Advertisement
❝ การติดตามผลการประยุกต์ความรู้และทักษะของกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีในการพัฒนา
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน
❞
ชื่อเรื่อง : การติดตามผลการประยุกต์ความรู้และทักษะของกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี
ในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน
ผู้ศึกษา : นิกร ศิลปวิทย์
ระยะเวลาในการวิจัย : ปี พ.ศ. 2549 - 2550
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูนักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา เกี่ยวกับผลการประยุกต์ความรู้และทักษะ
ของกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการประยุกต์ความรู้และทักษะของกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน (3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการประยุกต์ความรู้และทักษะของกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน และ (4) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะของครู นักเรียน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาในการประยุกต์ความรู้และทักษะของกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน
ผู้ศึกษาได้เลือกผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ เพื่อทำการสัมภาษณ์เจาะลึก (In - depth Interview) จำนวน 22 คน ได้ใช้เกณฑ์ในการคัดเลือก คือ กระจายให้ครอบคลุม ให้มีความหลากหลายของกลุ่มอาชีพ ความมีประสบการณ์ทางการศึกษาที่แตกต่างกันในแต่ละด้าน และความสามารถในการให้ข้อมูลด้านการศึกษา ซึ่งผู้ให้ข้อมูลทั้งหมดมีความเต็มใจและยินดีที่จะให้ข้อมูล ผลการศึกษา พบว่า
1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่เกิดขึ้นจากการประยุกต์ความรู้และทักษะของกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี
จากการตอบแบบสอบถาม พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการประยุกต์ความรู้และทักษะของกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละระดับชั้น พบว่า มีพัฒนาในการประยุกต์ความรู้และทักษะของกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนสูงขึ้นตามระดับชั้น โดยนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีพัฒนาการของการประยุกต์ความรู้และทักษะของกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี มากที่สุด รองลงมาคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และพัฒนาการน้อยที่สุด คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แสดงว่ากิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีของโรงเรียนบ้านเขามะกา ส่งผลต่อการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน
จากการสัมภาษณ์ พบว่า คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่เกิดขึ้น จากการประยุกต์ความรู้และทักษะของกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี นักเรียนในความรับผิดชอบ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ครบทั้ง 9 ข้อ ประกอบด้วย 1) ความรับผิดชอบ 2) ความเสียสละ 3) ความขยันหมั่นเพียร 4) ความมีระเบียบวินัย 5) ความซื่อสัตย์สุจริต 6) ความประหยัด 7) ความมีเมตตากรุณา 8) ความอดทน และ 9) ความเป็นประชาธิปไตย และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ที่เกิดขึ้นกับนักเรียนที่เห็นได้อย่างเด่นชัดที่สอดคล้องกัน 3 อันดับแรก คือ
1) ความรับผิดชอบ 2) ความมีระเบียบวินัย และ 3) ความขยันหมั่นเพียร
2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการประยุกต์ความรู้และทักษะของกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน คือปัจจัยด้านนโยบายของโรงเรียน ผู้บริหารและการบริหารงาน ความสัมพันธ์ระหว่างครู นักเรียน และชุมชน ความมีชื่อเสียงของโรงเรียน ศักยภาพของโรงเรียน (ยกเว้นงบประมาณ) และความพร้อมของชุมชนด้านการเข้าร่วมกิจกรรมและการให้การสนับสนุนงบประมาณ
3) ปัญหาและอุปสรรคของการประยุกต์ความรู้และทักษะของกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน คือ (1) ด้านการเรียนการสอนกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี มีดังนี้ การเพิ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของกิจกรรมยุวกาชาด อาจทำให้เป้าหมายของโรงเรียนเปลี่ยนแปลง ภาระงานครูเพิ่มจากการเพิ่มกิจกรรมยุวกาชาด กิจกรรมภาคปฏิบัติน้อยเกินไป ระยะเวลาในการเข้าค่ายน้อย และการเข้าค่ายแยกเป็นระดับทำให้ครูน้อยลง/เหนื่อยมากขึ้น (2) ด้านการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน มีดังนี้ การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม/โครงสร้างสังคม/และเทคโนโลยี ประเพณี/วัฒนธรรม ผู้ปกครองไม่ดูแลเอาใจใส่นักเรียนนักเรียนไม่เชื่อฟังและออกนอกกรอบ (3) ด้านการเป็นแบบอย่าง มีดังนี้ ขาดการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ การแต่งเครื่องแบบลูกเสือ-เนตรนารีมีค่าใช้จ่ายสูง และสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนนักเรียนลดลง
4) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประยุกต์ความรู้และทักษะของกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี ในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน คือ (1) ด้านการเรียนการสอนกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี มีดังนี้ การเพิ่มกิจกรรมด้านปฏิบัติให้มากขึ้น การเพิ่มความรู้เรื่อง
การปฐมพยาบาล โรงเรียนเป็นศูนย์การเรียน/แหล่งเรียนรู้ การเพิ่มระยะเวลาในการเข้าค่าย การเข้าค่ายจัดรวมกัน และ การเข้ามามีส่วนร่วมของนักเรียนในการสวนสนามเพิ่มขึ้น
(2) ด้านการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน มีดังนี้ การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์และความประพฤติให้ดียิ่งขึ้น การเพิ่มและเน้นคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความกตัญญู (3) ด้านการเป็นแบบอย่าง มีดังนี้ การเป็นแบบอย่างที่ดีตลอดไปและพัฒนาให้มากยิ่งขึ้น เพิ่มแบบอย่างด้านการเรียนการสอน การประชาสัมพันธ์เผยแพร่การเป็นแบบอย่าง และส่งเสริม/สนับสนุน/เสริมแรง กลุ่มผู้เป็นแบบอย่าง
วันที่ 13 ส.ค. 2552
หนาวแล้ว ออกแคมป์กันเถอะ! ⛺ เตาแก๊สปิคนิค พกพาสะดวก ออก Outdoor ได้สบายๆ รุ่น KJ-101 แถมฟรี!!กล่องเก็บเตา ในราคา ฿244https://s.shopee.co.th/7fJQKGPCjr?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง เปิดอ่าน 7,170 ครั้ง เปิดอ่าน 7,171 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,175 ครั้ง เปิดอ่าน 7,175 ครั้ง เปิดอ่าน 7,170 ครั้ง เปิดอ่าน 7,183 ครั้ง เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,158 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,165 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,173 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,165 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,169 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,165 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,159 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 30,434 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,416 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,664 ครั้ง |
เปิดอ่าน 55,648 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,622 ครั้ง |
|
|