การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน
เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
นายเอนก รัศมี
ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สพท. ลพบุรี เขต 1
การประเมินคุณภาพภายนอก ตามมาตรฐานการศึกษาชาติ เป็นไปด้วยสาระบัญญัติมาตรา 47 – 51 ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2545 สถานศึกษาต้องจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและการเตรียมเพื่อรองรับการประเมินจากองค์การภายนอกเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องและใน “ การประชุมวางแผนการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในเพื่อยกระดับคุณภาพของสถานศึกษา ” ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาพื้นฐานจัดประชุมฯ ณ โรงแรมบางกอกพลาเลส กรุงเทพฯ
ผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษา : ( ศ . ดร. อุทุมพร จามรมาน ) บรรยายพิเศษ “ การส่งเสริมประสิทธิภาพระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ” กล่าวว่า เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาเป้าหมายที่ 1 : เร่งรัดพัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับ โดยสะท้อนผลสำเร็จไปที่ หน้าที่สำคัญของงานประกันคุณภาพระดับเขตพื้นที่การศึกษา 1. สพท. ต้องรู้ว่าสถานศึกษามีผลการประเมินเป็นอย่างไร ดีขึ้น หรือลดลงกี่โรงเรียน 2. จะเร่งรัดส่งเสริมสถานศึกษาอย่างไร 3. มีหน่วยงานอื่นเข้ามาช่วยเหลือ หรือไม่ อย่างไร เป้าหมายที่ 2 : พัฒนาโรงเรียนที่ไม่ได้รับรองมาตรฐานภายนอก รอบสองให้ได้ ( โดยให้แต่ละเขตพื้นที่กำหนดจำนวน เปอร์เซ็นต์ของโรงเรียนในการพัฒนาเอง ) แนวดำเนินการ 1. จัดทำฐานข้อมูลโรงเรียน 2. จัดระบบการเข้าถึงข้อมูลโรงเรียน 3. จัดโรงเรียรพี่เลี้ยง 4. สร้างความตระหนักให้ผู้บริหาร : ให้กระตือรือร้น และมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา5. เสริมสร้างประสิทธิภาพครู : ให้รู้จักเด็ก มีการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน และสามารถจัดทำหน่วยการเรียนรู้ตามหลักสูตรของตนเองได้ 6. จัดการเรียนรู้ให้นักเรียน : แจ่มใส อ่านได้ คิดเลขได้ ฯลฯ 7. ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม : ยอมรับ ศรัทธา 8. มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา : มีการประเมินตนเอง ต่อเนื่อง และมีความสอดคล้องกับทุกระดับ
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา บรรยายพิเศษ ให้ข้อคิดในการดำเนินงานว่า ผู้บริหารทุกระดับต้องให้ความสำคัญกับการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา โดยให้ข้อคิดในการทำงานให้สำเร็จ 3 ประการ ได้แก่ 1. ปลุกให้ตื่น : หมายถึงให้คนอื่นรับทราบ และมีส่วนร่วม มีฐานข้อมูล รู้บทบาทหน้าที่ 2. ยืนให้มั่น : หมายถึง มีวิธีการทำงาน ควรเริ่มจากการวิเคราะห์ข้อมูล กลับกลุ่มคุณภาพและดำเนินการพัฒนาในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย 3. ลงลึกให้เป็นวัฒนธรรม : หมายถึงหลังจากทำงานเสร็จแล้ว ควรมีการชื่นชม มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาดูงาน และให้ขวัญกำลังใจโดยนั้น 1. ผอ.สพท. ต้องรู้จักโรงเรียนเป็นรายโรง ( โรงเรียนใดให้ความสำคัญ และโรงเรียนใดไม่ให้ความสำคัญ ) 2. ประชุมให้คนในองค์กรรับทราบและให้ความสำคัญ 3. เสนอให้เป็นนโยบายสำคัญ ให้เป็นวาระแห่งจังหวัด
ผู้แทน บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย บรรยายพิเศษ “ การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ ” โดยมีเป้าหมายสำคัญในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ คือ 1 คนมีความสามารถ และมีการบริหารจัดการที่ดี 2. คนต้องกระตือรือร้น 3. มีกำลังคนขยายขึ้นเรื่อยๆ 4. มีการจัดการความรู้ที่ดี โดยมีการจัดการให้คนมาคุยกัน หาวิธีทำงาน ทำงานให้เกิดนวัตกรรมใหม่ 5.ให้รางวัล มีเวทีนำเสนอผลงาน ประกวดนวัตกรรม จะเข้าถึงองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้อย่างไร – ผ่านทางเว็บไซต์ - จัดทำฐานข้อมูล - จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเว็บ -แจกหนังสือให้พนักงานอ่าน และเล่าสู่กันฟัง จุดมุ่งหมายในการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ 1.ผลักดันให้มีนวัตกรรม 2.มีทีมทำงาน 3.ผู้บริหารส่งเสริมและสร้างบรรยากาศให้เกิดกำลังใจ 4.มีการจัดการความรู้ : โดยการจัดเก็บความรู้ของคนในองค์กร ทำให้ทุกคนเข้าถึงความรู้ใหม่ และเป้าหมายสำคัญเพื่อพัฒนานวัตกรรม
ศ.ดร.สมหวัง พิทยานุวัฒน์ บรรยายพิเศษ “ ผลการประเมินภายนอกรอบสอง และทิศทางการประเมินภายนอกรอบสาม ” โดยกล่าวว่า 1.มาตรฐานสถานศึกษาให้ใช้เกณฑ์ของ สมศ. และสถานศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรอง รัฐบาลต้องช่วยพัฒนา 2.โรงเรียนที่ไม่ผ่านการประเมิน ส่วนใหญ่เป็นโรงรียนขนาดเล็ก 3.นโยบานเรียนฟรี 15 อย่างมีคุณภาพ เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาโรงเรียน 4.การประเมินเพื่อพัฒนา กระทรวงต้องเร่งนำร่องก่อน 4.สถานศึกษาที่มีคุณภาพ คือสถานศึกษาที่ทำประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้เรียนทุกคนได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ทิศทางการประเมินภายนอก รอบสาม มีประเด็นสำคัญ 4 ประเด็น ประเด็นที่ 1 : ในการประเมินภายนอกรอบสามใช้มาตรฐานชุดเดียวในการประเมินสถานศึกษาทั้งประเทศ มาตรฐานที่กำหนดให้น้ำหนักร้อยละ 75 เน้นผลผลิตและผลลัพธ์จากการจัดการศึกษา ซึ่งหมายถึงคุณภาพผู้เรียน ประเด็นที่ 2 : การประเมินคุณภาพผู้เรียนด้านความคิด และความสุข ให้พิจารณาจากกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ส่วนความสามารถ ให้ใช้ผลการทดสอบระดับชาติ ประเด็นที่ 3 : ใช้การประเมินแบบอิงเกณฑ์ ส่วนการประเมินอิงสถานศึกษานั้นให้กำหนดไว้ในการประกันคุณภาพภายใน และมีการประเมินในระดับกลุ่มสาระที่มีความสำคัญก่อน 5 กลุ่มสาระ ประเด็นที่ 4 : กำหนดให้การประกันคุณภาพภานในเป็นมาตรฐานหนึ่งในการประเมินนอกจากนั้น ยังให้ข้อคิดว่า 1.การประเมินภายในต้องเน้นวิธีการพัฒนา ไม่ใช่เน้นการประเมิน2.เน้นการบริหารจัดการกลุ่มสาระ และการเรียนการสอน 3.การใช้ผลทดสอบ o-net ต่อไปอาจใช้ผลของเขตพื้นที่ 4.ความดี และความสุข วัดที่กระบวนการ ไม่ใช่ผลผลิต 5.ร่างมาตรฐานภายนอก รอบสาม มีอย่างน้อย 5 มาตรฐาน ได้แก่1.ผู้เรียนเป็นคนดี 2.ผู้เรียนมีความสามารถ 3.ผู้เรียนมีความสุข 4.ครูสอนเก่ง สอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้เรียน4. สถานศึกษามีการประกันคุณภาพภายในและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง6.สพท. ควรจัดทำข้อสอบมาตรฐาน 7.หากมีการรวมกลุ่มสถานศึกษาขนาดเล็ก ให้สพท.มีหนังสือแจ้ง สมศ. ยืนยันว่ามีการรวมกลุ่มกันอย่างไร เพื่อให้ สมศ. เข้ามาประเมินภายนอก 8.ควรสร้างความตระหนักในเรื่องการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาให้ผู้บริหารสถานศึกษา 9.การประเมินซ้ำสถานศึกษาที่ไม่ได้รับการรับรอง สมศ. จะเริ่มดำเนินการประมาณ ต้นปี 2553 จำนวน 100 แห่งก่อน ( โดยสมศ. กำลังหางบประมาณสนับสนุน ) 10.สพท. ต้องเข้มงวดกับการประเมินจริง 11.ในการประเมินซ้ำเป็นการประเมินใหม่ทุกมาตรฐาน ไม่ใช่ประเมินเฉพาะมาตรฐานที่ไม่ผ่านการรับรอง
ศ.ดร.สุวิมล ว่องวาณิช บรรยายพิเศษ การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาอย่างยั่งยืน ให้ข้อเสนอแนะว่า เขตพื้นที่ควรมีบทบาท ดังนี้ 1.วางระบบประกันคุณภาพ การช่วยเหลือของเขตพื้นที่ 2.เขตพื้นที่ต้องมีมาตรฐานของตนเอง และมีต้องวางระบบการประกันคุณภาพ 3.ทำให้การประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษายั่งยืน 4.สถานศึกษาต้องมีมาตรฐาน มีแผนพัฒนาคุณภาพ มีข้อมูลสารสนเทศ มีคนดูแลมาตรฐาน 5.มีการตรวจสอบ ประเมินคุณภาพภายใน 6.วิเคราะห์ผลของการประเมินภายนอกและจัดทำแผนช่วยเหลือสถานศึกษา 7.กำกับ ติดตามการปรับปรุงของสถานศึกษา 8.จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บทบาทของสถานศึกษา 1.วางระบบประกันคุณภาพภายใน 2.ประเมินคุณภาพภายใน 3.รับการประเมินคุณภาพภายนอก 4.ใช้ผลการประเมินคุณภาพทั้งภายในและภายนอกในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาวางแผนปรับปรุงพัฒนาสถานศึกษา
กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 1