Advertisement
ระบบเลขฐานสิบนี้เป็นระบบเลขที่เราใช้กันมาเป็นประจำในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยตัวเลขโดดทั้งหมด 10 ตัว คือ 0 - 9 |
เราสามารถนำเอาเลขโดดเหล่านี้มาประกอบกันเพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนจำนวนที่เราต้องการได้โดยใส่เลข
โดดที่ต้องการลงไปในตำแหน่งหลักต่างๆ ซึ่งเลขโดดแต่ละตัวจะมีค่าประจำตัวเอง เช่น เลข 7 จะแทนค่าจำ นวน เจ็ดหน่วย ซึ่งเลขโดดเหล่านี้จะแทนค่าจำนวนต่างๆ ได้ 10 ค่า โดยเลข 0 จะแทนค่าจำนวนต่ำสุด เลขโดด 9 แทนค่าจำนวนสูงสุด แต่ถ้าเราต้องดารตัวเลขที่แทนค่าจำนวนที่มากกว่าสิบ เราก็สามารถทำได้โดยนำตัวเลข โดดเหล่านี้หลายตัวมาเขียนประกอบกันโดยกำหนดไว้ในหลักต่างๆ ซึ่งในแต่ละหลักนั้นก็จะมีค่าประจำหลัก ซึ่ง หลักขวาสุดจะมีค่าประจำหลักเป็นหนึ่ง หลักทางซ้ายถัดมาจะมีค่าประจำหลักเป็น 10 เท่า ของตำแหน่งขวาสุด เช่น 63 เลขโดด 3 อยู่หลักขวาสุดซึ่งเรียกว่า หลักหน่วย มีค่าประจำหลักเป็นหนึ่ง ดังนั้น 3 ใน 63 จะมีค่า แทนจำนวน 3 x 1 = 3 และ 6 ที่เป็นเลขโดดที่อยู่ทางซ้ายมือของ 3 มีค่าประจำหลักเป็น 10 ดังนั้น 6 ใน 63 จึงมีค่าแทนจำนวน 6 x 10 = 60 แสดงว่า 63 มีค่าเท่ากับ 60 + 3 = 63 เป็นต้น |
ค่าประจำหลักของเลขหลักทางซ้ายมือจะมีค่าเป็น 10 เท่าของค่าประจำหลักของหลักทางขวามือที่อยู่ติด กัน เมื่อเรากำหนดให้หลักต่างๆ โดยเริ่มจากหลักทางขวาไปซ้ายให้เป็น หลักหน่วย หลักสิบ หลักร้อย หลักพัน หลักหมื่น หลักแสน หลักล้าน ..... จะเห็นว่า |
หลักสิบ |
เป็น
|
สิบเท่าของหลักหน่วย |
หลักร้อย |
เป็น
|
สิบเท่าของหลักสิบ |
หลักพัน |
เป็น
|
สิบเท่าของหลักร้อย |
หลักหมื่น |
เป็น
|
สิบเท่าของหลักพัน |
เป็นเช่นนี้เรื่อยไป โดยเลขโดดตัวที่อยู่ทางซ้ายสุดเรียกว่า เลขโดดค่าสูงสุด ส่วนเลขโดดทางขวาสุด เรียกว่า เลขโดดค่าต่ำสุด
|
เราสามารถเขียนค่าประจำหลักด้วยเลขยกกำลังของสิบได้ดังนี้
|
หลักหน่วย (หลักที่ 1) |
ค่าประจำหลัก
|
100 |
หลักสิบ (หลักที่ 2) |
ค่าประจำหลัก
|
101 |
หลักร้อย (หลักที่ 3) |
ค่าประจำหลัก
|
102 |
|
.
|
|
|
.
|
|
|
.
|
|
หลักที่ n |
ค่าประจำหลัก
|
10n-1 |
ค่าของเลขฐานสิบนั้นจะมีค่าเพิ่มขึ้นทีละหนึ่ง โดยมีค่าเพิ่มเรียงเป็นลำดับตั้งแต่ 0, 1, 2, 3, ..., 9 หลัง จากเลข 9 แล้ว ถ้าเพิ่มขึ้นอีก 1 จะทำให้ 9 เปลี่ยนเป็น 0 พร้อมกับตัวทดอีก 1 ซึ่งตัวทดนี้จะเป็นค่าที่นำไปเป็น เลขโดดในหลักสิบมีค่า 1 เป็นเช่นนี้เรื่อยไป เช่นเดียวกันสำหรับในหลักสิบ ค่าเพิ่มไปจนถึง 9 ถ้าเกิน 9 ก็จะ เปลี่ยนเป็น 0 และทด 1 ไปยังหลักพันเป็นไปในทำนองเดียวกันนี้เรื่อยไป |
จากที่กล่าวมานี้เป็นลักษณะของเลขจำนวนเต็ม ถ้าเป็นเลขเศษส่วนหรือทศนิยมที่มีค่าน้อยกว่า 1 ค่าประ จำหลักในส่วนของเลขที่อยู่หลังจุดทศนิยมนั้นยึดหลักการในทำนองเดียวกับจำนวนเต็มคือ แต่ละหลักที่อยู่ถัด ไปทางขวา จะเป็นเลขยกกำลังของ 10 โดยตัวชี้กำลังจะเริ่มจาก -1 แล้วลดทีละ 1 เป็นลำดับ เช่น 0.456 เลข โดด 4 ซึ่งเป็นเลขตัวเลขหลังจุดทศนิยมจะมีค่าประจำหลักเป็น 10-1 เลขโดด 5 ซึ่งเป็นเลขโดดทางขวาถัดมา จะมีค่าประจำหลักเป็น10-2 เลขโดด 6 จะมีค่าประจำหลักเป็น10-3 ซึ่งเราสามารถเขียนแสดงค่า 0.456 ใน รูปกระจายตามค่าประจำหลักได้ดังนี้ |
0.456
|
=
|
4 x10-1 + 5 x10-2 + 6 x 10-3 |
|
=
|
0.4 + 0.05 + 0.006 |
ที่มา http://www.mc41.com/curriculum/decimal01.htm
Advertisement
เปิดอ่าน 5,590 ครั้ง เปิดอ่าน 83,281 ครั้ง เปิดอ่าน 62,188 ครั้ง เปิดอ่าน 35,016 ครั้ง เปิดอ่าน 94,763 ครั้ง เปิดอ่าน 29,085 ครั้ง เปิดอ่าน 13,232 ครั้ง เปิดอ่าน 166,271 ครั้ง เปิดอ่าน 38,029 ครั้ง เปิดอ่าน 20,104 ครั้ง เปิดอ่าน 30,331 ครั้ง เปิดอ่าน 71,152 ครั้ง เปิดอ่าน 18,806 ครั้ง เปิดอ่าน 72,313 ครั้ง เปิดอ่าน 30,657 ครั้ง เปิดอ่าน 34,042 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 35,173 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 84,294 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 51,702 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 52,220 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 40,452 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 3,088 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 18,573 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 40,721 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,382 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,039 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,141 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,052 ครั้ง |
|
|