ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ข่าวงานวิจัยเกี่ยวกับปัญหาการศึกษาไทย - น่าสนใจจับตาคณิตศาสตร์


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 6,403 ครั้ง
ข่าวงานวิจัยเกี่ยวกับปัญหาการศึกษาไทย - น่าสนใจจับตาคณิตศาสตร์

Advertisement

บทที่ 4 ปัญหาการพัฒนาคุณภาพในการจัดการการศึกษา บทนี้นำเสนอเรื่องคุณภาพการศึกษาโดยเปรียบเทียบกับประเทศอื่น การประเมินคุณภาพภายนอกของการศึกษาระดับต่าง ๆ โดยสมศ. ทั้งด้านผู้เรียน ครู ผู้บริหาร สถานศึกษา การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในช่วงชั้นที่สำคัญ สรุปการวิเคราะห์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพสถานศึกษาและนักเรียนและข้อเสนอแนะ แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
4.1 คุณภาพการศึกษาไทยเมื่อเทียบกับประเทศอื่น การสำรวจการจัดอันดับความสามารถแข่งขันของประเทศต่าง ๆ ของ International Institute for Management Development หรือ IMD ที่พิจารณาจากปัจจัยหลัก 4 ข้อ คือสมรรถนะเทางเศรษฐกิจโดยทั่วไป ประสิทธิภาพของหน่วยงานของรัฐ ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจเอกชน และโครงสร้างพื้นฐานเช่น การสื่อสารโทรคมนาคม การศึกษา การสาธารณสุข อันดับโดยรวมของประเทศไทยในระดับกลางและมีแนวโน้มต่ำลงมาอยู่ปลายแถวในบรรดา 50 กว่าประเทศโดยตลอด ในปี 2548-2549 และ 2550 อันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยโดยรวมลดอันดับจาก 25 มาอยู่ที่ 29 และที่ 33 ตามลำดับ1 ปัจจัยที่เป็นตัวฉุดอันดับหรือจุดอ่อนในการแข่งขันของไทยมากที่สุดก็คือเรื่องปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะด้านการศึกษาและการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ โดย IMD พิจารณาดูจากตัวบ่งชี้หลายตัว เช่นความสามารถของเด็กอายุ 15 ปี (คือวัยจบการศึกษาภาคบังคับ ม.3) ของไทยในการอ่านและการทำเลขเทียบกับประเทศอื่น ๆ อัตราส่วนจำนวนนักเรียนต่อครู ความสามารถด้านภาษาต่างประเทศของนักเรียน ความพร้อมด้านการสอนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน การลงทุนด้านการวิจัยและจำนวนนักวิจัยในภาคการผลิตต่าง ๆ ตลอดจนอัตราส่วนผู้ใหญ่วัยแรงงานที่ยังอ่านหนังสือไม่คล่อง เป็นต้น ซึ่งในเรื่องปัจจัยพื้นฐานนี้ ประเทศไทยอยู่ในอันดับท้ายแถวมาตลอดและร่วงลงมาเรื่อย ๆ จากอันดับที่ 39 ในปี 2548 มาเป็นอันดับที่ 42 ในปี 2549 และในปี 2550 นี้ อันดับของไทยในเรื่องปัจจัยพื้นฐานนี้ร่วงต่อลงมาอยู่อันดับที่ 48 จากทั้งหมด 55 ประเทศ ตาราง 16 การจัดอันดับความสามารถแข่งขันของประเทศไทยปี 2548-2550 ปัจจัยหลัก 2548 2549 25550 สมรรถนะทางเศรษฐกิจ 7 19 15 ประสิทธิภาพภาครัฐ 14 20 27 ประสิทธิภาพภาคธุรกิจ 25 25 34 ปัจจัยพื้นฐาน (รวมการศึกษา/วิทยาศาสตร์) 39 42 48 อันดับรวม 25 29 33 จำนวนประเทศที่จัดอันดับทั้งหมด 51 53 55 ที่มา International Institute for Management Development, 2007 4.2 การประเมินคุณภาพภายนอกของการจัดการศึกษาระดับต่าง ๆ การประเมินคุณภาพภายนอก ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ที่ได้ประเมินสถานศึกษาระดับต่าง ๆ ทั่วประเทศ ในปี 25482 มีข้อสรุปที่น่าสนใจ คือ 1) ระดับปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สมศ.ได้ประเมินสถานศึกษาปฐมวัย 8,276 แห่ง ขั้นพื้นฐาน 17,562 แห่ง โดยใช้เกณฑ์การพิจารณาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก จำนวน 14 มาตรฐาน ประกอบด้วย มาตรฐานด้านผู้เรียน 7 มาตรฐาน ด้านครู 2 มาตรฐาน และด้านผู้บริหาร 5 มาตรฐาน ผลการประเมินด้านมาตรฐานผู้เรียน มาตรฐานที่ได้คะแนนต่ำกว่า 50% ซึ่งหมายถึง ควรปรับปรุง คือ มาตรฐานที่ 4,5,6 (ดูตาราง 17) ที่ได้คะแนนร้อยละต่ำมากที่สุด คือ มาตรฐานที่ 4 ผู้เรียนมีความสามารถวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์คิดมีวิจารณญาณฯ ได้คะแนนเพียงร้อยละ 11.1 ทั้งในระดับปฐมวัยและขั้นพื้นฐาน นี่คือปัญหาสำคัญที่สุดที่จะต้องหาทางแก้ไขปรับปรุงโดยเร่งด่วน สาเหตุ คือทั้งผู้บริหารและครูอาจารย์ก็คิดวิเคราะห์ไม่ค่อยเป็น และไม่รู้ว่าการสอนให้เด็กหัดคิดวิเคราะห์จะต้องสอนแบบเสนอปัญหาให้เด็กหัดคิด โดยให้เสรีภาพเด็กที่จะคิดหาเหตุผลมาอธิบายได้หลายทาง ไม่ใช่การสอนบรรยายแบบท่องจำและมีคำตอบสำเร็จรูปเพียงคำตอบเดียว มาตรฐาน 5 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร ได้คะแนนเพียงร้อยละ 18.2 ในระดับปฐมวัย และร้อยละ 12.6 ในขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 6 ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ได้คะแนนร้อยละ 28.1 ในระดับปฐมวัย และร้อยละ 26.5 ในขั้นพื้นฐาน น่าสังเกตว่า 2 มาตรฐานหลังนี้ นักเรียนในระดับขั้นพื้นฐาน(ชั้นประถมถึงมัธยม) มีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่านักเรียนระดับปฐมวัย ซึ่งสะท้อนปัญหาการขาดประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะการเรียนการสอนแบบเน้นการท่องจำที่คงมีส่วนทำให้นักเรียนระดับประถม และมัธยมมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองและมีความรู้และทักษะต่ำกว่านักเรียนระดับปฐมวัย ในขณะที่เด็กปฐมวัยยังมีสมองที่ว่องไวและการจัดการศึกษาระดับนี้ไม่เข้มงวดนัก ทำให้เด็กเล็กพร้อมจะเรียนรู้มากกว่า ครูที่สอนชั้นประถมและมัธยมน่าจะเรียนรู้จากการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ครูอาจารย์เข้าใจเรื่องจิตวิทยาการเรียนรู้ของเด็กมุ่งสอนให้นักเรียน เรียนรู้อย่างสอดคล้องกับการทำงานของสมองและเรียนรู้ความฉลาดหลายด้านมากกว่าการเน้นการสอน แต่วิชาการแบบท่องจำ ในด้านการประเมินมาตรฐานครู มาตรฐานที่ 22 ที่ระบุว่าครูมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สถานศึกษาทั้งประเทศได้คะแนนต่ำกว่า 50% ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ต้องปรับปรุง คือ ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 38.0 ในสถานศึกษาระดับปฐมวัย และร้อยละ 34.2 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในด้านการประเมินมาตรฐานผู้บริหาร สถานศึกษาทั่วประเทศก็ได้คะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 50 ต้องปรับปรุงทั้ง 2 มาตรฐานและทั้งระดับปฐมวัยและระดับขั้นพื้นฐาน (ดูตาราง 17) ตาราง 17 ภาพรวมร้อยละของสถานศึกษาปฐมวัยและขั้นพื้นฐานที่มีผลการประเมิน คุณภาพมาตรฐานระดับดี มาตรฐาน ปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน ด้านผู้เรียน 7 มาตรฐาน ร้อยละ ร้อยละ มาตรฐานผู้เรียน : คนดี 1. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ 84.5 83.4 มาตรฐานผู้เรียน : มีความสามารถ 4. ผู้เรียนมีความสามารถในการวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดมีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์ 11.1 11.1 5. ผู้เรียนมีความรู้ และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร 18.2 12.6 6. ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตัวเอง รักการเรียนรู้ และ พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 28.1 26.5 9. ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น ได้และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต 69.2 68.2 มาตรฐานผู้เรียน : มีความสุข 10. ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี 95.4 95.6 12. ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา 71.3 72.7 มาตรฐาน ปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน ด้านครู 2 มาตรฐาน ร้อยละ ร้อยละ มาตรฐานครู : การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 22. ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 38.0 34.2 มาตรฐานครู : เพียงพอ 24. ครูมีวุฒิ/ความรู้ ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบ และมีครู เพียงพอ 61.3 55.4 ด้านผู้บริหาร 5 มาตรฐาน ร้อยละ ร้อยละ มาตรฐานผู้บริหาร : การบริหาร 13. สถานศึกษามีการจัดองค์กร/โครงสร้าง และการบริหารงานอย่าง เป็นระบบ ครบวงจรให้บรรลุเป้าหมายการศึกษา 63.5 64.4 14. สถานศึกษาส่งเสริมความสัมพันธ์ และความร่วมมือกับชุมชนใน การพัฒนาการศึกษา 79.8 77.1 20. ผู้บริหารมีภาวะผู้นำ และมีความสามารถในการบริหาร 83.6 82.1 มาตรฐานผู้บริหาร : วิชาการ 18. สถานศึกษามีการจัดกิจกรรม และการเรียนการสอน โดยเน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ 40.7 39.2 25. สถานศึกษามีหลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น มีสื่อการ เรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 36.9 35.5 รวมจำนวนสถานศึกษา 8,276 17,562 2) อาชีวศึกษา สมศ.ได้ประเมินภายนอกสถาบันอาชีวศึกษา(ปวช. ปวส. อนุปริญญาหรือเทียบเท่า) จำนวน 101 แห่ง เป็นสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จำนวน 66 แห่ง และสังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จำนวน 35 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 65.30 และ 34.70 ตามลำดับ โดยใช้การประเมินตามหลักเกณฑ์มาตรฐาน 8 มาตรฐาน มีผลการประเมินที่สำคัญ คือ • มาตรฐานคุณภาพผู้สำเร็จการศึกษา นักศึกษาส่วนใหญ่ศึกษาต่อ ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจในระดับมากต่อการทำงานของนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา ถ้าตั้งเป้าหมายว่าการจัดการอาชีวศึกษาของประเทศไทยมุ่งให้ไปประกอบอาชีพ เรียกว่าไม่ประสบความสำเร็จ เพราะมากกว่าร้อยละ 60 ของผู้จบการศึกษาทั้งระดับ ปวช. และ ปวส. ศึกษาต่อ แต่ถ้าตั้งเป้าหมายของการอาชีวว่ามีทั้งเพื่อประกอบอาชีพและศึกษาต่อ ถือว่า ยอมรับได้ • มาตรฐานด้านการเรียนรู้ ชั่วโมงวิชาปฏิบัติตลอดหลักสูตรและชั่วโมงฝึกงานในสถานประกอบการตลอดหลักสูตรทั้งระดับ ปวช. และ ปวส. ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง แต่ยังขาดความหลากหลายของกิจกรรม และวิชาการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ • มาตรฐานด้านการสนับสนุนการเรียนรู้ ส่วนใหญ่อาจารย์ประจำมีความพอเพียงและได้รับการอบรมวิธีการสอนในระดับมาก แต่ได้รับการเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาชีพในระดับปานกลาง จึงควรสนับสนุนส่งเสริมให้อาจารย์ได้รับการเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาชีพและวิธีการสอนอย่างสมดุลและมีความต่อเนื่อง • มาตรฐานด้านการวิจัยและงานสร้างสรรค์ จำนวนผลงานนวัตกรรม และโครงการ ตลอดจนงานวิจัยประยุกต์ งานวิจัยปฏิบัติการ ของอาจารย์และนักศึกษาโดยรวมยังมีน้อย สถาบันยังไม่เป็นแหล่งวิชาการทางอาชีพแก่ชุมชน/สังคม • มาตรฐานด้านการบริการวิชาการ การให้บริการวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชน สังคมเพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและสังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิตยังมีจำนวนน้อย • มาตรฐานด้านกิจการนักศึกษาและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มีจำนวนกิจกรรมนักศึกษาและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทยในระดับปานกลาง • มาตรฐานด้านการบริหารจัดการ ผลการประเมินแต่ละตัวชี้วัดในเรื่องเงินเดือนบุคลากรต่องบดำเนินการ บุคลากรสายสนับสนุนต่อนักศึกษา ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการของส่วนกลางต่องบดำเนินการ ค่าเสื่อมราคาต่อนักศึกษา และงบซ่อมบำรุงต่อนักศึกษา ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นเงินเหลือจ่ายสุทธิต่องบดำเนินการส่วนใหญ่อยู่ในระดับน้อย ผู้บริหารมีภาวะผู้นำ มีการจัดทำแผนงาน แผนเงิน แผนคน มีระบบชัดเจนบริหารแบบกระจายอำนาจ ทำงานเป็นทีม แต่ก็ต้องปรับปรุง โดยเฉพาะการใช้ระบบบริหารแบบใหม่ Focused results, multidisciplinary, specialist driven การนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ 3) อุดมศึกษา สมศ.ได้ประเมินสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 42 แห่ง ประกอบด้วยสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและในกำกับ 10 แห่ง สถาบันอุดมศึกษาเอกชน 14 แห่ง และมหาวิทยาลัยราชภัฎ 18 แห่ง พบว่า (1) ความเป็นสถาบันอุดมศึกษาในระดับสากล อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาไทยที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกมีเพียงร้อยละ 13.23 เท่านั้น ส่วนตัวชี้วัดในเรื่องการวิจัย พบว่า มีงานวิจัยและงานสร้างสรรค์เพียง 0.1545 เรื่องต่อคนต่อปี ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่ามาตรฐานสากลมาก (2) การจัดการเรียนการสอน บัณฑิตมีอัตราการได้งานอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ซึ่งคิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 75.91 ผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของบัณฑิต แต่ก็มีข้อเสนอให้บัณฑิตพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษ ตลอดจนภาษาที่สาม และทักษะคอมพิวเตอร์ และคุณลักษณะด้านความสามารถในด้านการจัดการของบัณฑิตให้มากขึ้น (3) สถาบันอุดมศึกษาที่เป็นที่คาดหวังของสังคม และชุมชนในเชิงบทบาทของการเป็นผู้ชี้เหตุ เฝ้าระวังเตือนภัย แนะนำหนทางที่ดีให้กับท้องถิ่น และสังคม จากผลการประเมิน พบว่า แม้ว่าสถาบันอุดมศึกษาไทยจะจัดบริการวิชาการเป็นจำนวนมาก โดยเฉลี่ยคิดเป็น 0.3257 กิจกรรมต่อคนต่อปี มีอาจารย์ที่เป็นกรรมการวิชาการ วิชาชีพ วิทยานิพนธ์ร้อยละ 19.49 ของอาจารย์ทั้งหมด แต่เป็นบริการวิชาการเพื่อบริการความต้องการของรายบุคคล และมีผลกระทบต่อวงสังคมยังไม่มากนัก ยังขาดการบริการวิชาการในเชิงบทบาทของการเป็นผู้ชี้เหตุ เตือนภัยแนะนำหนทางที่ดีให้กับท้องถิ่น การสร้างองค์ความรู้ที่สอดคล้องต่อท้องถิ่นชุมชนยังมีจำนวนไม่มากนัก มีเวทีในการเรียนรู้ของชุมชนน้อย (4) ทรัพยากรในการจัดการเรียนการสอน เปรียบเทียบสัดส่วนระหว่างอาจารย์ประจำกับนักศึกษาแล้ว ยังมีสัดส่วนจำนวนนักศึกษาต่ออาจารย์ประจำสูง ค่าเฉลี่ย 1 : 28.85 สถาบันอุดมศึกษาบางแห่งมีสัดส่วนอาจารย์ 1 ท่าน ต่อนักศึกษาสูงถึง 80 คน นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนระหว่างอาจารย์ผู้สอนทางวิชาการกับบุคลากรช่วยวิชาการพบว่า มีอัตรากำลังด้านบุคลากรช่วยวิชาการน้อย โดยเฉลี่ยมีบุคลากรสายสนับสนุนต่อนักศึกษาเท่ากับ 1 ต่อ 30.12 ส่วนด้านคุณวุฒิของอาจารย์พบว่า อาจารย์มีคุณวุฒิปริญญาเอกร้อยละ 13.23 ยังเป็นสัดส่วนที่น้อยสำหรับระดับอุดมศึกษา เมื่อพิจารณาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ในด้านอื่น ๆ พบว่า มีความแตกต่างระหว่างสถาบันต่าง ๆ สูงมาก โดยเฉลี่ยมีสัดส่วนคอมพิวเตอร์ต่อนักศึกษาเท่ากับ 1 : 11.92 แต่สถิตินี้อาจจะนับคอมพิวเตอร์ทั้งสถาบัน ซึ่งส่วนหนึ่งใช้งานโดยฝ่ายบริหาร ธุรการและครูอาจารย์ คอมพิวเตอร์ที่นักศึกษาได้ใช้จริงคิดแบบเฉลี่ยทั่วประเทศอาจจะมีน้อยกว่านี้ 4.3 ปัญหาคุณภาพของสถานศึกษา การประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานรอบแรก ระหว่างปีการศึกษา 2544 – 2548 จำนวน 26,584 แห่ง ใน 173 เขตพื้นที่ 3(ข้อมูล ณ 22 ส.ค. 2549) พบว่า สถานศึกษาส่วนใหญ่ 56.0% อยู่ในเกณฑ์พอใช้ 42.2% อยู่ในเกณฑ์ดี และ 1.8% อยู่ในเกณฑ์ต้องปรับปรุง เมื่อจำแนกตามภูมิภาค น่าสังเกตว่า ภาคที่มีสถานศึกษาได้รับการประเมินอยู่ในเกณฑ์ดีมีสัดส่วนต่ำสุด คือ ภาคใต้ 35.4% รองลงมา คือ ภาคเหนือ 37.7% และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 41% กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ภาคทั้ง 3 นี้มีสถานศึกษาที่อยู่ในเกณฑ์พอใช้และต้องปรับปรุงมากกว่าภาคกลาง ตะวันตก และตะวันออก ซึ่งอาจแสดงว่าสถานศึกษาในภูมิภาคที่ห่างไกลจากกรุงเทพได้รับการบริการทางการศึกษาน้อยกว่า มีครูที่มีความรู้ตามสาขาอยากไปทำงานน้อยกว่า นักเรียน พ่อ แม่ ผู้ปกครองอยู่ในสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมที่เสียเปรียบกว่าภูมิภาคที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ ถ้าจำแนกตามขนาดสถานศึกษาเป็นขนาดเล็ก (นักเรียนไม่เกิน 300) กลาง (นักเรียน 301-1,000 คน) ใหญ่ (นักเรียน 1,001-2,000 คน) ใหญ่พิเศษ (นักเรียนมากกว่า 2,000 คน) ปรากฏว่า โรงเรียนขนาดใหญ่ขึ้นจะอยู่ในเกณฑ์ดีเป็นสัดส่วนสูงขึ้นตามลำดับ โรงเรียนขนาดใหญ่นั้นอยู่ในเมืองใหญ่ ที่มีงบประมาณสนับสนุน มีครูที่มีความรู้ตามสาขา และพ่อแม่ผู้ปกครองมีฐานะดีมีความรู้ดี สนับสนุนช่วยเหลือลูกได้ดีกว่าพ่อแม่ในชนบทที่ยากจนกว่า การประเมินตามมาตรฐานการศึกษาด้านผู้เรียนระดับขั้นพื้นฐาน มาตรฐาน 4 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรองและมีวิสัยทัศน์ เป็นมาตรฐานที่สถานศึกษาระดับขั้นพื้นฐานทั่วประเทศได้คะแนนประเมินต่ำสุดเมื่อเทียบกับมาตรฐานข้ออื่น คือ อยู่ในเกณฑ์ดีเพียง 9.4% พอใช้ 70.6% อีก 12% ต้องปรับปรุง ปัญหานี้สอดคล้องกับการประเมินด้านมาตรฐานผู้เรียนทั้งในระดับปฐมวัยและขั้นพื้นฐาน ซึ่งสะท้อนว่าจะยังคงมีปัญหาต่อไปถึงขั้นอุดมศึกษาและแรงงาน เพราะถ้าผู้เรียนมีความรู้ความสามารถด้านที่ต่ำตั้งแต่วัยเด็กก็ยากที่จะเรียนรู้พัฒนาด้วยตัวเองเมื่อโตขึ้นได้ แนวทางการปฏิรูปการเรียนการสอนให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์เป็น ควรคำนึงถึงการสอนให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์แบบคำนึงผู้อื่นในสังคม (CARING THINKING) ด้วย ไม่ใช่คิดวิเคราะห์เพื่อประโยชน์ของตัวเองเท่านั้น มาตรฐาน 5 มีความรู้และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นตามหลักสูตร ได้คะแนนประเมินต่ำสุดรองลงมา คือมีโรงเรียนที่ได้มาตรฐานนี้อยู่ในเกณฑ์ดีเพียง 20.7% พอใช้ 53.1% ต้องปรับปรุง 36.1% มาตรฐาน 6 มีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง จัดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีสถานศึกษาอยู่ในเกณฑ์ดี 23.2% พอใช้ 68.8% ต้องปรับปรุง 8.0% (ดูตาราง 17) ข้อที่น่าสังเกตคือ โรงเรียนก่อนประถมศึกษาได้รับคะแนนประเมินผลใน 3 มาตรฐานนี้อยู่ในเกณฑ์ดี เป็นสัดส่วนสูงกว่าโรงเรียนระดับขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะที่แตกต่างกันมากคือ มาตรฐาน 4 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์ มีโรงเรียนก่อนประถมอยู่ในเกณฑ์ดี 54.6% เทียบกับโรงเรียนขั้นพื้นฐานที่อยู่ในเกณฑ์ดี ในมาตรฐานข้อเดียวกันนี้เพียง 9.4% (เทียบตาราง 16 กับตาราง 17) ความแตกต่างนี้คงไม่ได้สะท้อนว่าครู อาจารย์โรงเรียนก่อนประถมมีคุณภาพสูงกว่าโรงเรียนขั้นพื้นฐาน แต่สะท้อนว่าเด็กวัยก่อนประถมและวิธีการสอนแบบกึ่งเรียนกึ่งเล่นเน้นการพัฒนาสมองทำให้เด็กวัยนี้มีความคิดสร้างสรรค์มากกว่า ขณะที่ระบบโรงเรียนขั้นพื้นฐานที่สอนแบบมุ่งท่องจำวิชาการแบบเข้มงวดอาจจะมีผลทำให้นักเรียนคิดสร้างสรรค์ได้ลดลง นี่เป็นเรื่องที่ครูอาจารย์ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้บริหารควรจะตระหนัก และหาทางแก้ไขอย่างจริงจัง การประเมินผลคุณภาพภายนอกด้านครู พบว่า โรงเรียนที่ครูได้มาตรฐาน 22 คือ มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในเกณฑ์ดีมีเพียง 31.1% และได้มาตรฐาน 24 คือมีคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถการและงานที่รับผิดชอบและมีครูเพียงพอในขั้นดี 52.1% โรงเรียนที่เหลือส่วนใหญ่อยู่ระดับพอใช้ และมีโรงเรียนที่อยู่ในเกณฑ์ต้องปรับปรุงอยู่เล็กน้อย (ดูตาราง 17) การประเมินผลคุณภาพภายนอกในด้านผู้บริหาร ก็สะท้อนปัญหาคล้ายกัน มาตรฐานที่ได้คะแนนต่ำสุดคือ มาตรฐาน 25 สถานศึกษามีหลักสูตรเหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น มีสื่อการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีโรงเรียนที่อยู่ในเกณฑ์ดีตามมาตรฐานข้อนี้เพียง 31.8% และมาตรฐาน 18 สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมและการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีโรงเรียนที่อยู่ในเกณฑ์ดีตามมาตรฐานข้อนี้แค่ 35.9% ตารางที่ 18 ระดับคุณภาพมาตรฐานของสถานศึกษาระดับขั้นพื้นฐานจำแนกตามมาตรฐานการศึกษา N=26,584 แห่ง มาตรฐาน ปรับปรุง พอใช้ ดี ด้านผู้เรียน มฐ.1 : มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ 77(0.3%) 4,562(17.2%) 21,886(82.5%) มฐ.4 : มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรองและมีวิสัยทัศน์ 3,177(12.0%) 20,846(78.6%) 2,501(9.4%) มฐ.5 : มีความรู้และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นตามหลักสูตร 9,571(36.1%) 14,088(53.1%) 2,849(10.7%) มฐ.6 : มีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 2,111(8.0%) 18,244(68.8%) 6,160(23.2%) ด้านผู้เรียนระดับขั้นพื้นฐาน มฐ.9 : มีทักษะในการทำงาน รักการทำงานสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต 189(0.7%) 8,645(32.6%) 17,680(66.7%) มฐ.10 : มีสุขนิสัย สุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี 19(0.1%) 1,345(5.1%) 25,144(94.9%) มฐ.12 : มีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา 181(0.7%) 7,663(28.9%) 18,657(70.4%) N=26,584 แห่ง มาตรฐาน ปรับปรุง พอใช้ ดี ด้านครู มฐ.22 : มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 1,000(3.8%) 17,307(65.1%) 8,277(31.1%) มฐ.24 : มีคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบและมีครูเพียงพอ 854(3.2%) 11,887(44.7%) 13,843(52.1%) สรุปผลการประเมินคุณภาพภายนอก จาก สมศ. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ได้นำข้อมูลรายงานผลการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาจำนวน 10,026 แห่งที่มีผลการประเมินตามตัวบ่งชี้อยู่ในคุณภาพระดับดีต่ำกว่า ร้อยละ 50 ของจำนวนสถานศึกษาในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษามาวิเคราะห์ต่อและมีข้อสรุป ดังนี้ 1. เกือบทุกเขตพื้นที่ (ร้อยละ 92 – 99) ต้องเร่งพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านการคิดวิเคราะห์ทุกตัวบ่งชี้ 2. วิชาที่ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ต่ำในเกือบทุกเขตพื้นที่ (ร้อยละ93 – 99) เรียงตามลำดับ ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคม 3. คุณภาพผู้เรียนด้านการแสวงหาความรู้ รักการเรียนรู้ และพัฒนาตนเอง ควรเร่งแก้ไขในเรื่อง ความสามารถในการสรุปประเด็นจากการเรียนรู้และประสบการณ์ การรักการอ่าน ความสามารถในการใช้ห้องสมุด แหล่งเรียนรู้ สื่อต่าง ๆ ทั้งในและนอกสถานที่ 4. สำหรับคุณภาพครูนั้น จุดอ่อนอยู่ที่ ความรู้ความสามารถของครูในการประเมินผลการเรียนการสอน และการนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพ (ร้อยละ 75 ของเขตพื้นที่การศึกษา) 5. ด้านผู้บริหาร มีจุดอ่อนอยู่ที่ 5.1 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียน รู้จักคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหาและตัดสินใจ (ร้อยละ 95.43 ของเขตพื้นที่การศึกษา) 5.2 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียน รู้จักศึกษาหาความรู้ แสวงหาคำตอบ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (ร้อยละ 87 ของเขต พื้นที่การศึกษา) 5.3 การประเมินพัฒนาการของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลายและต่อเนื่อง (ร้อยละ70 ของเขตพื้นที่การศึกษา) 5.4 การนำข้อมูลและผลการประเมินไปใช้ในการตัดสินใจปรับปรุงงาน (ร้อยละ 76 ของเขตพื้นที่การศึกษา) 5.5 การนิเทศ ติดตาม ประเมินผล เปรียบเทียบกับเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง (ร้อยละ 76 ของเขตพื้นที่การศึกษา) 5.6 การจัดให้มีสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสม และเอื้อต่อการเรียนรู้ (ร้อยละ 73 ของเขตพื้นที่การศึกษา) จากผลการประเมินทำให้เห็นว่า เขตพื้นที่การศึกษามากกว่าร้อยละ 75 ขึ้นไป มี จุดอ่อนในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในเรื่องที่เป็นประเด็นหลักทั้งสิ้น ควรอย่างยิ่งที่ต้องเร่งพัฒนาให้เขตพื้นที่การศึกษามีความเข้มแข็งทางวิชาการอย่างเร่งด่วน นอกจากนี้ จากผลสรุปของ สมศ. ในภาพรวมยังพบว่า เขตพื้นที่การศึกษาที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากมีสถานศึกษาที่มีผลการประเมิน (ค่าเฉลี่ย 14 มาตรฐาน) อยู่ในระดับดีต่ำกว่าร้อยละ 40 อยู่ 6 เขตพื้นที่การศึกษา ได้แก่ 1. สพท. หนองบัวลำภู เขต 2 2. สพท. หนองบัวลำภู เขต 1 3. สพท. แม่ฮ่องสอน เขต 2 4. สพท. แม่ฮ่องสอน เขต 1 5. สพท. สุราษฎร์ธานี เขต 2 6. สพท. จันทบุรี เขต 2 สำหรับ 4 เขตพื้นที่การศึกษา4 เขตแรกเป็นเขตที่ค่อนข้างยากจน ห่างไกล ส่วน 2 เขตพื้นที่หลังน่าจะวิจัยต่อว่าเป็นเพราะอะไร การประเมินคุณภาพสถานศึกษาทั้งระดับพื้นฐานและระดับอุดมศึกษา โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ในปี 2550 พบว่า คุณภาพการศึกษาไม่ได้ดีขึ้นจากช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา กล่าวคือ ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากจำนวนสถานศึกษาที่รับการประเมินทั้งหมด 35,159 แห่งมีสถานศึกษาที่ได้รับการประเมินในระดับดีและได้รับการรับรองเพียง 12,167 แห่งหรือคิดเป็นร้อยละ 34.61 อยู่ในระดับพอใช้และระดับปรับปรุงซึ่งถือว่ายังไม่ได้มาตรฐานถึง 22,992 แห่งหรือคิดเป็นร้อยละ 65.39 ส่วนในระดับอุดมศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาที่รับการประเมิน 260 แห่ง ได้รับการประเมินในระดับดีและได้รับการรับรองเพียง 124 แห่งคิดเป็นร้อยละ 47.69 อยู่ในระดับพอใช้และระดับปรับปรุงถึง 136 แห่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 52.31 ตาราง 19 แสดงจำนวนและร้อยละผลการประเมินโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของ สมศ.ปีการศึกษา 2549 ได้มาตรฐาน สมศ. ไม่ได้มาตรฐาน สมศ. จำนวนโรงเรียนที่เข้ารับการประเมินทั้งหมด ระดับดี ระดับพอใช้ ระดับปรับปรุง รวมที่ไม่ได้มาตรฐานทั้งหมด จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ 12,167 34.61 22,324 63.49 668 1.90 22,992 65.39 35,159 ที่มา สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา, 2550. 4.4 ปัญหาคุณภาพของนักเรียน การทดสอบ การประเมินผล และการศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนไทยจากหลายหน่วยงาน ให้ข้อมูลที่สอดคล้องกันว่านักเรียนส่วนใหญ่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในเกณฑ์ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย หรือต่ำกว่านักเรียนในประเทศอื่น 4อาทิเช่น ผลการศึกษาของโครงการประเมินผลการศึกษา PISA (Programme for International Student Assessment) ประเทศสมาชิกขององค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา OECD (Organization for Economic Cooperation and Development) และประเทศนอก OECD ที่ขอเข้าร่วมโครงการ เพื่อสำรวจความรู้และทักษะของประชากรอายุ 15 ปี ซึ่งถือว่าเป็นวัยที่จบการศึกษาภาคบังคับ พบว่าในเรื่องความสามารถในการอ่าน มีเด็กนักเรียนอายุ 15 ปีของไทยเพียงร้อยละ 26 ที่มีทักษะการอ่านอยู่ในระดับดี (ระดับ 3-5) ในขณะที่ร้อยละ 74 มีทักษะการอ่านอยู่ในระดับต่ำ (ต่ำกว่าระดับ1, ระดับ 1-2) การประเมินความรู้ทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ พบว่าในขณะที่ค่าคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนจากประเทศในกลุ่ม OECD อยู่ที่ 500 คะแนน คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนอายุ 15 ปีของไทยคือ 432 ซึ่งต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยของ OECD มาก จากจำนวนประเทศทั้งหมดที่เข้าร่วมการประเมินความรู้ทั้งในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม OECD และประเทศนอกกลุ่ม OECD จากเอเซียรวมทั้งสิ้น 40 ประเทศ ประเทศไทยมีคะแนนอยู่ในอันดับที่ 30 ขณะที่ประเทศจากเอเซียสามารถครองอันดับ 1-3 (เกาหลี ญี่ปุ่น ฮ่องกงตามลำดับ) การสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หรือ National Test ระดับป.6 และม.3 ประจำปีการศึกษา 2549 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้วิธีสุ่มนักเรียนสอบทุกโรงเรียนทั่วประเทศ ผลการสอบปรากฎว่า ในระดับ ป.6 สอบทั้งหมด 4 วิชาคะแนนเต็มวิชาละ 40 คะแนน ผู้เข้าสอบวิชาละ 447,000 คน พบว่า ทุกวิชาคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าครึ่งหนึ่ง วิชาที่ได้คะแนนเฉลี่ยต่ำสุด คือ วิชาคณิตศาสตร์ คะแนนเฉลี่ย 15.55 และวิชาภาษาอังกฤษคะแนนเฉลี่ย 13.81 ในระดับ ม.3 สอบทั้งหมด 5 วิชา คะแนนเต็มวิชาละ 40 คะแนนเช่นกัน มีผู้เข้าสอบ 196,000 คน พบว่า ทุกวิชานักเรียนสอบได้คะแนนเฉลี่ยทั่วประเทศต่ำกว่าครึ่งหนึ่ง วิชาที่ได้คะแนนเฉลี่ยต่ำสุด คือ วิชาคณิตศาสตร์ คะแนนเฉลี่ย 12.46 วิชาสังคมศึกษาคะแนนเฉลี่ย 12.34 และจากการนำผลคะแนน National Test ของปี 2549 มาเปรียบเทียบกับของปีการศึกษา 2546 และ 2547 พบว่า ชั้น ป.6 ค่าเฉลี่ยลดลงเกือบทุกวิชา มีเพียงวิทยาศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนชั้น ม.3 วิชาที่มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากปี 2547 เล็กน้อยคือ ภาษาไทย และวิทยาศาสตร์ ส่วนคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และสังคมลดลงเช่นกัน การที่คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทั้งประเทศอยู่ในเกณฑ์ต่ำและระดับชั้นป.6 คะแนนเฉลี่ยลดลงจาก 3-4 ปีก่อน สะท้อนว่านักเรียนส่วนใหญ่มีผลสัมฤทธิ์การศึกษาต่ำ แม้ว่าในความเป็นจริงจะมีนักเรียนส่วนหนึ่งที่สอบได้คะแนนสูงก็ตาม คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) สำรวจร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ในปี 2550 พบว่า มีนักเรียนชั้น ป.2 จำนวนถึง 79,000 คนหรือคิดเป็นร้อยละ 12 ของนักเรียน ป.2 ทั้งหมด 636,000 คนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ตามเกณฑ์ คือ ไม่สามารถอ่านเขียนคำศัพท์ในบัญชีคำศัพท์พื้นฐาน 3,000 คำที่จำเป็นเพื่อเลื่อนขึ้นไปเรียน ป.3 อีกทั้งพบว่ามี สพท.ถึง 10 เขตที่มีนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้เกินร้อยละ 25 ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น สพท.ที่อยู่ชายแดน เช่น ตาก ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ผลการสอบวัดความรู้พื้นฐานหรือ O-Net ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) พบว่าคะแนน O-Net ปี 2549 จากคะแนนเต็ม 100 วิชาภาษาไทยเฉลี่ย 50.33 วิชาสังคมศึกษาเฉลี่ย 37.94 วิชาภาษาอังกฤษเฉลี่ย 32.37 วิชาคณิตศาสตร์เฉลี่ย 29.56 และวิชาวิทยาศาสตร์เฉลี่ย 34.88 คะแนน ตาราง 20 คะแนนสอบ O-Net และ NT ของโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2549 วิชา คะแนน O-Net คะแนน NT ภาษาไทย 50.33 49.25 สังคมศึกษา 37.94 42.05 ภาษาอังกฤษ 32.37 32.45 คณิตศาสตร์ 29.56 35.08 วิทยาศาสตร์ 34.88 44.33 เฉลี่ยรวม 37.02 44.63 สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) เผยผลการประเมินคุณภาพการศึกษานอกโรงเรียนปี 2547 ว่า กศน. ได้ทำการสุ่มนักศึกษาสายสามัญเพื่อเข้ารับการประเมิน 75,824 คน เป็นระดับ ม.ต้น และ ม.ปลาย สอบ 5 วิชา คือ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา และ ภาษาอังกฤษ คะแนนเต็มวิชาละ 50 คะแนน พบว่า ในระดับม.ต้น ภาษาไทยได้คะแนนเฉลี่ย 26.8 อีก 4 วิชา ล้วนได้คะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าครึ่งหนึ่ง ที่ต่ำสุด คือ ภาษาอังกฤษ คะแนนเฉลี่ย 14.2 ส่วนระดับ ม.ปลาย พบว่า คะแนนเฉลี่ยทุกวิชาต่ำกว่าครึ่งหนึ่ง วิชาที่ได้คะแนนเฉลี่ยต่ำสุด คือ คณิตศาสตร์ คะแนนเฉลี่ย 14.3 และภาษาอังกฤษ คะแนนเฉลี่ย 12.7 4.5 ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพสถานศึกษาและนักเรียน5 1 ปัญหาการขาดแคลนครูทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ที่ขาดแคลนมาก คือครูที่มีความสามารถในการสอนเฉพาะกลุ่มสาระที่สำคัญเช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลที่โรงเรียนส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนขนาดเล็กยิ่งขาดแคลนมาก ส่วนหนึ่งของปัญหาคุณภาพมาจากปัญหาการที่ครูต้องใช้เวลาทำงานธุรการมาก ครูที่ไม่ภูมิใจในอาชีพ อยากเปลี่ยนอาชีพ อยากเข้าร่วมโครงการเกษียณก่อนอายุเป็นสัดส่วนสูง 2 ปัญหาการขาดการส่งเสริมด้านเทคโนโลยีและสื่อเพื่อการเรียนรู้ ภาวะการขาดแคลนเทคโนโลยีและสื่อการเรียนรู้สมัยใหม่ เช่น อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้กระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาล่าช้าเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นที่ มีการลงทุนในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างจริงจัง และส่งเสริมให้นักเรียนสามารถเชื่อมต่อกับโลกแห่งความรู้ได้สะดวกรวดเร็ว แต่ในกรณีของประเทศไทย จากการสำรวจของโครงการ Teacher Watch พบว่ามีโรงเรียนเพียงร้อยละ 28.6 ที่มีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงใช้ และมีครูเพียงร้อยละ 41 ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอน 3 การเตรียมที่ไม่พร้อมในการศึกษาระดับปฐมวัย ในขณะที่ข้อมูลเชิงวิชาการต่างชี้ตรงกันถึงความสำคัญอย่างยิ่งของการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กในช่วงอายุ 3-5 ปีว่ามีผลต่อทั้งความสำเร็จในการเรียนในระดับประถมศึกษาและต่อพัฒนาการในระยะยาวของเด็ก แต่ในกรณีของประเทศไทยกลับยังมีเด็กจำนวนมากที่ขาดโอกาสในเรื่องนี้ การสำรวจสถานการณ์เด็กในประเทศไทยช่วงตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2548 ถึงเดือนมิถุนายน 2549 พบว่า เด็กไทยที่มีโอกาสเข้าเรียนอนุบาลเตรียมความพร้อมมีเพียงร้อยละ 60 ซึ่งเท่ากับว่ามีเด็กที่ไม่ได้เข้าเรียนอนุบาลเพื่อเตรียมความพร้อมถึงเกือบร้อยละ 40 สภาพดังกล่าวส่งผลโดยตรงต่อปัญหาในการเรียนของเด็กนักเรียนประถมศึกษา อัตราการจบชั้น ป.6 ยังคงต่ำคือมีเพียงร้อยละ 86.8 ของเด็กที่เข้าเรียนชั้น ป.1 ที่สามารถเรียนจนจบชั้น ป.6 ได้ตามเวลา ซึ่งหมายถึงมีเด็กถึงราวร้อยละ 14 หรือกว่า 800,000 คนที่มีปัญหาขาดความพร้อมในการเรียน และนำไปสู่ปัญหาการสอบตกซ้ำชั้นและการออกกลางคัน 4 การขาดระบบการจัดการและการนิเทศติดตามผลอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบการนิเทศติดตามผลการเยี่ยมเยียนโรงเรียนและการสร้างเครือข่ายการจัดการความรู้ระหว่างโรงเรียนและคณะครูเป็นปัจจัยที่สำคัญมากในกระบวนการจัดและพัฒนาการศึกษา โดยเฉพาะในบริบทของสังคมไทยที่ “การแลกเปลี่ยนเรียนรู้” และ “สัมพันธภาพ” เป็นสิ่งสำคัญในระหว่างเพื่อนร่วมวิชาชีพ ระบบการนิเทศของไทยอ่อนแอลง และคุณภาพของศึกษานิเทศก็ด้อยลงกว่าแต่ก่อนมาก ระบบพี่เลี้ยงครูและความพยายามสร้างเครือข่ายการจัดการความรู้ระหว่างกลุ่มครูในแต่ละพื้นที่ล้มเหลวมาโดยตลอด ส่วนหนึ่งเพราะไม่มีแรงจูงใจด้านงบประมาณ ค่าตอบแทน การให้ความดีความชอบแก่ครูที่เข้าร่วมโครงการเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเพราะผู้บริหารชอบทำโครงการใหญ่ ๆ เพื่ออ้างผลงาน แต่ไม่สนใจพัฒนาโครงการอย่างต่อเนื่องยาวนาน 5 กรณีโรงเรียนขนาดเล็กกว่าหมื่นแห่งมีครูงบประมาณและการสนับสนุนไม่พอเพียง ปัจจุบันมีโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนไม่เกิน 120 คนอยู่ถึง 11,720 แห่งที่ดูแลเด็กนักเรียนที่ส่วนใหญ่ยากจนอยู่เกือบ 1 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นโรงเรียนที่มีเด็กนักเรียนอยู่ไม่ถึง 40 คนถึง 1,507 แห่ง โรงเรียนเหล่านี้ส่วนใหญ่มักขาดครูที่มีความสามารถเนื่องจากครูที่มีประสบการณ์มักย้ายเข้าไปอยู่โรงเรียนที่ใหญ่กว่า นอกจากนี้ยังขาดสื่อการสอนสูงและอุปกรณ์การเรียนต่าง ๆ การนิเทศติดตามดูแลจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาก็มักทำได้น้อย ครูในโรงเรียนขนาดเล็กที่มีกว่า 60,000 คนกลายเป็นครูไกลปืนเที่ยงที่ถูกทอดทิ้งจากระบบการจัดการการศึกษา ผลที่ตามมาคือภาวะการจัดการเรียนการสอนที่ด้อยคุณภาพลงและส่งผลต่อคะแนนสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนที่ต่ำ การทดลองนำร่องการแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กด้วยมาตรการต่าง ๆ เช่น การจัดการเรียนแบบรวมชั้น (เช่น ป.1-ป.3 เรียนด้วยกัน) การไปเรียนรวมกับโรงเรียนที่ใหญ่กว่าในละแวกใกล้เคียง การจัดทีมครูผู้สอนเคลื่อนที่ไปช่วยสอนในโรงเรียนใกล้เคียงที่ขาดครู การใช้เทคโนโลยีการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม ยังคงทำได้เพียงส่วนน้อย โดยยังมีโรงเรียนขนาดเล็กอีกกว่าร้อยละ 70 ยังคงสอนไปตามมีตามเกิดอย่างเดิม โดยที่ยังไม่ได้มีมาตรการเข้าไปช่วยเหลือที่ชัดเจนและทั่วถึง 6 กรณีโรงเรียนพื้นที่ชายแดนจังหวัดภาคใต้ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนโดยปกติก็มักจะมีครู มีงบประมาณน้อยและจัดการศึกษาได้คุณภาพต่ำอยู่แล้ว แต่ 3 จังหวัดภาคใต้ ยะลา ปัตตานี นราธิวาสมีสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองและการทหารที่รุนแรงที่ทำให้โรงเรียนส่วนใหญ่ต้องปิดสอนชั่วคราวคิดเป็นเวลาถึง 30-40 วันต่อปีหรือคิดเป็นร้อยละ 20 ของเวลาเรียนทั้งหมด ครูได้รับภัยจากการถูกลอบสังหารและทำร้ายและขอย้ายออกจากพื้นที่จำนวนมาก ด้านความพร้อมในปัจจัยพื้นฐานก็มีน้อย บวกกับข้อเท็จจริงที่เด็กในพื้นที่สามจังหวัดนี้เป็นมุสลิมที่ใช้ภาษามลายูถิ่น (ภาษายาวี) เป็นภาษาแม่ถึงร้อยละ 80 และมีความสามาถในการใช้ภาษาไทยได้น้อยกว่าเด็กไทยในภาคอื่น ๆ จีงทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กในสามจังหวัดภาคใต้อยู่ในเกณฑ์ต่ำมาก ผลการสอบ O-Net ของเด็กมัธยมปลายที่ตกอยู่ในลำดับท้ายสุดของประเทศ และส่งผลให้เด็กเหล่านี้เมื่อเข้าไปเรียนต่อระดับอุดมศึกษาต่างก็มีปัญหาขาดความพร้อมในการเรียน ตัวเลขของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งมีนักศึกษาร้อยละ 70 เป็นเด็กจากสามจังหวัดภาคใต้ มีนักศึกษาเข้าใหม่ชั้นปีที่ 1 ที่เกรดเฉลี่ยต่ำกว่า 2.00 หรือเท่ากับติดภาคทัณฑ์ถึงร้อยละ 40 ของนักศึกษาทั้งหมด 4.6 แนวทางการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา6 ในหัวข้อนี้ผู้วิจัยได้สรุปและขยายความจากข้อเสนอเชิงนโยบายจากการประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน การอาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษาของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1 สถานศึกษาต้องมุ่งพัฒนาผู้บริหาร ครูอาจารย์เพื่อปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนรู้จักคิดอย่างเป็นระบบ มุ่งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สนใจใฝ่รู้ และรักการทำงาน โดยการศึกษาวิจัย จัดเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การเรียนรู้จากผู้รู้ ครูอาจารย์ ที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถแนวใหม่นี้ ให้ครูอาจารย์ทุกสถานศึกษานำไปถ่ายทอดต่อได้ สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้ปกครอง ครูอาจารย์ และสถาบันอุดมศึกษาในท้องถิ่น รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญในหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันพัฒนาการจัดการศึกษาและสิ่งแวดล้อมให้ชุมชนเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ 2 ในสถานศึกษา ครูอาจารย์ควรทำงานแบบเป็นทีมงานร่วมมือกันในการกำหนดทิศทางในการจัดการเรียนการสอน การจัดทำแผนการสอนแบบบูรณาการวิชาที่หลากหลายให้เชื่อมโยงกัน การพัฒนาเทคนิควิธีการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการศึกษาของผู้เรียนแบบหลากหลายให้สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาหรือผู้เรียน ในระดับเขตพื้นที่การศึกษาหรือจังหวัด ควรจะมีการจัดตั้งระบบเครือข่ายครูในการช่วยเหลือเกื้อกูล แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านการจัดการเรียนการสอน คัดเลือกและพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาให้เป็นผู้สนใจวิชาการและรู้จักการบริหารวิชาการ มีการติดตามผลการจัดการเรียนการสอน สนับสนุนให้ชุมชน ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยเฉพาะความรู้ในท้องถิ่น เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ผู้บริหารสถานศึกษามักสนใจงานบริหารธุรการตามระเบียบราชการมากกว่าจะสนใจการพัฒนาด้านวิชาการ 3 ผู้บริหารทั้งในส่วนกลางและเขตพื้นที่การศึกษาควรสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับสภาพและปัญหาสถานศึกษาอย่างจริงจังและเป็นระบบ ในการเข้ามาช่วยเหลือ ปฏิรูประบบการบริหารการใช้งบประมาณ การคัดเลือกครู การให้ความดีความชอบ ให้สถานศึกษามีศักยภาพในการบริหารจัดการพัฒนาด้านการเรียนการสอนด้วยตนเองได้เพิ่มขึ้น ต้องแก้ไขปัญหาจำนวนครูผู้สอนที่ขาดแคลนในหลาย ๆ แห่ง ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อผู้เรียนอย่างเร่งด่วน รวมทั้งการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนและกระตุ้นให้ผู้เรียนรักการอ่าน รู้จักวิธีเรียนรู้ด้วยตนเองเพิ่มขึ้น ด้านการอาชีวศึกษา 1 เร่งรัดจัดตั้งสถาบันเทียบคุณวุฒิ เพื่อการตีราคาเงินเดือนตามฝีมือและความสามารถของผู้สำเร็จการศึกษา แทนการพิจารณาจากการสำเร็จปริญญาเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะทำให้คนเปลี่ยนค่านิยมมาสนใจเรียนอาชีวศึกษาเพิ่มขึ้น ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับ ปวช.-ปวส. เข้าสู่ตลาดแรงงานได้มากขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 2 เร่งรัดการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับอาชีวศึกษา ทั้งการประกันคุณภาพภายในและภายนอก การดำเนินการประกันคุณภาพ ด้วยการวิจัยสถานศึกษา การประเมิน และพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของอาชีวศึกษาอย่างต่อเนื่อง 3 สถานศึกษาควรพัฒนาศูนย์วิทยบริการให้สามารถบริการนักศึกษาได้ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ สร้างความร่วมมือกับโรงงานอุตสาหกรรม ธุรกิจภาคเอกชนเพื่อให้นักเรียน นักศึกษาได้เรียนรู้ภาคปฏิบัติที่ทันสมัยเพิ่มขึ้น มีการศึกษาอบรมเพิ่มเติมทั้งเรื่องวิชาการ เทคโนโลยีสมัยใหม่และเทคนิคการสอน 4 กำหนดให้อาจารย์ทุกท่านต้องทำแผนการสอนทุกรายวิชา 5 มีหน่วยงานรับผิดชอบการจัดทำแผนการติดตามผู้สำเร็จการศึกษาอย่างต่อเนื่อง จริงจังเพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาได้เรียนรู้และพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง ระดับอุดมศึกษา 1 เร่งรัดให้มีการกำหนดมาตรฐานอุดมศึกษาของชาติ เพื่อเป็นเป้าหมายในการจัดการศึกษาอุดมศึกษาของประเทศไทย และของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งให้มีมาตรฐานทัดเทียมกับต่างประเทศหรือคณะวิชาที่มีชื่อเสียงของไทยในแต่ละสาขาวิชา 2 พัฒนาให้การประกันคุณภาพ ทั้งการประกันคุณภาพภายในและภายนอก ให้เป็นระบบที่มีการประเมินติดตามและการปรับปรุงแก้ไขพัฒนาให้ดีขึ้นจริง ๆ ไม่ใช่แค่การทำเอกสารรายงานเพื่อให้ได้ผ่านเกณฑ์พอเป็นพิธี 3 กำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติในการพัฒนาคุณภาพอุดมศึกษาแทนการเพิ่มเชิงปริมาณอย่างที่แล้วมา ต้องพัฒนาและรักษาระดับคุณภาพอาจารย์อุดมศึกษาให้ได้มาตรฐานทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ส่งเสริม สนับสนุน ให้อาจารย์อุดมศึกษามีวิถีชีวิตและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ได้มาตรฐาน เพื่อปฏิบัติภารกิจ “วิจัยในเรื่องที่สอนและสอน บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในเรื่องที่วิจัย” 4 แสวงหาระบบและกลไก ในการผลิตบัณฑิตสาขาและการมีคุณสมบัติตรงกับความต้องการการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เช่น ผลิตบัณฑิตสาขาขาดแคลนเพิ่มขึ้น พัฒนาบัณฑิตให้คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประยุกต์ใช้เป็นมากขึ้น เรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ การบริหารจัดการ ภาษาต่างประเทศ แบบใช้งานได้เพิ่มขึ้น 5 จัดให้มีหน่วยงานระดับชาติในการทำหน้าที่ประเมินประสิทธิภาพการสอนและการวิจัย การติดตามผลบัณฑิตและความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่เป็นมาตรฐาน สามารถนำผลมาจัดระดับเทียบเคียงกันได้ และส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาพัฒนาความชำนาญเฉพาะทาง จะได้ไม่ขยายการรับบัณฑิตซ้ำซ้อนกันมากไป 6 ให้มีการนำปัจจัยด้านคุณภาพ เป้าหมายและรูปแบบของสถาบันอุดมศึกษามาเป็นปัจจัยหลักในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณในการสนับสนุนสถาบันอุดมศึกษา โดยควรมีคณะกรรมการที่มีความรู้ ความชำนาญทำงานเรื่องการจัดสรรงบประมาณโดยเฉพาะ
ที่มาของบทความโดย ชมรมศึกษาผลงานฯ
Ads by Google
Top-Ranked One-Year MBA

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 7054 วันที่ 6 ส.ค. 2552


ข่าวงานวิจัยเกี่ยวกับปัญหาการศึกษาไทย - น่าสนใจจับตาคณิตศาสตร์ข่าวงานวิจัยเกี่ยวกับปัญหาการศึกษาไทย-น่าสนใจจับตาคณิตศาสตร์

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

100ข้อคิดดีๆ

100ข้อคิดดีๆ


เปิดอ่าน 6,416 ครั้ง
ลูกจ๋าอย่าทิ้งแม่ไป...

ลูกจ๋าอย่าทิ้งแม่ไป...


เปิดอ่าน 6,414 ครั้ง
เผยแพร่ผลงาน

เผยแพร่ผลงาน


เปิดอ่าน 6,408 ครั้ง
สื่อที่(ไม่มีวัน)]ล้าสมัย 4

สื่อที่(ไม่มีวัน)]ล้าสมัย 4


เปิดอ่าน 6,401 ครั้ง
ดวงปีมะโรง  2553

ดวงปีมะโรง 2553


เปิดอ่าน 6,408 ครั้ง
วิธีแก้เหงาในฤดูหนาวจ้า

วิธีแก้เหงาในฤดูหนาวจ้า


เปิดอ่าน 6,415 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

หยุดสัญญาณความร่วงโรย (วัยทอง)

หยุดสัญญาณความร่วงโรย (วัยทอง)

เปิดอ่าน 6,403 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
หากไม่มีวัน พรุ่งนี้
หากไม่มีวัน พรุ่งนี้
เปิดอ่าน 6,407 ☕ คลิกอ่านเลย

เชื่อหรือไม่... จากอดีตนักโทษ พลิกชีวิตเป็น... สุดยอดกวีเอกแห่งกรุงสยาม สุนทรภู่
เชื่อหรือไม่... จากอดีตนักโทษ พลิกชีวิตเป็น... สุดยอดกวีเอกแห่งกรุงสยาม สุนทรภู่
เปิดอ่าน 6,421 ☕ คลิกอ่านเลย

ทำไมสาวสวยยังมีแฟนเจ้าชู้
ทำไมสาวสวยยังมีแฟนเจ้าชู้
เปิดอ่าน 6,405 ☕ คลิกอ่านเลย

มาทำส้มเปรี้ยว...ให้หวานกันเถอะค่ะ..
มาทำส้มเปรี้ยว...ให้หวานกันเถอะค่ะ..
เปิดอ่าน 6,647 ☕ คลิกอ่านเลย

7 อุปนิสัยสร้างเด็กให้ประสบความสำเร็จ  เพชรชั้นเอกที่ครู-ผู้ปกครอง ต้องรู้ไว้
7 อุปนิสัยสร้างเด็กให้ประสบความสำเร็จ เพชรชั้นเอกที่ครู-ผู้ปกครอง ต้องรู้ไว้
เปิดอ่าน 6,394 ☕ คลิกอ่านเลย

บำรุงผิวหน้า...ด้วยธรรมชาติ
บำรุงผิวหน้า...ด้วยธรรมชาติ
เปิดอ่าน 6,413 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ความลี้ลับของ สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา
ความลี้ลับของ สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา
เปิดอ่าน 23,970 ครั้ง

จรรยาบรรณของวิชาชีพ 5 ด้าน 9 ข้อ ที่ครูและผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องจำขึ้นใจ
จรรยาบรรณของวิชาชีพ 5 ด้าน 9 ข้อ ที่ครูและผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องจำขึ้นใจ
เปิดอ่าน 74,658 ครั้ง

3 ปีมีครั้ง! เฮ 28 พ.ย. "ฤกษ์รับทรัพย์" หมอช้างแนะปรับฮวงจุ้ย เปลี่ยนกระเป๋าตังค์ใหม่สุดเฮง
3 ปีมีครั้ง! เฮ 28 พ.ย. "ฤกษ์รับทรัพย์" หมอช้างแนะปรับฮวงจุ้ย เปลี่ยนกระเป๋าตังค์ใหม่สุดเฮง
เปิดอ่าน 19,170 ครั้ง

แนวปฎิบัติการจัดทำเอกสารหลักฐานการศึกษาสำหรับโรงเรียนต้นแบบและโรงเรียนพร้อมใช้หลักสูตรแกนกลางฯ2551
แนวปฎิบัติการจัดทำเอกสารหลักฐานการศึกษาสำหรับโรงเรียนต้นแบบและโรงเรียนพร้อมใช้หลักสูตรแกนกลางฯ2551
เปิดอ่าน 14,085 ครั้ง

ใช้ฟุตบอลเป็นยา กระตุ้นฟื้นความทรงจำคนไข้สมองเสื่อม
ใช้ฟุตบอลเป็นยา กระตุ้นฟื้นความทรงจำคนไข้สมองเสื่อม
เปิดอ่าน 10,182 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ