ชื่อเรื่อง การพัฒนากลยุทธ์การให้ความช่วยเหลือนักเรียนด้อยโอกาสของโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม
ผู้วิจัย นายสมประสงค์ มั่งอะนะ
ปีการศึกษา 2551
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อเพื่อพัฒนากลยุทธ์การให้ความช่วยเหลือนักเรียนด้อยโอกาสของโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้ 1) เพื่อสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนด้อยโอกาสเกี่ยวกับความต้องการความช่วยเหลือนักเรียนด้อยโอกาสของโรงเรียน อุ้มผางวิทยาคม 2) เพื่อสร้างกลยุทธ์การให้ความช่วยเหลือนักเรียนด้อยโอกาสของโรงเรียน อุ้มผางวิทยาคม 3) เพื่อทดลองใช้กลยุทธ์การให้ความช่วยเหลือนักเรียนด้อยโอกาสของโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม 4) เพื่อประเมินกลยุทธ์การให้ความช่วยเหลือนักเรียนด้อยโอกาสของโรงเรียน อุ้มผางวิทยาคม
วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนด้อยโอกาสเกี่ยวกับความต้องการความช่วยเหลือนักเรียนด้อยโอกาสของโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ นักเรียนด้อยโอกาสทั้งหมดที่พักนอนในหอพักของโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม ในปีการศึกษา 2549 จำนวน 276 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการความช่วยเหลือ นักเรียนด้อยโอกาส ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างกลยุทธ์การให้ความช่วยเหลือนักเรียนด้อยโอกาสของโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม ประกอบด้วย 2 ส่วน 1) การ ยกร่างกลยุทธ์การให้ความช่วยเหลือนักเรียนด้อยโอกาสของโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคมดำเนินการโดยนำข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 มาเป็นกรอบในการยกร่างกลยุทธ์การให้ความช่วยเหลือนักเรียนด้อยโอกาสของโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม 2) ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ ร่างกลยุทธ์การให้ความช่วยเหลือนักเรียนด้อยโอกาสของโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 14 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามเพื่อตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างกลยุทธ์การให้ความช่วยเหลือนักเรียนด้อยโอกาสของโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ และแบบปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นที่ตอน 3 การทดลองใช้กลยุทธ์การให้ความช่วยเหลือนักเรียนด้อยโอกาสของโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ นักเรียนด้อยโอกาสทั้งหมดที่พักนอนในหอพักของโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม ในปีการศึกษา 2550 จำนวน 292 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) กลยุทธ์การให้ความช่วยเหลือนักเรียนด้อยโอกาสของโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับการดำเนินงานตามกลยุทธ์การให้ความช่วยเหลือนักเรียนด้อยโอกาส ของโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบมาตรประมาณค่า(Rating Scale) 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 4 การประเมินกลยุทธ์การให้ความช่วยเหลือนักเรียนด้อยโอกาสของโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม แหล่งข้อมูล ได้แก่ งานรับความช่วยเหลือนักเรียนด้อยโอกาส ฝ่ายบริหารทั่วไป และนักเรียน ด้อยโอกาสทั้งหมดที่พักนอนในหอพักของโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม ในปีการศึกษา 2550 จำนวน 292 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลการได้รับความช่วยเหลือนักเรียนด้อยโอกาสของโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม ลักษณะเป็นตารางบันทึกรายการของสิ่งที่นักเรียนได้รับความช่วยเหลือ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนด้อยโอกาสที่มีต่อกลยุทธ์การให้ความช่วยเหลือนักเรียนด้อยโอกาสของโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม ลักษณะเป็นแบบมาตรประมาณค่า(Rating Scale) 5 ระดับ และถามเกี่ยวกับข้อเสนอแนะอื่นๆ ลักษณะเป็นแบบปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลสิ่งที่นักเรียนด้อยโอกาสได้รับการช่วยเหลือ ด้วยการหาค่าร้อยละ ส่วนข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกลยุทธ์การให้ความช่วยเหลือนักเรียนด้อยโอกาสของโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม ด้วยการหาค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเกี่ยวกับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือนักเรียนด้อยโอกาสของโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม วิเคราะห์ด้วยการจัดระดับความถี่
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนด้อยโอกาสเกี่ยวกับความต้องการความช่วยเหลือนักเรียนด้อยโอกาสของโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม พบว่า นักเรียนด้อยโอกาสมีความต้องการความช่วยเหลือในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านทุนการศึกษา ด้านหอพัก ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และด้านการบริการให้คำปรึกษา
2. ผลการสร้างกลยุทธ์การให้ความช่วยเหลือนักเรียนด้อยโอกาสของโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม พบว่า ประกอบด้วย กลยุทธ์หลัก 4 กลยุทธ์ และกลยุทธ์ย่อย ดังนี้
กลยุทธ์ที่ 1 การจัดหอพัก ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ย่อย ได้แก่ 1.1 การดูแลนักเรียนหอพัก 1.2 การจัดสิ่งอำนวยความสะดวก 1.3 การจัดบริการอาหาร
กลยุทธ์ที่ 2 การแสวงหาทุนการศึกษา ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์ย่อย ได้แก่
2.1 การจัดหาทุนการศึกษา 2.2 การหารายได้ระหว่างเรียน
กลยุทธ์ที่ 3 การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ย่อย ได้แก่
3.1 การจัดกิจกรรมเสริมสร้างความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 3.2 การจัดกิจกรรมเสริมสร้าง
การอยู่ร่วมกันในสังคม 3.3 การจัดกิจกรรมเสริมสร้างการเรียนรู้
กลยุทธ์ที่ 4 การจัดบริการให้คำปรึกษา ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ย่อย ได้แก่
4.1 การจัดบริการให้คำปรึกษาปัญหาส่วนตัว 4.2 การจัดบริการให้คำปรึกษาด้านการศึกษา
4.3 การจัดบริการให้คำปรึกษาด้านอาชีพ
ผลการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์การให้ความช่วยเหลือนักเรียนด้อยโอกาสของโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า กลยุทธ์การให้ความช่วยเหลือนักเรียนด้อยโอกาสของโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากทุกกลยุทธ์
3. ผลการทดลองใช้กลยุทธ์การให้ความช่วยเหลือนักเรียนด้อยโอกาสของโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม พบว่า ในภาพรวมนักเรียนด้อยโอกาสมีความเห็นว่าการดำเนินงานตามกลยุทธ์การให้ความช่วยเหลือนักเรียนด้อยโอกาสมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกกลยุทธ์ โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ การแสวงหาทุนการศึกษา การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การจัดบริการให้คำปรึกษา และการจัดหอพัก
4. ผลการประเมินกลยุทธ์การให้ความช่วยเหลือนักเรียนด้อยโอกาสของโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม สรุปได้ดังนี้
4.1 สิ่งที่นักเรียนด้อยโอกาสได้รับความช่วยเหลือ พบว่า (1) เงินทุนการศึกษาที่นักเรียนด้อยโอกาสได้รับในปีการศึกษา 2550 จำนวน 2,129,422 บาท โดยจำแนกเป็น เงินทุนการศึกษาจากพ่อแม่อุปถัมภ์ จำนวน 1,051,200 บาท เงินทุนการศึกษาจากการหารายได้ระหว่างเรียน จำนวน 937,222 บาท และเงินทุนค่าอาหารที่ได้จากการทำบุญวันเกิดของผู้บริจาค จำนวน 41,000 บาท เงินทุนการศึกษาจากธนาคารกรุงไทย จำนวน 100,000 บาท และ (2)
เงินบริจาคอื่นๆ อีก จำนวน 2,048,400 บาท รวมทั้งสิ้นเป็นเงินจำนวน 4,177,822 บาท ส่วนการได้รับความช่วยเหลือเกี่ยวกับสิ่งของและเครื่องใช้ประจำวัน พบว่า ผู้บริจาคส่วนมากจะบริจาคสิ่งของและเครื่องใช้ประจำวันในช่วงภาคเรียนที่ 2
4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกลยุทธ์การให้ความช่วยเหลือนักเรียนด้อยโอกาสของโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม พบว่า นักเรียนด้อยโอกาสมีความพึงพอใจต่อ กลยุทธ์การให้ความช่วยเหลือนักเรียนด้อยโอกาสของโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคมอยู่ในระดับมาก
ทุกกลยุทธ์ โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ การแสวงหาทุนการศึกษา การจัดหอพัก
การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และการจัดบริการให้คำปรึกษา รวมทั้งนักเรียนด้อยโอกาสได้ให้ข้อเสนอแนะที่สำคัญ ดังนี้ 1) ควรมีการสร้างพอพักเพิ่มขึ้น 2) ควรมีการสอนเสริมภาษาอังกฤษโดยชาวต่างชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษ 3) ควรมีการเชิญรุ่นพี่ที่ไปศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษากลับมาแนะแนวรุ่นน้อง
ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม
ผู้ประเมิน นายสมประสงค์ มั่งอะนะ
ผู้อำนวยการโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม
ปีการศึกษา 2551
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม มีวัตถุประสงค์ของการประเมิน ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้นที่ใช้ในการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 2) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 3) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย ครู จำนวน 19 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง(Purposive Sampling) กลุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน 245 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างนักเรียน ด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้น(Stratified Random Sampling)ตามสัดส่วนของนักเรียนในแต่ละชั้นปี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ มีลักษณะเป็นแบบมาตรประมาณค่า(Rating Scale) 5 ระดับ
และแบบตรวจสภาวะสุขภาพของนักเรียน มีลักษณะเป็นแบบตรวจรายการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ผลการตรวจสภาวะสุขภาพด้วยการหาค่าร้อยละ ผลการประเมินสรุปได้ ดังนี้
1. ผลการประเมินปัจจัยเบื้องต้นที่ใช้ในการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ พบว่า ในภาพรวมครูมีความเห็นว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาผลการประเมินในแต่ละเรื่อง พบว่า เรื่องที่มีความเหมาะสมสูงสุด อยู่ในระดับมาก ได้แก่ เรื่อง คณะกรรมการโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพมีความเหมาะสม รองลงมามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ เรื่อง โรงเรียนได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ส่วนเรื่อง ที่มีความเหมาะสมต่ำสุด อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ เรื่อง ความเพียงพอของงบประมาณ ในการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และเรื่องโรงเรียนได้รับความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กล่าวโดยสรุป ผลการประเมินปัจจัยเบื้องต้นที่ใช้ในการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพในภาพรวมครูมีความเห็นว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน แต่มี 2 เรื่อง ที่มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลางและไม่ผ่านเกณฑ์ การประเมิน ได้แก่ เรื่อง ความเพียงพอของงบประมาณในการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และเรื่องโรงเรียนได้รับความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. ผลการประเมินกระบวนการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ พบว่า ในภาพรวม ครูมีความเห็นว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาผลการประเมินในแต่ละเรื่อง พบว่า เรื่องที่มีความเหมาะสมสูงสุด อยู่ในระดับมาก ได้แก่ เรื่อง มีการวางแผนดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอย่างเป็นระบบ รองลงมามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ เรื่อง มีการจัดประชุมชี้แจงการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพให้ผู้เกี่ยวข้องทราบอย่างต่อเนื่อง ส่วนเรื่องที่มีความเหมาะสมต่ำสุด อยู่ในระดับมาก ได้แก่ เรื่อง มีการนำข้อเสนอแนะของผู้เกี่ยวข้องมาปรับปรุงแก้ไขปัญหาในการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ กล่าวโดยสรุป ผลการประเมินกระบวนการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกเรื่อง
3. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ สรุปได้ดังนี้
3.1 ผลการประเมินสภาวะสุขภาพของนักเรียนเกี่ยวกับน้ำหนัก พบว่า นักเรียนมีน้ำหนักตามเกณฑ์จำนวน 225 คน คิดเป็นร้อยละ 91.84 และผลการประเมินเกี่ยวกับส่วนสูง พบว่านักเรียนมีส่วนสูงตามเกณฑ์ จำนวน 229 คน คิดเป็นร้อยละ 93.47 ส่วนผลการประเมินเกี่ยวกับสายตา พบว่า นักเรียนสายตาปกติ จำนวน 231 คน คิดเป็นร้อยละ 94.28 กล่าวโดยสรุป นักเรียนมากกว่าร้อยละ 90 มีสภาวะสุขภาพผ่านเกณฑ์การประเมิน
3.2 ประเมินผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการบริการสุขภาพ พบว่า ในภาพรวม นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการให้บริการสุขภาพกับนักเรียนอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาผลการประเมินในแต่ละเรื่อง พบว่า เรื่องที่มีความพึงพอใจสูงสุด อยู่ในระดับมาก ได้แก่ เรื่อง การจัดสภาพแวดล้อมทั่วๆ ไปของโรงเรียนให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะ ป้องกันโรคและอันตรายที่อาจเกิดขึ้น และเรื่องการตรวจสุขภาพประจำปี รองลงมามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ได้แก่ เรื่องการให้บริการจากครูอนามัยที่รับผิดชอบห้องพยาบาลของโรงเรียน ส่วนเรื่องที่มีความพึงพอใจต่ำสุด อยู่ในระดับมาก ได้แก่ เรื่อง การจัดกิจกรรมออกกำลังกายสำหรับนักเรียน กล่าวโดยสรุป นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการให้บริการสุขภาพกับนักเรียนอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกเรื่อง