ความ เป็นมา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้กำเนิดทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ในยุคปัจจุบันขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๔ โดยเริ่มต้นจากโปรดเกล้า ฯ ให้รวบรวมบรรดา บุตรในราชตระกูลและบุตรข้าราชการที่ยังเยาวัย ที่เข้าไปอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ในชั้นแรกมีจำนวน ๑๒ คน มาทดลองฝึกเป็นทหารตามยุทธวิธีแบบใหม่อย่างชาวตะวันตก ให้ทำการฝึกแบบทหารหน้า และทำหน้าที่ไล่กาที่บิน มารบกวนเวลาทรงบาตร ตลอดจนตั้งแถวรับเสด็จ ณ ที่นั้นทุกเวลา คนทั่วไปจึงเรียกว่า มหาดเล็กไล่กา ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกรมทหารมหาดเล็กในสมัยต่อมา
ในปลายปี พ.ศ. ๒๔๑๑ หลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ผ่านพ้นไปแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ โปรดเกล้า ฯ ให้รวบรวมทหารมหาดเล็กข้าหลวงเดิม จำนวน ๒๔ คน ตั้งขึ้นเป็นหน่วยทหารอีกหน่วยหนึ่ง เรียกกันว่า "ทหารสองโหล" มีหน้าที่เฝ้าพระฉากตามเดิมแต่ในตอนเช้าและตอนเย็น ต้องมารับการฝึกทหาร ต่อมาได้ โปรดเกล้า ฯ ให้คัดเลือกบรรดาบุตรในพระราชตระกูล และบุตรข้าราชการที่เป็นทหารมหาดเล็ก เพื่อจัดตั้งเป็นกองทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๔๑๓ ทำหน้าที่รักษาพระองค์อย่างใกล้ชิด ในชั้นแรกได้คัดเลือก ไว้ ๔๘ คน หรือ ๔ โหล เมื่อรวมกับทหารมหาดเล็กเดิมที่มีอยู่ ๒ โหล จึงรวมเป็น ๖ โหล หรือ ๗๒ คน ทำหน้าที่ตามที่กำหนดไว้เดิม และเมื่อมีการเสด็จพระราชดำเนินประพาสหัวเมืองหรือต่างประเทศก็ได้โปรดเกล้า ฯ ให้จัด แบ่งทหารมหาดเล็กเหล่านี้ตามเสด็จ เมื่อการปฏิบัติหน้าที่กว้างขวางขึ้น จำนวนทหารที่มีอยู่เดิมจึงมีจำนวนไม่เพียงพอที่จะปฏิบัติหน้าที่ จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้คัดเลือกบุคคลเข้ามาเป็นทหารเพิ่มขึ้น ทำให้มีจำนวนทหารมหาดเล็ก รักษาพระองค์เพิ่มขึ้นทั้งที่เป็นผู้ใหญ่และที่เป็นเด็ก เพราะทุกคนต่างก็เห็นและรู้สึกเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูลในการที่บุตรหลานของตนได้เข้ารับราชการใกล้ชิดพระมหากษัตริย์
พระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งหน่วยทหารดังกล่าวขึ้นเป็น กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ และพระองค์เองทรงดำรงพระยศเป็นนายพันเอก ตำแหน่งผู้บังคับการกรม สมัยนั้นเรียกชื่อยศเป็นภาษา อังกฤษว่า "คอลอเนล" (Colonel) ต่อมาให้โปรดเกล้า ฯ ให้จัดระเบียบในกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์จนมั่นคงดีขึ้น และได้ทรงขนานนามหน่วยนี้เสียใหม่ว่า กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
หน่วยทหารรักษาพระองค์ได้มีวิวัฒนาการต่อมาตามลำดับ จากต้นกำเนิดดังกล่าวมาแล้ว ต่อมาได้มีหน่วยทหารรักษาพระองค์ที่เป็นหน่วยรบจากทหารราบ ทหารม้า ทหารปืนใหญ่ และทหาร ช่าง ส่วนใหญ่จะเป็นระดับกองพัน และหน่วยบังคับบัญชาของหน่วยนั้นในระดับกรมที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร อยู่ใกล้ชิดองค์พระมหากษัตริย์สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง หน่วยทหารดังกล่าวได้แก่
กองพันทหารราบ ของกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์
กองพันทหารราบ ของกรมทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์
กองพันทหารม้า ของกรมทหารม้าที่ ๑ รักษาพระองค์
กองพันทหารปืนใหญ่ ของกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๑ รักษา พระองค์
กองพันทหารช่าง ของกรมทหารช่างที่ ๑ รักษาพระองค์
ต่อมาได้มีการขยายหน่วยทหารรักษาพระองค์เพิ่ม ขึ้นทั้งในหน่วยกำลังรบ และหน่วยสนับสนุนการรบหน่วยอื่น ๆ ทั้งในระดับกองพัน กรม และกองพล มากขึ้นตามลำดับ ทั้งกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ
เครื่องแบบเต็มยศของรักษาพระองค์
กรมนักเรียนนายร้อยโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
เครื่อง แบบเต็มยศของ กรมนักเรียนนายร้อยฯ
เครื่องแต่งกาย
- หมวกยอดมีพู่สีดำ ตราราชวัลลภ
- เสื้อสักหลาดสีแดง แผงคอและข้อมือกำมะหยี่สีน้ำเงินดำ
- ที่ข้อมือปักพระปรมาภิไธยย่อ ภปร ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ ดิ้นทอง
- กางเกงสักหลาดสีดำ แถบแดงข้างละ 2 แถบ
เครื่องหมาย - มีพระปรมาภิไธยย่อ ภปร. ทำด้วย โลหะสีทอง ประดับที่อกเสื้อเบื้องขวา
กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ (กองพันที่ ๑, ๒ และ ๔)
เครื่องแบบเต็มยศของ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์
เครื่องแต่งกาย
- หมวกยอดมีพู่สีดำ ตราราชวัลลภ
- เสื้อสักหลาดสีแดง แผงคอและข้อมือกำมะหยี่สีดำ
- ที่ข้อมือปักรูปอักษร สพปจม. ดิ้นทองและดิ้นเงินไขว้กัน
- กางเกงสักหลาดสีดำ แถบแดงข้างละ ๑ แถบ
เครื่องหมาย - มีพระปรมาภิไธยย่อ จปร. ทำด้วยโลหะสีทอง ประดับที่อกเสื้อเบื้องขวา
กองพันที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษา พระองค์
เครื่องแบบเต็มยศของ กองพันที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษา พระองค์
เครื่องแต่งกาย
- หมวกยอดมีพู่สีบานเย็น ตราครุฑพ่าห์
- เสื้อคอปิดสีขาว แผงคอและข้อมือสักหลาดสีบานเย็น
- ปลอกข้อมือปักเป็นรูปอักษร ว. ภายใต้พระมหามงกุฎสีทอง
- กางเกงสักหลาดสีดำ แถบสีบานเย็น ข้างละ ๑ แถบ
เครื่องหมาย - มีอักษร ว. ภายในพระมหามงกุฎทำด้วยโลหะสีทอง ประดับที่อกเสื้อเบื้อง ขวา
กรมทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์
เครื่องแบบ เต็มยศของ กรมทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์
เครื่องแต่งกาย
- หมวกยอดมีพู่สีน้ำเงิน ตราพระมหา มงกุฎเพชราวุธ
- เสื้อสักหลาดสีน้ำเงินเข้ม แผงคอและข้อมือแถบทอง
- ที่ข้อมือมีพระปรมาภิไธยย่อ ภปร.
- กางเกงสักหลาดสีดำ แถบสีแดงข้างละ ๒ แถบ
เครื่องหมาย - มีพระปรมาภิไธยย่อ ภปร. ทำด้วยโลหะสีทอง ประดับ ที่อกเสื้อเบื้องขวา
กรมทหารม้าที่ ๑ รักษาพระองค์
เครื่องแบบเต็มยศของ กรมทหารม้าที่ ๑ รักษาพระองค์
เครื่องแต่งกาย
- หมวกยอดมีพู่สีน้ำเงินหม่น ตราครุฑพ่าห์
- เสื้อสักหลาดสีน้ำเงินหม่น แผงคอและข้อมือแถบไหมทอง
- ที่ข้อมือมีรูปอักษรพระปรมาภิไธยย่อ รร.6 อยู่ ภายใต้พระมหามงกุฎ
- กางเกงสักหลาดสีน้ำเงินหม่น แถบสีเหลืองข้างละ ๑ แถบ
เครื่องหมาย - มีพระ ปรมาภิไธยย่อ รร.๖ ทำด้วยโลหะสีทอง ประดับที่อกเสื้อเบื้องขวา
กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๑ รักษาพระองค์
เครื่องแบบเต็มยศของ กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๑ รักษาพระองค์
เครื่อง แต่งกาย
- หมวกยอดมีพู่สีดำ ตราครุฑพ่าห์
- เสื้อสักหลาดสีเหลือง แผงคอและข้อมือสักหลาดสีดำปัก ลายกนก
- ที่ข้อมือปักรูปอักษรพระปรมาภิไธยย่อ ภปร. อยู่ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎดิ้นทอง
- กางเกงสักหลาดสีดำ แถบสี เหลืองข้างละ ๒ แถบ
เครื่องหมาย - มีพระปรมาภิไธยย่อ ภปร. ทำด้วยโลหะสีทอง ประดับที่อกเสื้อเบื้องขวา
กรมทหารช่างที่ ๑ รักษาพระองค์
เครื่องแบบเต็มยศของ กรมทหารช่างที่ ๑ รักษา พระองค์
เครื่องแต่งกาย
- หมวกยอดพู่สีเทา ตราครุฑพ่าห์
- เสื้อคอปิดสีขาว แผงคอและข้อมือสักหลาดสีดำ
- ที่ข้อมือปักรูปอักษรพระปรมาภิไธยย่อ ภปร. อยู่ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎดิ้นทอง
- กางเกงสักหลาดสีเทา แถบสีดำข้างละ ๒ แถบ
เครื่องหมาย - มีพระปรมาภิไธยย่อ ภปร. ทำด้วยโลหะสีทอง ประดับที่อกเสื้อเบื้อง ขวา
การสวนสนามเพื่อแสดงความจงรักภักดี
พิธีถวายสัตย์ปฎิญาณตน และสวนสนามของ หน่วยทหารรักษาพระองค์
แต่เดิมการสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ กระทำตามคำสั่งกองทัพบกเป็นครั้งคราว ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ในโอกาศวัน สถาปนา กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มีบัญชาให้กองทัพภาคที่ ๑ จัดงานวันราชวัลลภขึ้น และจัดให้มีการสวนสนามของทหาร มหาดเล็กรักษาพระองค์ ที่ลานพระราชวังดุสิต ในพิธีครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นองค์ประธาน และได้จัดให้มีการสวนสนามเป็นประจำทุกปีตั้งแต่นั้นมา
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระพระราชดำเนิน เยือนประเทศสหรัฐสหรัฐอเมริกาและประเทศในทวีปยุโรป เมื่อเสด็จนิวัติพระนครทางกระทรวงกลาโหมได้จัดให้มี การสวนสนาม เพื่อเฉลิมพระเกียรติ์ขึ้น เรียกว่า วันพระบารมีปกเกล้า เมื่อ ๒๑ มกราคม ๒๕๐๔
ในปีเดียวกันนี้ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีพิจารณาเห็นว่าในโอกาส เสด็จนิวัติพระนคร ยังความปลื้มปิติของประชาชนทั่วไป จึงได้มอบหมายให้กองทัพภาคที่ ๑ โดยกองพลที่ ๑ รักษาพระองค์ จัดพิธีถวายสัตย์ปฎิญาณตน และสวนสนามของหน่วยทหารรักษาพระองค์ เนื่องในวันเฉลิมพระชน พรรษา ใน ๕ ธันวาคม ๒๕๐๔ รวม ๘ กองพัน และต่อมาได้มีหน่วยทหารรักษาพระองค์เข้าร่วมพิธี ๑๓ กองพัน ดังปัจจุบัน