ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ย้อนรอยศาสตร์และศิลป์คนสยาม กับภูมิปัญญาการเขียนอักษรภาษาไทย


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 6,471 ครั้ง
ย้อนรอยศาสตร์และศิลป์คนสยาม กับภูมิปัญญาการเขียนอักษรภาษาไทย

Advertisement

ย้อนรอยศาสตร์และศิลป์คนสยาม กับภูมิปัญญาการเขียนอักษรภาษาไทย



ภาษาไทยเป็นวัฒนธรรม และเอกลักษณ์ประจำชาติ ที่ใช้ในการสื่อสาร เพื่อสื่อความหมาย และสร้างความเข้าใจของคนในสังคม เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ที่มีความงดงาม และมีคุณค่าอันสูงยิ่ง เป็นสิ่งสะท้อนที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของชาติ
ภาษาไทยเป็นภาษาที่งดงาม ที่มีความสมบูรณ์ทั้งด้านภาษาพูด และภาษาเขียน สามารถนำเสนอได้ในรูปแบบของร้อยแก้วและร้อยกรอง ในภาษาเขียนที่นิยมใช้ส่วนใหญ่ เป็นลักษณะแบบร้อยแก้ว มีทั้งการเขียนแบบเรียงความ การเขียนบทความ ฯลฯ แต่การเขียนและการออกเสียงภาษาไทยของเยาวชนไทยในปัจจุบัน ได้ผิดเพี้ยนไปจากอักขรวิธีของภาษาไทย และขาดทักษะในการเขียน ภาษาไทยให้ถูกสวยงามตามแบบไทย โดยเฉพาะการเขียนลายมือที่ผิดไปจากหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้




อาจารย์เปลื้อง ณ นคร แบ่งประเภทการเขียนลายมือไว้เป็น 3 แบบ คือ

1. เขียนตัวบรรจง หมายถึง เขียนตัวอักษรเต็มบรรทัด (ขนาดตัวหนังสือสูง 8 มิลลิเมตร หรือ 1 เซนติเมตร เป็นอย่างมาก) จะเริ่มฝึกตั้งแต่นักเรียนเริ่มเรียนหนังสือ ในการการเขียนตัวบรรจง ตัวอักษรต้องตรง เรียบ การวางสระ วรรณยุกต์ ช่องไฟถูกต้อง

2. เขียนหวัดแกมบรรจง หมายถึง เขียนตัวอักษรครึ่งบรรทัดเล็กน้อย เป็นการเขียนตามความถนัด ต้องการความรวดเร็ว แต่ยังต้องเขียนตัวอักษรให้เป็นตัว คือ ตัวอักษรต้องชัดเจน

3. เขียนหวัด หมายถึง การเขียนอย่างรวดเร็ว ไม่ต้องใช้ความประณีตหรือความชัดเจนอะไรนัก



สำหรับรูปแบบของตัวอักษรไทย ที่ใช้กันในปัจจุบัน แบ่งตามลักษณะอักษรได้ 2 ประเภท คือ

1. ประเภทตัวเหลี่ยม มีเส้นตรงเป็นส่วนประกอบได้แก่

- แบบอาลักษณ์ แผนกอาลักษณ์ กองประกาศิต สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ใช้เป็นแบบคัดของทางราชการ เป็นลายมือไทยที่สวยงาม ใช้เขียนเพื่อใช้ในงานเกียรติยศต่าง ๆ

- แบบพระยาผดุงวิทยาเสริม (กำจัด พลางกรู) อยู่ในแบบหัดอ่าน ที่พระยาผดุงวิทยาเสริมเขียนขึ้น คือ แบบหัดอ่านหนังสือไทยภาคต้น แบบหัดอ่าน ก ข ก กา และหนังสือแบบหัดอ่านเบื้องต้น ซึ่งพิมพ์ขึ้นใช้เมื่อ พ.ศ.2471, 2473 และ 2476 ตามลำดับ เพื่อใช้ฝึกเด็กให้เขียน หรือคัดลายมือหลังจากเรียนอ่านพยัญชนะแต่ละครั้ง

- แบบโรงเรียนทุ่งมหาเมฆ คล้ายแบบของพระยาผดุงวิทยาเสริม ซึ่งอาจารย์สูริน สุพรรณรัตน์ อาจารย์ใหญ่ท่านแรกของโรงเรียน ได้นำลายมือของบิดา คือ อาจารย์มงคล สุพรรณรัตน์ เจ้าของและอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนสุพมาศพิทยาคม (ตรอกวัดราชนัดดา จ.พระนคร) มาเป็นต้นแบบให้อาจารย์พูนสุข นีลวัฒนานนท์ (ปุณย์สวัสดิ์) จัดทำเป็นแบบคัดลายมือของโรงเรียนตั้งแต่ พ.ศ.2509

- แบบโรงเรียนสายน้ำทิพย์ คล้ายแบบของพระยาผดุงวิทยาเสริม ซึ่งอาจารย์อุไร ศรีธวัช ณ อยุธยา อาจารย์ใหญ่ และอาจารย์สูริน สุพรรณรัตน์ ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ ได้ดำริให้ลายมือของครูทุกคนเป็นแบบเดียวกัน และคณะครูของโรงเรียนได้นำลายมือของอาจารย์มงคล สุพรรณรัตน์มาดัดแปลงและทำแบบฝึกคัดลายมือของโรงเรียนตั้งแต่ พ.ศ.2510 และได้ดัดแปลงลักษณะ ของตัวอักษรอีกครั้งหนึ่งเมื่อ พ.ศ.2519

- แบบภาควิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คล้ายแบบของพระผดุงวิทยาเสริม เกิดขึ้นจากดำริของศาสตราจารย์อำไพ สุจริตกุล หัวหน้าแผนกวิชาประถมศึกษา ที่ต้องการให้มีอักษร ของแผนกวิชาที่ง่ายต่อการฝึกเด็กเขียน และเพื่อใช้เป็นแบบฝึกลายมือของนิสิตทุกคน ของแผนกวิชาที่จะนำไปสอนศิษย์เมื่อจบเป็นครูแล้ว


2. ประเภทตัวกลมหรือตัวมน มีส่วนโค้งเป็นส่วนประกอบได้แก่

- แบบขุนสัมฤทธิ์วรรณการ กระทรวงธรรมการใช้เป็นแบบฝึกหัดลายมือ ของนักเรียนในสมัยก่อน และโรงพิมพ์ต่าง ๆ ใช้เป็นแบบทำสมุดคัดลายมือจำหน่าย

- แบบกระทรวงศึกษาธิการ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการได้ดัดแปลงจากตัวอักษรแบบ ขุนสัมฤทธิ์วรรณการ เพื่อทำเป็นแบบฝึกหัดคัดลายมือใช้ในโรงเรียนประถมศึกษาของโรงเรียน รัฐบาลทั่วประเทศตั้งแต่ พ.ศ.2520

- แบบราชบัณฑิตยสถาน เป็นแบบตัวอักษรตัวกลม ซึ่งราชบัณฑิตยสถานกำหนดขึ้น (ในปี 2540) เพื่อใช้เป็นแนวทาง ในการสร้างตัวอักษรไทยทั้งการเขียน และการพิมพ์รวมทั้งเพื่อประโยชน์ในการออกแบบ ตัวอักษรไทยมาตรฐานที่จะใช้ในกิจการคอมพิวเตอร์

- การเขียนเป็นการใช้ภาษา เพื่อการสื่อสารของมนุษย์ในเชิงแสดงออก โดยที่ใช้ตัวอักษรแทนคำพูด เพื่อให้ผู้อื่นได้รับทราบ และเกิดการตอบสนอง ตามที่ผู้เขียนต้องการ การเขียนจึงเป็นทั้งศิลป์และศาสตร์อยู่ในตัวเอง การเขียนเป็นศิลปะที่ต้องประกอบด้วยความประณีต ภาษาที่งดงาม สามารถสื่อสารได้ทั้งความรู้ ความคิด อารมณ์ และความปรารถนาให้ได้ ซึ่งการใช้ภาษาให้งามนั้น นับเป็นศิลปะชั้นสูงอย่างหนึ่งของมนุษย์ ส่วนที่กล่าวว่าการเขียน เป็นศาสตร์ก็เพราะการเขียนทุกชนิด ต้องประกอบด้วยความรู้ หลักการวิธีการและทฤษฎีต่าง ๆ การเขียนเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในโลกของการสื่อสารปัจจุบัน ซึ่งสามารถสรุปความสำคัญของการเขียนไว้ดังนี้

- การเขียนทำให้เกิดความรู้ ความคิด เกิดความเข้าใจกัน
- การเขียนทำให้เกิดอาชีพ และการพัฒนาอาชีพ
- การเขียนทำให้ทราบความต้องการของบุคคลและสังคม
- การเขียนเป็นสื่อทำให้เกิดนันทนาการ
- การเขียนทำให้สังคมสงบสุข
- การเขียนเป็นเครื่องมือแสดงภูมิปัญญาของมนุษย์
- การเขียนหากยึดเป็นอาชีพ ก็เป็นอาชีพที่ได้รับความยกย่องมากอย่างหนึ่งในปัจจุบัน



ฉะนั้น การเขียนเป็นวิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพอีกวิธีหนึ่ง ที่มนุษย์สามารถถ่ายทอดความรู้ ข้อเท็จจริง ความคิด จินตนาการ ความรู้สึกและอารมณ์ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ส่วนการเขียนจะมีคุณภาพมากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับ ความสามารถของผู้เขียน และการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอเป็นสำคัญ

                                                   

                                                      
***เอกสารอ้างอิง หนังสือภาษาไทยสื่อแห่งความงดงามทางวัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

ขอขอบคุณข้อมูลข่าว : กฤษณา พันธุ์มวานิช กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ 

http://campus.sanook.com/u_life/knowledge_02813.php


โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 1712 วันที่ 29 ก.ค. 2552


ย้อนรอยศาสตร์และศิลป์คนสยาม กับภูมิปัญญาการเขียนอักษรภาษาไทย ย้อนรอยศาสตร์และศิลป์คนสยามกับภูมิปัญญาการเขียนอักษรภาษาไทย

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ดวงประจำวันที่ 19/12/52

ดวงประจำวันที่ 19/12/52


เปิดอ่าน 6,447 ครั้ง
TOP VIEW

TOP VIEW


เปิดอ่าน 6,411 ครั้ง
...ใครว่าธรรมดา

...ใครว่าธรรมดา


เปิดอ่าน 6,398 ครั้ง
Tkt แยก Modules(Concept)

Tkt แยก Modules(Concept)


เปิดอ่าน 6,410 ครั้ง
English songs for you today.

English songs for you today.


เปิดอ่าน 6,398 ครั้ง
100ข้อคิดดีๆ

100ข้อคิดดีๆ


เปิดอ่าน 6,401 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

14-16  สิงหาคม  ชม "มหกรรมรักการอ่าน"  สืบปณิธาน "การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ"

14-16 สิงหาคม ชม "มหกรรมรักการอ่าน" สืบปณิธาน "การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ"

เปิดอ่าน 6,408 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
The Polar express ในคืนวันที่/25/ธันวาคม/2552
The Polar express ในคืนวันที่/25/ธันวาคม/2552
เปิดอ่าน 6,422 ☕ คลิกอ่านเลย

รูป New Titanic‏
รูป New Titanic‏
เปิดอ่าน 6,419 ☕ คลิกอ่านเลย

เลือก แว่น ให้รับกับ รูปหน้า
เลือก แว่น ให้รับกับ รูปหน้า
เปิดอ่าน 6,409 ☕ คลิกอ่านเลย

ภาค2ต่อจากงานศิลปะบนขวดแก้ว
ภาค2ต่อจากงานศิลปะบนขวดแก้ว
เปิดอ่าน 6,404 ☕ คลิกอ่านเลย

"WWF" สำรวจลุ่มน้ำโขง ตะลึงพบ 163 สิ่งมีชีวิตพันธุ์ใหม่
"WWF" สำรวจลุ่มน้ำโขง ตะลึงพบ 163 สิ่งมีชีวิตพันธุ์ใหม่
เปิดอ่าน 6,399 ☕ คลิกอ่านเลย

WOW!!!!สาวๆเกาหลี กับชุดสวยๆออกงาน....
WOW!!!!สาวๆเกาหลี กับชุดสวยๆออกงาน....
เปิดอ่าน 6,406 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เมื่อสุนัขตำรวจปลดเกษียณ สิ่งที่มนุษย์มอบให้คือ.....
เมื่อสุนัขตำรวจปลดเกษียณ สิ่งที่มนุษย์มอบให้คือ.....
เปิดอ่าน 14,006 ครั้ง

ชาวเน็ตแชร์คลิปเสียดสีสังคม ไทยเท ไทยฮุบ ไทยผีเข้า ไทยหัวสูง
ชาวเน็ตแชร์คลิปเสียดสีสังคม ไทยเท ไทยฮุบ ไทยผีเข้า ไทยหัวสูง
เปิดอ่าน 8,139 ครั้ง

สิ่งที่ทำให้ผู้หญิงสวยน้อยลง
สิ่งที่ทำให้ผู้หญิงสวยน้อยลง
เปิดอ่าน 10,681 ครั้ง

โรคเอ็มเอส โรคร้ายของหนุ่มสาว
โรคเอ็มเอส โรคร้ายของหนุ่มสาว
เปิดอ่าน 13,022 ครั้ง

"นักวิทย์-นักคิด" ผู้ทรงอิทธิพลใน TIME 100
"นักวิทย์-นักคิด" ผู้ทรงอิทธิพลใน TIME 100
เปิดอ่าน 13,557 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ