ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

การจำนอง


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,139 ครั้ง
Advertisement

การจำนอง

Advertisement

❝ กฏหมายน่าออนซอน ❞  

จำนอง  คือ  การที่บุคคลคนหนึ่งเรียกว่า  ผู้จำนอง  เอาอสังหาริมทรัพย์ของตน  เช่น  ที่ดินหรือทรัพย์ที่กฎหมายอนุญาตให้จำนองได้  ไปจดทะเบียนไว้กับบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า  ผู้รับจำนอง  เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้  ทั้งนี้โดยผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบที่ดินหรือทรัพย์สินดังกล่าวนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง   (ป.พ.พ. มาตรา  702)

การจำนองเพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้แก่ผู้รับจำนองนั้น  แบ่งออกเป็น  2  กรณี  คือ

1.  การจำนองทรัพย์ของตนเองเพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ของตนเอง

2.  การจำนองเพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ของบุคคลอื่น

ทรัพย์สินที่อาจใช้ในการจำนองได้

แบ่งออกเป็น  2  ประเภทใหญ่ได้  2  ประเภทกล่าวคือ

1.  อสังหาริมทรัพย์  เช่น  ที่ดิน  บ้าน  หรือสิ่งปลูกสร้างทุกชนิดอันติดอยู่กับที่ดินนั้น

2.  สังหาริมทรัพย์  ที่จำนองได้  คือ

                        ก.  เรือที่มีระวางตั้งแต่ห้าดันขึ้นไป

                        ข.  แพ

                        ค.  สัตว์พาหนะ

                        ง.  สังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ซึ่งกฎหมายได้บัญญัติให้จดทะเบียนจำนองได้  เช่น  เครื่องจักรขนาดใหญ่  เป็นต้น

หลักเกณฑ์ในการจำนอง

                        1.  ผู้จำนองต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่จะจำนอง

       2.  สัญญาจำนอง  ต้องทำเป็นหนังสือและนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มิฉะนั้นสัญญาจำนองตกเป็นโมฆะ  ไม่มีผลผูกพันแก่คู่สัญญาแต่อย่างใด  ในการกู้ยืมเงินนั้นมีอยู่เสมอ  ที่ผู้ได้นำเอาโฉนดที่ดินของตนไปมอบให้แก่ผู้ให้กู้เก็บรักษาไว้เฉย ๆ ในที่ดินตามโฉนดแต่อย่างใดคงได้แต่เพียงกระดาษโฉนดไว้ในครอบครองเท่านั้น  ดังนั้น  ถ้าผู้ให้กู้ประสงค์ที่จะให้เป็นการจำนองตามกฎหมายแล้ว  จะต้องทำเป็นหนังสือและนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

                        3.  ต้องไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจรับจดทะเบียนจำนองตามกฎหมายกล่าวคือ

ก.  ที่ดินที่มีโฉนดต้องนำไปจดทะเบียนที่กรมที่ดิน  หรือสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร (สาขา)  หรือสำนักงานที่ดินจังหวัด  หรือสำนักงานที่ดินจังหวัด (สาขา)

ข.  ที่ดินที่ไม่มีโฉนด  ได้แก่  ที่ดิน  น.ส. 3  ต้องไปจดทะเบียนที่อำเภอ  ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ในเขตอำนาจ

ค.  การจำนองเฉพาะบ้านหรือสิ่งปลูกสร้างไม่รวมที่ดิน  ต้องไปจดทะเบียนจำนองที่อำเภอ

ง.  การจำนองสัตว์พาหนะ  หรือ แพ  ต้องไปจดทะเบียนที่อำเภอ

จ.  การจำนองเรือต้องไปจดทะเบียนจำนองที่การขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี

ฉ.  การจดทะเบียนเครื่องจักรต้องไปจดทะเบียนที่กระทรวงอุตสาหกรรม

                        ผลของสัญญาจำนอง

                        1.  ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ  โดยไม่ต้องคำนึงว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือไม่ก็ตาม

2.  นอกจากนี้ผู้รับจำนองยังมีสิทธิ์ที่จะเรียกเอาทรัพย์สินที่จำนองนั้นหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของตนได้หากเข้าเงื่อนไป  ดังนี้คือ

                           

(1)  ลูกหนี้ได้ขาดส่งดอกเบี้ยมาแล้วเป็นเวลาถึงห้าปี

(2)  ผู้จำนองมิได้แสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่าราคาทรัพย์สินนั้นท่วมจำนวนเงินอันค้างชำระ  และ

(3)  ไม่มีการจำนองรายอื่น  หรือบุริมสิทธิอื่นได้จดทะเบียนไว้เหนือทรัพย์สินอันเดียวกันนี้เอง

3.  ถ้าเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายตลาดใช้หนี้ได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันอยู่  หรือถ้าเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองหลุดเป็นของผู้รับจำนองและราคาทรัพย์สินนั้นต่ำกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันอยู่  ทั้งสองกรณีนี้  เงินยังขาดจำนวนอยู่เท่าใด  ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบจำนวนเงินที่ยังขาดอยู่นั้น

ข้อยกเว้น   แต่ถ้าในสัญญาจำนองได้ตกลงกันไว้ว่า  ในกรณีที่มีการบังคับจำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระยอดหนี้  เงินที่ยังขาดจำนวนนี้ยังคงต้องรับผิดชดใช้ให้แก่ผู้รับจำนองจนครบถ้วน  ข้อตกลงเช่นนี้มีผลบังคับได้ไม่ถือว่าเป็นการผิดกฎหมาย  ผู้รับจำนองมีสิทธิที่จะบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้ส่วนที่ยังขาดจำนวนอยู่ดังกล่าวได้อีกจนครบถ้วน

4.  ในกรณีที่มีการบังคับจำนอง  เมื่อนำที่ดินออกขายทอดตลาดได้เงินสุทธิเท่าใดแล้วก็ให้นำเงินดังกล่าวชำระหนี้คืนให้แก่ผู้รับจำนอง  หากมีเงินเหลืออยู่เท่าใดก็ให้ส่งมอบคืนให้แก่ผู้จำนอง  ผู้รับจำนองจะเก็บไว้เสียเองไม่ได้

            ขอบเขตของสิทธิจำนอง

                        ผู้รับจำนองมีสิทธิบังคับจำนองได้เฉพาะทรัพย์ที่จดทะเบียนจำนองเท่านั้น  จะไปบังคับถึงทรัพย์สินอื่น ๆ  ที่ไม่ได้จดทะเบียนจำนองไม่ได้

                        เช่น  จำนองเฉพาะที่ดินย่อมไม่ครอบถึงโรงเรือนหรือบ้านที่ปลูกภายหลังวันจำนองเว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้ก่อนว่าให้รวมถึงบ้านและโรงเรือนดังกล่าวด้วย

                        -  จำนองเฉพาะบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินของคนอื่น  ก็มีสิทธิเฉพาะบ้านเท่านั้น

                        -  จำนองย่อมไม่ครอบคลุมถึงดอกผลแห่งทรัพย์สินซึ่งจำนอง  เช่น  จำนองสวนผลไม้ดอกผลที่ได้จากสวนผลไม้ยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้จำนองอยู่

 

ทรัพย์สินซึ่งจำนองอยู่นี้  ย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้ดังต่อไปนี้  คือ

                        1.  เงินต้น

                        2.  ดอกเบี้ย

                        3.  ค่าเสียหายในการไม่ชำระหนี้  เช่น  ค่าทนายความ

                        4.  ค่าธรรมเนียมในการบังคับจำนอง

                        วิธีบังคับจำนอง

                        ผู้รับจำนองต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ว่าให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรซึ่งปกติจะใช้เวลาประมาณ  30  วัน  หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้คืนภายในกำหนดนัดแล้วลูกหนี้ไม่นำเงินมาชำระ  ผู้รับจำนองต้องฟ้องผู้จำนองต่อศาล  เพื่อให้ลูกหนี้ปฏิบัติการชำระหนี้  ก็ขอให้ศาลสั่งให้นำเอาทรัพย์ที่จำนองนั้นออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ของตน  หรือขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์ที่จำนองนั้นหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของตนหากเข้าเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้

                        จะเห็นได้ว่ากฎหมายบังคับไว้โดยเด็ดขาดว่าการบังคับจำนองจะต้องฟ้องคดีต่อศาลเสมอจะนำเอาที่ดินออกขายทอดตลาดเองไม่ได้และต้องมีการออกจดหมายทวงหนี้ไปถึงลูกหนี้ก่อนเสมอจะฟ้องคดีโดยไม่มีการบอกกล่าวทวงถามก่อนไม่ได้

                        การบังคับจำนองนี้จะไม่คำนึงเลยว่าในขณะที่มีการบังคับจำนองนั้น  ทรัพย์สินที่จำนองอยู่ในความครอบครองของใคร  หรือลูกหนี้ได้โอนกรรมสิทธิ์ไปยังผู้อื่นกี่ทอดแล้วก็ตาม  สิทธิจำนองย่อมติดตามตัวทรัพย์สินที่จำนองไปด้วยเสมอ  แม้ว่าจะเป็นการโอนทางมรดกก็ตามสิทธิจำนองก็ติดตามไปด้วย

                         

หนี้ที่ขาดอายุความไปแล้วจะมีผลกระทบถึงการจำนองหรือไม่

                        แม้ว่าหนี้ที่เป็นประกันนั้นจะขาดอายุความแล้วก็ตาม  ผู้รับจำนองก็ยังมีสิทธิที่จะบังคับจำนองเอาทรัพย์สินที่จำนองได้  ดังนั้น  จึงไม่มีผลกระทบถึงสิทธิของผู้รับจำนองในทรัพย์สินที่จำนองแต่อย่างใด  แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่า 5 ปีไม่ได้ (ป..พ.พ.   มาตรา  745)

การชำระหนี้จำนอง

                        การชำระหนี้จำนองทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ดี  การระงับนี้จำนองไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ดีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลงในการจำนองก็ดี  กฎหมายบังคับให้ไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  มิฉะนั้นแล้วจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลกรภายนอกไม่ได้

 

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 5658 วันที่ 4 ส.ค. 2552


การจำนอง

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

จนเงินแต่อย่าจนความดี

จนเงินแต่อย่าจนความดี


เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ขอรณรงค์...เว็บไซต์นี้...ไม่มีการใช้..ภาษาวิบัติ..เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้เยาวชน........

ขอรณรงค์...เว็บไซต์นี้...ไม่มีการใช้..ภาษาวิบัติ..เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้เยาวชน........

เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
9 สถานที่ท่องเที่ยว สุดประทับใจ คุณไปมาแล้วหรือยัง???
9 สถานที่ท่องเที่ยว สุดประทับใจ คุณไปมาแล้วหรือยัง???
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย

  หมู่บ้านศูนย์วัฒนธรรมจีนยูนนาน (บ้านสันติชล)
หมู่บ้านศูนย์วัฒนธรรมจีนยูนนาน (บ้านสันติชล)
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย

ความรักแบบต่างๆ
ความรักแบบต่างๆ
เปิดอ่าน 7,135 ☕ คลิกอ่านเลย

ขนมสุดโปรด......เผยนิสัย
ขนมสุดโปรด......เผยนิสัย
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย

ใส่รองเท้าแตะพลาสติกเสี่ยงเป็นมะเร็ง
ใส่รองเท้าแตะพลาสติกเสี่ยงเป็นมะเร็ง
เปิดอ่าน 7,148 ☕ คลิกอ่านเลย

คุ้นๆคล้ายๆ....???เออ..น่าจะใช่มั้ง!!
คุ้นๆคล้ายๆ....???เออ..น่าจะใช่มั้ง!!
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

สุดยอด 5 ผลไม้บำรุงเลือด
สุดยอด 5 ผลไม้บำรุงเลือด
เปิดอ่าน 16,864 ครั้ง

Google Me เตรียมชนขาใหญ่ Facebook
Google Me เตรียมชนขาใหญ่ Facebook
เปิดอ่าน 8,593 ครั้ง

9 วิธีทำดีได้บุญแบบไม่เสียเงิน
9 วิธีทำดีได้บุญแบบไม่เสียเงิน
เปิดอ่าน 12,445 ครั้ง

ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยการจดทะเบียนเป็นสมาชิกคุรุสภา พ.ศ.2553
ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยการจดทะเบียนเป็นสมาชิกคุรุสภา พ.ศ.2553
เปิดอ่าน 13,973 ครั้ง

การศึกษาชำรุด-เด็กไม่รู้จักตัวเอง ปรับระบบสอบแค่แก้ปัญหาปลายเหตุ
การศึกษาชำรุด-เด็กไม่รู้จักตัวเอง ปรับระบบสอบแค่แก้ปัญหาปลายเหตุ
เปิดอ่าน 16,994 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ