|
สมุนไพรที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง.....
สมุนไพรต่างๆ จำนวน 18 ชนิดนี้เป็นสมุนไพรที่ขอแนะนำให้ท่านหามารับประทาน หรือนำมาทำเครื่องดื่ม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของท่านมาก อาทิ
1. หญ้าหวาน
หญ้าหวานเป็นสมุนไพรที่มีค่าดัชนีแอนติออกซิเดนท์สูงสุด (18.88) ในบรรดาผัก-สมุนไพรที่นำมาวิจัยทดสอบในครั้งนี้ของนักวิจัยทางโภชนาการในปี 2545 ซึ่งเมื่อ
พิจารณาธรรมชาติขององค์ประกอบทางเคมีในหญ้าหวานแล้ว พบว่าในหญ้าหวานมีสารประกอบฟีนอลิคค่อนข้างสูงถึง 448.59 มิลลิกรัม ส่วนปริมาณเบต้า-แคโรทีน 5.10
มิลลิกรัม แซนโทฟิลล์ 5.30 มิลลิกรัม และวิตามินซีแม้จะไม่สูงนักแต่ก็ไม่ถือว่าน้อยคือ 16.50 มิลลิกรัม จึงคาดว่าสารที่โดดเด่นที่น่าจะทำให้หญ้าหวานมีดัชนีแอนติออกซิเดนท์สูงน่าจะเป็นสารประกอบฟีนอลิค
ปัจจุบันหญ้าหวานนิยมนำมาทำเป็นเครื่องดื่มประเภทชา อย่างไรก็ตาม ความนิยมในการบริโภคหญ้าหวานยังเทียบไม่ได้กับชาเขียว หรือชาใบหม่อน อาจเป็นเพราะผู้บริโภคยังไม่ทราบคุณประโยชน์ของหญ้าหวานอย่างแน่ชัด แต่จากสรรพคุณของหญ้าหวาน ซึ่งสามารถให้รสหวานแทนน้ำตาลได้โดยไม่ทำให้อ้วน ก็เป็นที่น่าสนใจอยู่แล้ว คาดว่าต่อไปหญ้าหวาน น่าจะได้รับความนิยมจากผู้บริโภคพอๆกับชาใบหม่อนเลยทีเดียว
- หญ้าหวานนำมาใช้เป็นเครื่องดื่มชาสมุนไพร ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เนื่องจากในใบของหญ้าหวานมีสารที่เรียกว่า สตีวีโอไซด์ (stevioside) ซึ่งเป็นสารที่
ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย 250 – 300 เท่า แต่สารดังกล่าวไม่ให้พลังงานจึงไม่ทำให้อ้วน ผู้ที่ชอบดื่มชาใส่น้ำตาลหรือน้ำผึ้ง หากลองมาดื่มชาสมุนไพรหญ้าหวานแล้วจะติดใจในรสชาติและสรรพคุณของชาถ้วยนี้
2. ชาใบหม่อน
ชื่อพื้นเมือง มอน (อีสาน)
ปัจจุบันคำว่าปลูกหม่อนเลี้ยงไหมดูจะเชยไปเสียแล้ว เพราะประโยชน์ของหม่อนไม่ใช่มีแค่นั้น ยอดใบหม่อนและผลอ่อนนำมารับประทานได้ ใบหม่อนยังนิยมนำมาต้มดื่มเป็นชา ซึ่งมีวางขายกันทั่วไป เป็นคู่แข่งกับชาเขียวของจีนและญี่ปุ่น จากการวิเคราะห์ค่าดัชนีแอนติออกซิเดนท์ของหม่อนพบว่ามีค่าสูงถึง 14.06 และเมื่อพิจารณาองค์ประกอบในหม่อนแล้วพบว่า มีสารประกอบฟีนอลิคค่อนข้างสูงคือ 88.53 มิลลิกรัม ทำให้หม่อนเป็นที่น่าสนที่จะนำมาบริโภค สามารถต้มดื่มแทนชาเขียวได้ดีไม่แพ้กัน แต่ยังมีราคาถูกกว่า เมื่อทราบดังนี้แล้วคนไทยเราจึงควรหันมาบริโภคของพื้นบ้านไทยๆเราเองดีกว่า
- ชาใบหม่อนกำลังเป็นที่นิยมของคนไทย เพราะนอกจากจะเป็นการช่วยอุดหนุนสินค้าของไทยเราเองแล้ว ยังมีสรรพคุณทางยาไม่ด้อยไปกว่าชาจากต่างประเทศราคาแพงเลย การดื่มชาใบหม่อนเป็นประจำ จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ขับปัสสาวะ และยังมีสรรพคุณแก้ไข แก้ไอ และบรรเทาอาการปวดศีรษะ ส่วนผลหม่อนใช้รับประทานแก้ลมวิงเวียน หน้ามืด มีสรรพคุณเป็นยาระบาย บำรุงไต และทำให้นอนหลับดี
- นอกจากใบหม่อนอบแห้งจะนำมาใช้ชงเป็นเครื่องดื่มชาใบหม่อนแล้ว ใบอ่อนและผลอ่อนของหม่อนยังสามารถนำมารับประทานเป็นผักแกล้มกับน้ำพริกได้
3. ไพล
ชื่อพื้นเมือง ปูเลย (เหนือ) มิ้นสะล่าง (แม่ฮ่องสอน)
ไพลเป็นสมุนไพรที่เราได้ยินชื่อกันบ่อยๆพอๆกับขมิ้น ขิง หรือข่า เพราะพืชในตระกูลนี้มีสรรพคุณทางยาแทบทั้งนี้ ซึ่งจากผลการวิจัยของเราก็พบว่าไพลมีค่าดัชนีแอนติออกซิเดนท์สูง คือ 12.12 แต่ เมื่อพิจารณาองค์ประกอบในไพลแล้วไม่มีสารใดที่โดดเด่นเป็นพิเศษจนสามารชี้ขาดได้ว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดที่ทำหน้าที่เป็นสารแอนติออกซิเดนท์ในไพล แต่อาจเป็นสารทั้งหมดที่ช่วยๆกันทำหน้าที่นี้จึงทำให้ไพลมีแอนติออกซิเดนท์สูงได้ สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ ชาวต่างชาติมักจะสนใจพืชในตระกูลนี้
เพราะมีสรรพคุณโดดเด่นและเป็นพืชเมืองร้อนซึ่งบ้านเมืองของเขาไม่มี เราจึงต้องร่วมมือกันอนุรักษ์ และคอยระมัดระวังทรัพยากรของไทยเราเอง
- ในตำรายาแผนโบราณมีการใช้เหง้าที่แก่จัดของไพลเป็นส่วนประกอบในตำรับยารักษาโรคหืด นอกจากนี้ไพลยังมีสรรพคุณอื่นๆตามมาอีกมาก ตั้งแต่แก้อาการฟกช้ำ เคล็ดขัดยอก ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แก้เหน็บชา ขับลม รักษาอาการท้องเดิน และขับประจำเดือน
4. ฟ้าทะลายโจร
ชื้อพื้นเมือง หญ้ากันงู (สงขลา) สามสิบดี (ร้อยเอ็ด) ฟ้าสะท้าน (พัทลุง)
จากผลการวิจัยฟ้าทะลายโจรมีค่าดัชนีแอนติออกซิเดนท์ปานกลาง คือ 8.64 สารที่โดดเด่นในฟ้าทะลายโจรน่าจะเป็นสารประกอบฟีนอลิคที่ทำหน้าที่เป็นสารแอนติออกซิเดนท์
- ทั้งต้นสดและแห้งของฟ้าทะลายโจรนำมาต้มน้ำดื่ม มีสรรพคุณรักษาโรคบิดชนิดติดเชื้อ บรรเทาอาการหวัด ท้องเดิน ทางเดินอาหารอักเสบ และปอดอักเสบ ส่วนใบมีสรรพคุณสมานแผล โดยนำใบมาบดผสมกับน้ำมันพืช แล้วใช้ทาตรงบริเวณที่เป็นแผล แผลไฟไหม้ แผลน้ำร้อนลวก จะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
5. กวาวเครือขาว
ชื่อพื้นเมือง ทองเครือ จานเครือ ตานจอมทอง
สรรพคุณของกวาวเครือขาวที่สาวๆให้ความสนใจกัน ขณะนี้ก็ยังหาข้อสรุปไม่ได้แน่นอนว่าเป็นไปตามที่กล่าวอ้างหรือไม่ แต่ว่าสรรพคุณในการเป็นแอนติออกซิเดนท์นี้เชื่อถือได้แน่นอน กวาวเครือขาวมีค่าดัชนีแอนติออกซิเดนท์ 7.52 มิลลิกรัม หน้า 3 จาก 10
สารชมรมศาสนาและการกุศล เรื่องที่ 27 สมุนไพรที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง
- ปัจจุบันสรรพคุณของกวาวเครือขาวในเรื่องการขยายทรวงอกทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งเต่งตึงขึ้นนั้น ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ซึ่งในเรื่องนี้ทางคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ได้ประกาศเตือนไว้ว่าทาง อย. ยังไม่เคยอนุมัติผลิตภัณฑ์ที่มีกวาวเครือขาวเป็นตัวยาเดี่ยว ซึ่งแสดงสรรพคุณขยายทรวงอกดังกล่าว เพราะยังไม่มีข้อมูลการศึกษาทางคลีนิคที่ชัดเจนที่ยืนยันถึงสรรพคุณดังที่ว่า อย่างไรก็ตามกวาวเครือขาวยังมีสรรพคุณในด้านอื่นๆที่เชื่อถือได้ คือ ช่วยบำรุงร่างกาย โดยใช้เป็นส่วนประกอบร่วมกับสมุนไพรอื่นๆในตำรับยาบำรุงร่างกาย หรือใช้เป็นยาสำหรับสตรีที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ
6. ชุมเห็ดเทศ
ชื่อพื้นเมือง หมากกะลิงเทศ ลับมืนหลาว ขี้คาก (เหนือ) ส้มเห็ด (เชียงราย) จุมเห็ด (มหาสารคาม)ชุมเห็นเทศเป็นสมุนไพรไทยที่มีสรรพคุณมากมาย และยังมีค่าดัชนีแอนติออกซิเดนท์ไม่น้อยหน้าสมุนไพรชนิดอื่นๆเลย คือมีค่า 7.12 มิลลิกรัม
- ชุมเห็ดเทศมีสรรพคุณเป็นยาระบายเช่นเดียวกับมะขามแขกโดยใช้ใบหรือดอกมาต้มน้ำดื่มเป็นยาระบาย ป้องกันอาการท้องผูก ขับปัสสาวะ นอกจากนี้ทั้งต้นยังมีสรรพคุณขับเสมหะ ขับพยาธิ รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน และอาการฟกช้ำดำเขียวตามร่างกายได้
7. พญาปล้องทอง
ชื้อพื้นเมือง พญาปล้องคำ (ลำปาง) ลิ้นมังกร ผักมันไก่ พญายอ
ผักลิ้นเขียด (เชียงใหม่) เสลดพังพอน (กลาง)
พญาปล้องทอง หรือที่ชาวบ้านภาคเหนือเรียกกันว่าพญายอเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่เราอาจไม่ค่อยคุ้นชื่อนัก แต่ก็เป็นสมุนไพรไทยที่ใช้กันมานานแล้ว พญาปล้องทองมีดัชนีแอนติออกซิเดนท์ 6.28 มิลลิกรัม
- พญาปล้องทองมีสรรพคุณโดดเด่นในการรักษาโรคผิวหนัง โดยใช้ใบของพญาปล้องทองมาขยี้หรือตำให้ละเอียดใช้พอกทาผิวหนังรักษาโรคงูสวัดและไฟลามทุ่ง รักษาพิษแมลงสัตว์กัดต่อย เช่น แมลงป่องหรือตะขาบ
8. มะระขี้นก
ชื่อพื้นเมือง มะห่อย มะไห่ (เหนือ) ผักไซ (อีสาน)
ในต่างประเทศมีการใช้มะระเพื่อเป็นยารักษาโรคเบาหวานแต่ต้องระวังเพราะมีผลข้างเคียงทำให้เกิดการแท้งลูกได้ ผลมะระขี้นกมีค่าดัชนีแอนติออกซิเดนท์ 1.72 ส่วนยอดมะระมีค่าดัชนีสูงกว่าคือ 6.28 เมื่อพิจารณาองค์ประกอบทางเคมีแล้วพบว่ายอดมะระมีปริมาณเบต้า-แคโรทีน 3.83 มิลลิกรัม แซนโทฟิลล์ 18.01 มิลลิกรัม วิตามินซี 16.23
มิลลิกรัม และสารประกอบฟีนอลิค 93.15 มิลลิกรัม จึงทำให้มีค่าดัชนีแอนติออกซิเดนท์สูงกว่า
- แม้ว่ามะระมีรสขม
|
9. รางจืด
ชื่อพื้นเมือง กำลังช้างเผือก ยาเขียว เครือเถาเขียว ขอบชะนาง (ไทย) คาย (ยะลา) ย้ำแย้ (อุตรดิตถ์)
รางจืดเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง แม้จะชื่อรางจืดแต่คุณค่าไม่ได้จืดเหมือนกับชื่อเลย เพราะมีแอนติออกซิเดนท์จัดอยู่ในกลุ่มปานกลาง คือ 6.25
- สมุนไพรรางจืดใช้เป็นส่วนประกอบของยาเขียวซึ่งเป็นยาไทยแผนโบราณขนานหนึ่ง มีสรรพคุณใช้ถอนพิษเบื่อเมา และถอนพิษไข้ได้ทุกชนิด ส่วนรากและเถาของต้นรางจืดก็นำมาต้มน้ำดื่ม มีสรรพคุณแก้ร้อนในและกระหายน้ำ
10. เถาวัลย์เปรียง
ชื่อพื้นเมือง เครือตาปา (โคราช)
ผู้ที่ไม่ใช่นักสมุนไพรจริงๆอาจไม่รู้จักเถาวัลย์เปรียง เถาวัลย์เปรียงมีสรรพคุณทางยามากมาย สมุนไพรชนิดนี้มีสารฟลาโวนอยด์สูง มีค่าดัชนีแอนติออกซิเดนท์ 5.81
- ในตำรับยาแผนโบราณ เถาวัลย์เปรียงใช้เป็นยารักษาเส้นเอ็นขอด บรรเทาอาการเมื่อยขบ รักษาโรคบิด โรคหวัด ขับเสมหะ และขับปัสสาวะ ส่วนรากมีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงร่างกาย รักษาอาการไข้ และขับปัสสาวะ
11. ทองพันชั่ง
ชื่อพื้นเมือง ทองคันชั่ง หญ้ามันไก่ ทองพัน ดุล (กลาง)
ทองพันชั่งเป็นสมุนไพรที่เราได้ยินชื่อบ่อยๆตั้งแต่เด็ก อาจเป็นเพราะชื่อสะดุดหูที่ความหมายดี ทองพันชั่งมีค่าดัชนีแอนติออกซิเดนท์ 5.04
ดูจากชื่อคงเดาได้ว่าทองพันชั่งเป็นสมุนไพรที่มีคุณค่าดั่งทอง ใบสดหรือแห้งนำมาชงน้ำดื่ม มีสรรพคุณเป็นยาระบาย รักษาอาการท้องผูกได้ดี และยังช่วยขับปัสสาวะด้วย สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคผิวหนังก็ให้นำใบและรากมาตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำออก จากนั้นนำมาแช่ในเหล้าหรือแอลกอฮอล์ ใช้เป็นยารักษาแผล กลากเกลื้อน หรือผดผื่นคันตามผิวหนังได้
12. คำฝอย
ชื่อพื้นเมือง คำยุ่ง คำยอง คำฝอย ดอกคำ (เหนือ)
ปัจจุบันคำฝอยเป็นที่รู้จักและนิยมกันมากขึ้น ในลักษณะของเครื่องดื่มสมุนไพร เพราะคำฝอยมีสรรพคุณทางยามากมาย คำฝอยมีค่าดัชนีแอนติออกซิเดนท์ 4.88
- ผู้ที่มีโคเลสเตอรอลในเลือดสูง ขอแนะนำให้รับประทานดอกคำฝอย โดยนำมาชงกับน้ำ ใช้ดื่มเป็นประจำแทนการดื่มน้ำตามปกติ นอกจากจะช่วยลดโคเลสเตอรอลในเลือดแล้ว ยังมีสรรพคุณเป็นยาระบาย ขับเหงื่อ บำรุงเลือด บำรุงหัวใจ ระงับประสาท และระงับอาการปวดในสตรีที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ ถ้าในบ้านมีเด็กที่กำลังออกหัดให้นำน้ำต้มดอกคำฝอยมาใช้อาบ จะช่วยลดอาการคันตามผิวหนังได้ดี ส่วนเมล็ดคำฝอยมีสรรพคุณเป็นยาระบาย ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ น้ำมันจากเมล็ดคำฝอยนอกจากจะมีคุณค่าทางอาหารแล้ว ยังมีสรรพคุณทางยา คือ ใช้
ทาแก้โรคผิวหนัง รักษาแผล บรรเทาอาการบวม และอาการปวดเมื่อยเนื่องจากโรคไขข้ออักเสบ
13. ตะไคร้
ชื่อพื้นเมือง จะไคร (เหนือ)
ตะไคร้เป็นพืชเก่าแก่ที่ร่วมสำรับอาหารไทยมานาน โดยเฉพาะต้มยำที่พวกฝรั่งติดอกติดใจก็เพราะตะไคร้นี่แหละที่มีส่วนช่วยให้ต้มยำเชิดหน้าชูตาขึ้นมาได้ ตะไคร้มีน้ำมันหอมระเหยซึ่งกลิ่นของมันช่วยไล่แมลงได้ดี โลชั่นทากันยุงจากตะไคร้จึงมีวางขายกันให้เห็นทั่วไป ตะไคร้มีค่าดัชนีแอนติออกซิเดนท์ 4.73
- แม้ว่าเราจะไม่ค่อยได้รับประทานตะไคร้โดยตรง เพราะส่วนใหญ่จะใช้ใส่อาหารเพื่อดับกลิ่นคาวเท่านั้น แต่ตะไคร้มีสรรพคุณทางยามากมาย เช่น ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ ช่วยเจริญอาหาร บำรุงร่างกาย รักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน ลดความดันโลหิต รักษาโรคหืด และใช้เป็นยาทำให้อาเจียน
- อาหารประเภทต้มยำต้องมีตะไคร้เป็นส่วนประกอบ โดยตะไคร้จะช่วยดับกลิ่นคาวให้กับอาหาร นอกจากนี้ก็นำมาซอยละเอียดปรุงเป็นยำตะไคร้ ซึ่งเป็นอาหารจานสมุนไพรที่รับประทานแล้วรับรองว่าดีต่อสุขภาพแน่นอนด้วยสรรพคุณอันมากมายที่มีอยู่ในตะไคร้
14. มะขามแขก
มะขามแขกในปัจจุบันมีการผลิตขึ้นเป็นลักษณะยาชงสมุนไพรเพื่อสะดวกในการรับประทาน และหาซื้อได้ง่ายขึ้นกว่าเมื่อก่อน มีค่าดัชนีแอนติออกซิเดนท์ 4.68
- ใบและฝักของมะขามแขกนำมาต้มกับน้ำดื่มหรือบดให้ละเอียดนำมาชง น้ำดื่ม มีสรรพคุณเป็นยาระบาย ช่วยรักษาอาการท้องผูก ซึ่งปัจจุบันเราสามารถรับประทานได้สะดวกขึ้น เพราะมีการทำเป็นยาชงสมุนไพรสำเร็จรูปขายกันให้เลือกหลายยี่ห้อ และยังมีการปรุงแต่งกลิ่นและรสชาติให้รับประทานอร่อยด้วย
15. หูเสือ
ชื่อพื้นเมือง เนียมหูเสือ (กลาง) หอมด่วนหลวง (เหนือ)
หูเสือเป็นผักที่ให้กลิ่นหอมจึงช่วยดับกลิ่นคาวของอาหารได้ดี นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณเป็นสมุนไพรด้วย หูเสือมีค่าดัชนีแอนติออกซิเดนท์ 4.74
- เบต้า-แคโรทีน 2.55 มก. แซนโทฟิลล์ 4.24 มก. วิตามินซี 10.15 มก.
- ผู้ที่เป็นโรคหูน้ำหนวก ปวดหูบ่อยๆ หรือเป็นฝีในหู ให้ใช้น้ำคั้นจากใบหูเสือมาหยอดหูจะช่วยรักษาโรคดังกล่าวได้ ส่วนเด็กๆที่มีอาการท้องอืดก็ให้นำใบหูเสือมาขยี้แล้วทาท้องเด็กแก้ท้องอืดได้
- หูเสือมีกลิ่นหอมชวนให้รับประทาน นิยมนำมารับประทาน เป็นผักสดแกล้มกับอาหารเภทลาบ ยำ ก้อย และน้ำพริก เพื่อดับกลิ่นคาวและทำให้อาหารมีกลิ่นหอม
16. สะแล
ชื่อพื้นเมือง ชะแล (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ข่อยย่าน (สงขลา)
สะแลเป็นผักพื้นเมืองของทางภาคเหนือที่พบในป่า ปัจจุบันเมื่อถึงฤดูของสะแลยังพบมีวางขายอยู่มากมาย สะแลมีค่าดัชนีแอนติออกซิเดนท์ 4.75
- สะแลนำมารับประทานมีสรรพคุณช่วยเจริญอาหาร
- ดอกและผลอ่อนของสะแลนิยมนำมาปรุงเป็นแกงส้ม หรือแกงกับปลาย่าง ผู้ที่ชอบรับประทานน้ำพริกก็นำสะแลมาลวกรับประทานแกล้มกับน้ำพริกรสจัดตามใจชอบ
17. หญ้าแห้วหมู
ชื่อพื้นเมือง หญ้าขนหนู (แม่ฮ่องสอน)
หญ้าแห้วหมูเป็นสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณเกินตัว บางคนก็เรียกว่าหัวแห้วหมู เพราะส่วนที่เราเอามาใช้เป็นสมุนไพรก็คือ ส่วนหัวซึ่งอยู่ใต้ดิน หญ้าแห้วหมูมีค่าดัชนีแอนติออกซิเดนท์ 4.51
- หัวแห้วหมูสดใช้เป็นยาภายนอกรักษาโรคผิวหนังได้ดี โดยนำหัวสดมาตำให้ละเอียดแล้วใช้พอกผิวหนังบริเวณที่มีอาการคันจะช่วยแก้คันได้ หรือนำหัวสดมาทุบให้พอแตกแล้วต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้ปวดท้อง ปวดประจำเดือน ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ และเหมาะอย่างยิ่งกับสตรีที่กำลังตั้งครรภ์เพราะมีสรรพคุณบำรุงร่างกาย และบำรุงทารกในครรภ์ด้วย
18. ดีปลี
ชื่อพื้นเมือง ประดงข้อ ปานนุ พิษพญาไฟ
ดีปลีเป็นพืชสมุนไพรที่นำมารับประทานเป็นผักก็ได้ แต่คนส่วนใหญ่รู้จักดีปลีในด้านของสมุนไพรมากกว่าการนำมาเป็นอาหาร ดีปลีมีค่าดัชนีแอนติออกซิเดนท์ 4.00
- เถาดีปลีมีสรรพคุณช่วยเจริญอาหาร บำรุงร่างกาย ขับลม รักษาอาการปวดท้อง จุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ และรักษาโรคริดสีดวงทวาร ดอกดีปลีนำมาใช้ปรุงเป็นยาธาตุรักษาโรคท้องร่วง ขับลมในลำไส้ และรักษาตับพิการ ส่วนรากนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของยาแผนโบราณแก้อัมพฤกษ์และอัมพาต
|