Advertisement
วันนี้พามารู้จักปลาปอมปาดัวร์.... ราชินีปลาตู้ค่ะ
ปลาปอมปาดัวร์ (Pompadour) หรือที่เรียกกันว่า Discus (ซึ่งหมายถึงทรงกลม อันมาจากลักษณะของรูปร่างปลานั่นเอง) ปอมปาดัวร์เป็นปลาในตระกูลปลาหมอสี (Cichlidae) มีถิ่นกำเนิดในลุ่มแม่น้ำอะเมซอนในทวีปอเมริกาใต้ ชอบอาศัยอยู่ตามบริเวณลุ่มน้ำลำธารที่มีกระแสน้ำไหลผ ่านเอื่อยๆ และมีระดับความลึกของน้ำไม่มากนัก มักหลบอาศัยอยู่ตามรากไม้น้ำหรือใต้พุ่มไม้น้ำที่มีล ักษณะรกทึบจนแสงแดดแทบ ส่องไม่ถึง ปลาชนิดนี้จัดได้ว่ามีความทนต่อสภาพน้ำต่างๆ ได้ดีพอสมควร
ลักษณะรูปร่างของปลาปอมปาดัวร์จะกลมคล้ายจาน ปากเล็ก มีการเคลื่อนไหวเนิบนาบ อ่อนช้อย ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 15-20 ซม. หรือประมาณ 6-8 นิ้ว มีลวดลายและสีสันเข้มข้นใกล้เคียงกับปลาทะเล ดูสวยงามมาก จึงเป็นที่นิยมนำมาเลี้ยงเป็นปลาตู้ไว้เพื่อความสวยง าม จนได้รับฉายาว่า "ราชินีแห่งปลาตู้" ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันในวงการตลาดปลาสวยงาม และจัดเป็นปลาราคาแพง
หากจะพูดถึงสายพันธุ์ของปอมปาดัวร์ที่อยู่ในความนิยม ในปัจจุบันมีหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นพันธุ์สีเดียว (Solid color) อย่างพวกบลูไดมอนด์, พันธุ์สีฟ้าตาแดง, พันธุ์สโนว์ไวท์ หรือปอมปาดัวร์ขาว, สีอื่นๆ อย่างเรดเทอร์คอร์ยส์, เรดแอนด์ไวท์ (Red & White) ฯลฯ แต่กระแสที่มาแรงตอนนี้คงหนีไม่พ้นปลาจุดต่างๆ ซึ่งมีต้นสายมาจากการพัฒนาปอมปาดัวร์เขียวอย่างพวกเส น็คสกิน ซึ่งมีจุดเล็กๆ ถี่ละเอียดกระจายอยู่ทั่วลำตัว แต่เดี๋ยวนี้ได้พัฒนาจนกระทั่งเป็นจุดกลมใหม่ สวยงามกว่าที่เห็นในอดีตไปอีกแบบหนึ่ง บางตัวก็มีปรากฏให้เห็นเป็นวงแหวนคล้ายเสือดาว ซึ่งพันธุ์ต่างๆ นี้ล้วนถูกพัฒนามาจากบรรพบุรุษสายพันธุ์ "รอยัลบลู" (Royal Blue) และ "รอยัลกรีน" (Royal Green) ต้นกำเนิดของปอมปาดัวร์ที่เพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลา ยในปัจจุบัน
ทั้ง นี้ ในยุคเริ่มต้นของการพัฒนาสายพันธุ์ ปอมปาดัวร์ห้าสีและปอมปาดัวร์เจ็ดสี นับเป็นชนิดที่มีสีสันสวยงามที่สุด เป็นปลาราคาแพงที่เพิ่งเข้ามาในตลาดปลาสวยงามบ้านเรา โดยผ่านการสั่งจากต่างประเทศ การเลี้ยงดูเรียกว่าต้องเลี้ยงแบบประคบประหงมพอสมควร มิเช่นนั้นแล้วปลาจะตื่นตกใจและตายในที่สุด บุคคลกลุ่มสำคัญที่เลี้ยงปลาเหล่านี้คือ ชาวไทยเชื้อสายจีนที่มีฐานะดี ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้ปอมปาดัวร์ยังไม่แพร่หลายไปใน วงกว้างเท่าใดนัก แต่ยังมีกลุ่มที่ชื่นชอบและเห็นว่าเป็นปลาเศรษฐกิจที ่ดีตัวหนึ่ง บวกกับโชคดีที่สภาพภูมิอากาศของบ้านเราเหมาะสมกับปลา ปอมปาดัวร์ ซึ่งเป็นปลาเขตร้อนมากกว่าประเทศเมืองหนาวอื่นๆ รวมถึงอาหารการกินของปลาที่จะชอบกินตัวอ่อนของแมลงน้ ำต่างๆเป็นอาหาร ปัจจัยเหล่านี้นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ยังคงมีการ เพาะพันธุ์ และในขณะเดียวกันก็พัฒนาสายพันธุ์ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปในเมืองไทย
สำหรับปลาปอมปาดัวร์ฝีมือไทยทำที่เรียกเสียงฮือฮาจาก เวทีโลกได้มากที่สุดคงจะหนีไม่พ้น "ปอมปาดัวร์ฝุ่น" หรือ "ปอมฝุ่น" มีพื้นสีขาวอมฟ้าและมีลายสีส้ม บนพื้นลำตัวมีจุดเล็กๆ สีดำกระจายอยู่ทั่วไป ปอมฝุ่นเป็นปลาที่เกิดจากการผ่าเหล่าของปอมเจ็ดสี ถูกนำไปโชว์ตัวครั้งแรกบนเวทีอะควาราม่า ซึ่งเป็นงานปลาสวยงามที่ใหญ่เป็นลำดับต้นๆ ของโลกเมื่อปี พ.ศ.2534 ปอมปาดัวร์ชนิดนี้เป็นต้นธารที่ทำให้เกิดปอมปาดัวร์ส ีใหม่ๆ อีกหลายตัว
อุปนิสัย
ปอมปาดัวร์เป็นปลาที่มีนิสัยค่อนข้างรักสงบ ไม่เหมาะที่จะปล่อยรวมกันกับปลาอื่น หรือปล่อยเลี้ยงรวมกันในตู้ที่แน่นจนเกินไป ปกติแล้วจะไม่ค่อยก้าวร้าว ซึ่งผิดแผกแตกต่างไปจากปลาชนิดอื่นๆ ในตระกูลเดียวกันที่ส่วนใหญ่แล้วจะมีนิสัยค่อนข้างดุ ร้าย ก้าวร้าว เว้นเสียแต่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์วางไข่เท่านั้น ทั้งนี้ ถ้าอาศัยอยู่ในถิ่นธรรมชาติก็มักหวงอาณาเขตหากิน และมีจ่าฝูงเที่ยวรังแก รังควานปลาตัวอื่นๆ ไปทั่ว โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในตู้เลี้ยงแคบๆ จะไม่ชอบอาศัยอยู่รวมกับปลาตัวอื่นๆ มักจะกัดกันเองอยู่เสมอ
อาหารและการเลี้ยงดู
ด้วยความที่มีนิสัยชอบสันโดษ ตู้ที่ใช้เลี้ยงปลาชนิดนี้จึงควรวางในที่เงียบสงบ และต้องดูแลเอาใจใส่อย่างดี โดยเฉพาะเรื่องความสะอาด เนื่องจากปลาปอมปาดัวร์จัดเป็นปลาที่ต้องการความสะอา ด มีความอ่อนไหวง่ายมากกับสภาพน้ำและสภาพอากาศจึงจัดเป็นปลาชนิดหนึ่งที่เลี้ยงยากมาก จำเป็นต้องใช้ฮีตเตอร์เพื่อควบคุมอุณหภูมิ
สำหรับน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาตู้ได้ดีที่สุดแล้วก็คือ ประปาแต่ทว่ามิใช่เป็นน้ำที่ไขออกจากมาใส่ตู้ปลาเลย จำเป็นต้องเตรียมน้ำตามกรรมวิธีเสียก่อนจึงจะปลอดภัย สามารถนำมาใช้เลี้ยงปลา ได้ ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่าน้ำประปา เป็นน้ำที่มีคลอรีน อันเป็นสารที่ใช้ฆ่าเชื้อโรคปนอยู่มากเป็นอันตรายต่อ ปลาทุกชนิด เมื่อจะนำน้ำประปามาใช้เลี้ยงปลาตู้ จึงควรรองน้ำจากก๊อกมาตากแดดปล่อยทิ้งไว้อย่างน้อย 1-3 วัน
ในเรื่องอาหารของปลาปอมปาดัวร์ ตามธรรมชาติแล้ว ปลาปอมปาดัวร์จะกินอาหารหลายอย่าง เช่น แมลงเล็กๆ ตัวอ่อนของแมลง ลูกน้ำ และพืชต่างๆ แต่สำหรับการเลี้ยงในตู้อาหารที่ใช้เลี้ยง ได้แก่ ลูกน้ำ ไส้เดือน หนอนแดง ไข่กุ้ง ไรแดง เป็นต้น สิ่งสำคัญคือ ปริมาณอาหารและคุณค่าของอาหารที่ได้สัดส่วน จำนวนครั้งในการให้อาหารควรจะเป็นดังนี้ ปลา เล็กแล้ว ให้บ่อยๆ ได้ แต่ไม่ควรเกิน 7 – 8 ครั้งต่อวัน ปลาขนาดกลาง ควรจะให้ 5 – 6 ครั้งต่อวัน ส่วนปลาขนาดใหญ่ ให้อาหาร 3 – 4 ครั้งก็เพียงพอ
โรคที่มักพบในปลาปอมปาดัวร์
โดยส่วนมากปลาปอมปาดัวร์มักจะป่วยเป็นอยู่ 2 โรค คือ
1. โรคตกหมอก อาการของโรคตกหมอก มีเมือกคลุมลำตัว ไม่กินอาหาร รักษาโดย ถ่ายพยาธิ
2. โรคขี้ขาว อาการของโรคขี้ขาว อุจจาระสีขาว ซีด ไม่ค่อยกินอาหาร รักษาโดย การเติมเกลือ 0.1%
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
, หนังสือพิมพ์โลกวันนี้, กรมประมง / จันทร์เจ้าขาดอทคอม
วันที่ 30 ก.ค. 2552
หน้าหนาวแล้ว คุณครูสนใจไหม DoDo เก้าอี้แคมป์ปิ้ง รับน้ำหนักได้เยอะ พร้อมกระเป๋าจัดเก็บ โครงอลูมิเนียมรับน้ำหนักได้200KG ในราคา ฿189 - ฿509 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/9pNuttuIUm?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,180 ครั้ง เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 7,155 ครั้ง เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 7,175 ครั้ง เปิดอ่าน 7,151 ครั้ง เปิดอ่าน 7,168 ครั้ง เปิดอ่าน 7,156 ครั้ง เปิดอ่าน 7,187 ครั้ง เปิดอ่าน 7,186 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,155 ครั้ง เปิดอ่าน 7,190 ครั้ง เปิดอ่าน 7,169 ครั้ง เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,148 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,161 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,158 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,169 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,155 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,152 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,175 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 16,198 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,689 ครั้ง |
เปิดอ่าน 21,496 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,786 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,370 ครั้ง |
|
|