แบบทดสอบ
เรื่อง วรรณคดีมรดก
คำชี้แจง จงเขียนเครื่องหมายกากบาท (û) ทับตัวอักษรหน้าข้อความที่ถูกต้องที่สุดลงในกระดาษคำตอบของนักเรียน
๑. พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย คือข้อใด
ก. คาวี กาพย์เห่เรือ
ข. รามเกียรติ์ กาพย์ห่อโคลงนิราศ
ค. ไกรทอง สังข์ทอง บทเห่ชมเครื่องคาวหวาน
ง. บทพากย์เอราวัณ บทละครเรื่องอิเหนา
๒. บทพากย์โอ้ ใช้ประกอบการแสดงในโอกาสใด
ก. ตัวละครออกรบ
ข. ตัวละครเศร้าโศก
ค. ตัวละครออกจากท้องพระโรง
ง. การชมนกชมไม้ของตัวละคร
๓. บทพากย์เอราวัณในการแสดงโขนโดยทั่วๆ ไปมักเรียกตอนนี้ว่า
ก. ตอนหักคอช้าง
ข. ตอนอินทรชิต
ค. ตอนช้างเอราวัณ
ง. ตอนอินทรชิตบิดเบือนกายิน
๔. “วรรณศิลป์” มีความหายตรงกับข้อใดมากที่สุด
ก. หนังสือที่แต่งดี
ข. ลักษณะของงานประพันธ์ทุกชนิด
ค. ศิลปะในสุภาษิตคำสอน
ง. ศิลปะในการแต่งหนังสือ
๕. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไม่ถูกต้อง
ก. เนื้อเรื่องมีความหมายแคบกว่าเนื้อหา
ข. ความหมายของเนื้อหาคล้ายกับเนื้อเรื่อง
ค. บันเทิงคดี มุ่งเสนอเรื่องราวที่เป็นจินตนาการ เพื่อความเพลิดเพลิน
ง. สารคดี มุ่งเสนอข้อเท็จจริงที่เป็นความรู้ หรือข้อคิดเห็นหลัก
๖. ข้อใดมิใช่ประโยชน์ของการอุปมา
ก. เกิดเสียงไพเราะ
ข. ผู้อ่านเห็นภาพได้ง่าย
ค. เนื้อความสละสลวยขึ้น
ง. ช่วยเชื่อมโยงสิ่งที่ไม่คุ้นเคยให้คุ้นเคย
๗. ข้อใดที่มีสัญลักษณ์ หมายถึงสิ่งที่เป็นภัย
ก. ไก่ได้พลอย ข. ตีปลาหน้าไซ
ค. เรือล่มเมื่อจอด ง. ขว้างงูไม่พ้นคอ
๘. “เขาว่าชาติมอญแล้วในท้องมีเคียวคนละเจ็ดเล่ม” มีความหมายตรงกับบุคคลประเภทใด
ก. คนที่มีอาชีพตีดาบ ข. คนที่มีศัตรูมาก
ค. คนที่ชอบโกหก ง. คนที่มีเล่ห์เหลี่ยมเพทุบายมาก
๙. เรื่องใดต่อไปนี้มีกลวิธีในการดำเนินเรื่องในลักษณะนิทาน
ก. บทพากย์เอราวัน ข. สุภาษิตพระร่วง
ค. รำพึงในป่าช้า ง. ราชาธิราช
๑๐. “ของแพงอย่ามักกิน ความแหนให้ประหยัด” บทประพันธ์นี้ให้คุณค่าในด้านใด
ก. ด้านการทำงาน ข. ด้านการประหยัด
ค. ด้านการปรับตัว ง. ด้านมารยาทในการเข้าสังคม
บันทึกหลังการสอน
บันทึกหลังการสอน
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ปัญหาและอุปกรณ์
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ลงชื่อ.............................................
(นายอดุลย์ จันทร์แจ้ง)
ผู้สอน
แผนการจัดการเรียนรู้
รายวิชา ภาษาไทย
ท ๓๒๑๐๑
เวลาเรียน ๓ ชั่วโมง / สัปดาห์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
ปีการศึกษา ๒๕๕๒
อาจารย์ผู้สอน นายอดุลย์ จันทร์แจ้ง
โรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี