ถ้าครูอาจารย์มีความรู้ใน features ต่างๆ ของโทรศัพท์แต่ละรุ่น จะช่วยให้คุยกับเด็กได้รู้เรื่องมากขึ้น โดยครูอย่ามองว่าเรื่องพวกนี้ไร้สาระ ประการสุดท้ายที่สำคัญที่สุดคือ การบูรณาการความรู้ (Integration) ครูอาจารย์ต้องมีความรอบรู้ (Versatility) เป็นสัพพัญญู (The well -rounded ) ในสายตานักเรียน ครูอาจารย์ในกลุ่มสาระฯ หนึ่งควรจะต้องมีความรู้ในกลุ่มสาระฯ อื่นด้วย พรมแดนความรู้ต้องไม่ถูกจำกัดด้วยสาขาวิชา เช่น ถึงแม้เราจะเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ แต่เราก็เข้าใจ Concepts พื้นฐานของแคลคูลัส สมดุลกล ปริมาณสารสัมพันธ์ วัฎจักรเครบส์ นามนัย สังคมประกิต รากศัพท์ Vocabulaire หรือ Grammaire ของภาษาฝรั่งเศส เพราะการอธิบายและยกตัวอย่างแบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary Science) จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจสิ่งใหม่ที่ครูนำเสนอได้ง่ายขึ้น โบราณว่าหวานเป็นลม ขมเป็นยา แต่สมัยนี้เราเอาน้ำตาลเคลือบเม็ดยาแล้ว ก็จะทำให้รับประทานยา (ขม) ได้ง่ายขึ้น แต่ก็ทำให้โรคหายเหมือนกัน แล้วเราจะให้คนไข้ทนทานยาขมๆ ต่อไปเพื่ออะไร อันนี้เป็น “ศิลป์” ของแพทย์ที่ครูก็สามารถทำได้ ถ้าครูอาจารย์ไทยพยายามศึกษาทำความเข้าใจและปฏิบัติตามแนวทางเหล่านี้บ้าง จะทำให้ครูไทยไม่เป็นสิ่งแปลกปลอมในสายตานักเรียนวัยรุ่น ห้องเรียนจะมีสีสัน (Colorful) และรสชาติ (Tasty) ครูจะสอนหรือแนะนำอะไรก็ง่ายปราศจากช่องว่างระหว่างวัย ครูกลายเป็นเพื่อนคู่คิดที่นักเรียนวัยรุ่นจะปรึกษาได้ทุกเรื่องทั้งด้านการเรียนและสังคม สมกับเป็นผู้ส่งเสริมการเรียนรู้ (Facilitator or Pathfinder) ที่ดี ตามเจตนารมณ์ของการปฏิรูปการเรียนรู้ซึ่งจะอำนวยประโยชน์ให้กับผู้เรียนอย่างเต็มที่เป็นนักเรียนที่ เก่ง ดี มีสุข ในที่สุด
A Teaching Revolution: Right touching Teenaged
Written by Chaiwichit J.
Educational problems admonished by today’s Thai public covering not only controversial GPA issues, tutorial studying but learning reform is being constantly aggravated. From the concrete point of view, these problems have partly originated from the learning process administered by certain teachers and educators in formal education. Providing that formal school teachers are better equipped with consummate teaching style, it will gradually lessen the unequaled academic standards. Above all, if most of formal teachers teach better than tutors, tutorial education will inevitably be wiped out by nature. The skills of presentation sometimes are more significant than intensive academic content now that academic affairs essentially contain some latent stresses. There are several action researches concerning conventional classroom, which say that learning environment in secondary schools is thronged with malign tension, boredom and misery. All students don’t feel like studying without fun. Besides “Child-Centered” mantra has been confusingly interpreted due to the fact that certain teachers, for instance, always assign their students to set groups and have them do some researches and papers through info resources. Then students present the reports in front of the class like seminars but there are, in practice, 5-10 people in a research group, only 2-3 students out of 10 who cope with the research stuff. Moreover when they are discussing the reports, there are nothing more than 2-3 persons out of 50 in class including the teacher paying attention to the report discussion. In conclusion, some assiduous students focus on studies, others are tending to chat with one another during their friends’ presentations. A few of them told that even experienced conventional teachers had taught us but we sometimes hadn’t concentrated the lessons. Accordingly, “students teach students” method still doesn’t work presently since unprofessional reporters are apt to emphasize the report reading without 2-way communication with their audiences. Ultimately, tasteless reports are invariably kept in teachers’ meaningless portfolios. Students do not obtain much knowledge as they should have done. Different theoretical concepts effecting results for their educational efficacy depends much upon time, space, or classroom context. Consequently, the first and easiest solution might be teaching with sense of humors which makes lessons be fun.
It is apparent that today’s education problems come partly from the capability of teachers to adopt their teaching techniques to catch students’ attention. Some teachers cannot get into the teenaged students’ hearts. There should be no generation gap between teachers and students. “Student-centered” means that teachers should put their more efforts to understand what interest the students. For example, some students are engrossed in sports; teachers should follow such popular sports matches like tennis, the English, German or Italian football leagues, NBA basketball, etc. Other students are absorbed in music; teachers should follow music top chart and music video from television programs or radio stations of G"MM'’, RS, Bakery or Indy as well as well-known foreign songs performed by teenaged idols and celebs. In addition, teachers should pursue the new movies shown in the cinema and VCD-DVD movies, after-news-series, weekend’s teen series, news talks such as Teung Look Teung Kon, Reung Lao Chao Nee, and Phom Chob Yam Cahao; best-selling youth literatures such as Harry Potter, The Lord of the Rings, magazines such as The Boy, You and I, internet websites to seek for academic information and entertainment such as Eduzones, Dek-d, Yindii, Nectec, Lemononline, Kapook, computer games such as Ragnarok, Counter Strike, several versions of The Sims, Chat programs including MSN, PIRCH, ICQ. Teachers should also find some times to visit popular teenagers’ zones such as Center Point, Siam Discovery, Siam Paragon,and Central World . They should catch up with feature and function development of each model of mobile phones owing to mobile phones becoming vital part of teenagers’ life. Teachers should try not to view these suggestions as nonsense matters. At first, a few of teachers might be frustrated to change their teaching behaviors but if some kinds of these things go on until they achieve the utmost objectives of learning reform, the teachers will enjoy their teaching unprecedentedly. Last but not Least, the most component in modern pedagogy is the knowledge integration. It’s been defined as teachers who have been well-informed with multi-disciplines, or interdisciplinary sciences. Generally speaking, teachers have to own academic versatility which is the indispensable attributes for an ideal teacher as an opinion leader in students’ eyesight. For example, an English teachers ought to be aware a little of basic concepts about calculus, chemical equilibrium, Kreb’s cycle, socialization, geopolitics or some French Vocabulaire and Grammaire. Some empirical researches in educational psychology have proven that it is easier to explain or exemplify some things new to the students through what they have known from other disciplines because they can integrate the new info with the old one successfully into the long-term memories.
If Thai teachers try harder to understand and follow the above suggestions, teachers will not be strangers or foreign objects in students’ eyesight. Additionally, classes will become more colorful and pleasing. Teachers can teach and instruct their students much easier. Generation gaps will no longer exist no matter how old the teachers are. Teachers come to be partners or counselors who students can ask for advice in every aspect. This leads to familiarization between teachers and students. This new breed of teachers can be prestigiously so-called a good ‘facilitator’ or ‘pathfinder’ in accordance with the purpose of learning reform, which will dramatically benefit students to finally be intelligent, good and happy.
ที่มา http://www.nisit.org/main1.htm
วันที่ 13 ส.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,168 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,193 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,134 ครั้ง เปิดอ่าน 7,134 ครั้ง เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,155 ครั้ง เปิดอ่าน 7,339 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,273 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 10,246 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,155 ครั้ง |
เปิดอ่าน 82,484 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,293 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,669 ครั้ง |
|
|