Advertisement
บรรยากาศที่ทอดพระเนตร “สุริยุปราคาเต็มดวง” ณ เซี่ยงไฮ้ แม้ไม่เห็นแต่สัมผัสได้ |
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ |
22 กรกฎาคม 2552 11:50 น. |
|
|
สมเด็จพระเทพฯ ทอดพระเนตรสุริยุปราคา และทรงบันทึกภาพปรากฏการณ์ ณ เขตจินซาน นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมี รศ.บุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ถวายข้อมูลของปรากฎการณ์ (กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ) |
|
|
รายงานตรงจาก “จินซาน” หนึ่งในเมืองที่จะได้เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงนานที่สุ ดในศตวรรษ แต่น่าเสียดายท้องฟ้ามีเมฆมาก ในช่วงคราสกินเต็มดวง แต่ผู้เฝ้าชมก็ยังสามารถสัมผัสบรรยากาศ “อาทิตย์ดับ” ได้
ผู้สื่อข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ รายงานตรงจาก เฉิงซื่อซาทัน (สวนริมชายหาด) เขตจินซาน นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นสถานที่ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ มีกำหนดการเสด็จทอดพระเนตรปรากฎการณ์สุริยุปราคาเต็ม ดวง
ทั้งนี้ แม้ว่าสภาพอากาศจะมีเมฆมากในช่วงแรกของปรากฎการณ์ แต่ก็พอจะสามารถมองเห็นได้บ้าง ในเวลา 08.30 น.ตามเวลาท้องถิ่นที่เร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง ได้สังเกตเห็นคราสบังไปแล้ว 15%
จากนั้นพอสังเกตได้บ้างไม่ได้บ้าง จนกระทั่งในเวลา 09.38 น.ซึ่งเป็นเวลาที่คราสกินดวงอาทิตย์เต็มที่ และใช้ระยะเวลายาวนานที่สุดในรอบศตวรรษ แต่ผู้ที่เฝ้าชมปรากฏการณ์รอบบริเวณสวนสาธารณะดังกล่ าวก็ไม่สามารถมองเห็นปรากฏการณ์ จนสิ้นสุดปรากฏการณ์ในประมาณ 10.00 น. ฝนก็โปรยลงมา ทำให้ไม่สามารถชมดวงอาทิตย์ได้ เช่นเดียวกับที่กรุงเทพฯ
พร้อมกันนี้ สถาบันดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) ได้ตั้งกล้องสังเกตและปรากฏการณ์ และเก็บข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ระหว่างเกิดปรากฏการณ์สุ ริยุปราคาด้วย
สำหรับปรากฏการณ์สุริยุปราคาครั้งนี้เป็นสุริยุปราคา แบบเต็มดวง โดยมีแนวคราสพาดผ่านบางส่วนของประเทศอินเดีย จีน ญี่ปุ่น และมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ซึ่งนับเป็นสุริยุปราคาเต็มดวงที่ยาวนานที่สุดในศตวรรษที ่ 21 โดยช่วงระยะเวลาเต็มดวงยาวนานถึง 6 นาที 39 วินาที ซึ่งที่สังเกตได้ยาวนานที่สุดคือบริเวณมหาสมุทรแปซิฟ ิกตอนใต้
ส่วนประเทศไทยมองเห็นปรากฏการณ์เป็นเพียงสุริยุปราคาบางส่วน ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้ทุกภูมิภาค โดยพื้นที่ที่สังเกตเห็นปรากฏการณ์ได้ยาวนานที่สุด คือ ที่จังหวัดเชียงราย นานถึง 2 ชั่วโมง 12 นาที ซึ่งดวงอาทิตย์จะบดบังดวงจันทร์ 69%
อย่างไรก็ดี ปรากฏการณ์สุริยุปราครั้งต่อคือวันที่ 15 ม.ค.53 โดยจะเป็นปรากฏการณ์แบบเต็มดวงในเคนยา มหาสมุทรอินเดีย ศรีลังกา อ่าวเบงกอล พม่า และจีน โดยไทยจะได้ชมเป็นเพียงบางส่วนเช่นเดิม แต่จะเห็นการบดบังได้มากถึง 77% และสภาพท้องฟ้าอากาศในช่วงหน้าหนาวจะมีทัศนวิสัยที่ด ีต่อการชมมากกว่าในช่วงฤดูฝนเช่นนี้
ส่วนในพื้นที่ประเทศไทยจะมีโอกาสได้ชมสุริยุปราคาเต็ มดวงอีกครั้งใน 61 ปีข้างหน้า โดยจะเกิดขึ้นในวันที่ 11 เม.ย.2613
|
|
เจ้าหน้าที่ด้านดาราศาสตร์ถวายคำอธิบายการเกิดสุริยุ ปราคา (กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ) |
|
|
|
|
สมเด็จพระเทพฯ ทรงทอดพระเนตรสุริยุปราคา (กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ) |
|
|
|
|
เจ้าหน้าที่ไทยจากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับศึกษาปรากฏการณ์สุริยุปราคา |
|
|
|
|
|
ระหว่างปรากฏการณ์มีเมฆบดบังเป็นระยะๆ |
|
|
|
|
นักเรียนประถมผู้สนใจด้านดาราศาสตร์ ได้ร่วมเดินทางไปสังเกตสุริยุปราคาร่วมกับคณะผู้ปกคร อง ณ บริเวณเดียวกันนี้ด้วย |
|
|
|
|
ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) ส่องกล้องสังเกตปรากฏการณ์สุริยุปราคา |
|
|
|
|
|
บริเวณสังเกตสุริยุปราคาอยู่ริมชายหาด |
|
|
|
|
|
นักท่องเที่ยวจำนวนมากให้ความสนใจ รอคอยชมปรากฎการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง |
|
|
|
|
เสี้ยวดวงอาทิตย์ที่ถูกบดบังจากทั้งดวงจันทร์และม่าน เมฆ |
|
|
|
|
บางครั้งก็บดบังจนมิด |
|
|
|
|
บรรยากาศช่วงสุริยุปราคาเต็มดวง แม้ไม่เห็นการบดบังดวงอาทิตย์ แต่สัมผัสได้ถึงความมืด |
|
|
|
|
ใต้ท้องฟ้าเวลาสายในช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ถูกบังมืดส นิทดด้วยดวงจันทร์ แม้มีเมฆบังจนมองไม่เห็นการบดบัง แต่สัมผัสถึงปรากฎการณ์ได้ |
|
|
|
|
วันที่ 22 ก.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,151 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,154 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,149 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,150 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,152 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 3,140 ครั้ง |
เปิดอ่าน 20,765 ครั้ง |
เปิดอ่าน 3,382 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,921 ครั้ง |
เปิดอ่าน 33,294 ครั้ง |
|
|