Advertisement
7กลุ่ม"หมอพยาบาล-คนท้อง-มีโรคประจำตัว-นร.เล็ก-นร.โต-วัยกลางคน-ชรา"ได้สิทธิ์ฉีดวัคซีนหวัด09ก่อนใคร
สธ.เตรียมเสนอ 7 กลุ่ม “หมอพยาบาล-คนท้อง-ป่วยโรคประจำตัว-นร.เล็ก-นร.โต-วัยกลางคน-วัยชรา” ได้วัคซีนก่อนใคร ในการประชุมกก.วัคซีนแห่งชาติ 13 ส.ค. นี้ ชี้วัคซีนนำเข้า 2 ล้านโดส ไม่พอฉีด 3 กลุ่มแรกก็ปาเข้าไป 3.7 ล้านคนแล้ว
นพ.จรุง เมืองชนะ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางสำนักงานฯ ได้กำหนดกลุ่มผู้ที่มีความสำคัญ จะได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะนำเสนอต่อคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติที่จะประชุมกันในวันที่ 13 สิงหาคมนี้ต่อไป แต่เบื้องต้นหลายฝ่ายเห็นด้วยกับการแบ่งกลุ่มดังกล่าว
แบ่งไว้ทั้งหมด 7 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มบุคลากรทางด้านสาธารณสุข ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกคือ ซึ่งกลุ่มถัดๆ มาเป็นกลุ่มที่ในส่วนของแต่ละประเทศ ได้พิจารณาจากข้อมูลสถานการณ์การระบาดของแต่ละประเทศเอง
กลุ่มที่ 2 กลุ่มหญิงตั้งครรภ์
กลุ่มที่ 3 ผู้ที่มีโรคประจำตัวได้แก่ โรคตับ โรคไต โรคหัวใจ โรคปอด รวมถึงโรคหอบหืด หลอดลมอุดตันด้วย โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน และ โรคธาลัสซีเมีย
กลุ่มที่ 4 นักเรียน อายุ 6-15 ปี ครอบคลุมนักเรียนระดับเล็ก ระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาตอนต้น
กลุ่มที่ 5 ประชาชนอายุตั้งแต่ 15-49 ปี ซึ่งอาจรวมถึงนักเรียนโต ตั้งแต่มัธยมศึกษาตอนปลายถึงระดับมหาวิทยาลัยและวัยแรงงาน จนวัยกลางคน
กลุ่มที่ 6 ประชาชนอายุ 49-65 ปี และ
กลุ่มที่ 7 ประชาชนอายุ 65 ปีขึ้นไป
“สาเหตุที่มีการจัดลำดับหญิงตั้งครรภ์ไว้ลำดับแรกๆ เนื่องจากว่ามีการพบผู้เสียชีวิตที่ตั้งครรภ์ซึ่งถือว่ามีความสำคัญมาก และการที่เน้นในกลุ่มของนักเรียนระดับเล็กมาก่อน เพราะจากข้อมูลในการแพร่ระบาดพบว่า นักเรียนเป็นกลุ่มผู้ติดเชื้อมากที่สุด ทั้งนี้ข้อเสนอดังกล่าวเข้าสู่การประชุมวอร์รูมของสธ. และคณะกรรมการส่งเสริมการผลิตวัคซีนไว้แล้ว ซึ่งหลายฝ่ายเห็นด้วยโดยจะนำเสนอต่อคณะกรรมการที่ปรึกษาทางวิชาการและยุทธศาสตร์ด้านการแพทย์และการสาธารณสุขระดับชาติต่อไป” นพ.จรุง กล่าว
นพ.จรุง กล่าวว่า อย่างไรก็ตามวัคซีนที่สธ. สั่งซื้อจากบริษัทซาโนฟี่ปาสเตอร์ ประเทศฝรั่งเศสจำนวน 2 ล้านโดส ซึ่งดำเนินการจากเชื้อตาย สามารถให้กับทุกกลุ่มได้ อาจจะต้องมีการฉีด 2 โดสต่อคน เพื่อเป็นการกระตุ้น ดังนั้นจะเหลือสำหรับคนเพียง 1 ล้านคน ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ประมาณ 3 แสนคน หญิงตั้งครรภ์ประมาณ 8 แสนคน ผู้ป่วยโรคประจำตัว 2.6 ล้านคน รวมแล้ว 3.7 ล้านคนแล้ว ส่วนวัคซีนที่ไทยจะผลิตเองโดยองค์การเภสัชกรรม(อภ.) เป็นผู้ผลิตจะผลิตจากเชื้อเป็นที่อ่อนฤทธิ์แล้ว จะมีข้อจำกัดในการให้กับกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ดังนั้นจำเป็นต้องมีการจัดสรรวัคซีนอย่างละเอียด
“หากรวมข้อมูลของกรมอนามัยที่สำรวจคนอ้วนอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไปในประเทศไทยที่มีกว่า 15 ล้านคนขึ้นไป ก็จำเป็นต้องมาพิจารณาถึงรายละเอียดหลักเกณฑ์บุคคลที่ควรได้อีก เช่น หากคนอ้วนที่อยู่บนภูเขา อาจไม่ได้รับวัคซีนแต่คนอ้วนในเมืองใหญ่จะได้รับ เพราะโอกาสในการสัมผัสเชื้อต่างกัน โดยในระหว่างที่วัคซีนจะสำเร็จก็ยังคงต้องปรับข้อมูลมาใช้พิจารณาให้ตรงตามสถานการณ์ไปเป็นระยะๆ” นพ.จรุง กล่าว
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
วันที่ 25 ก.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,177 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,135 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 32,767 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,377 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,638 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,851 ครั้ง |
เปิดอ่าน 43,569 ครั้ง |
|
|