Advertisement
ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งได้รับการยอมรับว่ามีคุณภาพดีที่สุดในโลก เนื่องจากภูมิประเทศเหมาะสม และเกษตรกรไทยมีความสามารถตลอดจนมีภูมิปัญญาในการปลูกข้าวมายาวนาน แต่พันธุ์ข้าวที่จำหน่ายได้ราคาดีมีเพียงข้าวหอมมะลิเท่านั้น ส่วนพันธุ์อื่นๆได้ราคาต่ำกว่าซึ่งยังต้องพัฒนาสายพันธุ์และการแปรรูปเพื่อให้ได้มูลค่าเพิ่มขึ้น ดังนั้นนักวิชาการพยายามทำงานวิจัยเพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่ๆช่วยเกษตรกรผลิตข้าวคุณภาพดีทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
นักวิจัยจากภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงจึงได้เริ่มศึกษาวิจัยเรื่องข้าวสมุนไพรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ข้าวเคลือบสมุนไพรเป็นผลงานจากโครงการวิจัยของ ผศ. ดร. ราณี สุรกาญจน์กุล มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหารแก่ข้าว โดยเสริมสารสกัดสมุนไพรไทยเคลือบบนเมล็ดข้าว ได้แก่ สารสกัดจากใบเตย, ดอกอัญชัน, ขมิ้น, กระเจี๊ยบ และ ดอกคำฝอย ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวสามารถจำหน่ายข้าวได้มูลค่าเพิ่มขึ้น และที่สำคัญผู้บริโภคจะได้ข้าวที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ปลอดภัย ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ต่อต้านโรคภัยไข้เจ็บ เนื่องจากสารสกัดสมุนไพรแต่ละชนิดมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และป้องกันหรือต้านทานโรคต่างๆ ตามธรรมชาติ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเคลือบข้าวที่ปลูกในภาคกลาง ซึ่งราคาต่ำ ทำให้ข้าวมีคุณภาพเพิ่มขึ้น
2. เพื่อให้เกษตรกรที่ปลูกข้าวมีรายได้เพิ่มขึ้น
3. เพื่อแปรรูปข้าว เป็นการเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่
4. ให้ความรู้แก่เกษตรกรในด้านวิชาการ เพื่อให้เกษตรกรกระตือรือร้นในการผลิตภัณฑ์ใหม่
|
|
|
|
1. ประโยชน์ของสมุนไพรจากใบเตย ประกอบด้วยสารสำคัญ คือ Linalyl acetate, Benzyl acetate, Linalool, Geraniol, Ethylvanillin, Anthocyanin และ 2-Acetyl-1-pyrroline โดยสารสกัดจากใบเตยจะมีคุณค่าดังนี้
1.1 ทางด้านการบำรุงหัวใจ โดยช่วยขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจป้องกันโรคเส้นเลือดตีบ
1.2 มีสารเบต้าคาโรทีนซึ่งสามารถต้านทานการก่อให้เกิดโรคมะเร็ง
1.3 ลดการกระหายน้ำ ทำให้ชุ่มชื้น และแก้อาการอ่อนเพลีย
1.4 เพิ่มกลิ่นหอมแก่ข้าวเคลือบสมุนไพร
1.5 รักษาโรคเบาหวาน
2. ประโยชน์ของสมุนไพรจากดอกกระเจี๊ยบแดง ประกอบด้วย Anthocyanin, Malic acid, (+) –allo-hydroxycitric acid lactone โดยสารสกัดจากดอกกระเจี๊ยบแดงมีคุณค่าดังนี้
2.1 ให้วิตามินเอแก่ร่างกายโดยการบำรุงสายตา
2.2 มีสารโพลีฟีนอลซึ่งลดการเป็นโรคมะเร็งและการต่อต้านอนุมูลอิสระ
2.3 ให้แคลเซียมแก่ร่างกายโดยการบำรุงกระดูกและฟัน
2.4 ลดความดันโลหิตสูง
2.5 ขับเสมหะได้ดี
2.6 ป้องกันการจับตัวของเลือดซึ่งเป็นการลดไขมันในเส้นเลือดได้ดี
2.7 ช่วยขับปัสสาวะ
2.8 เป็นยาระบายอ่อนๆ ทำให้การขับถ่ายของเสียจากร่างกายเป็นปรกติ
3. ประโยชน์ของสมุนไพรจากดอกอัญชัน ประกอบด้วย Anthocyanin , Adrenosine, Linoleic acid, Stearic acid, Tyrosine, Valine, Teraxenone, Teranin ชนิดต่าง ๆ และ Astragalin รวมทั้งสารอาหารต่าง ๆ มากมาย สารสกัดจากดอกอัญชันมีคุณค่าดังนี้
3.1 ช่วยบำรุงเส้นผม รักษารากผมให้แข็งแรง
3.2 แก้พิษต่างๆ รวมทั้งแก้อาการฟกช้ำบนผิวหนัง
3.3 แก้ปัสสาวะพิการ
3.4 บำรุงสายตา ลดอาการมืดมัวของสายตา
4. ประโยชน์ของสมุนไพรจากขมิ้นชัน ประกอบด้วย Curcumin, Turmerone, Zingiberene และ Berneol เป็นต้น สารสกัดจากขมิ้นชันมีคุณสมบัติดังนี้
4.1 รักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้
4.2 ช่วยย่อยอาหาร
4.3 เพิ่มปริมาณน้ำดีในการย่อยไขมัน
4.4 ช่วยต้านอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในร่างกาย
4.5 บำรุงตับ
4.6 แก้อาการผื่นคัน
4.7แก้ท้องเสีย หรืออาการท้องอืด
5. ประโยชน์ของสมุนไพรจากดอกคำฝอย ประกอบด้วย Saffor yellow A and B, Carthamin และ Carthamone สารสกัดจากดอกคำฝอยมีคุณค่าดังนี้
5.1 สามารถลดไขมันในเส้นเลือด ซึ่งกรดไลโนเลอิกที่สกัดจากดอกคำฝอยจะช่วยขยาย
เส้นเลือดไม่ให้อุดตัน ซึ่งสามารถลดปริมาณคลอเลสเตอรอลในเส้นเลือดได้
5.2 รักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
5.3 ช่วยขับเหงื่อและการขับของเสียจากร่างกายสม่ำเสมอ
5.4 ลดความดันโลหิตสูง
จากคุณค่าทางอาหารของสมุนไพรชนิดต่างๆที่กล่าวมาแล้วแสดงให้เห็นว่าข้าวเคลือบสมุนไพร มีคุณค่าทางอาหาร สม่ำเสมอทุกเมล็ด เนื่องจากมีการศึกษาปรับปรุงคุณภาพ การเคลือบด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดพิเศษซึ่งสามารถมองเห็นความสม่ำเสมอของสมุนไพรบนเมล็ด
วิธีการผลิตข้าวเคลือบสมุนไพร
1. นำข้าวสารสีครั้งเดียวเพื่อคงไว้ซึ่งวิตามินต่าง ๆ บนเมล็ดข้าว ทำความสะอาดและ นำไปอบที่ 80 องศาเซลเซียส 20 นาที
2. สกัดสมุนไพรชนิดต่าง ๆ เช่น ใบเตย, กระเจี๊ยบ,ขมิ้นชัน, ดอกอัญชัน และคำฝอย ซึ่งมีเทคนิคการสกัดต่างกัน
3. นำสมุนไพรสกัดมาเคลือบบนเมล็ดข้าว
4. เคลือบทับอีกครั้งด้วยสารเคลือบ ซึ่งสกัดจากพืชอินทรีย์ เพื่อเก็บสมุนไพรและกลิ่นหอมให้ได้ยาวนาน
5. อบเมล็ดข้าวเคลือบให้แห้งอีกครั้งที่ 80 องศาเซลเซียส 10 นาที
6. บรรจุในภาชนะพลาสติกชนิดสุญญากาศ และทึบแสงเพื่อรักษาคุณภาพและสีของข้าวเคลือบสมุนไพร
การทดลองหลังการเคลือบข้าว
7. ทำการทดลองในการนำมาวัดสีทุกๆ สัปดาห์เพื่อดูความเปลี่ยนแปลง
8. ทำการทดสอบความคงตัวของสรสกัดสมุนไพร
9. ทดสอบด้านจุลินทรีย์
วิธีหุงข้าวเคลือบสมุนไพร
การหุงข้าวสมุนไพรไม่จำเป็นต้องซาวน้ำ ใช้อัตราส่วนของ ข้าวสมุนไพร : น้ำ
เท่ากับ 1:1.5 หุงด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้าปกติ หรือใช้หุงด้วยไมโครเวฟเหมือนการหุงข้าวทั่วสารทั่วไป การที่ไม่ต้องซาวน้ำเนื่องจากเมล็ดข้าว ที่ผ่านการผลิตมีความสะอาดเนื่องจากกรรมวิธีการผลิตเมื่อสีข้าวแล้วต้องเคลือบทันทีหลังจากสีเอาเปลือกออก เพื่อเก็บกักวิตามินและคุณค่าอาหารของสารอาหารต่างๆบนเมล็ดข้าวไว้ครบถ้วน ผู้บริโภคจะได้สารอาหารครบถ้วนมากกว่าข้าวทั่วไป เพราะข้าวสมุนไพรยังคงไว้ด้วยวิตามินต่างๆ และสารสมุนไพรที่เคลือบบนเมล็ดข้าว
การเตรียมเมล็ดข้าวก่อนเคลือบ
ตรวจสอบความสะอาดของข้าว โดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์สารปนเปื้อนต่างๆ เช่น การวิเคราะห์ด้วย atomic absorpt, รังสี เพื่อหาสารตกค้างพวกโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว สารหนู ปรอท แคดเมียม การวิเคราะห์การปนเปื้อนจากแมลงต่างๆ การแยกสิ่งแปลกปลอม เศษหิน กรวด และอื่นๆ เพื่อป้องกันความเสียหายจากเครื่องเคลือบ การทำความสะอาดเมล็ดข้าว การผ่านความร้อน โดยนำข้าวที่สะอาดแล้วมาอบที่ 80 องศาเซลเซียส 20 นาที
การเตรียมสารสมุนไพร
1. ต้องหาแหล่งสมุนไพรที่สะอาด ถ้าสามารถหาแปลงเพาะสมุนไพรที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์จะได้สมุนไพรที่ปราศจากสารเคมี
2. ทำการคัดเลือกพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
3. คัดเลือกสมุนไพรที่ทนความร้อน ไม่เปลี่ยนสีและกลิ่น
4. คัดเลือกสมุนไพรที่มีคุณสมบัติตามข้อ 2 และ 3 และสามารถเคลือบบนเมล็ดข้าว
5. ทำการสกัดสมุนไพรจนได้สารที่มีคุณค่าทางอาหารเพียงพอที่จะเคลือบบนเมล็ดข้าว
|
|
วันที่ 21 ก.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,398 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,152 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,134 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 18,016 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,655 ครั้ง |
เปิดอ่าน 48,455 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,780 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,224 ครั้ง |
|
|