Advertisement
เอแบคโพลล์: วันภาษาไทยแห่งชาติ กับสิ่งที่คนไทยต้องการรักษาไว้ในสังคมไทย
เอแบคโพลล์ -- ศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม 2009 09:52:16 น.
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจภาคสนาม เรื่อง วันภาษาไทย แห่งชาติ กับสิ่งที่คนไทยต้องการรักษาไว้ในสังคมไทย: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” จำนวนทั้ง
สิ้น 2,277 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 17-20 กรกฎาคม 2552 พบประเด็นแรกที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.3
ไม่ทราบว่า วันภาษาไทยแห่งชาติตรงกับวันใด มีเพียงร้อยละ 14.7 ที่ทราบและตอบถูกว่า วันภาษาไทยแห่งชาติตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี
เมื่อสอบถามความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบสำคัญของภาษาไทย พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.9 ไม่ทราบว่าภาษาไทยมีสระกี่รูป ร้อยละ
81.2 ไม่ทราบความหมายของร้อยกรอง ร้อยละ 75.0 ไม่ทราบความหมายของร้อยแก้ว ร้อยละ 64.2 ไม่ทราบวรรณยุกต์ในภาษาไทยว่ามีกี่รูป และ
ร้อยละ 11.7 ไม่ทราบว่าพยัญชนะไทยมีกี่ตัว
เมื่อถามถึงพยัญชนะภาษาไทยที่สับสนในการใช้มากที่สุด พบว่า ร้อยละ 26.1 ระบุเป็นตัว “ฎ” รองลงมาคือ ร้อยละ 13.6 ระบุ
เป็น “ฏ” ร้อยละ 9.8 ระบุเป็น “ร” ร้อยละ 5.8 ระบุเป็น “ฑ” ร้อยละ 4.5 ระบุเป็น “ณ” และร้อยละ 4.5 เท่ากัน ระบุเป็น “ฐ” ตามลำดับ
นอกจากนี้ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.9 มีปัญหาเรื่องเขียนภาษาไทยผิด ร้อยละ 31.9 จับใจความผิด ร้อยละ 29.6 พูด
ผิด ร้อยละ 27.5 อ่านผิด ร้อยละ 18.6 ฟังผิด เป็นต้น
ส่วนกลุ่มบุคคลที่มีส่วนทำให้เกิดปัญหาในการใช้ภาษาไทย ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.6 ระบุคือกลุ่มวัยรุ่น ร้อยละ 46.0
ระบุเป็นกลุ่มนักร้อง ร้อยละ 44.8 ระบุเป็นกลุ่มดารานักแสดง ร้อยละ 18.1 ระบุผู้ดำเนินรายการวิทยุ ร้อยละ 17.2 ระบุเป็นนักการเมือง ร้อยละ
17.2 ระบุเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ ร้อยละ 15.8 ระบุเป็นผู้ประกาศข่าว และร้อยละ 8.9 ระบุเป็นครูอาจารย์ ตามลำดับ
ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.5 ระบุต้องเร่งแก้ไขอนุรักษ์ฟื้นฟูการใช้ภาษาไทยในช่วงเวลานี้ ในขณะที่เพียงร้อยละ 7.5 ระบุว่าไม่
ต้องเร่งแก้ไข
เมื่อสอบถามถึงสิ่งที่ต้องรักษาไว้ในสังคมไทย ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.2 ระบุเป็นศิลปวัฒนธรรม รองลงมาคือร้อยละ
68.5 ระบุภาษาไทย ร้อยละ 68.1 ระบุเป็นการช่วยเหลือ มีน้ำใจต่อกัน ร้อยละ 60.1 ระบุความกตัญญู รู้จักตอบแทนบุญคุณ ร้อยละ 59.5 ระบุการ
เคารพผู้อาวุโส ร้อยละ 59.0 ระบุความสามัคคี ร้อยละ 56.9 ระบุความรักชาติ ร้อยละ 54.1 ระบุการให้อภัย และร้อยละ 46.9 ระบุความเชื่อ
เรื่องบาปบุญคุณโทษและกฎแห่งกรรม ตามลำดับ
ผ.อ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า น่าเป็นห่วงว่าคนไทยยังมีความรู้ความเข้าใจในภาษาไทยไม่เพียงพอ โดยไม่ทราบจำนวน
วรรณยุกต์ จำนวนสระว่ามีกี่รูป และไม่ทราบความหมายของร้อยแก้วร้อยกรองที่ถูกต้อง และที่น่าเป็นห่วงเช่นกัน คือ ประชาชนไม่ถึงครึ่งที่คิดว่าความ
เชื่อเรื่องบาปบุญและกฎแห่งกรรม เป็นเรื่องที่ต้องรักษาไว้ในสังคมไทย จึงเสนอแนะให้ผู้ใหญ่ในสังคมเร่งทำอะไรบางอย่างที่จะช่วยเสริมสร้างความ
ตระหนักในกลุ่มประชาชนคนไทยในการรักษาเอกลักษณ์ของความเป็นคนไทย มุ่งเน้น “มิติทางสังคม”ในท้องถิ่นที่แตกต่างกันไป ไม่มุ่งเน้นแต่เรื่องการ
พัฒนาทางเศรษฐกิจและวัตถุนิยมเพียงอย่างเดียว เสนอให้มีการเปิด “คลีนิกภาษา” ทั้งระดับชาติและท้องถิ่นไว้บริการประชาชน และควรทำกิจกรรม
ด้านภาษาไทยอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีไม่รอการรณรงค์กันเฉพาะช่วงวันภาษาไทยแห่งชาติเท่านั้น
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 54.2 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 45.8 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.5 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 22.9 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 27.6 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 20.7 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 20.3 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 73.3 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 24.0 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.7 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 35.6 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 17.9 ระบุเป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 6.5 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 20.5 ระบุอาชีพรับจ้างใช้แรงงานทั่วไป
และร้อยละ 13.6 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ขณะที่กลุ่มอื่นๆ ได้แก่ แม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ เกษตรกร รวมถึงผู้ว่างงาน มีอยู่รวมกันร้อยละ 5.9
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับทราบเกี่ยวกับวันภาษาไทย
ลำดับที่ การทราบเกี่ยวกับวันภาษาไทย ค่าร้อยละ
1 รับทราบว่า คือ วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี 14.7
2 ไม่ทราบ 85.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบสำคัญของภาษาไทย
ลำดับที่ องค์ประกอบสำคัญของภาษาไทย ทราบค่าร้อยละ ไม่ทราบค่าร้อยละ
1 จำนวนสระในภาษาไทย 15.1 84.9
2 ความหมายของร้อยกรอง 18.8 81.2
3 ความหมายของร้อยแก้ว 25.0 75.0
4 จำนวนรูปวรรณยุกต์ในภาษาไทย 35.8 64.2
5 จำนวนพยัญชนะไทย 88.3 11.7
ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพยัญชนะในภาษาไทยที่สับสนในการใช้มากที่สุด
ลำดับที่ พยัญชนะในภาษาไทยที่สับสนในการใช้มากที่สุด ค่าร้อยละ
1 พยัญชนะ “ฎ” 26.1
2 พยัญชนะ “ฏ” 13.6
3 พยัญชนะ “ร” 9.3
4 พยัญชนะ “ฑ” 5.8
5 พยัญชนะ “ณ” 4.5
6 พยัญชนะ “ฐ” 4.5
7 พยัญชนะ “ฬ” 4.0
8 พยัญชนะ “ฅ” 3.7
9 พยัญชนะ “ส” 2.2
10 พยัญชนะ “ซ” 2.1
11 พยัญชนะ “ฆ” 2.1
12 พยัญชนะ “ษ” 2.0
13 พยัญชนะ “ล” 1.9
14 พยัญชนะ “ศ” 1.8
15 พยัญชนะ “ค” 1.8
16 พยัญชนะตัวอื่นๆ 14.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาการใช้ภาษาไทยที่มักจะประสบพบเจอ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาการใช้ภาษาไทยที่ตนเองมักจะประสบพบเจอ ค่าร้อยละ
1 เขียนผิด 65.9
2 จับใจความ เข้าใจผิด 31.9
3 พูดผิด 29.6
4 อ่านผิด 27.5
5 ฟังผิด 18.6
6 อื่นๆ อาทิ ภาษาแสลง บางครั้งอ่านกลอนไม่เข้าใจ อ่านตกหล่น 1.8
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุกลุ่มบุคคลที่มีส่วนทำให้เกิดปัญหาในการใช้ภาษาไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ กลุ่มบุคคลที่มีส่วนทำให้เกิดปัญหาในการใช้ภาษาไทย ค่าร้อยละ
1 กลุ่มวัยรุ่น 80.6
2 นักร้อง 46.0
3 ดารานักแสดง 44.8
4 ผู้ดำเนินรายการวิทยุ 18.1
5 นักการเมือง 17.2
6 พิธีกรรายการโทรทัศน์ 17.2
7 ผู้ประกาศข่าว 15.8
8 ครูอาจารย์ 8.9
9 อื่นๆ อาทิ ผู้สูงอายุ คนที่เล่นเวบบอร์ดในอินเทอร์เน็ต 2.4
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเร่งแก้ไขอนุรักษ์ฟื้นฟูการใช้ภาษาไทยในช่วงเวลานี้
ลำดับที่ การเร่งแก้ไขอนุรักษ์ฟื้นฟูการใช้ภาษาไทยในช่วงเวลานี้ ค่าร้อยละ
1 ต้องเร่งแก้ไข 92.5
2 ไม่ต้องเร่งแก้ไข 7.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ต้องรักษาไว้ในสังคมไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ต้องรักษาไว้ในสังคมไทย ค่าร้อยละ
1 ศิลปวัฒนธรรม 72.2
2 ภาษาไทย 68.5
3 การช่วยเหลือ มีน้ำใจต่อกัน 68.1
4 ความกตัญญู รู้จักตอบแทนบุญคุณ 60.1
5 การเคารพผู้อาวุโส 59.5
6 ความสามัคคี 59.0
7 ความรักชาติ 56.9
8 การให้อภัย 54.1
9 ความเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษและกฎแห่งกรรม 46.9
10 อื่นๆ อาทิ ความจริงใจ ทะนุบำรุงศาสนา 2.9
--เอแบคโพลล์--
วันที่ 29 ก.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,666 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,146 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,159 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 168,064 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,860 ครั้ง |
เปิดอ่าน 3,929 ครั้ง |
เปิดอ่าน 6,407 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,987 ครั้ง |
|
|