Advertisement
"อาการซน-ขาดสมาธิเป็นความผิดปกติด้านจิตเวชที่พบบ่อยที่สุดของเด็ก เด็กทุก 20 คนจะเป็น 1 คน มีผลกระทบต่อการพัฒนาความรู้ความสามารถของเด็ก และทำให้บิดามารดาเกิดความวิตกกังวลมากพอสมควร การรักษาโดยพฤติกรรมบำบัด จัดการศึกษาเล่าเรียนให้เหมาะสม และบำบัดทางยาจะช่วยให้เด็กมีพฤติกรรมและการเรียนดีขึ้น"
คุณทราบไหมครับว่าเด็กที่ซนผิดปกติ และขาดสมาธิจนไม่สามารถเรียนหนัสือได้นั้น เป็นโรคชนิดหนึ่งที่พบบ่อยมากทีเดียว พบถึง 2-9% เชียวนะครับ โดยเฉลี่ยตีเสียว่า 5% ก็หมายความว่าเด็ก 20 คนจะเป็นโรคนี้ 1 คน นับว่ามากใช่ไหมครับ
เด็กชายเป็นมากกว่าเด็กหญิง 3 ถึง 7 เท่า ไม่ได้เกิดจากการเลี้ยงดูไม่ดีหรอกครับ เชื่อว่ากรรมพันธุ์มีส่วนเกี่ยวข้อง ในญาติพบถึง 30% และในพี่น้องกันกับเด็กที่เป็นพบว่า พี่น้องที่เป็นหญิงจะมีความเสี่ยง ที่จะเป็นผู้ชายสูงขึ้น 3 เท่า |
|
|
ส่วนพี่น้องที่เป็นผู้ชายจะเสี่ยงสูงขึ้นเป็น 5 เท่าเลยทีเดียวครับ และอย่าลืมว่าผู้ใหญ่ก็เป็นโรคนี้ได้เช่นกัน
ลักษณะสำคัญของโรคคือ ขาดความสนใจหรือขาดสมาธิ คือ ไม่สามารถเอาใจจดจ่อกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดต่อเนื่องกันนานนั่นเอง หรือมีอาการอยู่ไม่สุข ว็อกแว็ก ซุกซน อย่างผิดวิสัยของวัยนั้น เรียกว่า ซนเกินเหตุว่างั้นเถอะ เด็กหลายรายมีอาการทั้ง 2 อย่างเลย ขาดสมาธิด้วย และซนมากด้วย
อาการที่พบบ่อย ได้แก่
- ปฏิบัติตามคำสอนไม่ได้หรือได้ด้วยความลำบาก
- ไม่สามารถสนใจในการเรียน การเล่น หรือในกิจกรรมใดๆ ได้นาน
- ทำของหายบ่อยๆ ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนทั้งๆ ที่ของนั้นเป็นของที่ใช้ประจำ
- ท่าทีไม่สนใจฟัง
- ไม่ใส่ใจในรายละเอียด
- ดูสับสน ยุ่งเหยิง
- มักมีปัญหากับกิจกรรมหรืองานใดๆ ที่ต้องมีการวางแผนล่วงหน้า
- มักขี้ลืม
- ถูกเบี่ยงเบนหรือหักเหความสนใจได้ง่าย
เด็กที่เป็นโรคขาดสมาธิจะมีอาการดังกล่าวข้างต้น 6 อย่างขึ้นไปครับ สำหรับเด็กที่เป็นโรคซนผิดปกติ จะมีอาการอย่างน้อย 6 จากอาการต่อไปนี้
- หยุกหยิก
- นั่งอยู่นิ่งไม่ได้
- วิ่งหรือปีนป่ายโดยไม่สมควร
- พูดมาก
- เล่นเงียบๆ ไม่เป็น
- ดูยุ่งหรือไม่ว่างอยู่ตลอดเวลา
- พูดหรือตอบโพล่ง
- ทนรอหรือรอคิวไม่ได้
- นักขัดจังหวะ หรือสอด
เรามักจะนึถึงว่าโรคนี้เกิดจากสมองได้รับบาดเจ็บหรือกระทบกระเทือนล่ะมั้ง ไม่ใช่ครับ
สมองของเด็กยังมีกายวิภาคหรือโครงสร้างปกติแต่กระบวนการทางเคมีในสมองคงไม่ปกติ ขาดสารบางอย่างในบริเวณที่สำคัญของสมองที่ควบคุมวางแผนสั่งการ เลยทำให้เกิดอาการผิดปกติขึ้นดังที่เห็น อย่างที่ผมกล่าวมาแล้วข้างต้นว่าไม่ได้เกิดจากการเลี้ยงดูไม่ดี แต่สภาพบ้านและโรงเรียนที่ไม่เหมาะสมทำให้อาการของเด็กรุนแรงขึ้นครับ โรคนี้ไม่ได้เกิดจากเด็กกินอาหารที่มีน้ำตาลมากไปหรือน้อยไป หรือกินน้ำตาลเทียม ไม่ได้เกิดจากสีผสมอาหารหรือสารที่ใส่ในอาหาร ไม่ได้เกิดจากการแพ้อาหารหรือขาดวิตามิน และไม่ได้เกิดจากดูโทรทัศน์มากไปหรือเล่นวิดีโอเกมส์มากไปครับ
จะช่วยเหลือเด็กได้อย่างไร |
ต้องร่วมมือกันหลายฝ่ายครับ ทั้งผู้ปกครอง ครูที่โรงเรียนและแพทย์ แพทย์จะช่วยวางแผนและให้การรักษา ยาอาจช่วยเด็กได้มาก เด็กบางคนต้องการการให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง ต้องประสานกับครูที่โรงเรียนเพื่อจัดการเรียนและสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม
เด็กที่เป็นโรคซน-ขาดสมาธิอาจสร้างความยุ่งยากกับผู้ปกครอง เด็กอาจไม่สามารถเข้าใจคำชี้แนะหรือแนะนำ เด็กมักจะซนหรืออยู่ไม่สุขตลอดเวลา ผู้ปกครองจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงชีวิตในบ้านบางอย่างเพื่อช่วยเหลือเด็กครับ
ลองทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้
- จัดระเบียบในบ้านให้เป็นเวลา
จัดเวลาตื่นนอน เวลากิน เวลาเล่น เวลาทำการบ้าน เวลาดูโทรทัศน์ เวลาเล่นเกมส์ และเวลาเข้านอน เขียนกำหนดเวลาต่างๆ เหล่านี้ไว้บนกระดานหรือกระดาษแผ่นโตๆ ให้เด็กเห็นได้ชัดเจน ถ้าเด็กยังอ่านหนังสือไม่ได้ให้ลองใช้รูปภาพ หรือสัญลักษณ์มาช่วย ถ้าจะเปลี่ยนแปลงอะไรต้องอธิบายให้เด็กรู้ล่วงหน้า และพยายามให้มั่นใจว่าเด็กเข้าใจการเปลี่ยนแปลงนั้น
วางกฎเกี่ยวกับความประพฤติของเด็กในบ้าน เป็นกฎที่สั้น ชัดเจนและไม่ซับซ้อน และต้องอธิบายอย่างกระจ่างชัดให้เด็กรับทราบ บอกถึงว่าถ้าทำตามจะเป็นอย่างไร และไม่ทำตามจะลงโทษอะไร เขียนกฎเหล่านี้แขวนไว้ให้เด็กเห็นได้ง่าย การลงโทษเด็กกรณีไม่ทำตามกฎต้องยุติธรรม ทันควันและคงเส้นคงวาด้วยครับ
|
|
หมายถึงทำในทางบวกมากกว่าทางลบ บอกเด็กว่าคุณต้องการอะไร แทนที่จะบอกว่าคุณไม่ต้องการอะไร แม้ในสิ่งเล็กน้อยก็บอกในทางบวกครับ เช่นให้แต่งกายใส่เสื้อผ้าหรือให้ปิดประตูเบาๆ ข้อนี้สำคัญครับ เพราะโดยทั่วไปแล้ว เด็กพวกนี้จะได้รับแต่คำบอกทั้งวันว่าทำอะไรไม่ถูกไม่ควร เด็กก็ต้องการคำชมเชยเมื่อประพฤติดีด้วยครับ |
ทำอย่างนี้ครับ ตอนแรกก็บอกให้เด็กตั้งใจ มองตาเด็ก แล้วพูดว่าคุณต้องการอะไรอย่างนุ่มนวล ชัดถ้อยชัดคำ แล้วถามเด็กให้ลองทวนสิ่งที่คุณบอกไป ที่สำคัญต้องให้คำแนะนำที่สั้นและง่าย ถ้าเป็นกิจกรรมที่ซับซ้อน ควรให้คำแนะนำไปทีละขั้นตอน แต่ละขั้นตอนให้ใช้เพียง 1-2 คำแนะนำ อย่าลืมแสดงความชื่นชมเมื่อเด็กทำสำเร็จแต่ละขั้นตอนครับ
คุณต้องรักษาคำมั่นสัญญาที่ให้กับเด็ก ทำในสิ่งที่คุณพูดว่าคุณจะทำ ถ้าเด็กละเมิดกฎให้ตักเตือนอย่างสงบ ถ้าไม่เป็นผลให้ลงโทษตามที่บอกไว้แต่แรก
- มีพี่เลี้ยงคอยดูแลตลอดเวลา
คุณต้องเข้าใจว่าเด็กโรคนี้ต้องการผู้ใหญ่ดูแล ใกล้ชิดกว่าเด็กทั่วไป จึงต้องมีคนดูแลทั้งวัน
ต้องตระหนักว่าเด็กซน-ขาดสมาธินั้นยากที่จะเรียนรู้ทักษะและกฎกติกาทางสังคม คุณต้องเลือกเพื่อนให้เด็ก หาเพื่อนที่มีทักษะทางภาษา และทางร่างกายพอๆ กันมาเล่นกับเด็ก เอาแค่ 1-2 คน แต่ละครั้งพออย่าหลายคน คุณต้องคอยเฝ้าสังเกตดูอย่างใกล้ชิด ให้รางวัลเพื่อเขามีพฤติกรรมการเล่นที่ดี พยายามอย่าให้เด็กตีกัน ผลักกัน หรือตะโกนเถียงกันในบ้านหรือสนามเด็กเล่น
- ช่วยเด็กเตรียมตัวไปโรงเรียน
เด็กโรคนี้จะยุ่งยากไม่น้อยในตอนเช้าที่จะไปโรงเรียน คุณต้องเตรียมการเสียตั้งแต่กลางคืนก่อนครับ เตรียมเสื้อผ้าชุดโรงเรียน เตรียมกระเป๋าหนังสือวางไว้ให้พร้อม เผื่อเวลาไว้ให้พอสำหรับแต่งตัวและรับประทานอาหารเช้า ถ้าเด็กของคุณช้าในการแต่งตัวและรับประทานอาหารก็ต้องเผื่อเวลาไว้มากหน่อย
- จัดเวลาทำการบ้านและที่ทำการบ้าน
ครับ คุณต้องช่วยหาสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก ที่ที่จะห่างจากสิ่งที่จะมาดึงดูด หรือหักเหความสนใจของเด็กออกไปจากการบ้าน คุณต้องช่วยแบ่งการบ้านออกเป็นส่วนเล็กๆ ให้เด็กทำทีละส่วนแล้วก็พักสลับกันไป ให้กำลังใจเด็กให้มากครับแต่ต้องให้เด็กทำการบ้าน
- มุ่งไปที่ความอุตสาหะไม่ใช่คะแนน
คุณต้องให้รางวัลเด็กเมื่อเขาพยายามทำการบ้านให้เสร็จ ไม่ใช่ให้รางวัลเฉพาะตอนได้คะแนนดี
คุณต้องติดตามว่าเด็กเป็นอย่างไรเมื่ออยู่ที่โรงเรียนอยู่ในห้องเรียน เล่นในสนาม ในโรงอาหาร ติดตามถามความก้าวหน้าจากครู ควรประสานกับครูเรื่องการเรียนเพื่อคุณจะได้ช่วยครูสอนที่บ้านอีกแรงหนึ่ง
เรามักจะคิดว่าเด็กจะหายไปเองเมื่อโตขึ้น ไม่จริงครับ เด็กส่วนใหญ่ไม่หาย แต่เด็กจะอาการดีขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น อาการซนอยู่ไม่สุขมักจะหายเมื่อถึงปลายๆ วัยรุ่น แต่ราวครึ่งหนึ่งจะยังคงถูกเบี่ยงเบนความสนใจได้ง่าย อารมณ์อ่อนไหว ขี้โมโห และไม่สามารถทำภารกิจให้สมบูรณ์ได้
เด็กที่ผู้ปกครองดูแลและเอาใจใส่ด้วยความรักร่วมมือกับแพทย์และโรงเรียนอย่างดี จะมีโอกาสดีที่สุดที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ปรับตัวได้ดีครับ
ที่มา..หนังสือ นิตยสารใกล้หมอปีที่ 24 ฉบับที่ 5 พฤษภาคม 2543
หางาน ตำแหน่งงานราชการ เอกชน กว่า 10,000 อัตรา
http://www.elib-online.com/doctors/child_autistic04.html
วันที่ 3 ส.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,169 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,202 ครั้ง เปิดอ่าน 7,538 ครั้ง เปิดอ่าน 7,150 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,151 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,147 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,146 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 11,323 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,591 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,760 ครั้ง |
เปิดอ่าน 22,260 ครั้ง |
เปิดอ่าน 7,789 ครั้ง |
|
|