ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

กองทัพเรือไทย


สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เปิดอ่าน : 21,671 ครั้ง
Advertisement

กองทัพเรือไทย

Advertisement

กองทัพเรือไทย

 

ประวัติความเป็นมา :

 

 

 

กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ บิดาแห่งกองทัพเรือไทย

 

กำเนิดกองทัพเรือ ไทย

กองทัพเรือ : มีกำเนิดควบคู่มากับ การสร้างอาณาจักรไทย นับตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี กองทัพไทยในสมัยนั้น มี เพียง ทหารเหล่าเดียวมิได้แบ่งแยกออกเป็น กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ อย่างเช่นในสมัยปัจจุบัน หากยาตราทัพไปทางบก ก็เรียกว่า "ทัพบก" หากยาตราทัพไปทางเรือ ก็เรียกว่า "ทัพเรือ" การจัดระเบียบ การ ปกครอง บังคับบัญชา กองทัพไทย ในยามปกติ สมัยนั้นยังไม่มีแบบแผนที่แน่นอน ในยามศึกสงคราม ด้ใช้ทหาร "ทัพบก" และ"ทัพเรือ" รวม ๆ กันไป

ในการยาตราทัพเพื่อทำศึก สงครามภายในอาณาจักร หรือ นอกอาณาจักร ก็มีความจำเป็น ต้องใช้เรือเป็นพาหนะในการลำเลียงทหาร เครื่องศาสตราวุธเรือ นอกจากจะสามารถ ลำเลียงเสบียงอาหารได้คราวละมาก ๆ แล้ว ยังสามารถลำเลียงอาวุธหนัก ๆ เช่น ปืนใหญ่ ไปได้สะดวกและรวดเร็วกว่าทางบกด้วย จึงนิยมยกทัพไปทางเรือจนสุดทางน้ำแล้วจึงยกทัพต่อไปบนทางบก

เรือรบ ที่เป็นพาหนะของกองทัพไทยสมัยโบราณมี ๒ ประเภทด้วยกัน คือ "เรือรบในแม่น้ำ" และ "เรือรบในทะเล" เมื่อสันนิษฐานจากลักษณะที่ตั้งของราชธานี ซึ่งมีแม่น้ำล้อมรอบ และมีแม่น้ำลำคลองเป็นเส้นทางในการคมนาคม ตลอดจนชีวิตความเป็นอยู่ที่ต้องใช้น้ำในการบริโภค และการเกษตรกรรมแล้ว เรือรบในแม่น้ำ คงมีมาก่อนเรือรบในทะเล เพราะสงครามของไทย ในระยะแรกๆ จะเป็นการทำสงครามในพื้นที่ใกล้เคียงกับประเทศไทย กล่าวคือ เป็นการทำสงครามกับพม่าเป็นส่วนมาก

ใน พ.ศ.๒๔๒๘ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ) เสด็จทิวงคต ทหารฝ่ายพระราชวังบวร ทั้งทหารบก และทหารเรือได้ถูกยุบเลิกไป จึงทำให้ ทหารเรือในขณะ นั้นมี ๒ ส่วนใหญ่ ๆ คือ กรมเรือพระที่นั่ง ขึ้นตรงกับพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ส่วนกรมอรสุมพล ขึ้นตรงกับ สมุหพระกลาโหม

ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว ได้ทรงสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บังคับบัญชาทั่วไปในกรมทหาร (Commander in chief) ตามโบราณราชประเพณี พร้อมกับประกาศจัดการทหาร เมื่อวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ.๒๔๓๐ โดยจัดตั้ง กรมยุทธนาธิการขึ้นใน ประกาศนี้ให้รวมบรรดา กองทหารบก กองทหารเรือ ทั้งหมด ขึ้นอยู่ในบังคับบัญชาของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช แต่ในระหว่างที่ยังทรงพระเยาว์ให้มีผู้ทำการแทนผู้บังคับ บัญชาทั่วไป โดยได้ทรงพระกรุณ โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช เป็นผู้แทนบังคับบัญชาการทั่วไปในกรมทหาร และให้รั้งตำแหน่ง เจ้าพนักงานใหญ่ผู้จัดการในกรมทหารสำหรับ ทหารเรือ ทรงตั้งนายพลเรือโท พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ เป็นเจ้าพนักงานใหญ่ผู้ช่วยบัญชาการทหารเรือ (Secretary to the Navy) มีหน้าที่ ดังนี้

๑. ให้จัดการ ทั้งปวง ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายข้อบังคับทหารรเรือ

๒. ให้จัดการทั้งปวง ที่เกี่ยวข้องกับจำนวนผู้คนในทหารเรือ
๓. ให้จัดการทั้งปวง ที่ เกี่ยวข้องกับการฝึกหัดทหารเรือ
๔. ให้จัดการทั้งปวง ที่เกี่ยวข้องกับเรือรบหลวง
๕. ให้จัดการทั้งปวง ที่เกี่ยวข้องกับพาหนะ ทางเรือ ๓

 

ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๓๓ ได้มีการยกเลิกประกาศจัดการทหาร ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๐ นั้นเสีย และได้มีการตรา พระราชบัญญัติจัดการกรมยุทธนาธิการ เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๓ ขึ้นแทน พระราชบัญญัติจัดการกรมยุทธนาธิการ ฉบับใหม่นี้ ให้เรียกกรมยุทธนาธิการเสียใหม่ว่า "กระทรวงยุทธนาธิการ" (Ministry of War and Marine) มีหน้าที่บังคับบัญชาราชการทหารและ พลเรือนที่เกี่ยวข้องแก่การทหารบก ทหารเรือ ตามพระราชบัญญัติใหม่นี้ ให้ยกเลิกตำแหน่งผู้บังคับบัญชาการทั่วไปในกรมทหารเรือ และตั้งตำแหน่งใหม่เรียกว่า จอมพล (จอมทัพ) (Commander in chief) สำหรับบังคับ บัญชาราชการในกรมทหารบก กรมทหารเรือ โดยสิทธิ์ขาด โดย พระราชประเพณี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะได้ดำรงตำแหน่งที่จอมพลนี้ สมเด็จ พระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร มีตำแหน่งทรงปฏิบัติในหน้าที่ จอมพลด้วยเหมือนกัน กรมที่บังคับบัญชาทหาร แบ่งออก เป็น ๒ กรม คือ กรมทหารบก กรมทหารเรือ ในครั้งนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช เป็นเสนาบดีว่าการ กระทรวงยุทธนาธิการ พระยาสุรศักดิ์มนตรีเป็นผู้บัญชาการทหารบก นายพลโท พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ (พระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์) เป็น ผู้บัญชาการทหารเรือ (Chief Staff of the Navy) สำหรับกรมทหารเรือ แบ่งส่วนราชการ ออกเป็น

กรมทหารเรือ

๑. กรมกลาง
๒. กองบัญชี เงิน
๓. กรมคลังพัสดุทหารเรือ
๔. กองเร่งชำระ
๕. กรมคุกทหาร เรือ
๖. กรมอู่
๗. กรมช่างกล
๘. โรงพยาบาลทหารเรือ
๙. ทหารนาวิกโยธิน
๑๐. เรือรบหลวงและเรือพระที่นั่งประจำการ

 

กองทัพเรือ

 

 

 

เรือรบหลวง จักรีนฤเบศร

 

ใน พ.ศ. ๒๔๓๕ ได้มีการ จัดระเบียบการปกครองแผ่นดินใหม่ และยกเลิกการปกครองแบบจตุสดมภ์ กำหนดให้มีกระทรวงในราชการทั้งหมด ๑๒ กระทรวง กระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่ปกครองบรรดาหัวเมือง ต่าง ๆ ทั่วพระราชอาณาจักร กระทรวง กลาโหมไม่ต้องเกี่ยวกับการปกครองทางหัวเมืองอย่างแต่ก่อนคงมีหน้าที่เกี่ยวด้วยราชการทหารอย่างเดียว ใน พ.ศ. ๒๔๓๕ นี้ จึงได้โอนกรมทหารเรือซึ่งเดิมขึ้นอยู่กับกระทรวง ยุทธนาธิการมาขึ้นกับกระทรวงกลาโหม กรม ทหารเรือได้เจริญก้าวหน้ามาตามลำดับ จนถึง พ.ศ. ๒๔๕๓ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนฐานะกรมทหารเรือเป็น กระทรวงทหารเรือ เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม และ ในวันเดียวกันนั้น ก็ได้ประกาศแต่งตั้งเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ เนื่องจากการป้องกันประเทศเป็นงานใหญ่ที่ทหารบก และทหารเรือจำเป็นต้องร่วมกันคิดอ่านจัดการ ตามหน้าที่ ที่ประชุมเสนาบดีจึงเห็นสมควรจัดตั้งสภาป้องกันพระราช อาณาจักรขึ้น เพื่อทำหน้าที่ประสานงานระหว่างทหารบก และทหารเรือ ให้ดำเนินไปได้โดยสอดคล้องร่วมกันอย่างพร้อมเพรียง สภานี้ มีองค์พระประมุข เป็นประธาน และโปรดเกล้าฯ ให้เสนาธิการทหารบกเป็นเลขานุการ ประจำ เสนาบดีกระทรวงกลาโหม เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ พร้อมทั้งจอมพลในและนอกประจำการ เป็นสมาชิกสภาแห่งนี้ทุกนาย

นับตั้งแต่มีการเลื่อนฐานะกรมทหารเรือขึ้นเป็น กระทรวงทหารเรือ ก็ได้มีการปรับปรุงการจัดระเบียบราชการทหารเรืออยู่เสมอ แต่มิได้เป็นการเปลี่ยนแปลงไปจากหลักการเดิมเพียงแต่ว่าส่วนราชการต่าง ๆ มีความจำเป็นต้องขยายกิจการให้กว้างขวางยิ่งขึ้นเมื่อราชการบางส่วน มีกิจการเพิ่มขึ้น ก็เลื่อนฐานะขึ้นเป็นกรมหรือกองตามความสำคัญ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ ภาวะทางเศรษฐกิจทั่วโลกตกต่ำเป็นผลทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบกระเทือนดังกล่าวนี้ด้วย ทำให้ ฐานะทางการเงินและเศรษฐกิจของประเทศอยู่ในภาวะตกต่ำจำเป็นต้องพิจารณาตัดทอนรายจ่ายของประเทศให้น้อยลงให้สมดุลกับรายได้เป็นผลทำให้มีการปรับปรุงการจัดระเบียบราชการเสียใหม่ เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๔ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมกระทรวงทหารเรือกับกระทรวงทหารบกเป็นกระทรวงเดียวกันเสีย กระทรวงที่บังคับบัญชาทั้งทหารบกและทหารเรือร่วมกันนี้เรียกว่ากระทรวงกลาโหมเหมือนอย่างแต่ครั้ง ก่อน

ใน พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองประเทศใหม่ ทางด้านกองทัพเรือก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน โดยกระทรวงทหารเรือได้ลดฐานะเป็นกรมทหาร เรือ ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อของการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองประเทศนี้ ได้จัดให้มีคณะกรรมการกลางกลาโหมขึ้น นอกจากนั้น ส่วนราชการของทหารเรือบางส่วนซึ่งได้เอาไปรวมกับฝ่ายทหารบกก็กลับมาสังกัดอยู่ในกรม ทหารเรือตามเดิมอีก กรมต่าง ๆ ของทหารเรือลดฐานะมาเป็นกองทั้งหมดเว้นแต่กรมเสนาธิการทหารเรือจนกระทั่งในวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๖ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ เปลี่ยนชื่อกรมทหารเรือ เป็นกองทัพเรือ ให้เป็นการสอดคล้องกับการเรียกชื่อส่วนรวมของทหารบกว่า "กองทัพเรือ" ขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหมโดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น ๔ ส่วน

กองทัพเรือ

๑. กรมเสนาธิการทหารเรือ
๒. กองเรือรบ
๓. สถานีทหารเรือกรุงเทพ
๔. กรมอู่ทหารเรือ
๕. กรมสรรพาวุธทหารเรือ
๖. กรมอุทกศาสตร์

 

กองทัพเรือได้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดส่วนราชการมาตลอดเวล าเพื่อให้สอดคล้องกับความเจริญก้าวหน้าของกองทัพเรือ ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ส่วนราชการ กองทัพเรือ กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๑๐, พ.ศ. ๒๕๑๙ และ พ.ศ. ๒๕๒๑ ได้แบ่งส่วนราชการกองทัพเรือออกเป็น ๒๕ หน่วย เพื่อความสะดวกทางกองทัพเรือได้จัดกลุ่มหน่วยราชการทั้ง ๒๕ หน่วยขึ้นเป็น ๕ ส่วนราชการ คือ ส่วนบัญชาการส่วนกำลังรบ ส่วนยุทธบริการ ส่วนศึกษา และ ส่วนกิจการพิเศษ ต่อมาในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้มีการจัดส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพเรือ ใหม่ โดยได้เพิ่มกรมการขนส่งทหารเรือขึ้นในส่วนยุทธบริการ และเปลี่ยนชื่อโรงเรียนนายทหารเรือเป็นสถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง จนกระทั่งวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดส่วนราชการในกอง ทัพเรือขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยได้เพิ่มสำนักงานตรวจบัญชีทหารเรือขึ้นในกองทัพเรือ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้มีการจัดส่วนราชการใหม่ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพเรือ กอง บัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๓๘ และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่๒) พ.ศ.๒๕๔๐ กองทัพเรือแบ่งส่วนราชการออกเป็น ๓๕ หน่วย และเพื่อความสะดวกในการเรียกชื่อกลุ่มส่วนราชการเหล่านี้ จึงได้แบ่งส่วน ราชการเหล่านี้ออกเป็น ๔ ส่วน

ส่วนบัญชาการ

๑. สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ
๒. กรมสารบรรณทหารเรือ
๓. กรมกำลังพลทหารเรือ
๔. กรมข่าวทหารเรือ
๕. กรมยุทธการทหารเรือ
๖. กรมส่งกำลังบำรุงทหารเรือ
๗. กรมสื่อสารทหารเรือ
๘. กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ
๙. สำนักงานปลัดบัญชีทหารเรือ
๑๐. กรมการเงินทหารเรือ
๑๑. กรมจเรทหารเรือ
๑๒. สำนักงานตรวจบัญชีทหารเรือ

 

ส่วนกำลังรบ

๑๓. กองเรือยุทธการ
๑๔. กองเรือป้องกันฝั่ง
๑๕. หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน
๑๖. หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง
๑๗. ฐานทัพเรือสัตหีบ
๑๘. ฐานทัพเรือ กรุงเทพ
๑๙. ฐานทัพเรือสงขลา
๒๐. ฐานทัพเรือพังงา
๒๑. กรมสารวัตร ทหารเรือ

 

ส่วนยุทธบริการ

๒๒. กรมอู่ทหารเรือ
๒๓. กรม อิเล็กทรอนิกส์ทหารเรือ
๒๔. กรมช่างโยธาทหารเรือ
๒๕. กรมสรรพาวุธทหารเรือ
๒๖. กรมพลาธิการทหารเรือ
๒๗. กรมแพทย์ทหารเรือ
๒๘. กรมการขนส่งทหารเรือ
๒๙. กรมสวัสดิการทหารเรือ
๓๐. กรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ
๓๑. สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหาร กองทัพเรือ

 

ส่วนการศึกษา

๓๓. สถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง
๓๔. กรมยุทธศึกษาทหารเรือ
๓๕. โรงเรียนนายเรือ

 

บริเวณพระราชวังเดิมของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้แก่กองทัพเรือเป็นที่ตั้งโรงเรียนนายเรือ และได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิด เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๔๙

แหล่งข้อมูล

http://www.navy.mi.th, ข้อมูลและภาพ.

ขายดีมากครับคุณครู (พร้อมส่ง) เครื่องเคลือบบัตรA4 รุ่นSL200 เครื่องเคลือบกระดาษA4 A3 A5 ABSป้องกันการ์ด ในราคา ฿368 - ฿999 ที่ Shopee

https://s.shopee.co.th/4VLvxbi7ho?share_channel_code=6


กองทัพเรือไทย

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

เหรียญศานติมาลา

เหรียญศานติมาลา


เปิดอ่าน 13,931 ครั้ง
เถียงนาน้อย

เถียงนาน้อย


เปิดอ่าน 37,006 ครั้ง
วันวิสาขบูชา คือวันอะไร

วันวิสาขบูชา คือวันอะไร


เปิดอ่าน 9,143 ครั้ง
คุณสมบัติของรัฐมนตรี

คุณสมบัติของรัฐมนตรี


เปิดอ่าน 48,247 ครั้ง
พุทธคุณ 3

พุทธคุณ 3


เปิดอ่าน 55,109 ครั้ง
ประวัติศาสนาพุทธ

ประวัติศาสนาพุทธ


เปิดอ่าน 34,231 ครั้ง
24 กันยายน วันมหิดล

24 กันยายน วันมหิดล


เปิดอ่าน 20,642 ครั้ง
ศรัทธา 4

ศรัทธา 4


เปิดอ่าน 44,909 ครั้ง
ความรู้เรื่องเมืองสยาม

ความรู้เรื่องเมืองสยาม


เปิดอ่าน 18,779 ครั้ง
การเป็นพลเมืองที่ดี

การเป็นพลเมืองที่ดี


เปิดอ่าน 3,928 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

มาตราวัด มาตราชั่ง กับมาตราเงินของสยาม

มาตราวัด มาตราชั่ง กับมาตราเงินของสยาม

เปิดอ่าน 24,933 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ชุดประจำชาติต่างๆ ในอาเซียน
ชุดประจำชาติต่างๆ ในอาเซียน
เปิดอ่าน 38,381 ☕ คลิกอ่านเลย

ตำนาน บ้านบางระจัน
ตำนาน บ้านบางระจัน
เปิดอ่าน 189,542 ☕ คลิกอ่านเลย

10 กิจที่ต้องทำ วันตรุษจีน
10 กิจที่ต้องทำ วันตรุษจีน
เปิดอ่าน 15,243 ☕ คลิกอ่านเลย

พระลักษมี
พระลักษมี
เปิดอ่าน 19,149 ☕ คลิกอ่านเลย

พระกฤษณะ
พระกฤษณะ
เปิดอ่าน 27,040 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เคล็ดลับง่าย ๆ ในการดูแลผิวหน้าให้สวยสุขภาพดี
เคล็ดลับง่าย ๆ ในการดูแลผิวหน้าให้สวยสุขภาพดี
เปิดอ่าน 11,210 ครั้ง

มินาโมโตะ ชิซุกะ : ตัวละครจากการ์ตูนโดราเอมอน
มินาโมโตะ ชิซุกะ : ตัวละครจากการ์ตูนโดราเอมอน
เปิดอ่าน 37,861 ครั้ง

เงินเดือนมาก-น้อยไม่สำคัญ ทุกเดือนคุณเหลือเงินกี่บาท ?
เงินเดือนมาก-น้อยไม่สำคัญ ทุกเดือนคุณเหลือเงินกี่บาท ?
เปิดอ่าน 18,715 ครั้ง

โครงการ DifferSheet ออกฟีเจอร์ใหม่ WorkSheet (สื่อการเรียนการสอนดิจิทัล) ให้ครูใช้ฟรีช่วงโควิด
โครงการ DifferSheet ออกฟีเจอร์ใหม่ WorkSheet (สื่อการเรียนการสอนดิจิทัล) ให้ครูใช้ฟรีช่วงโควิด
เปิดอ่าน 6,887 ครั้ง

ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ - Linux
ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ - Linux
เปิดอ่าน 25,760 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ