การทับศัพท์ในภาษาไทย
ราชบัณฑิตยสถานได้ประกาศหลักการทับศัพท์ไว้อย่างเป็นทางการ ทั้งจากภาษาอังกฤษไปเป็นภาษาไทย ซึ่งเป็นการทับศัพท์แบบผสมทั้งถอดอักษรและถ่ายเสียง และจากภาษาไทยไปเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นการถ่ายเสียงเท่านั้น
ในการทับศัพท์จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย อักษรโรมันหลายตัวสามารถถอดด้วยอักษรไทยแบบหนึ่งต่อหนึ่ง เช่น d=ด, r=ร, l=ล, f=ฟ เป็นต้น และสามารถแปลงกลับได้ตัวเดิม แต่ก็มีอักษรโรมันบางตัวที่สามารถอ่านได้หลายเสียงในภาษาอังกฤษ หรือไม่มีเสียงที่เหมือนกันในอักษรไทย ส่วนนี้จึงต้องใช้การถ่ายเสียงเข้าช่วย โดยเฉพาะกับอักษรที่เป็นสระ เช่น a อาจเทียบเท่ากับเสียง เออะ อะ อา เอ แอ ออ หรือทวิอักษร th ที่ออกเสียงเป็น /θ/, /ð/ ก็ต้องดูว่าต้นฉบับอ่านอย่างไรจึงจะสามารถทับศัพท์ได้ใกล้เคียงที่สุด ส่วนนี้จึงมักจะเป็นปัญหาอันเนื่องจากแต่ละคนอ่านไม่เหมือนกันหรืออ่านด้วยต่างสำเนียง ตัวอย่างเช่น tube ภาษาอังกฤษแบบอเมริกันอ่านว่า /tub/ จึงทับศัพท์ว่า ทูบ ส่วนภาษาอังกฤษแบบบริเตนอ่านว่า /tyub/ จึงทับศัพท์ว่า ทิวบ์ หรือในกรณีที่ยึดถือหลักการทับศัพท์ต่างกัน เช่น theta อาจทับศัพท์เป็น ทีตา, ธีตา, เธตา, ซีตา, เซตา ซึ่งเป็นการทับศัพท์ตามใจและไม่มีหลักที่แน่นอน อย่างไรก็ตาม คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษบางคำก็ได้รับการบรรจุลงในพจนานุกรมภาษาไทย เพื่อกำหนดการสะกดคำในภาษาให้ตรงตามพจนานุกรมอย่างถาวร และถือว่าเป็นคำยืมในภาษาไทย
ส่วนการทับศัพท์ภาษาไทยไปเป็นภาษาอังกฤษ ถึงแม้อักษรไทยบางตัวจะสามารถแทนได้ด้วยอักษรโรมันแบบหนึ่งต่อหนึ่งได้เช่นกัน แต่ก็มีอักษรไทยจำนวนมากที่กำหนดให้แทนด้วยอักษรตัวเดียวกัน หรือต้องใช้อักษรโรมันมากกว่าหนึ่งตัวเข้ามาประกอบ เช่น ฐ-ฑ-ฒ-ถ-ท-ธ=th, ง=ng, สระเอือ=uea บางครั้งพยัญชนะต้นและพยัญชนะสะกดก็ใช้อักษรโรมันต่างกันด้วย เช่น บ ถ้าเป็นพยัญชนะต้นใช้ b ถ้าเป็นพยัญชนะสะกดใช้ p เมื่อแปลงอักษรไปทั้งหมดแล้วทำให้ไม่สามารถถอดกลับมาเป็นอักษรไทยอย่างเดิมได้ และอาจทำให้คำอ่านเพี้ยนไปบ้าง ตัวอย่างเช่น บางกอก ทับศัพท์ได้เป็น Bangkok แต่ชาวต่างประเทศอาจจะอ่านว่า แบงค็อก ซึ่งก็เป็นเพียงเสียงอ่านที่ใกล้เคียงเท่านั้น ไม่ใช่เสียงที่แท้จริง
การทับศัพท์ คือการดำเนินการแปลงข้อความจากระบบการเขียนหรือภาษาหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่ง
อย่างมีหลักการ เพื่อให้สามารถเขียนคำในภาษาต่างประเทศด้วยภาษาและอักษรในภาษานั้น ๆ ได้สะดวก เช่น การทับศัพท์ภาษาอังกฤษซึ่งเขียนด้วยอักษรโรมัน มาเป็นอักษรไทยเพื่อใช้ในภาษาไทย หรือการทับศัพท์ภาษาไทย ไปเป็นอักษรโรมันเพื่อใช้ในภาษาอังกฤษ เป็นต้น ส่วนมากใช้กับวิสามานยนาม อาทิ ชื่อบุคคล สถานที่ หรือชื่อเฉพาะที่ไม่สามารถแปลความหมายเป็นภาษาอื่นได้โดยสะดวก
การเขียนคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศตามระบบของราชบัณฑิตยสถาน
การทับศัพท์ให้ถอดอักษรในภาษาเดิม พอควรแก่การแสดงที่มาของรูปศัพท์ และให้เขียนในรูปที่อ่านได้สะดวกในภาษาไทย การวางหลักเกณฑ์ ได้แยกกำหนดหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาต่าง ๆ แต่ละภาษาไป คำทับศัพท์ที่ใช้กันมานานจนถือเป็นภาษาไทย และปรากฏใน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แล้ว ให้ใช้ต่อไปตามเดิม เช่น ช็อกโกเลต ช็อกโกแลต เชิ้ต ก๊าซ แก๊ส คำวิสามานยนามที่ใช้กันมานานแล้ว อาจใช้ต่อไปตามเดิม เช่น Victoria = วิกตอเรีย, Louis = หลุยส์ หรือ Cologne = โคโลญ เป็นต้น ศัพท์วิชาการซึ่งใช้เฉพาะกลุ่ม ไม่ใช่ศัพท์ทั่วไป อาจเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ขึ้นตามความจำเป็น
ตัวอย่างคำทับศัพท์จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน
football = ฟุตบอล
cell = เซลล์
James Watt = เจมส์ วัตต์
pattern = แพตเทิร์น
Missouri = มิสซูรี
broccoli = บรอกโคลี
California = แคลิฟอร์เนีย
general = เจเนอรัล
sweater = สเวตเตอร์
booking = บุกกิง
Snoopy = สนูปปี
gnat = แนต
knight = ไนต์
psycho = ไซโค
pneumonia = นิวมอเนีย
Worcester = วูสเตอร์
Marble Arch = มาร์บะลาช
กงสุล
|
consul
|
กปิตัน
|
captain
|
ก๊อบปี้
|
copy
|
กอริลลา
|
gorilla
|
กอล์ฟ
|
golf
|
กัปตัน
|
captain
|
กราฟ
|
graph
|
การ์ตูน
|
cartoon
|
กิโล
|
kilo
|
กีตาร์
|
guitar
|
แก็ง
|
gang
|
แกโดลิเนียม
|
gadolinium
|
แก๊ป
|
cap
|
แกมมา
|
gamma
|
แกรนิต
|
granite
|
แกรไฟต์
|
graphite
|
แกลเลียม
|
gallium
|
แก็ส , ก๊าซ
|
gas
|
|
ค
|
คริสต์
|
christ
|
คริสต์มาส
|
christmas
|
คริสเตียน
|
christian
|
คลอรีน
|
chlorine
|
คลอโรฟอร์ม
|
chloroform
|
คลอโรฟิลล์
|
chlorophyll
|
คลัตช์
|
clutch
|
คลินิก
|
clinic
|
ควินิน
|
quinine
|
ค๊อกคัส
|
coccus
|
ค๊อกเทล
|
cocktail
|
คอเคซอยด์
|
caucasoid
|
คอนเดนเซอร์
|
condenser
|
คอนแวนต์
|
convent
|
คอนเสิร์ต
|
consert
|
คอมพิวเตอร์
|
computer
|
คอมมานโด
|
commando
|
คอมมิวนิสต์
|
communist
|
คอยล์
|
coil
|
คอร์ด
|
chord
|
คอสติกโซดา
|
caustic soda
|
คัทลียา
|
cattleya
|
คาร์บอน
|
carbon
|
คาร์บอนไดออกไซด์
|
carbon dioxide
|
คาร์บอนมอนอกไซด์
|
carbonmonoxide
|
คาร์บอเนต
|
carbonate
|
คาร์บอลิก
|
carbolic
|
คาร์บูเรเตอร์
|
carburator
|
คาร์โบรันดัม
|
carborundum
|
คาร์โบไฮเดรต
|
carbohydrate
|
คาราวาน
|
caravan
|
คูปอง
|
coupon
|
คูเรียม
|
curium
|
เค้ก
|
cake
|
เคเบิล
|
cable
|
🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) ในราคา ฿129 คลิกเลย👇👇https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,279 ครั้ง เปิดอ่าน 7,233 ครั้ง เปิดอ่าน 7,177 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,154 ครั้ง เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,170 ครั้ง เปิดอ่าน 7,169 ครั้ง เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,181 ครั้ง เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 7,154 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,175 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,154 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,165 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,173 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,203 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,160 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,160 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 9,715 ครั้ง |
เปิดอ่าน 131,450 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,929 ครั้ง |
เปิดอ่าน 21,388 ครั้ง |
เปิดอ่าน 38,723 ครั้ง |
|
|