ความคิดสร้างสรรค์
โดย....... เอนก รัศมี ศน. สพท.ลพบุรี เขต 1
ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking )
อาจนิยมได้หลายลักษณะด้วยกันคือเป็นการค้นคิดสิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการใหม่ๆ จากการศึกษาทดลอง ทำให้จินตนาการเป็นจริงขึ้น เป็นความคิดอเนกนัย ซึ่งเป็นความคิดที่กว้างไกลสลับสับซ้อน มีหลายแง่มุม หลายรูปแบบ ความคิดในลักษณะนี้จะนำไปสู่การคิดประดิษฐ์สิ่งแปลกใหม่ หรืแก้ไขปัญหายากๆได้สำเร็จเป็นจินตนาการหรือความฝัน ซึ่งมีความสำคัญกว่าความรู้ และเป็นบ่อเกิดของการแสวงหาความรู้มาพิสูจน์ จินตนาการ หรือทำจินตนาการให้เป็นจริงเป็นความรู้สึกที่ไว เข้าใจอะไรได้เร็วแม้จะเป็นเรื่องยากและซับซ้อน มีปฏิกิริยาหรืออารมณ์ร่วมกับเรื่องนั้นๆ
บทบาทและความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์
มนุษย์เราโชคดีที่ธรรมชาติสร้างให้มีพลังความคิดสามารถ ๔ ประการคือ ความสามารถในการรับความรู้ (adsorbknowledge) ความสามารถในการจดจำและระลึกถึงความรู้เหล่านั้นได้ (memorize and recall knowledge) ความสามารถในการให้เหตุผล (to create )
ลักษณะของบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์
จากการรวบร่วมผลการศึกษาของนักจิตวิทยา ซึ่งค้นคว้าเรื่องความคิดสร้างสรรค์ เช่น มาสโลว์ (maslow) สตาร์คเวธเซอร์ (Starkweather) และครอพลีย์ (Corpley) พอสรุปลักษณะของบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ได้ดังนี้คือ คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ จะเป็นตัวของตัวเองผู้ที่มีความคิดริเริ่มจะไม่ยอมคล้อยตามความคิดเห็นของผู้อื่นๆ ได้ง่ายๆ และจะมีความมานะบากบั่นอย่างยิ่ง
ในการเรียนให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ ครูจะต้องพัฒนาตนเองให้เป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์เสียก่อน ต้องแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลา ฝึกคิดฝึกจินตนาการกล้าคิดค้นวิธีสอนใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ และพัฒนาวิธีการ ทำงานของตนเองให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเด็กและความก้าวหน้าทางวิชาการด้วย ครูควรมีความรู้ในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ซึ่งสามารถพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อนักเรียนและต่อสังคมได้ ครูควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดใหม่ ได้ศึกษาหาความรู้ สำรวจ และทดลองในสิ่งที่เขาสนใจ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับแหล่งความรู้ต่าง ๆ และให้ความรัก เอาใจใส่นักเรียนอย่างทั่งถึงและ การสร้างความคิดสร้างสรรค์ในนักเรียน และ ครูจะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงไรย่อมขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียน ผู้บริหารระดับการศึกษาสูงด้วย ผู้บริหารที่สังคมต้องการ จะต้องเป็นผู้ที่สามารถริเริ่มสิ่งใหม่ๆ ที่เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมและเพื่อความสำเร็จของตนเอง เพื่อผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ร่วมงานจะได้ปฏิบัติตามและเกิดความกระตือรือร้นที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ บ้าง
ส่วนหลักการส่งเสริมการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้มีเอตทัคคะในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ เช่น แมคเคนซีย์ และคอรีย์ (Mackenzie and Corey) ได้เสนอแนวทางในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้บริหารไว้ดังนี้ คือ
๑.ผู้บริหารไม่ควรยึดมั่นกับวิธีการบริหารอย่างใดอย่างหนึ่งตลอดไปในชีวิตการบริหาร
๒.พยายามค้นหาแนวทางปฏิบัติที่ดีกว่าและที่ใหม่กว่าเสมอ โดยไม่ผูกพันอยู่กับความจำเจ
๓.รู้จักฟัง อ่าน และวิสาสะกับผู้บริหารคนอื่นๆในระดับเดียวกันหรือสูงกว่า เรียนรู้การค้นพบ การทดลองสิ่งแปลกๆ ใหม่ ๆ ที่ให้ประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหาร
๔. หมั่นตรวจสอบประสบการณ์ และการฝึกอบรมของตนเอง เพื่อหาจุดอ่อนและพยายามชดเชยจุดอ่อนนั้นด้วยการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอย่างจริงจัง
๕. พยายามวิเคราะห์พฤติกรรมการบริหารของตนเสมอ การวิเคราะห์พฤติกรรมของตนจะช่วยให้เข้าใจธรรมชาติของตนได้ดีขึ้น
๖. วิเคราะห์เหตุแห่งพฤติกรรม หรือเหตุแห่งการตัดสินใจเพื่อการแก้ไขพฤติกรรมการบริหารงานให้สร้างสรรค์ยิ่งขึ้น