การจัดการความรู้ด้วยสถานีการเรียนรู้ในโรงเรียน
เอนก รัศมี ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 1
การจัดการความรู้ด้วยสถานีการเรียนรู้ในโรงเรียน(The Schooll Learning Station Knowledge Management) หมายถึง สถานที่จุดใดจุดหนึ่งในบริเวณโรงเรียนที่ใช้เป็นสื่อหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยหมุนเวียนกิจกรรมได้ตามความสนใจของนักเรียนและการวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับหลักสูตรของครู
จุดมุ่งหมายของการจัดการความรู้
1. เพื่อใช้ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในบริเวณโรงเรียนเป็นสื่อในการเรียนรู้ของนักเรียน
2. เพื่อกระตุ้นให้ครูและนักเรียน สนใจและศึกษาสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวอย่างจริงจัง
3. เพื่อสนับสนุนแนวทางในการจัดการความรู้แหล่งการเรียนรู้อย่างประหยัดค่าใช้จ่ายและเอื้อต่อการเรียนรู้ทุกวิชา
แนวการดำเนินการของการจัดการความรู้
1.การสำรวจบริเวณโรงเรียนเพื่อแสวงหาการจัดการความรู้มีการสำรวจและบันทึกข้อมูลแหล่งต่าง ๆ ในโรงเรียน เช่น แปลงผัก สนามหญ้า สวนหย่อม เสาธง ฯลฯ พร้อมบันทึกข้อมูลของสิ่งที่พบเห็นในแต่แหล่งไว้การสำรวจดังกล่าว เช่น
2. การศึกษาความสัมพันธ์ของการจัดการความรู้ต่าง ๆ ในบริเวณโรงเรียนกับหลักสูตร
หลังจากรวบรวมข้อมูลของจุดต่าง ๆ ในโรงเรียรแล้วคณะครูจะร่วมกันพิจารณาว่าแต่ละจุดจะสัมพันธ์กับการเรียนรู้เรื่องอะไรบ้างประสบการณ์ใดชั้นใด
3.กำหนดการจัดการความรู้ เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์แล้ว คณะครูจะร่วมกันตัดสินใจว่า จะจัดจุดศึกษาใดบ้าง โดยพิจารณาจากเหตุผลประกอบ
4. กำหนดชื่อการจัดการความรู้ การจัดการความรู้แต่ละแห่ง คณะครูและนักเรียนอาจร่วมกันกำหนอชื่อเพื่อความชัดเจนในการปฏิบัติกิจกรรมต่อไป ซึ่งจุดศึกษาแต่ละแห่งจะใช้จัดกิจกรรมได้ทุกกลุ่มประสบการณ์ การกำหนดชื่อจุด มีแนวทางพิจารณาได้หลายทาง
5. กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ และสื่อประกอบกิจกรรม การจัดการความรู้แต่ละแห่ง เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่เน้นการใช้ของจริงตามสถาพของแต่ละจุดเป็นสื่อหลก สื่อที่นำมาประกอบอาจเป็นบัตรกำหนดกิจกรรม หรือเครื่องมือประกอบการเรียนรู้ เช่น สายวัด มีด กรรไกร เชือก ไม้ไผ่ ฯลฯ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จัดได้หลายลักษณ
5.1 เป็นกิจกรรมเฉพาะของจุดศึกษาโดยครูร่วมกันคิด และจัดทำเป็นแผนการจัดกิจกรรมอย่างง่าย ๆ ของนักเรียน ที่นักเรียนจะเลือกปฏิบัติได้ตามความสามารถ
ตัวอย่าง
คณิตศาสตร์ในสวนกล้วย มีบัตรกิจกรรมลำดับจากง่ายไปยาก เช่น
บัตรกิจกรรมที่ ของเล่นจากสวนกล้วย นักเรียนเลือกส่วนใด( งานกลุ่ม)หนึ่งของต้นกล้วย เช่น ก้าน ใบ หรือ กาบ แล้วคิดทำเป็นของเล่น 1 อย่าง ทำเสร็จแล้วลองเล่นนะ เขียนภาพและอภิปลายวิธีการเล่นด้วย
|
|
กิจกรรมดังกล่าว สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ การวางแผน การคำนวณ การใช้ภาษา การเขียนภาพ การอยู่ร่วมกันตลอดจนการแสดงออก ซึ่งนักเรียนอาจจัดกลุ่มและแบ่งหน้าที่ตามความเหมาะสม
การจัดการความรู้และกิจกรรมการเรียนรู้ดังกล่าว โรงเรียนสร้างสรรค์แบะพัฒนาให้แตกต่างจากที่นำเสนอ นี้ได้ เช่น แต่ละการจัดการความรู้หรืสถานีการเรียนรู้อาจจะมีที่แขวนบัตริจกรรมหรือตู้เล็ก ๆ ใส่บัตริจกรรมและอุปกรณ์การเรียนรู้ที่นักเรียนจะหยิบไปปฏิบัติกิจกรรมแล้วนำมาเก็บที่เดิม การพัฒนาในลักษณะนั้ต้องฝึกความมีวินัยในตนเองของนักเรียนด้วย การพัฒนาดังล่าวขอให้อยู่บนแนวคิดพื้นฐานที่ว่าการจัดจุดศึกษา เป็นการจัดแหล่งเรียนรู้ ที่ใช้ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่มีอยู่ เป็นสื่อหลัการเรียนรู้ เพราะฉะนั้นการจัดทำป้ายชื่อจุดศึกษา หรือการนำอุปกรณ์ไปประกอบ ควรออกแบบ ให้กลมกลืนกับสถานที่เน้นความเป็นธรรมชาติ ไม่รกรุงรัง ไม่เน้นป้ายใหญ่โต คงอยู่ได้ในแสงเเดดและสายฝน เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไม่เน้นการจัดสถานที่