จาก PalungjitRescueDisaster
1. ชื่อ ไผ่รวก
2. ชื่ออื่น ตีโย ไผ่รวก ไม้รวก รวก (ภาคกลาง) ฮวก (ภาคเหนือ) ว่าบอบอ แวปั่ง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) แวบ้าง (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) สะลอม (ซาน-แม่ฮ่องสอน)
3. ชื่อวิทยาศาสตร์ Thysostachys siamensis Gamble. และมีชื่อพ้องทางพฤกษศาสตร์คือ Bambusa siamensis Kurz และ B.regia Thoms.
4. วงศ์ GRAMINEAE
5. ชื่อสามัญ -
6. แหล่งที่พบ ภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก
7. ประเภทไม้ ไม้ไผ่
8. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น ไม้ไผ่ขึ้นเป็นก่อแน่นลำสูง 7-15 เมตร ลำตรง เปลา มีกิ่งเรียวเล็กๆ ตอนปลายๆ ลำส่วนมากจะโต มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-6 ซม. ค่อนข้างเรียบมีวงใต้ข้อสีขาว ธรรมดากาบหุ้มลำต้นอยู่นาน ลำมีสีเขียว อมเทาปล้องยาว 15-30 ซม. โดยปกติเนื้อหนา ส่วนโคนมีเนื้อหนาเกือบตัน
กาบหุ้มลำต้น ยาว 22-28 ซม. กว้าง 11-20 ซม. กาบมักติดต้นอยู่นานสีฟางบางอ่อน ด้านหลังปกคลุมด้วยขนอ่อนสีขาวมีร่องเป็นแนวเล็กๆ สอบเล็กน้อยขึ้นไปหาปลายซึ่งเป็นรูปที่ตัดกับลูกคลื่น ครีบกาบมีรูปสามเหลี่ยมอาจจะเห็นไม่ชัดก็ได้หรือเล็กมาก กระจังกาบมีเล็กน้อยและหยักไม่สม่ำเสมอ มีขนละเอียดเล็กน้อยใบยอดกาบ 10-12 ซม. เป็นรูปสามเหลี่ยม มุมแหลมยาวและแคบ ขอบงอโค้งเข้า ใบ รูปใบจะเป็นรูป (linear – lanceolate) ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเกือบกลมผิวใบทั้งสองด้านไม่มีขนกว้าง 0.6-1.2 ซม. เส้นลายใบมี 3-5 (ข้างละ) ขอบใบคายคม ก้านใบสั้นยาวประมาณ 2 มม. ครีบหรือหูใบไม่มี กระจังใบเรียว ขอบเรียบสั้น กาบหุ้มใบข้างนอกไม่มีขนหรือมีขนอ่อนสีขาวปกคลุม ปลายตัดหรือป้านไม่มีขนแต่พองโตกว่าส่วนอื่นบ้าง
9. ส่วนที่ใช้บริโภค หน่ออ่อน
10. การขยายพันธุ์ การแยกหน่อหรือเหง้า การใช้กิ่งหรือลำปักชำ การปักกิ่งแขนง
11. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ชอบขึ้นในที่สูงบนภูเขาหรือเนินสูง อากาศร้อนไม่ชอบน้ำขังหรือขึ้นในที่ แห้งแล้งได้ ชอบดินระบายน้ำดี
12. ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ ฤดูฝน เดือนมิถุนายน –กันยายน
13. คุณค่าทางอาหาร คุณค่าทางอาหารในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม ประกอบด้วย
|
Cal |
Moist ure |
Protein |
Fat |
CHO |
Fibre |
Ash . |
Ca |
P |
Fe |
A.I.U |
B1 |
B2 |
Niacin |
C |
|
Unit |
% |
Gm. |
Gm. |
Gm. |
Gm. |
Gm |
mg. |
mg. |
mg. |
|
mg. |
mg. |
mg. |
mg. |
หน่อเผา |
33 |
90.4 |
3.5 |
0.3 |
4.1 |
0.7 |
- |
14 |
42 |
0.2 |
- |
- |
- |
- |
- |
หน่อต้ม |
24 |
93.2 |
2.5 |
0.4 |
2.5 |
0.8 |
- |
12 |
40 |
- |
- |
0.01 |
0.08 |
- |
- |
14. การปรุงอาหาร หน่อไม้นำมาต้มให้สุกก่อน รับประทานเป็นผักร่วมกับน้ำพริก หรือนำไปปรุงอาหาร เช่น แกงจืด แกงเผ็ด แกงคั่ว แกงเขียวหวาน ผัดกับไข่ ผัดเผ็ด หน่อไม้เผาให้สุก นำไปทำ ซุปหน่อไม้ หรือนำไปถนอมอาหารไว้รับประทานนอกฤดู เช่น หน่อไม้ดอง หน่อไม้ปี๊บ หน่อไม้ตากแห้ง
15. ลักษณะพิเศษ หน่อไม้ มีรสหวาน
16. ข้อควรระวัง -
17. เอกสารอ้างอิง
คณะอนุกรรมการประสานงานวิจัยและพัฒนาทรัพยากรป่าไม้และไม้โตเร็วอเนกประสงค์. 2540. ไม้อเนกประสงค์ กินได้ 486 หน้า.
เต็ม สมิตินันทน์. 2523. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (ชื่อพฤกษศาสตร์-ชื่อพื้นเมือง). กรมป่าไม้ 379 หน้า.
รุ่งนภา พัฒนวิบูลย์ และคณะ. กลุ่มงานวิจัยไผ่-หวาย กรมป่าไม้. 2540. ไม้ไผ่ 44 หน้า.
กิ่งที่ไม่อ่อนหรือไม่แก่จนเกินไป เหมือนๆ กับการตอนไม้อื่นๆ ทั่วไป