Advertisement
รายงานวิจัยในชั้นเรียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551
ผู้วิจัย จินตนา พรมรักษา
***************************************************************
เรื่อง ผลการปรับพฤติกรรมด้านวินัยทางการเรียนในรายวิชาภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 2 ด้วยกระบวนการเสริมแรง
วัตถุประสงค์งานวิจัย
1. เพื่อประเมินผลพฤติกรรมด้านวินัยทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2ในรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน หลังจากการได้รับการปรับพฤติกรรมด้วยกระบวนการเสริมแรง
2. เพื่อประเมินผลความคงทนของพฤติกรรมด้านวินัยทางการเรียนหลังจากการได้รับการปรับพฤติกรรมด้วยกระบวนการเสริมแรง
3. เพื่อสร้างคู่มือการปรับพฤติกรรมวินัยทางการเรียนด้วยกระบวนการเสริมแรงที่มีคุณภาพตามมาตรฐานที่ยอมรับได้
สมมติฐานงานวิจัย
1. หลังจากการได้รับการปรับพฤติกรรมด้วยกระบวนการเสริมแรง นักเรียนมีวินัยทางการเรียนเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ที่ระดับคุณภาพ ดี
2. หลังจากการได้รับการปรับพฤติกรรมด้วยกระบวนการเสริมแรง นักเรียนมีความคงทนต่อการแสดงพฤติกรรมวัยทางการเรียนอย่างถาวร และสม่ำเสมอ
3. คู่มือการปรับพฤติกรรมวินัยทางการเรียนด้วยกระบวนการเสริมแรงมีคุณภาพตามมาตรฐานในระดับ 4
ขอบเขตงานวิจัย
1. ขอบเขตด้านประชากร
- กลุ่มประชากร
ประชากรที่ใช้ในการดำเนินงานวิจัยในครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 2 ของโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ จำนวน 206 คน
- กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการดำเนินงานวิจัยในครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 2 /5 ของโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ จำนวน 41 คน
2. ขอบเขตด้านระยะเวลา
- การดำเนินงานวิจัยในครั้งนี้ ใช้เวลาในการดำเนินงานทั้งสิ้น 14 สัปดาห์ ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ 2551
3. ขอบเขตด้านเนื้อหา
- เนื้อหาที่ใช้ในการดำเนินงานวิจัย ได้กำหนดขอบเขตของการแสดงพฤติกรรมด้าน
วินัยทางการเรียน ดังนี้
3.1 มีความพร้อมในการเรียน ได้แก่ อุปกรณ์การเรียน สมุด หนังสือ
ครบถ้วน
3.2 ไม่คุย เล่น หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากการเรียนใน
รายวิชาภาษาไทย
3.3 ส่งงานและการบ้านตรงเวลา ครบถ้วน
3.4 ผลงานที่ทำมีความประณีต เรียบร้อย สะอาด แสดงถึงความตั้งใจและความพยายามในการเรียนรู้และรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
1. ตัวแปรต้น
กระบวนการเสริมแรงทางบวกและทางลบ
2. ตัวแปรตาม
พฤติกรรมด้านวินัยทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง
วิธีดำเนินงาน
1. บันทึกพฤติกรรมก่อนการดำเนินงานวิจัย
2. เรียงลำดับความสำคัญของปัญหา
3. ศึกษาและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการปรับพฤติกรรมของนักเรียน
4. สร้างคู่มือการปรับพฤติกรรมด้านวินัยทางการเรียน ด้วยกระบวนการเสริมแรง 4 ขั้นตอน ตามหลักการทางจิตวิทยาการปรับพฤติกรรมของ คาริช ( Kalish ) ดังนี้
4.1 กระบวนการเรียนรู้วินัยทางการเรียน
4.2 กระบวนการสร้างเงื่อนไข
4.3 กระบวนการปรับพฤติกรรมตามเงื่อนไข
4.4 กระบวนการตอบสนองพฤติกรรม
5. ดำเนินการทดลองใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง
6. ปรับปรุงกระบวนการให้มุ่งสู่เป้าหมายที่ต้องการให้เกิดกับนักเรียน
7. ประเมินผล รายงานผลการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงานวิจัย
1. คู่มือการปรับพฤติกรรมด้านวินัยทางการเรียน
2. แบบบันทึกพฤติกรรมวินัยทางการเรียนก่อนและหลังการปรับพฤติกรรม
3. แบบประเมินคุณภาพคู่มือการปรับพฤติกรรมวินัยทางการเรียน
วิธีการสร้างและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
1. คู่มือการปรับพฤติกรรมวินัยทางการเรียน
1.1วิธีการสร้าง
- ศึกษาเอกสาร ตำรา ทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการปรับพฤติกรรมของนักเรียนและ
การเสริมแรง
- กำหนดขอบเขตเนื้อหาของพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความมีวินัยทางการเรียน
- กำหนดรูปแบบกระบวนการปรับพฤติกรรมตามแนวทางหรือทฤษฎีการปรับ
พฤติกรรมของ คาริช ( Kalish )
- กำหนดรูปแบบ และวิธีการเสริมแรง
- ดำเนินการจัดสร้างคู่มือตามความคิด และเข้าใจ จากนั้นนำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิ
ร่วมพิจารณา ตรวจสอบความเป็นไปได้ของกระบวนการปรับพฤติกรรมด้วยการ
เสริมแรง
- นำคู่มือมาปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำ
- นำไปทดลองใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง
1.2 การตรวจสอบคุณภาพของคู่มือ
- นำคู่มือไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิช่วยพิจารณาและประเมินระดับคุณภาพของคู่มือจากแบบประเมินคุณภาพคู่มือการปรับพฤติกรรมด้านวินัยทางการเรียนด้วยการเสริมแรง
2. แบบบันทึกพฤติกรรมวินัยทางการเรียนก่อนและหลังการปรับพฤติกรรม
2.1 วิธีการสร้าง
- ศึกษาเอกสารและตำราที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบประเมิน แบบสอบถาม แบบบันทึกผลพฤติกรรมต่าง ๆ
- กำหนดรูปแบบการบันทึกพฤติกรรมด้านวินัยทางการเรียนตามหัวข้อที่กำหนดไว้ในเนื้อหาของวิจัย โดยใช้วิธีการแจกแจงความถี่ของพฤติกรรม
- สร้างแบบบันทึกพฤติกรรมวินัยทางการเรียนตามที่กำหนดรูปแบบไว้
- นำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิได้ร่วมพิจารณาและข้อคำแนะนำ
- นำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง สมบูรณ์
- นำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง
2.2 การตรวจสอบคุณภาพของแบบบันทึก
- ใช้แบบประเมินความสอดคล้อง( IOC ) ของแบบบันทึกพฤติกรรมวินัย
ทางการเรียน โดยขอความร่วมมือจากผู้ทรงคุณวุฒิ แลเพื่อนครู
3. แบบประเมินคุณภาพคู่มือการปรับพฤติกรรมวินัยทางการเรียนด้วยการเสริมแรง
3.1 วิธีการสร้าง
- ศึกษาเอกสารและตำราที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบประเมิน
- กำหนดรูปแบบ เนื้อหา และวัตถุประสงค์ของการประเมินคุณภาพของคู่มือ
- นำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา ตรวจสอบและให้ขอเสนอแนะ
- นำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแก้ไข จนสมบูรณ์
- นำไปทดลองใช้
3.2 การตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมิน
- ใช้แบบประเมินความสอดคล้อง ( IOC ) ของแบบประเมินคุณภาพคู่มือการปรับพฤตกรรมวินัยทางการเรียนด้วยการเสริมแรง
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
.สิถิติพื้นฐานทั่วไป
- ค่าเฉลี่ย ( กาญจนา วัฒายุ , 2545 : 106 )
X = ∑
X = คะแนนดิบ
X = ค่าเฉลี่ย
∑x = ผลรวมของคะแนนดิบ
N = จำนวนนักเรียน
- ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( กาญจนา วัฒายุ , 2545 : 112 )
S.D. =
S.D. = ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
∑x = ผลรวมคะแนนดิบของนักเรียน
∑x2 = ผลรวมคะแนนดิบของนักเรียนกำลังสองทีละตัว
N = จำนวนนักเรียน
- ค่าร้อยละ
นิยามศัพท์เฉพาะ
1. วินัยทางการเรียน หมายถึง การกระทำหรือการแสดงพฤติกรรม ดังต่อไปนี้
1.1 มีความพร้อมในการเรียน ได้แก่ อุปกรณ์การเรียน สมุด หนังสือ
ครบถ้วน
1.2 ไม่คุย เล่น หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากการเรียนใน
รายวิชาภาษาไทย
1.3 ส่งงานและการบ้านตรงเวลา ครบถ้วน
1.4 ผลงานที่ทำมีความประณีต เรียบร้อย สะอาด แสดงถึงความตั้งใจ และความพยายามในการเรียนรู้และรับผิดชอบต่องานที่ได้รับ มอบหมาย
2. กระบวนการปรับพฤติกรรมวินัยทางการเรียน หมายถึง
2.1 กระบวนการเรียนรู้วินัยทางการเรียน
2.2 กระบวนการสร้างเงื่อนไข
2.3 กระบวนการปรับพฤติกรรมตามเงื่อนไข
2.4 กระบวนการตอบสนองพฤติกรรม
3. กระบวนการเรียนรู้วินัยทางการเรียน หมายถึง การจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้รู้และ
เข้าใจถึงความมีวินัยทางการเรียน ด้วยการอธิบาย
4. กระบวนการสร้างเงื่อนไข หมายถึง การสร้างข้อตกลงร่วมกันระหว่างครูและนักเรียน ว่าการกระทำหรือไม่กระทำตามเงื่อนไขของวินัยทางการเรียนจะได้ผลตอบสนองอย่างไร
5. กระบวนการปรับพฤติกรรมตามเงื่อนไข หมายถึง การควบคุมการทำงาน การตรวจสอบการทำงานและการส่งงาน การรายงานตนเอง
6. กระบวนการตอบสนองพฤติกรรม หมายถึง การตอบแทนการกระทำในทางบวก และทางลบของนักเรียนด้วยวิธีการเสริมแรง
7. การเสริมแรง หมายถึง การให้สิ่งตอบแทนทางบวก ได้แก่ คะแนน คำชมเชย
เกียรติบัตร เมื่อนักเรียนแสดงพฤติกรรมวินัยทางการเรียน และการให้สิ่งตอบแทนในทางลบ ได้แก่ การตัดคะแนน การทำลงโทษด้วยการคุมประพฤติ
ผลการดำเนินงาน
ในการดำเนินงานวิจัย เรื่อง ผลการปรับพฤติกรรมด้านวินัยทางการเรียนในรายวิชาภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยกระบวนการเสริมแรง ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. เพื่อประเมินผลพฤติกรรมด้านวินัยทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2ในรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน หลังจากการได้รับการปรับพฤติกรรมด้วยกระบวนการเสริมแรง
2. เพื่อประเมินผลความคงทนของพฤติกรรมด้านวินัยทางการเรียนหลังจากการได้รับการปรับพฤติกรรมด้วยกระบวนการเสริมแรง
3. เพื่อสร้างคู่มือการปรับพฤติกรรมวินัยทางการเรียนด้วยกระบวนการเสริมแรงที่มีคุณภาพตามมาตรฐานที่ยอมรับได้
ทั้งนี้จากการดำเนินงานเก็บรวบรวมข้อมูลปรากฏผลตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัย ดังนี้
1.ผลการประเมินพฤติกรรมด้านวินัยทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ในรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน หลังจากการได้รับการปรับพฤติกรรมด้วยกระบวนการเสริมแรง
จากการประเมินพฤติกรรมด้านวินัยทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ในรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน หลังจากการได้รับการปรับพฤติกรรมด้วยกระบวนการเสริมแรง ด้วยวิธีการบันทึกพฤติกรรม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย และร้อยละ จากจำนวนนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง 41 คน ปรากฏผลดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงผลการบันทึกพฤติกรรมวินัยทางการเรียนก่อนและหลังการปรับพฤติกรรมวินัยทางการเรียนด้วยการเสริมแรง
ลำดับที่ พฤติกรรมก่อนปรับ (ค่าเฉลี่ย ความถี่พฤติกรรม 4 สัปดาห์ / 12 ช.ม.) พฤติกรรมขณะดำเนินงานปรับ
(ค่าเฉลี่ย ความถี่พฤติกรรม 4 สัปดาห์ /
12 ช.ม. )
ความพร้อมในการเรียน ไม่คุยเล่น หรือทำกิจกรรมอื่น ส่งงานตรงเวลา ครบถ้วน ผลงานประณีต สะอาด เป็นระเบียบ ความพร้อมในการเรียน ไม่คุยเล่น หรือทำกิจกรรมอื่น ส่งงานตรงเวลา ครบถ้วน ผลงานประณีต สะอาด เป็นระเบียบ
1 5 4 5 2 7 7 9 8
2 4 5 4 2 8 9 8 8
3 8 10 7 8 12 12 11 11
4 6 5 3 2 9 9 8 9
5 6 6 4 3 9 10 9 9
6 5 7 6 3 8 11 10 9
7 8 9 9 7 11 12 12 11
8 9 8 6 9 10 11 10 11
9 5 5 4 3 9 8 9 8
10 3 4 2 2 3 9 11 7
11 4 5 4 3 9 11 11 7
12 4 4 4 4 10 8 9 9
13 6 5 5 4 9 9 11 9
14 5 5 5 4 9 9 12 11
15 8 6 9 6 12 10 11 7
ลำดับที่ พฤติกรรมก่อนปรับ (ค่าเฉลี่ยความถี่พฤติกรรม 4 สัปดาห์ / 12 ช.ม.) พฤติกรรมขณะดำเนินงานปรับ
(ค่าเฉลี่ยความถี่พฤติกรรม 4 สัปดาห์ /
12 ช.ม. )
ความพร้อมในการเรียน ไม่คุยเล่น หรือทำกิจกรรมอื่น ส่งงานตรงเวลา ครบถ้วน ผลงานประณีต สะอาด เป็นระเบียบ ความพร้อมในการเรียน ไม่คุยเล่น หรือทำกิจกรรมอื่น ส่งงานตรงเวลา ครบถ้วน ผลงานประณีต สะอาด เป็นระเบียบ
16 9 6 8 9 12 11 10 9
17 9 6 7 8 11 10 10 8
18 6 5 6 4 10 9 8 8
19 7 4 4 4 11 9 9 9
20 4 7 3 3 10 11 10 9
21 3 5 8 7 11 8 11 11
22 7 6 8 8 11 9 12 10
23 7 6 7 8 10 10 11 11
24 6 4 6 6 9 9 12 9
25 7 8 6 6 11 11 11 9
26 6 6 5 6 11 9 8 9
27 8 9 10 8 12 12 9 11
28 7 5 9 8 11 11 12 9
29 7 6 9 9 11 10 12 12
30 6 6 6 5 12 9 10 9
31 6 5 8 6 11 10 10 11
32 7 4 7 9 12 8 11 11
33 7 7 7 8 11 11 11 12
34 7 5 6 5 11 9 9 9
35 8 6 8 7 12 12 10 11
36 8 8 8 7 12 12 10 10
37 7 7 8 8 11 11 11 10
38 6 7 7 6 9 11 10 9
39 6 7 6 6 9 10 9 9
ลำดับที่ พฤติกรรมก่อนปรับ ( ค่าเฉลี่ยความถี่พฤติกรรม 4 สัปดาห์ / 12 ช.ม.) พฤติกรรมขณะดำเนินงานปรับ( ค่าเฉลี่ยความถี่พฤติกรรม 10 สัปดาห์ /
12 ช.ม. )
ความพร้อมในการเรียน ไม่คุยเล่น หรือทำกิจกรรมอื่น ส่งงานตรงเวลา ครบถ้วน ผลงานประณีต สะอาด เป็นระเบียบ ความพร้อมในการเรียน ไม่คุยเล่น หรือทำกิจกรรมอื่น ส่งงานตรงเวลา ครบถ้วน ผลงานประณีต สะอาด เป็นระเบียบ
40 9 9 9 10 11 11 11 12
41 5 4 4 4 9 8 9 9
รวม 261 246 257 237 416 406 417 390
เฉลี่ย 6.36 6 6.26 5.78 10.14 9.90 10.17 9.51
ร้อยละ 53.04 50 52.23 48.17 84.55 82.52 84.75 79.26
จากตารางซึ่งเป็นการเปรียบเทียบสะท้อนผลการดำเนินงาน ผลการปรับพฤติกรรมด้านวินัยทางการเรียนด้วยการเสริมแรง พบว่า นักเรียนมีความถี่ของการแสดงพฤติกรรมซึ่งเป็นตัวชี้วัดความมีวินัยทางการเรียนเพิ่มมากขึ้นกว่าก่อนการปรับพฤติกรรม ดังนี้
1. นักเรียนมีความพร้อมทางการเรียนเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ยร้อยละ 53.04 เป็นร้อยละ 84.55 สูงกว่าเดิมร้อยละ 31.51
2. นักเรียนไม่คุยเล่น หรือทำกิจกรรมอื่นนอกเหนือวิชาภาษาไทยเพิ่มขึ้นจากเดิมมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 50 เป็น 82.52 สูงกว่าเดิมร้อยละ 32.52
3. นักเรียนส่งการงาน ตรงเวลา ครบถ้วนเพิ่มขึ้นจากเดิมมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 52.23 เป็น 84.75 สูงกว่าเดิมร้อยละ 32.52
4. นักเรียนมีผลงานที่ประณีต เป็นระเบียบ สะอาด เพิ่มขึ้นจากเดิมมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 48.17 เป็น 79.26 สูงกว่าเดิมร้อยละ 31.09
2. ผลการประเมินความคงทนของพฤติกรรมด้านวินัยทางการเรียนหลังจากการได้รับการปรับพฤติกรรมด้วยกระบวนการเสริมแรง
จากการที่ผู้วิจัยได้เว้นระยะการปรับพฤติกรรมด้วยการเสริมแรงไป 2 สัปดาห์ เพื่อพิจารณาถึงความคงทนของพฤติกรรมด้านวินัยทางการเรียนหลังการปรับพฤติกรรม ปรากฏว่านักเรียนกลุ่มตัวอย่าง แสดงพฤติกรรมที่สะท้อนถึงความคงทนของการมีวินัยทางการเรียนดังนี้
ลำดับที่ พฤติกรรมหลังการเว้นระยะปรับ ( ค่าเฉลี่ยความถี่พฤติกรรม 3 สัปดาห์ / 9 ช.ม.)
ความพร้อมในการเรียน ไม่คุยเล่น หรือทำกิจกรรมอื่น ส่งงานตรงเวลา ครบถ้วน ผลงานประณีต สะอาด เป็นระเบียบ
1 6 7 7 6
2 7 7 7 6
3 8 9 8 7
4 7 7 7 7
5 7 7 6 6
6 5 7 7 7
7 8 8 9 7
8 9 8 8 6
9 7 7 7 7
10 7 7 8 7
11 8 8 7 7
12 7 8 8 8
13 6 7 8 7
14 7 7 9 9
15 8 8 9 7
16 9 8 8 8
17 9 7 7 7
18 6 7 8 8
19 7 7 8 8
20 8 7 9 9
21 8 8 8 8
22 7 7 8 7
23 7 7 7 6
24 6 6 7 7
ลำดับที่ พฤติกรรมก่อนปรับ ( ค่าเฉลี่ยความถี่พฤติกรรม 4 สัปดาห์ / 12 ช.ม.)
ความพร้อมในการเรียน ไม่คุยเล่น หรือทำกิจกรรมอื่น ส่งงานตรงเวลา ครบถ้วน ผลงานประณีต สะอาด เป็นระเบียบ
25 7 8 8 8
26 8 6 8 8
27 8 9 9 7
28 7 7 9 8
29 7 8 9 6
30 7 7 6 6
31 7 8 8 7
32 7 4 7 7
33 7 7 7 7
34 9 9 7 5
35 9 8 8 8
36 8 8 8 6
37 7 7 8 6
38 9 7 7 7
39 8 7 8 8
40 9 9 9 7
41 8 7 7 5
รวม 306 302 318 288
ค่าเฉลี่ย 7.46341463 7.365854 7.756098 7.02439
ร้อยละ 82.9268293 81.84282 86.17886 78.04878
จากข้อมูลที่ปรากฏในตาราง แสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมด้านวินัยทางการเรียนหลังจากที่ผู้วิจัยเว้นระยะการดำเนินการปรับพฤติกรรม แล้วมาเริ่มสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนอีกครั้ง พบว่า
1. นักเรียนมีความพร้อมทางการเรียนค่าเฉลี่ยร้อยละ 82.92 เป็นร้อยละ 84.55 น้อยกว่ากว่าเดิมในขณะที่อยู่ระหว่างการปรับพฤติกรรม ร้อยละ 1.63
2. นักเรียนไม่คุยเล่น หรือทำกิจกรรมอื่นนอกเหนือวิชาภาษาไทยค่าเฉลี่ยร้อยละ 81.84 เป็น 82.52 น้อยกว่าเดิมในขณะที่อยู่ระหว่างการปรับพฤติกรรม ร้อยละ 0.68
3. นักเรียนส่งการงาน ตรงเวลา ครบถ้วน ค่าเฉลี่ยร้อยละ 86.17 เป็น 84.75 สูงกว่าเดิมในขณะที่อยู่ระหว่างการปรับพฤติกรรม ร้อยละ 1.42
4. นักเรียนมีผลงานที่ประณีต เป็นระเบียบ สะอาด มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 78.04 น้อยกว่าเดิมในขณะที่อยู่ระหว่างการปรับพฤติกรรม ร้อยละ 1.22
3. ผลการประเมินคุณภาพคู่มือการปรับพฤติกรรมวินัยทางการเรียนด้วยกระบวนการเสริมแรง
จากการนำคู่มือการปรับพฤติกรรมวินัยทางการเรียนด้วยกระบวนการเสริมแรง ไปให้เพื่อนครูท่านอื่น จำนวน 10 คน ช่วยประเมินคุณภาพของคู่มือ ปรากฏผลดังนี้
รายการ 5 4 3 2 1
คู่มือการปรับพฤติกรรมด้านวินัยทางการเรียนด้วยการเสริมแรงมีความสอดคล้องกับจุดประสงค์หรือเป้าหมายของการปรับพฤติกรรม 3 5 2 - -
คู่มือการปรับพฤติกรรมด้านวินัยทางการเรียนด้วยการเสริมแรงมีขั้นตอนหรือกระบวนการปรับพฤติกรรม
ที่ชัดเจน แสดงออกให้เห็นเป็นรูปธรรม 2 5 3 - -
คู่มือการปรับพฤติกรรมด้านวินัยทางการเรียนด้วยการเสริมแรงมีความสัมพันธ์กันระหว่างขั้นตอนหรือกระบวนการกับผลทางด้านพฤติกรรมของนักเรียน - 6 4 - -
คู่มือการปรับพฤติกรรมด้านวินัยทางการเรียนด้วยการเสริมแรง มีขั้นตอนหรือกระบวนการที่สามารถปรับพฤติกรรมด้านวินัยทางการเรียนได้จริง 1 6 3 - -
คู่มือการปรับพฤติกรรมด้านวินัยทางการเรียนด้วยการเสริมแรงมีการวัดผลประเมินผลพฤติกรรมที่แสดงออกชัดเจน เป็นรูปธรรม 3 5 2 - -
รายการ 5 4 3 2 1
คู่มือการปรับพฤติกรรมด้านวินัยทางการเรียนด้วยการเสริมแรง มีความสอดคล้องกับแนวคิดทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับพัฒนาการทางการเรียนรู้และพัฒนาการทางคุณธรรมจริยธรรม 4 6 - - -
คู่มือการปรับพฤติกรรมด้านวินัยทางการเรียนด้วยการเสริมแรงสามารถสนองตอบวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายของโรงเรียนได้ 5 5 - - -
คู่มือการปรับพฤติกรรมด้านวินัยทางการเรียนด้วยการเสริมแรง สามารถสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนได้อย่างมีความสุข - 5 5 - -
คู่มือการปรับพฤติกรรมด้านวินัยทางการเรียนด้วยการเสริมแรง ตอบสนองความแตกต่างของนักเรียน 1 4 5 - -
คู่มือการปรับพฤติกรรมด้านวินัยทางการเรียนด้วยการเสริมแรง มีขั้นตอนหรือกระบวนการที่มีคุณภาพต่อการพัฒนาพฤติกรรมด้านวินัยทางการเรียนของนักเรียน 4 5 1 - -
รวม 23 52 25 0 0
ค่าเฉลี่ย 4.181818 9.454545 5.555556 0 0
ร้อยละ 23 52 25 0 0
จากตารางทำให้ทราบว่า คู่มือการปรับพฤติกรรมด้านวินัยทางการเรียนด้วยการเสริมแรง
มีขั้นตอนหรือกระบวนการที่มีคุณภาพต่อการพัฒนาพฤติกรรมด้านวินัยทางการเรียนของนักเรียน ดังนี้ ร้อยละ 23 เห็นว่าเหมาะสมมากที่สุด ร้อยละ 52 เห็นว่าเหมาะสมมาก และร้อยละ 25 เห็นว่าเหมาะสมปานกลาง
สรุปอภิปรายผลการดำเนินงาน
ผลการดำเนินงานวิจัยเรื่อง ผลการปรับพฤติกรรมด้านวินัยทางการเรียนในรายวิชาภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยกระบวนการเสริมแรง สามารถสรปุผลได้ดังนี้
สรุป
1. ผลการปรับพฤติกรรมด้านวินัยทางการเรียนด้วยการเสริมแรง พบว่า นักเรียนมีความถี่ของการแสดงพฤติกรรมซึ่งเป็นตัวชี้วัดความมีวินัยทางการเรียนเพิ่มมากขึ้นกว่าก่อนการปรับพฤติกรรม ดังนี้
1.1. นักเรียนมีความพร้อมทางการเรียนเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ยร้อยละ 53.04 เป็นร้อยละ 84.55 สูงกว่าเดิมร้อยละ 31.51
1.2. นักเรียนไม่คุยเล่น หรือทำกิจกรรมอื่นนอกเหนือวิชาภาษาไทยเพิ่มขึ้นจากเดิมมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 50 เป็น 82.52 สูงกว่าเดิมร้อยละ 32.52
1.3. นักเรียนส่งการงาน ตรงเวลา ครบถ้วนเพิ่มขึ้นจากเดิมมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 52.23 เป็น 84.75 สูงกว่าเดิมร้อยละ 32.52
1.4. นักเรียนมีผลงานที่ประณีต เป็นระเบียบ สะอาด เพิ่มขึ้นจากเดิมมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 48.17 เป็น 79.26 สูงกว่าเดิมร้อยละ 31.09
2. การประเมินผลความคงทนของพฤติกรรมด้านวินัยทางการเรียนหลังจากที่ผู้วิจัยเว้นระยะการดำเนินการปรับพฤติกรรม แล้วมาเริ่มสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนอีกครั้ง พบว่า
2.1. นักเรียนมีความพร้อมทางการเรียนค่าเฉลี่ยร้อยละ 82.92 เป็นร้อยละ 84.55 น้อยกว่ากว่าเดิมในขณะที่อยู่ระหว่างการปรับพฤติกรรม ร้อยละ 1.63
2.2. นักเรียนไม่คุยเล่น หรือทำกิจกรรมอื่นนอกเหนือวิชาภาษาไทยค่าเฉลี่ยร้อยละ 81.84 เป็น 82.52 น้อยกว่าเดิมในขณะที่อยู่ระหว่างการปรับพฤติกรรม ร้อยละ 0.68
2.3. นักเรียนส่งการงาน ตรงเวลา ครบถ้วน ค่าเฉลี่ยร้อยละ 86.17 เป็น 84.75 สูงกว่าเดิมในขณะที่อยู่ระหว่างการปรับพฤติกรรม ร้อยละ 1.42
2.4. นักเรียนมีผลงานที่ประณีต เป็นระเบียบ สะอาด มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 78.04 น้อยกว่าเดิมในขณะที่อยู่ระหว่างการปรับพฤติกรรม ร้อยละ 1.22
3 . ผลการประเมินคุณภาพคู่มือการปรับพฤติกรรมด้านวินัยทางการเรียนด้วยการเสริมแรง
สามารถสรุปผลได้ ดังนี้ ร้อยละ 23 เห็นว่าเหมาะสมมากที่สุด ร้อยละ 52 เห็นว่าเหมาะสมมาก และร้อยละ 25 เห็นว่าเหมาะสมปานกลาง
อภิปรายผล
จากการดำเนินงานวิจัยครั้งนี้ ซึ่งได้รับผลการดำเนินงานสอดคล้องและสูงกว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้ในเบื้องต้นการวิจัย ผู้วิจัยสามารถอภิปรายผลได้ว่า กระบวนการการปรับพฤติกรรมของนักเรียนนั้น ต้องคำนึงถึงเพศ วัย และความพร้อมของนักเรียน การที่ครูจะปรับพฤติกรรมนักเรียนที่อยู่ในช่วงวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยที่มีความคึกคะนอง ต้องการแสดงเอกลักษณ์เฉพาะตนของตนเอง และชอบพึ่งพาระบบหมู่เป็นหลัก อาศัยเพื่อนเป็นแกนในการคิด หรือกระทำกิจกรรม
ต่าง ๆ ตามกลุ่มของตนเอง ครูต้องนำหลักจิตวิทยามาช่วยในการปรับพฤติกรรม เด็กในวัยนี้
ไม่ชอบการถูกบังคับ สามารถเรียนรู้และคิดในเชิงนามธรรม เป็นเหตุเป็นผลได้ ดังนั้น กระบวนการปรับพฤติกรรมด้วยการเสริมแรง จะต้องคำนึงว่าการเสริมแรงและกระบวนการใดที่เด็กไม่ต้องการ และกระบวนการที่เด็กเกิดความสุขที่จะกระทำ ต้องนำมาใช้ให้ถูกเวลา นอกจากนี้กระบวนการปรับพฤติกรรมครูต้องเน้นให้เด็กได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน เพราะจำให้เด็กรู้สึกว่าพฤติกรรมของตนเองมีการพัฒนาด้วยความคิดของตน ไม่ใช่เกิดจากความคิดของครูทั้งหมด ถ้าเป็นความคิดของครูทั้งหมด และครูดำเนินการปรับพฤติกรรมเด็กเองทั้งหมด เด็กจะรู้สึกว่าถูกบังคับ และเกิดความขัดแย้งทางความคิดและการกระทำตามมา นอกจากนี้ การเสริมแรงให้กับเด็กในวัยรุ่นนี้ ต้องเป็นการเสริมแรงที่อยู่ในความสนใจของเด็ก เด็กได้รับการเสริมแรงแล้วมีความหมาย การเสริมแรงต้องทำให้เกิดแรงจูงใจ และกำลังใจที่ดี ขณะเดียวกันการเสริมแรงในเชิงลบที่เกิดจากการสร้างเงื่อนไข ต้องไม่มุ่งทำร้ายจิตใจของเด็กให้เกิดความท้อแท้เบื่อหน่าย แต่ต้องกระทำให้เด็กเห็นว่าผลของการได้รับการเสริมแรงทางลบนี้เนื่องมาจากการกระทำของนักเรียนเอง ไม่ได้เกิดจากการกระทำของผู้อื่น เมื่อเด็กได้รับรู้ผลสะท้อนกลับของการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางพฤติกรรมด้านวินัยทางการเรียน แล้วไม่ส่งผลดีกับตนเอง เด็กย่อมเปลี่ยนพฤติกรรมให้เข้ากับเงื่อนไขนั้น ๆ ทั้งนี้ครูต้องคำนึงว่าการเสริมแรงทางลบไม่ใช่การลงโทษ หรือการทำร้ายร่างกายจิตใจของเด็ก แต่เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดความรู้สึกสำนึกถึงผลที่ได้จากการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขนั่นเอง
วันที่ 31 ก.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,172 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,223 ครั้ง เปิดอ่าน 7,168 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,774 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,652 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,172 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,146 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,155 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 5,844 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,942 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,239 ครั้ง |
เปิดอ่าน 48,133 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,292 ครั้ง |
|
|