ในสังคมต่าง ๆ ทั่วโลกให้ความสำคัญกับ "ความเป็นแม่" และคำเรียกผู้ที่ให้กำเนิดสมาชิกใหม่ของแต่ละสังคมส่วนใหญ่จะเป็นคำแรกที่เด็กสามารถเปล่งเสียงได้ก่อน "แม่" ดังนั้นความหมายของคำว่า "แม่" ทุกภาษาและวัฒนธรรมจะมีคุณค่าอย่างมาก และหากสังเกตจะพบว่า "แม่" เป็นเสียงที่เด็กสามารถเปล่งได้อย่างง่าย และเป็นคำแรกที่สามารถออกเสียงนั้นได้อย่างมีความหมาย
นักภาษาศาสตร์ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า คำว่า "แม่" ของทุก ๆ ภาษา มาจากการออกเสียงของเด็ก โดยคำขึ้นต้นด้วยพยัญชนะริมฝีปากคู่ (Bilabial) ได้แก่ ม , พ , ป ,บ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นพยัญชนะชุดแรกที่เด็กสามารถทำเสียงได้ โดยการใช้ริมฝีปากบนและล่าง ดังเช่น
ภาษาไทย เรียก แม่
ภาษาจีน เรียก ม๊ะ หรือ ม่า
ภาษาฝรั่งเศส เรียก la mere (ลา แมร์)
ภาษาอังกฤษ เรียก mom , mam
ภาษาโซ่ เรียก ม๋เปะ
ภาษามุสลิม เรียก มะ
ภาษาไท เรียก ใต้คง เม เป็นต้น
"แม่" เป็นคำโดดหรือคำไทยที่บ่งบอกความสัมพันธ์อันอบอุ่นลึกซึ้งระหว่างผู้หญิงกับลูก แม่ หมายถึง ผู้มีพระคุณ ผู้ให้กำเนิด ให้น้ำนมลูกดื่มกิน ให้ความรักความเมตตาและปกป้องดูแลลูกจนเติบใหญ่ คำว่า "แม่" มักถูกนำไปใช้ร่วมกับคำอื่น ๆ โดยมีความหมายแตกต่างกันออกไป พอจะแบ่งแยกออกได้เป็นประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. แม่ ในฐานะเป็นคำที่ใช้แบ่งแยกเพศและบ่งบอกบทบาท ฐานะ สถานภาพและอากัปกิริยาของผู้หญิง เช่น แม่… (น.) : คำเรียกหญิงทั่วไป เช่น แม่นั่น แม่นี่ ; แม่ค้า (น.) : ผู้หญิงที่ดำเนินการค้าขาย ; แม่ครัว (น.) : หญิงผู้ดูแลครัว หุงหาอาหาร ; แม่คู่ (น.) : นักสวดผู้ขึ้นต้นบท ; แม่นม (น.) : หญิงผู้ให้นมเด็กกินแทนแม่ ; แม่บ้านแม่เรือน (น.) : หญิงดูแลบ้านเรือน ; แม่แปรก (น.) : หญิงผู้จัดจ้านหรือเป็นหัวหน้ากลุ่ม ; แม่มด (น.) : หญิงหมอผี หญิงคนทรง หญิงเข้าผี ; แม่ยาย (น.) : คำเรียกแม่ของเมีย ; แม่ม่าย (น.) : หญิงที่มีผัวแล้วแต่ผัวตายหรือเลิกร้างกันไป ; แม่ยั่วเมือง (น.) : คำเรียกพระสนมเอกแต่โบราณ ; แม่ย้าว (น.) : หญิงผู้เป็นแม่เรือน ; แม่รีแม่แรด (ว.) : ทำเจ้าหน้าเจ้าตา ; แม่แรง (น.) : หญิงผู้เป็นกำลังสำคัญในการงาน, เครื่องดีดงัดหรือยกของหนัก ; แม่เลี้ยง (น.) : เมียของพ่อที่ไม่ใช่แม่ตัว, หญิงที่เลี้ยงลูกบุญธรรม ; แม่เล้า (น.) : หญิงผู้กำกับควบคุมดูแลซ่องโสเภณี ; แม่สื่อแม่ชัก (น.) : ผู้พูดชักนำให้หญิงกับชายรักกัน ; แม่อยู่หัว (น.) : คำเรียกพระมเหสี เป็นต้น
2. แม่ เป็นคำที่ใช้บ่งบอกฐานะของผู้ปกป้องคุ้มครอง เช่น แม่ย่านาง (น.) : ผีผู้หญิงผู้รักษาเรือ นางไม้ ; แม่ซื้อ, แม่วี (น.) : เทวดาหรือผีที่คอยดูแลทารก เป็นต้น
3. คำว่า แม่ ยังถูกนำมาใช้เรียกผู้เป็นหัวหน้าหรือเป็นนาย บ่งบอกฐานะของผู้มีอำนาจในการกำกับดูแลและควบคุม เช่น แม่กอง แม่ทัพ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ความหมายหลักของคำว่า แม่ ก็คงหนีไม่พ้นการเป็นผู้ให้ชีวิตหรือหญิงผู้ให้กำเนิดบุตร หญิงผู้ปกป้องคุ้มครองและดูแลรักษา สังคมไทยยังใช้คำว่าแม่ตามความหมายนี้เรียกสิ่งดีงามตามธรรมชาติอื่น ๆ เพื่อยกย่องเทอดทูนในฐานะผู้ให้กำเนิดและหล่อเลี้ยงชีวิต เช่น แม่น้ำ แม่โพสพ แม่ธรณี เป็นต้น ความหมายของคำว่าแม่ในลักษณะเช่นนี้แสดงให้เห็นชัดอย่างชัดเจนว่าสังคมไทยแต่โบราณมายกย่องและให้เกียรติสตรีเพศผู้เป็นแม่ ตระหนักในบทบาทหน้าที่และบุญคุณของแม่ต่อชีวิตของลูก ๆ ตลอดมาทุกยุคทุกสมัย
ในบริบทของสังคมวัฒนธรรมไทย แม่ คือ ผู้เสียสละความสุขส่วนตนเพื่อลูก ๆ คอยดูแลเอาใจใส่และประคบประหงมลูกจนเติบใหญ่ ความรักของแม่ถือว่าเป็นความรักที่บริสุทธิ์ สังคมไทยมักพูดถึงแม่ในฐานะของผู้ที่รักลูกยิ่งชีวิต พร้อมจะตกระกำลำบากเพื่อลูกของตนโดยไม่สำนึกเสียใจ นางจันทร์เทวีถูกขับออกจากเมือง ต้องระเหเร่ร่อนไร้ที่ซุกหัวนอนเพราะคลอดลูกเป็นหอยสังข์ แต่นางก็ยังรักและเฝ้าทะนุถนอมกล่อมเกลี้ยงโดยไม่เคยคิดรังเกียจเดียดฉันท์แม้แต่สัตว์อย่างนางนิลากาสร ก็ยังรักและหวงแหนลูกอย่างทรพี ปกป้องลูกของตนมิให้ถูกฆ่าดังเช่นลูกของตัวอื่น ๆ
แม้ว้าโดยทั่วไปแล้ว คำว่า "แม่" จะบ่งบอกความหมายของการเสียสละ ความรักและความผูกพันที่ผู้หญิงที่มีต่อลูกของตน แต่การที่สังคมไทยมีลักษณะวัฒนธรรมเฉพาะที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละชนชั้น ทำให้ความหมายของการเป็นแม่ ตลอดจนบรรทัดฐาน แบบแผน พฤติกรรมและบทบาทฐานะของผู้หญิงในวัฒนธรรมของแต่ละชนชั้นย่อมแตกต่างกันไป
คำว่า “แม่” เป็นคำ ๆ เดียวที่ศักดิ์สิทธิ์ สูงส่งที่สุด เป็นคำที่ไพเราะกินใจลูกทุกคน เป็นคำที่ประกอบไปด้วยศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิอันสูงสุดที่ลูกทุกคนจะต้องเทิดทูนบูชาสักการะ และจะต้องมีความระลึกนึกอยู่เสมอ ในพระคุณของแม่ อย่างที่ไม่มีวันรู้จักเสื่อมคลาย เพราะกวีท่านหนึ่งกล่าวไว้ว่า
“อันคำใดไม่ซึ้งถึงคำแม่
ศักดิ์สิทธิ์แท้แม่นี้มีมนต์ขลัง
แม่สูงส่งด้วยศักดิ์ศรีมีพลัง
ยามสิ้นหวังให้แรงใจไม่จืดจาง
ยามลูกเจ็บแม่จับเจ็บกลับหาย
ลูกฟูมฟายแม่เฝ้าเข้ารักษา
ลูกมีทุกข์แม่บรรเทาด้วยเมตตา
เฝ้าเยียวยาเพื่อลูกตนพ้นพิษภัย”
คำว่า "แม่" นั้นศักดิ์สิทธิ์ คุ้มครองชีวิตลูกได้ และอยากให้ลูกทุกๆคนรักแม่ ให้แม่รักลูก เพราะเป็นสายใยอันเดียวที่จะทำให้มนุษย์อุ่นใจ ปลอดภัย และเป็นมงคลกับชีวิต
……..สตรีใด…….ไหนเล่า………..เท่าเธอนี้
เป็นผู้ที่ …………..ลูกทุกคน………บ่นรู้จัก
เป็นผู้ที่ ……...…...มีพระคุณ………การุณนัก
เป็นผู้ที่ …………..สร้างความรัก…..สอนความดี
เป็นผู้ที่…………...คอยสั่งสอน…....เอาใจใส่
คอยห่วงใย….……เราทุกคน……...จนวันนี้
เปรียบแสงทอง...…...สว่างล้ำ……….นำชีวี
เธอคนนี้…………..คือ ” แม่ ”……..ของเราเอง
|
|
|
……...วันเกิดเราเป็นดั่งวันสิ้นลมแม่
....เจ็บปวดแท้ดั่งน้ำตาพาจะไหล
....สองมือออบโอบอุ้มแกว่งเปล
....น้ำนมเลี้ยงอุ้มชูให้เติบใหญ่มา
…แม่เปรียบดั่งยารักษายามป่วยไข้
....แม่เปรียบดั่งต้นไม้ใหญ่ร่มใบหนา
....แม่เปรียบดั่งดวงตะวันส่องแสงมา
…แม่เปรียบดั่งผ้าห่มหนาอบอุ่นกาย
…เปรียบดั่งพระในบ้านชี้แนะลูก
....สถิตย์ถูกอยู่กลางใจไม่ไปไหน
....กตัญญูตอนนี้ยังไม่สายไป
....ก่อนแม่ไซร้หลับตาไปไม่ลืมเอย
|
|
|
มือน้อยน้อยแม่คอยอุ้มชู......... แม่เฝ้ามองดูไม่ห่างไปไหน
แม่เฝ้าปลอบขวัญยามลูกหลับไหล ........ ไม่ยอมห่างไกลไปจากสายตา
มือน้อยน้อยของแม่ล้ำค่า ........... อุ้มชูลูกมาจากเล็กเด็กแดง
ยามลูกเติบใหญ่ด้วยน้ำพักน้ำแรง ด้วยใจที่แกร่งของแม่ถักทอ
|
|
เรียงความเรื่องแม่ คลิก>> http://www.youtube.com/watch?v=ye7G2_PuT2s
อยู่เพื่อลูก
ลัดดาวัลย์ ประวัติวงศ์
โถ ใจ แทบขาด อนาถ อก เอ๋ย
ไม่เคยนึกเลยใจคน เหมือนโดนคมมีดกรีดกมล
ปวดจนเหลือทนทานใจ
ยอดชีวิตคิดมาทำลายหนีไปมีใหม่ เยื่อใยไม่เหลือเลย
ใยเป็นเช่นนี้ไปได้ อายแสนอายไม่กล้าเปิดเผย
เมื่อไปกับชู้คู่เชย เลยตามเลยถ้าหากแค่นั้น
แต่มีลูกน้อยในครรภ์ มิน่าจะด่วนผัน
ให้วันคลอดแล้วจึงไป โธ่ลูกจ๋าพ่อมีเมียใหม่
รู้หรือไม่ว่าใจแม่โศกา
หวังพ่อยังอยู่ ดูหน้าลูกน้อย
ได้คอยร้อยพวงมาลา รับขวัญสวมใส่ให้แก้วตา
เกิดมาสุขสันต์ เปรมปรีดิ์ แต่กลับทุกข์ คุกคามชีวี
เพราะพ่อไม่มีเป็นที่พึ่งพักพา
แม่เคยได้คิดทำลาย ฆ่าตัวตายขจัดปัญหา
จบเกมส์ฉากเสียน้ำตา เกมส์มารยาลวงหลอกแค่นั้น
แต่ มี ลูกน้อยในครรภ์ ยั้งใจไว้ได้ ทัน
ยืดวัน อยู่เลี้ยงดูลูก ไม่เป็นไรน้ำปลายังถูก
สองแม่ลูก กอดคอคลุกข้าว กิน
ข้อมูลจาก
catholic.or.th
และvariety.teenee.com