Advertisement
❝ เสียงเห่าของสุนัขข้างบ้าน ทำให้สนใจขึ้นมา ❞
สาเหตุของการเห่าคือ เกิดจากเหตุผลหลายประการดังนี้ (ที่มา)
- ความเบื่อ
-การค่อยๆดัดนิสัย
- ความกังวลที่จะต้องแยกจากเจ้าของ
- การละเลยทอดทิ้ง
- ความกลัว
ดูมูลเหตุแล้วน่าจะมาจากความกลัว เพราะสุนัขตัวเล็ก ๆ ข้างบ้านเห่าถี่มาก พร้อมกับวิ่งและใช้เท้าตบอะไรซักอย่างที่เดินอยู่ใกล้ ๆ นั้น ทำให้ต้องออกมาถ่ายภาพเก็บความน่ารักของเจ้าสุนัขน้อย พอเราเข้าไปใกล้กับวิ่งหนี ทำให้เราได้ถ่ายภาพสิ่งที่เขากลัวได้ถนัด เมื่อเรากลับ เขาก็วิ่งกลับไปหาสิ่งที่เขาเห่าอยู่นั้น มองไปแล้วเหมือนกับการเรียนรู้ชีวิต
- ความกลัว : สุนัขบางตัวเห่าเพราะมันรู้สึกกลัวสิ่งที่เห็นและเสียงต่างๆ รอบตัวไม่ว่า
มันจะอยู่ข้างใน หรือข้างนอกบ้าน วิธีแก้คือถ้าสุนัขของคุณอยู่ข้างในบ้าน
คุณสามารถช่วยมันได้มากด้วยการกันมันจากสิ่งเร้าต่างๆ เอามันไปไว้ในห้อง
ห่างจากถนน เปิดเพลงให้มันฟัง และปิดม่านบังแสงเสียแต่ถ้ามันอยู่ข้างนอก
ลองพามันออกจากที่กำบังทีละน้อย ให้มันได้เข้าไปใกล้ภาพหรือเสียงที่ทำให้มันกลัวลูบมัน พูดกับมันด้วยเสียงปลอบโยน และช่วยให้มันรู้สึกผ่อนคลาย จากนั้นก็ชมเชยที่มันเงียบและสงบลงแน่นอนว่าจะต้องมีหลายครั้งที่คุณต้องการให้สุนัขของคุณเห่า เช่น เมื่อคนแปลกหน้ามาที่หน้าบ้านหรือมายืนอยู่ตรงหน้าต่างบ้านของคุณ นั่นคือเหตุผลที่คุณไม่ต้องการสอนให้สุนัขเงียบจนเป็นใบ้ให้สอนมันว่าจะเห่าก็ไม่เป็นไรจนกระทั่งคุณบอกว่า "เงียบ" มันต้องเงียบ
ตามที่คุณสั่งถ้ามันเห่าเมื่อมีคนมายืนหน้าบ้านก็ขอบคุณมันเถอะที่มันเตือนคุณให้รับรู้ถึงอันตรายในกรณีนี้คุณต้องบอกให้มันเงียบแล้วก็ชมเชยมันมันด้วย ปฏิสัมพันธ์เชิงโต้ตอบเช่นนี้เป็นสิ่งที่จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคุณและสุนัขของคุณเป็นความสัมพันธ์ที่เยี่ยมยอด
ในมุมมองของสัตว์เลี้ยง แล้วคนล่ะ ตัวเล็ก ๆ ถ้าพูดบ่อย ๆ เกิดมาจากอะไร กัน
คนตัวเล็ก ๆ ยังไม่ได้เรียนรู้อะไรมากนัก บางทีเด็กพูดไปเรื่อย ๆ ไม่มีคนฟัง เขาก็ยิ่งตะเบ็งเสียงดัง ลักษณะอย่างนี้ Berk มีความเห็นว่า เวลาผู้ปกครองเด็กเห็นเด็กพูดกับตนเองขณะทำงานที่เด็กไม่เคยมีประสบการณ์ มาก่อน ผู้ใหญ่ควรตระหนักได้ว่านั่นคือ สัญญาณที่แสดงให้เห็นว่าเด็กกำลังต้องการคำพูดที่ให้กำลังใจจากผู้ใหญ่ และเด็กกำลังต้องการการประคับประคองทางจิตใจ เพื่อที่จะรู้ว่ากิจกรรมที่เขากำลังทำอยู่นั้นมีจุดประสงค์อะไร ดังนั้น ผู้ใหญ่ก็อาจเข้าไปชี้แนะเพื่อให้เด็กสามารถ เห็นวิธีที่เด็กจำเป็นต้องใช้ในการแก้ปัญหา และหลังจากนั้นผู้ใหญ่ก็ค่อยๆ ถอยออกมา การสั่งห้ามมิให้เด็กปริปากพูดหรือการตำหนิเวลา เด็กพูดกับตนเองมักทำให้เด็กเล็กเก็บกดอารมณ์และความรู้สึกต่างๆ ซึ่งจะมีผลทำให้เด็กไม่กระตือรือร้นที่จะเรียนหรืออ่านหนังสือ และเมื่อเด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เด็กเก็บกดเหล่านี้ก็จะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่ควบคุมอารมณ์ใดๆ ไม่ได้การพูดกับตนเองมิได้เป็นกิจกรรมเดียวที่เด็กเล็กชอบทำ การมีโลกสมมติของตนเองก็เป็นกิจกรรมอีกรูปแบบหนึ่งที่ผู้ใหญ่สามารถ พบเห็นได้บ่อยในชีวิตของเด็กเล็กทุกคน เช่น เวลาเล่นกับเพื่อน เด็กเล็กมักสมมติตนเองเป็นเทพเจ้า เป็นสัตว์ เป็นนางฟ้า หรือแม่มด ฯลฯ ความนึกคิดเช่นนี้ได้ทำให้นักจิตวิทยางุนงงและสงสัยมานานแล้วว่าเหตุใดเด็กเล็กจึงมีโลกแห่งจินตนาการลักษณะนี้ด้วยในอดีตวงการจิตวิทยาได้ยอมรับในความคิดของ Freud และ Piaget ที่ว่าเด็กเล็กเป็นบุคคลที่ไม่มีเหตุและผลในการกระทำใดๆ เพราะเขาไม่สามารถจะลำดับขั้นตอนความเป็นเหตุเป็นผลของความนึกคิดต่างๆ ได้ และความนึกคิดของเด็กนั้น ส่วนใหญ่เป็น ความฝันและความปรารถนาที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความจริง ดังนั้น เด็กเล็กจึงไม่สามารถจำแนกเรื่องที่เป็นจินตนาการ ออกจากเรื่องจริงได้ ที่มา
บางทีการเรียนรู้ของเขา ทำให้เราขุ่นมัว ไม่ตอบคำถาม ซึ่งคงค้างคาใจไปอีกยาวนาน เพราะไม่ได้รับคำตอบที่อยากรู้ แก้ปัญหาได้ บอกได้ ให้ความรัก...พอไหมนะ ..
วันที่ 24 ก.ค. 2552
หนาวแล้ว ออกแคมป์กันเถอะ! ⛺ เตาแก๊สปิคนิค พกพาสะดวก ออก Outdoor ได้สบายๆ รุ่น KJ-101 แถมฟรี!!กล่องเก็บเตา ในราคา ฿244https://s.shopee.co.th/7fJQKGPCjr?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 7,224 ครั้ง เปิดอ่าน 7,190 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,208 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,171 ครั้ง เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 7,536 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,168 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,166 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,172 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,157 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,160 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,166 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,162 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 17,934 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,845 ครั้ง |
เปิดอ่าน 22,710 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,621 ครั้ง |
เปิดอ่าน 63,420 ครั้ง |
|
|