ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

บทคัดย่อโครงงานภาษาไทนของนักเรียนที่ได้รับรางวัล


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,182 ครั้ง
Advertisement

บทคัดย่อโครงงานภาษาไทนของนักเรียนที่ได้รับรางวัล

Advertisement

 

บทที่  1

บทนำ

 

ที่มาและความสำคัญของปัญหา

 

ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำ และเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ  และเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย   ภาษาไทยเป็นเครื่องมือในการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันอย่างมีคุณธรรม   ทำให้สามารถประกอบธุรกิจ การงาน  และการดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยอย่างมีความสุข นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้และประสบการณ์จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อพัฒนาความรู้  ความคิด  วิเคราะห์  วิจารณ์  และสร้างสรรค์ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม  และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ตลอดจนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพให้มั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจ   ภาษาไทยยังเป็นสื่อที่แสดงภูมิปัญญาบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรม  ประเพณี  ชีวทัศน์   โลกทัศน์  และสุนทรียภาพ  โดยบันทึกเป็นวรรณกรรมและวรรณคดีอันล้ำค่า  ภาษาไทยจึงเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของชาติที่ควรค่าแก่การเรียนรู้  เพื่ออนุรักษ์และสืบสานให้อยู่คู่ชาติไทยสืบไป

ในการเรียนรู้วิชาภาษาไทย  นอกจากการจะได้เรียนรู้และฝึกทักษะการฟัง  พูด  อ่าน    เขียน  แล้ว   นักเรียนต้องเรียนรู้และฝึกที่จะเป็นผู้ที่มีความสามารถทางการคิดร่วมด้วย    เนื่องจากในปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการสื่อสารมีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว   ฉะนั้นในการรับสารต่าง ๆ  ไม่ว่าจะเป็นความรู้  ความบันเทิง  ผู้รับสารต้องรู้จักนำกระบวนการคิดวิเคราะห์   การคิดอย่างมีวิจารณญาณ  มาใช้ในการติดสิน  ประเมินค่า  และวินิจฉัยความจริง หรือความเท็จและอยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นเหตุและผล  

และในการดำเนินงานศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน ตามที่ได้รับมอบหมายจากครูผู้สอนรายวิชาภาษาไทยพื้นฐานระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 นั้น  กลุ่มผู้จัดทำมีความเห็นตรงกันว่าน่าจะได้จัดทำโครงงานที่ได้ใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์เป็นหลักในการจัดทำและดำเนินการศึกษาค้นคว้า    ส่วนเนื้อหาที่จะนาใช้เป็นแก่นของการคิดนั้น  น่าจะเป็นเรื่องราวที่

ไม่ล้าสมัย   อยู่ในความสนใจของบุคคลทั่วไป  ตลอดจนเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจในเรื่องดังกล่าวด้วยเช่นกัน  ดังนั้นจึงได้ลงความเห็นร่วมกันว่าเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ เป็นเรื่องราวที่ไม่ล้าสมัย  และเป็นที่สนใจของบุคคลทั่วไปตลอดเวลา  ทั้งนี้เพราะพระองค์ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งชาติ  และสิ่งที่จะเสนอจะต้องเกี่ยวข้องกับภาษาไทยด้วยเช่นกัน   ตลอดจนเพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ และสร้างความตระหนักถึงคุณค่าของภาษาไทย   กลุ่มผู้จัดทำโครงงานจึงสรุปว่าน่าจะได้จัดทำโครงงานเรื่อง  

ความงามในภาษาจากบทเพลงพระราชนิพนธ์  ขึ้น    ด้วยเหตุผลและความสำคัญตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น    และหวังว่าผลที่ได้จากการดำเนินโครงงานนี้จะเป็นความรู้ใหม่ที่ได้จากกระบวนการคิดวิเคราะห์ของผู้จัดทำโครงงาน  อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่พระอัจฉริยภาพทางด้านภาษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้เป็นที่แพร่หลายต่อไป

 

วัตถุประสงค์ของการจัดทำโครงงาน

 เพื่อวิเคราะห์คุณค่าด้านความงามทางภาษาที่ปรากฏในบทเพลงพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

 

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

1.       ขอบเขตด้านเวลา

การดำเนินโครงงานเรื่อง ความงามในภาษาจากบทเพลงพระราชนิพนธ์นี้   ใช้

ระยะเวลาในการดำเนินงานระหว่างเดือนสิงหาคม  ถึง  เดือนกันยายน 2551

2.       ขอบเขตด้านเนื้อหา

     การดำเนินโครงงานเรื่อง ความงามในภาษาจากบทเพลงพระราชนิพนธ์   กำหนด

เนื้อหาของการดำเนินงาน คือ  บทเพลงพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าเอยู่หัวภูมิพล

อดุลยเดช   จำนวน   15    เพลง

3.       ขอบเขตด้านสถานที่

สถานที่ที่ใช้ในการดำเนินการจัดทำโครงงาน  คือ  โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ  

ตำบลท่าอิฐ  อำเภอเมือง  จังหวัดอุตรดิตถ์

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.       โครงงาน  เรื่อง ความงามในภาษาจากบทเพลงพระราชนิพนธ์  เป็นต้นแบบของ

การศึกษาแนวทางการวิเคราะห์คุณค่าของวรรณคดีไทย

2.       ผลที่ได้จากการดำเนินโครงงาน เรื่อง ความงามในภาษาจากบทเพลงพระราชนิพนธ์ 

เป็นองค์ความรู้ใหม่ที่สามารถนำไปใช้ประกอบการเรียนรู้ได้

 

 

นิยามศัพท์เฉพาะ

                1. ความงามในภาษา  หมายถึง   ศิลปะในการประพันธ์   การใช้ถ้อยคำ  สำนวน  โวหารที่มีความไพเราะ  ลึกซึ้ง กินใจ   ก่อให้เกิดจินตนาการ หรือกระทบความรู้สึกของผู้อ่านหรือผู้ฟัง

                2. บทเพลงพระราชนิพนธ์  หมายถึง  บทเพลงที่จัดว่าเป็นเพลงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น  และเป็นเพลงที่ได้รับความนิยม ตลอดจนผู้ฟังส่วนใหญ่ได้รับฟังอย่างสม่ำเสมอ และเป็นที่คุ้นเคยสำหรับผู้ฟังเพลงทั่วไป  จำนวน  15   เพลง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทที่ 2

การศึกษาเอกสารตำราที่เกี่ยวข้อง

 

                ในการดำเนินงานจัดทำโครงงาน เรื่อง  ความงามในภาษาจากบทเพลงพระราชนิพนธ์นี้   กลุ่มผู้จัดทำโครงงานได้กำหนดหัวข้อในการศึกษาค้นคว้าเอกสารและตำราที่เกี่ยวข้อง  ตามลำดับดังนี้

1.       ศิลปะการประพันธ์

2.       พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

3.       พระอัจริยภาพทางด้านต่าง ๆ  ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

4.       เพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

 

1. ศิลปะการประพันธ์

   1.1  ศิลปะการประพันธ์

                 ศิลปะในการสร้างสรรค์วรรณคดีให้มีความงาม ความไพเราะ แลมีความหมายเป็นที่

จับใจผู้อ่านนั้นเรียกว่า วรรณศิลป์ เมื่อจะแต่งวรรณศิลป์สักเรื่องหนึ่ง กวีมิได้เพียงแต่คิดเนื้อหาขึ้นมาเท่านั้น แต่จะต้องคิดกลวิธีการประพันธ์ให้ผลงานนั้นออกมาอย่างเหมาะเจาะเพื่อสื่อทั้งความหมายและความไพเราะงดงามด้วย กลวิธีการประพันธ์ที่สำคัญที่จะกล่าวถึง คือ การเล่นเสียง การเล่นคำ และการใช้ภาพพจน์

                1.การเล่นเสียง

                   การเล่นเสียง คือ  การสรรคำให้มีเสียงสัมผัสเป็นพิเศษกว่าปกติเพื่อให้เกิดทำนองเสียงที่ไพเราะน่าฟัง และเพื่ออวดฝีมือของกวี มีทั้งการเล่นเสียงพยัญชนะ เล่นเสียงสระและเล่นเสียงวรรณยุกต์ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

                              จิบจับเจาเจ่าเจ้า                           รังมา

                  จอกจาบจั่นจรรจา                                   จ่าจ้า

                   เค้าค้อยค่อยคอยหา                                 เห็นโทษ

                   ซอนซ่อนซ้อนสริ้วหน้า                          นิ่งเร้าเอาขวัญ

                                                                                   (โครงอักษรสามหมู่ ของ พระศรีมโหสถ)

 

           1.1 การเล่นเสียงพยัญชนะ คือ การใช้สัมผัสพยัญชนะ หลายพยางค์ติด ๆ กัน  คำประพันธ์ร้อยกรอง โดยทั่วไปไม่บังคับสัมผัสพยัญชนะ แต่กวีก็นิยมใช้เสียงสัมผัสพยัญชนะเพื่อให้มีความไพเราะ ปกติมักจะเป็นเสียงสัมผัส  2- 3 เสียง เช่น ปัญญาตรองตริล้ำลึกหลาย(โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) มีเสียงสัมผัสพยัญชนะคือ ตรอง-ตริ , ล้ำ-ลึก-หลาย แต่ในโคลงอักษรสามหมู่ที่ยกมาข้างต้นมีสัมผัสพยัญชนะดังนี้

                  บาทแรกใช้เสียงพยัญชนะ /จ/ ติดกัน ๕ เสียง คือ จิบ-จับ-เจา-เจ่า-เจ้า

                  บาทที่ ๒ ใช้เสียงพยัญชนะ /จ/ ติดกันถึง ๗ เสียง คือ จอก-จาบ-จั่น-จรร-จา-จ่า-จ้า

                  บาทที่ ๓ ใช้เสียงพยัญชนะ /ค/ ติดกัน ๔ เสียง คือ เค้า-ค้อย-ค่อย-คอย

                  และบาทที่ ๔ ใช้เสียงพยัญชนะ /ซ/ ติดกัน ๔ เสียง คือ ซอน-ซ่อน-ซ้อน-สริ้ว  

                  (อ่านว่า ซิ่ว)

                  การใช้เสียงสัมผัสลักษณะนี้เรียกว่า การเล่นพยัญชนะ

               1.2 การเล่นเสียงสระ คือ การใช้สัมผัสสระ หลายพยางค์ติด ๆ กัน โคลงบทนี้มีสัมผัสสระเป็นสัมผัสนอก   ตามข้อบังคับฉันทลักษณ์ของโคลงสี่สุภาพ อยู่แล้ว แต่กวีได้เพิ่มสัมผัสสระในวรรคอีก โดยนำคำที่เล่นเสียงดยัญชนะมาใช้เสียงสัมผัสสระซ้ำ ๆ กันอีก ได้แก่  เจา-เจ่า-เจ้า(เสียงสระเอา) จั่น-จรร (เสียงสระอา)  คอย-ค่อย-ค้อย( เสียงสระออ แม่เกย) ซอน-ซ่อน-ซ้อน(เสียงสระออ แม่กน)

               การใช้เสียงสัมผัสลักษณะนี้เรียกว่า การเล่นเสียงสระ

              1.3 การเล่นเสียงวรรณยุกต์  คือ การใช้คำที่ไล่ระดับเสียง ๒ หรือ ๓ ระดับเป็นชุด ๆ ไป ตัวอย่างจากโครงบทนี้ ได้แก่ เจา-เจ่า-เจ้า(เสียงสามัญ-เอก-โท)จั่น-จรร(เสียงเอก-สามัญ) จา-จ่า-จ้า (เสียงสามัญ-เอก-โท)ค้อย-ค่อย-คอย (เสียงตรี-โท-สามัญ)ซอน-ซ่อน-ซ้อน(เสียงสามัญ-โท-ตรี)

               การเล่นเสียงทั้ง ๓ ลักษณะนี้ทำได้ยาก แม้จะมุ่งเน้นเรื่องการใช้คำที่ทำให้เกิดเสียงไพเราะเป็นสำคัญ แต่ก็ต้องคำนำถึงความหมายของบทประพันธ์ด้วย ในโคลงบทข้างต้นนี้กวีบรรยายภาพนกกระจิบซึ่งเกาะจับเจ่าจนกระทั้งนกตัวที่เป็นเจ้าของรังกลับมา ส่วนนกกระจอกและนกกระจาบส่งเสียงร้องเหมือนเจรจากัน นกเค้าที่เฝ้าคอยอยู่นั้นหน้าตาไม่น่าดู ทำหน้านิ่วและซ่อนหน้า แม้จะอยู่นิ่ง ๆ ก็ยังน่ากลัว

              ตัวอย่างบทประพันธ์ที่กวีแสดงฝีมือโดยประสานศิลปะในการเล่นเสียงเข้ากับการสื่อความหมายได้อย่างดียิ่ง ได้แก่ กาพย์และโคลงบทต่อไปนี้

                                        ดูหนูสู่รูงู                                    งูสุดสู้หนูสู้งู

                              หนูงูสู้ดูอยู่                                           รูปงูทู่หนูมูทู

                                        ดูงูขู่ฝูดฝู้                                     พรูพรู

                              หนูสู่รูงูงู                                               สุดสู้

                              งูสู้หนูหนูสู้                                           งูอยู่

                              หนูรู้งูรู้                                                  รูปถู้มูทู

                                                (กาพย์ห่อโคลงประพานธารทองแดง พระนิพนธ์ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร) 

            2 .การเล่นคำ

                  การเล่นคำ คือ การสรรคำมาเรียงร้อยในคำประพันธ์ โดยพลิกแพลงให้เกิดความหมายพิเศษและแปลกออกไปจากที่ใช้กันอยู่ เพื่ออวดฝีมือของกวีเช่นเดียวกับการเล่นเสียง  ที่จะกล่าวถึงในที่นี้คือการเล่นคำพ้อง การเล่นคำซ้ำ และการเล่นคำเชิงถาม

             2.1  การเล่นคำพ้อง คือ  การนำคำพ้องมาใช้คู่กันให้เกิดความหมายที่สัมพันธ์กันเช่น

                                   เบญจวรรณจับวัลย์มาลี           เหมือนวันเจ้าวอนที่ให้ตามกวาง 

         (บทละคร เรื่อง รามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช)

             เมื่อทศกัณฐ์ลักนางสีดาไป พระรามออกตามหานาง ขณะที่เดินทางกลางป่าพระรามเห็นนกเบญจวรรณ (นกแก้วชนิดหนึ่ง)เกาะอยู่ที่เถาวัลย์ ทำให้นึกถึงวันที่นางสีดาทูลอ้อนวอนให้พระองค์ออกไปตามกวางทอง กวีเล่นคำที่มีเสียง วัน ๓ คำ คือ (เบญจ)วรรณ-วัลย์-วันโดยนำมาใช้ให้มีความหมายสัมพันธ์กันได้อย่างกลมกลืน

             การเล่นคำพ้องเป็นกลวิธีการประพันธ์ที่กวีไทยนิยมมาก บางครั้งนอกจากใช้คำพ้องเสียง ดังตัวอย่างข้างต้นแล้ว ยังมีคำพ้องรูป ด้วย เช่น

                        เห็นรอหักเหมือนหนึ่งรักที่รอรา         แต่รอท่ารั้งทุกข์มาตามทาง

                                                                                             (นิราศพระบาท ของ สุนทรภู่)

            รอคำแรกหมายถึง หลักปักกันกระแสน้ำ ส่วน รอ ในคำว่า รอรา หมายถึงหยุด และในคำว่า รอท่า หมายถึง คอย

            2.2 การเล่นคำซ้ำ  คือ  การนำคำคำเดียวมาใช้ซ้ำ ๆ ในที่ใกล้ ๆ กัน เพื่อย้ำความหมายของข้อความให้หนักแน่นมากขึ้น ดังตัวอย่างในบทคร่ำครวญของพระนางมัทรีเมื่อตามหาสองกุมาร

ไม่พบ

        แต่แม่เที่ยวเซซังเสาะแสวงทุกแห่งห้องหิมเวศ ทั่วประเทศทุกราวป่า สุดนัยนาที่แม่จะตามไปเล็งแล สุดโสกแล้วที่แม่จะซับทราบฟังสำเนียง สุดสุรเสียงที่แม่จะร่ำเรียกพิไรร้อง สุดฝีเท้าที่แม่จะเยื้องย่องยกย่างลงเหยียบดัน ก็สุดสิ้นสุดปัญญาสุดหาสุดค้นเห็นสุดคิด

                                               (มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี สำนวนของเจ้าพระยาพระคลัง(หน))

กวีเล่นคำว่า สุดซ้ำ ๆ กัน เพื่อสื่อว่าพระนางมัทรีได้พยายามตามหาสองกุมารอย่างเต็มความสามารถแล้วก็ยังไม่พบ เพราะทั้งสองลับสายตาไปแล้ว (สุดนัยนา)  ไม่ได้ยินเสียงแล้ว (สุดโสต) พระนางมัทรีได้พร่ำเรียกพระโอรสพระธิดาจนสิ้นเสียง (สุดสุรเสียง)และได้ตามหาจนหมดกำลังเดินไม่ไหวแล้ว (สุดฝีเท้า) บทรำพันนี้จบลงด้วยการซ้ำคำว่าสุดสิ้นสุดปัญญาสุดค้นเห็น

สุดคิด เป็นการบอกกล่าวความทอดอาลัยความสิ้นหวังอย่างยิ่งยวดของแม่ผู้ต้องพรากจากลูก

2.3 การเล่นคำเชิงถาม  คือ  การเรียงถ้อยคำให้เป็นประโยคเชิงถาม แต่เจตนาที่แท้จริง

ไม่ได้ถาม เพราะไม่ต้องการคำตอบ แต่ต้องการเน้นให้ข้อความมีน้ำหนักดึงดูดความสนใจและ

ให้ผู้ฟังคิดตาม บางท่านเรียกกลวีธีการประพันธ์นี้ว่า การใช้ประโยคคำถามเชิงวาทศิลป์ เพราะเป็นวิธีการที่นิยมใช้กันในการพูดต่อประชุมชน เมื่อผู้พูดต้องการสร้างอารมณ์แก่ผู้ฟังให้เกิดผลตามเจตนารมณ์ ในวรรณคดีไทย กวีนิยมใช้กลวิธีนี้กันมากตัวอย่างเช่น

                           เปลก็ไกวดาบก็แกว่งแข็งหรือไม่       ไม่อวดหยิ่งหญิงไทยมิใช่ชั่ว

                          ไหนไถถากกรากกรำไหนทำครัว        ใช่รู้จักแต่จะยั่วผัวเมื่อไร

                                (นารีเรืองนาม พระนิพนธ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์)

           การใช้คำเชิงถามว่า แข็งหรือไม่ ใช่...เมื่อไรเป็นการเล่นคำที่เป็นคำถามเพื่อยั่วให้ผู้อ่านสะดุดคิดว่า ที่จริงนั้นผู้หญิงไทยแข็งแกร่งและมีความสามารถมากกว่าการใช้เสน่ห์ผูกมัดใจสามีอย่างที่มักจะเข้าใจกัน

           ในนิราศภูเขาทอง สุนทรภู่รำพันถึงความไม่ยั่งยืนของสรรพสิ่งเมื่อได้เห็นเจดีย์ที่อยู่ในสภาพปรักหักพัง

        ………………………             …………………………

            โอ้เจดีย์ที่สร้างยังร้างรัก                                      เสียดายนักนึกน่าน้ำตากระเด็น

             กระนี้หรือชื่อเสียงเกียรติยศ                               จะมิหมดล่วงหน้าทันตาเห็น

             เป็นผู้ดีมีมากแล้วยากเย็น                                   คิดก็เป็นอนิจจังเสียทั้งนั้น

                                                                                         (นิราศภูเขาทอง ของ สุนทรภู่)

                 การใช้คำเชิงถามว่า กระนี้หรือ เป็นการกระตุ้นให้ผู้ผังฉุกคิดว่า เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว


บทคัดย่อโครงงานภาษาไทนของนักเรียนที่ได้รับรางวัล

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

พีระมิด

พีระมิด


เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง
เข็มนาฬิกากับหน้าที่

เข็มนาฬิกากับหน้าที่


เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง
care-you..........

care-you..........


เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง
50 Christmas  Cards.....

50 Christmas Cards.....


เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง
~~~~~~~~

~~~~~~~~


เปิดอ่าน 7,243 ครั้ง
พุงนั้น..สำคัญไฉน ?

พุงนั้น..สำคัญไฉน ?


เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

Romance

Romance

เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
วิจัยชั้นเรียน  :  การแก้ปัญหาการไม่ส่งงานวิชาภาษาไทย  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  ๕
วิจัยชั้นเรียน : การแก้ปัญหาการไม่ส่งงานวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
เปิดอ่าน 7,149 ☕ คลิกอ่านเลย

เลื่อนตัวเองขึ้น.. แต่อย่าลดคนอื่นลง
เลื่อนตัวเองขึ้น.. แต่อย่าลดคนอื่นลง
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ(บทคัดย่อ)
เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ(บทคัดย่อ)
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย

เชื่อหรือไม่?...แล้วแต่คุณนะ
เชื่อหรือไม่?...แล้วแต่คุณนะ
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย

ยิ้ม...ต้านโรค
ยิ้ม...ต้านโรค
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย

ส.ค.ส.แผ่นแรกของไทย
ส.ค.ส.แผ่นแรกของไทย
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

มารยาทในการกล่าวขอบคุณ(Thank you)
มารยาทในการกล่าวขอบคุณ(Thank you)
เปิดอ่าน 65,995 ครั้ง

รู้จักยัง...Hate Speech คืออะไร ? เกิดจากอะไร ? และเราจะรับมือได้อย่างไร?
รู้จักยัง...Hate Speech คืออะไร ? เกิดจากอะไร ? และเราจะรับมือได้อย่างไร?
เปิดอ่าน 12,358 ครั้ง

ประโยชน์ของน้ำขิง
ประโยชน์ของน้ำขิง
เปิดอ่าน 2,900 ครั้ง

ลายมือผู้ยิ่งใหญ่
ลายมือผู้ยิ่งใหญ่
เปิดอ่าน 29,954 ครั้ง

"เพลงอีแซว" การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง
"เพลงอีแซว" การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง
เปิดอ่าน 21,579 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ