Advertisement
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกเอกสารชี้แจงให้ประชาชนทราบเกี่ยวกับโรคกาฬโรคปอด (pneumonic plague) ที่มีการระบาดอยู่ที่มณฑลชิงไห่ ประเทศจีน ขณะนี้ โดยชี้แจงว่าประชาชนไม่ต้องตื่นตระหนก เพราะโรคดังกล่าวเกิดในทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจีนใกล้ทิเบตซึ่งอยู่ไกลจากประเทศไทย ทั้งนี้กาฬโรคพบในประเทศไทยครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2495 และจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่พบผู้ป่วยแม้แต่รายเดียว นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดของรัฐบาลจีน ยังระบุด้วยว่าส่วนมากของโรคที่เกิดขึ้นทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีนนั้น เกิดจากเหล่าบรรดาคนล่าสัตว์ที่ติดเชื้อมาจากสัตว์ประเภทฟันแทะ
รายงานข่าวเมื่อวันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ระบุยอดผู้เสียชีวิตด้วยโรคกาฬโรคปอดในเมืองซีเก้อต้าน เพิ่มขึ้นเป็น 3 คน โดยทางการจีนเปิดเผยว่า มีผู้เสียชีวิตเป็นรายที่ 3 ด้วย กาฬโรคปอดบวมเป็นชายชราวัย 64 ปี เพื่อนบ้านของผู้เสียชีวิตทั้งสองคนแรกก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นชายวัย 34 ปี และ 37 ปี นอกจากนั้น ยังมีผู้ที่ติดเชื้อ อีกจำนวน 9 คน ที่ยังคงอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดในโรงพยาบาล โดยหนึ่งในนั้นอยู่ในอาการโคม่า และอีกรายหนึ่งเริ่มมีอาการไอและเจ็บที่บริเวณหน้าอก ส่วนผู้ติดเชื้อรายอื่นๆ ที่เหลือนั้นยังอยู่ในอาการปกติ โดยในขณะนี้ยังไม่พบจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มเติม
เจ้าหน้าที่ทางการจีนได้เร่งล้างทำความสะอาดเมืองครั้งใหญ่ พร้อมกับใช้ยาฆ่าเชื้อ ตลอดจนกำจัดหนู และเห็บหมัดซึ่งเป็นพาหะนำโรค อีกทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจยังตั้งจุดตรวจรอบๆ เมืองในรัศมี 28 กิโลเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ที่สงสัยติดเชื้อออกนอกเมือง และเป็นการป้องกันไม่ให้เชื้อกระจายไปยังพื้นที่อื่นของประเทศ ร้านค้าภายในเมืองยังคงปิด แต่เริ่มมีรถออกมาวิ่งตามท้องถนนเพิ่มมากขึ้นแล้ว ทั้งยังมีหลายคนพยายามหลบหนีออกจากบริเวณจากจุดอื่นๆ ที่นอกเหนือสายตาเจ้าหน้าที่ หลายคนหลบหนีออกจากเมืองไปในช่วงค่ำ เมื่อพวกเขารู้ว่ามีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น พวกเขาหนีไปไปพร้อมอาหารและน้ำ ยังไม่มีการรายงานอย่างชัดเจนว่าประชาชนที่หลบหนีออกนอกเมืองไปนั้นใช้เส้นทางใด และได้ผ่านด่านจุดตรวจของการทางหรือไม่ ขณะที่ทางการจีนยังได้ออกประกาศเตือนสำหรับผู้ที่เคยเดินทางเข้าผ่านเมืองนี้ ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของกรุงปักกิ่งในระยะทาง 480 กิโลเมตร ในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ถ้าหากมีอาการไอหรือมีไข้ ให้เข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที
ด้านองค์การอนามัยโลก กล่าวว่า กาฬโรคปอดเป็นโรคติดต่อร้ายแรง เชื้อที่แพร่กระจายอยู่ในอากาศสามารถติดจากคนสู่คนได้โดยผ่านการไอหรือจาม ผู้ติดเชื้อ ที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจเสียชีวิตเฉียบพลันภายในเวลาเพียง 24 ชั่วโมง หลังจากที่เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกาย
สาเหตุ
- โรคนี้เกิดจากหมัดของหนูที่มากัดคน โดยสามารถป้องกันได้โดยไม่ให้มีหนูมากัด
- การติดต่อนั้น เกิดจากสารคัดหลั่ง ไอ จาม ระยะฟักตัวของเชื้อ ประมาณ 1 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันแต่ละคน และปริมาณเชื้อที่ได้รับ
- กาฬโรคมีลักษณะอาการแบ่งได้ใหญ่ 3 ลักษณะ คือ กาฬโรคของต่อมน้ำเหลือง (bubonic plague), กาฬโรคชนิดโลหิตเป็นพิษ (septicemic plague) และ กาฬโรคปอด (pneumonic plague) ซึ่งกาฬโรคปอดเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบซิลไล Yersinia pestis อาจเป็นอาการแทรกซ้อนของกาฬโรคต่อมน้ำเหลือง หรืออาจจะเป็นการติดเชื้อครั้งแรกก็ได้
- สาเหตุของกาฬโรคเนื่องมาจากเชื้อแบคทีเรียแกรมลบรูปแท่งชื่อ Yersinia pestis ผู้พบเชื้อครั้งแรกปี พ.ศ. 2437 โดย Yersin & Hitasato เดิมแบคทีเรียสปีชีส์นี้ จัดอยู่ในจีนัส Pasteurella ในปี พ.ศ. 2487 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Yersinia ตามชื่อผู้พบเชื้อคนแรกและปี พ.ศ. 2497 ได้ถูกจัดรวมอยู่ในตระกูล Enterobacteriaceae เชื้อเยอซีเนียมี 3 สปีชีส์ คือ Y. pestis , Y. enterocolitica และ Y. pseudotuberculosis
- กาฬโรคเป็นโรคติดต่อที่มีอันตรายร้ายแรงที่สุด เมื่อมีการเกิดโรคนี้ต้องแจ้งความตามพระราชบัญญัติป้องกันโรคติดต่อ พ.ศ. 2523 การติดต่อมาสู่คนโดยมีหมัดหนูเป็นพาหะโรค ซึ่งอาศัยอยู่บนหนูที่เป็นโรคโดยหมัดหนูจะกัดคน และปล่อยเชื้อเข้าทางรอยแผล เช่นเดียวกับการติดต่อระหว่างสัตว์กับสัตว์ ทำให้เกิดโรค bubonic plague และคนติดต่อมายังคน ทำให้เกิดโรค pneumonic plague ถ้าเชื้อนี้เข้ากระแสโลหิตจะทำให้เกิดโรค septicaemic plague
อาการ
- กาฬโรคมีอาการได้ 3 แบบ แบบแรก ตามต่อมน้ำเหลืองที่ถูกกัดจะโต บริเวณขาหนีบ แบบที่สอง การติดเชื้อลุกลามไปที่ปอด อาจเรียกว่ากาฬโรคปอด และแบบที่สาม หมัดกัดที่ขา บริเวณขาก็จะอักเสบ บวม เนื้อจะเน่า ทำให้เกิดภาวะโลหิตเป็นพิษ และทำให้เสียชีวิตได้
- ผู้ป่วยกาฬโรคปอดจะมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน หนาวสั่น ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปวดเมื่อยตัว หอบ เหนื่อยง่าย จากนั้นประมาณ 20-24 ชั่วโมง จะมีอาการทางปอดเริ่มขึ้น คือ ไอถี่ขึ้น เสมหะที่ตอนแรกจะมีลักษณะเหนียวใส จากนั้นจะกลายเป็นสีสนิม หรือแดงสด หากไม่รักษาจะเสียชีวิตภายใน 24-48 ชั่วโมง มักไม่มีปื้นแผลในปอด
- กาฬโรคปอดถือเป็นกาฬโรคที่อันตรายที่สุด มีระยะฟักตัวประมาณ 2-3 วัน สามารถติดต่อได้ โดยมีหนูหรือหมัดหนูเป็นพาหะ หรือสัมผัสสิ่งของที่เพิ่งปนเปื้อนเชื้อโรคใหม่ๆ โดยเชื้อ กาฬโรคปอด สามารถแพร่กระจายทางอากาศ และสามารถติดต่อระหว่างคนได้ง่ายผ่านการไอ ซึ่งผู้ป่วยที่เป็น กาฬโรคปอด มีอัตราการเสียชีวิตถึงร้อยละ 60 หากไม่รีบรักษา สามารถเสียชีวิตได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังติดเชื้อ แต่หากวินิจฉัยโรคได้เร็ว และได้รับยารักษาอย่างถูกต้อง จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้เกือบร้อยละ 15 แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของแต่ละคน และปริมาณเชื้อที่ได้รับด้วย
การรักษากาฬโรคปอด
กาฬโรคปอดสามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ เช่น สเตรปโตมัยซิน (streptomycin), เตตระซัยคลิน (tetracycline) หรือ คลอแรมเฟนิคอล (chloramphenicol) เป็นเวลา 7 วัน ผู้ป่วยกาฬโรคต้องรักษาโดยแยกห้อง (isolation) เพื่อมิให้เชื้อแพร่กระจาย ปัจจุบันพบว่าเชื้อนี้ยังไวต่อการรักษาด้วยยา tetracyline, streptomycin, chloramphenical, kanamycin และ sulfonamides ส่วนยากลุ่ม penicillin มักใช้ไม่ได้ผลดี การรักษาโรคแทรกซ้อนมีความจำเป็นในผู้ป่วยบางราย นอกจากนี้บุคลากรที่ทำการรักษาต้องมีความระมัดระวังอย่างเคร่งครัดด้านการป้องกันการติดเชื้อ โดยสวมถุงมือปิดปากและจมูกควรทำลายเชื้อจากเลือด น้ำเหลือง และหนองของผู้ป่วย เพื่อป้องกันการติดเชื้อและการแพร่กระจายของเชื้อ
การป้องกันการแพร่ระบาดของกาฬโรคปอด
- สำรวจหนู และหมัดหนู โดยการควบคุม และกำจัดหนูในโรงเรือน และเรือสินค้ากำจัดหมัดหนูโดยใช้ยาฆ่าแมลง และป้องกันไม่ให้มีหนูมากัด การป้องกันที่ดีที่สุดคือ อย่าให้หมัดของหนูมากัด สำหรับเห็บหมานั้นก็เช่นเดียวกัน แต่ถ้ามีหมัดล้านตัว แต่ถ้าไม่มีเชื้อกาฬโรคก็ไม่เป็นไร
- สำรวจหนูที่อยู่อาศัยในบริเวณบ้านและกำจัดดังนี้ ควรกำจัดหนูก่อนโดยใช้สารเคมีประเภท carbamate โรยไว้ตรงทางเดินของหนู และจากนั้นในวันรุ่งขึ้น จึงทำการดักหนู และเบื่อหนู เมื่อดักหนูได้แล้วให้ฉีดยาฆ่าแมลงประจำบ้านฉีดพ่นไปบนตัวหนูก่อนเพื่อทำลายหมัดหนูที่ยังคงเหลือและจากนั้นจึงฆ่าหนู
- อย่าไปสัมผัสกับสัตว์กัดแทะที่ป่วยตาย เช่น หนู กระรอก ถ้าจะจับไปทิ้งต้องสวมถุงมือ
- ให้คำแนะนำเรื่องสุขศึกษาให้กับประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้รู้วิธีป้องกันกาฬโรคปอด และหากมีอาการสงสัยว่าป่วยเป็นกาฬโรคปอด ให้เข้ารับการตรวจรักษาโดยเร็ว ในกลุ่มเสี่ยงควรให้ความรู้วิธีป้องกันโรคและเข้ารับการตรวจรักษาโดยเร็วถ้ามีอาการสงสัยว่าป่วยเป็นกาฬโรค
- มีมาตรการควบคุมระหว่างประเทศ การแพร่เชื้อระหว่างประเทศได้ 3 ทาง ทางอากาศ โดยผ่านทางสายการบินต่างๆ ทางบก โดยการเดินทางเข้าสู่ทางชายแดนของประเทศ และทางเรือโดยสาร คน หมัดหนู นำเชื้อโรคเข้ามากับการเดินทางนี้ ดังนั้นควรมีมาตรการควบคุม และเฝ้าระวังกาฬโรค เพื่อป้องกันการระบาดและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อกาฬโรคอย่างเคร่งครัด
- ปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของคนในชุมชนแออัด และทำความสะอาดชุมชนแออัดให้ดีขึ้น การกำจัดขยะมูลฝอยเป็นแหลังสะสมหนู และให้สุขศึกษาแก่ประชาชนเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อมิให้อาหารเป็นแหล่งเพาะพันธุ์หนู
- ผู้ที่ต้องสัมผัสกับผู้ป่วย กาฬโรคปอด ควรกินยาเตตระซัยคลินสำหรับป้องกัน และใช้ถุงมือ ผ้าปิดปาก และจมูก เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ กาฬโรคปอด
- ให้วัคซีนแก่ผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรค ซึ่งจะช่วยลดอัตราป่วยด้วยโรคนี้ได้มาก การให้วัคซีนที่ผลิตในสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นชนิดตัวเป็น inactivated plague vaccine U.S.P โดย Cutter Laboratories Burkeley California ในประเทศอื่นๆ ที่มีการผลิตบ้าง เช่น ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และญี่ปุ่น ในช่วงของการระบาดในประเทศอินเดีย ปี พ.ศ. 2537 P. Michel และคณะ ทำการศึกษาวิจัยโดยใช้ Yersinia Outer Protein (YOP) ในการผลิตวัคซีน
ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ
|
วันที่ 8 ส.ค. 2552
🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) ในราคา ฿129 คลิกเลย👇👇https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง เปิดอ่าน 7,167 ครั้ง เปิดอ่าน 7,175 ครั้ง เปิดอ่าน 7,234 ครั้ง เปิดอ่าน 7,207 ครั้ง เปิดอ่าน 7,176 ครั้ง เปิดอ่าน 7,167 ครั้ง เปิดอ่าน 7,194 ครั้ง เปิดอ่าน 7,169 ครั้ง เปิดอ่าน 7,196 ครั้ง เปิดอ่าน 7,173 ครั้ง เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,177 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,168 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,164 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,169 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,156 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,167 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,161 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,171 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,177 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 26,446 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,747 ครั้ง |
เปิดอ่าน 21,880 ครั้ง |
เปิดอ่าน 27,655 ครั้ง |
เปิดอ่าน 220,231 ครั้ง |
|
|