Advertisement
❝ พิชยาดา ใจภักดี : การพัฒนาการอ่านคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านกุดน้ำใส อำเภอนาเชือก
จังหวัดมหาสารคาม
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เพื่อพัฒนาให้นักเรียนอ่านคำควบกล้ำได้อย่างถูกต้องร้อยละ 70 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการ อ่านกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง คำควบกล้ำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านกุดน้ำใส อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม และเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง คำควบกล้ำที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/E2 (ตั้งไว้ที่ 70/70) การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (experimental research) ใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่มเฉพาะเจาะจงเนื่องจากประชากรมีอยู่จำกัด และต้องการพัฒนาเรื่องการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำของนักเรียนทั้งหมด จึงใช้ประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านกุดน้ำใส อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ 1) แบบทดสอบก่อนและหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านคำควบกล้ำระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ใช้ประเมินก่อนและหลังเรียน (Pretest - Posttest) แบบทดสอบก่อนและหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง คำควบกล้ำ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ใช้ประเมินก่อนเรียนและหลังเรียน (Pretest ? Posttest) ซึ่งเป็นชุดเดียวกัน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ แบ่งเป็น 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 เป็นแบบทดสอบการอ่านคำทั้งหมด 50 คำ (50 คะแนน) ตอนที่ 2 เป็นแบบทดสอบการอ่านคำในบทร้อยกรอง จำนวน 35 คำ (35 คะแนน) ตอนที่ 3 เป็นแบบทดสอบการอ่านจับใจความสำคัญจากเรื่องจำนวน 1 เรื่อง ทำแบบทดสอบ 10 ข้อ 10 คะแนน 2) แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านคำควบกล้ำ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบฝึกที่สร้างขึ้นจากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวกับการอ่านคำควบกล้ำ หลายเล่มและดัดแปลงให้เหมาะสมกับความสามารถของเด็กนักเรียน จำนวนทั้งหมด 16 แบบฝึก แต่ละแบบฝึกมีแบบฝึกหัด คะแนนเต็ม 20 คะแนน ยกเว้น แบบฝึกที่ 16
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที(t ? test) โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัยพบว่า จากการใช้แบบทดสอบก่อนและหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องคำควบกล้ำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนการใช้
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านคำควบกล้ำเฉลี่ย 52.94 คิดเป็นร้อยละ 55.73 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 8.85 คะแนนผลสัมฤทธิ์หลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านคำควบกล้ำ เฉลี่ย 81.28 คิดเป็นร้อยละ 85.56 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) 4.24 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นั่นก็แสดงให้เห็นว่า นักเรียนสามารถอ่านคำควบกล้ำได้เพิ่มขึ้นเมื่อใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องคำควบกล้ำ ประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้น และมีผลสัมฤทธิ์สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือมีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนร้อยละ 85.56 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ร้อยละ 70 ถึงร้อยละ 15.56
จากการใช้แบบทดสอบก่อนและหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง คำควบกล้ำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่าแสดงให้เห็นว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านคำควบกล้ำเฉลี่ย 52.94 คิดเป็นร้อยละ 55.73 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 8.85 คะแนนผลสัมฤทธิ์หลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านคำควบกล้ำ เฉลี่ย 81.28 คิดเป็นร้อยละ 85.56 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) 4.24 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นั่นก็แสดงให้เห็นว่า นักเรียนสามารถอ่านคำควบกล้ำได้เพิ่มขึ้นเมื่อใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องคำควบกล้ำ ประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้น และมีผลสัมฤทธิ์สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือมีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนร้อยละ 85.56 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ร้อยละ 70 ถึงร้อยละ 15.56
เมื่อนำคะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องคำควบกล้ำไปทดสอบความแตกต่างทางสถิติ โดยใช้การทดสอบค่าที(t-test ) แบบ t ? pair (Dependent) จากการคำนวณแสดงให้เห็นว่าชั้นแห่งความอิสระ กรณีกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระแก่กันมีค่าเท่ากับ N ? 1 เมื่อ N คือ จำนวนกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งค่าเท่ากับ 18 เพราะฉะนั้น ชั้นแห่งความอิสระ มีค่าเท่ากับ 18 ? 1 = 17 จากตารางแจกแจงความถี่ในภาคผนวก ที่ชั้นแห่งความอิสระ17 ระดับนัยสำคัญ .05 มีค่าที เท่ากับ 1.740 ค่าอัตราส่วนที ที่คำนวณได้เท่ากับ 13.86 มีค่ามากกว่าค่าที ที่ระดับ .05 หมายความว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียนและก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05
จากการหาประสิทธิภาพแบบฝึกซ่อมเสริมการอ่านวิชาภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ (E1 / E2) มีค่าเท่ากับ 91.77/82.33 ซึ่ง สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ70/70แสดงให้เห็นว่าแบบฝึกซ่อมเสริมการอ่านวิชาภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษา
ง
ปีที่ 2 ที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 70/70 และนักเรียนเกิดการเรียนรู้และเกิดทักษะ มีการพัฒนาการอ่านคำในภาษาไทยตามจุดประสงค์ของการวิจัยที่ตั้งไว้
สรุปได้ว่าจากการใช้แบบฝึกซ่อมเสริมการอ่านวิชาภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้น ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง พบว่าคะแนนหลังการใช้สูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นั่นแสดงให้เห็นว่า นักเรียนสามารถพัฒนาการอ่านคำในภาษาไทยและมีพัฒนาการการอ่านคำในภาษาไทยเพิ่มขึ้น เนื่องมาจากการพัฒนานักเรียนได้ตรงจุด และใช้แบบฝึกที่ตรงกับเนื้อหาที่ต้องการพัฒนาจึงทำให้นักเรียนสามารถพัฒนาการอ่านออกเสียงคำในภาษาไทยเพิ่มขึ้น
❞
วันที่ 30 ก.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,172 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,134 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,148 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,380 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 19,704 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,431 ครั้ง |
เปิดอ่าน 3,832 ครั้ง |
เปิดอ่าน 1,784 ครั้ง |
เปิดอ่าน 45,970 ครั้ง |
|
|