Advertisement
สมุนไพร กระชายดำ
ในช่วงไม่กี่ปีมานี้กระแส “สมุนไพรไทย” มาแรงสุดสุด ประกอบกับหน่วยงานราชการ ต่าง ๆ ต่างก็ส่งเสริมสนับสนุนให้นำภูมิปัญญาไทยมาเผยแพร่ทำให้ประชาชนหันมาบริโภคมากขึ้น
สมุนไพรตัวหนึ่งที่ผู้คนกล่าวขานถึงก็คือ ” กระชายดำ “
เพราะว่ามีสรรพคุณขึ้นชื่อลือชาในเรื่องเพิ่มพลังทางเพศ ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า ” โสมไทย ” ซึ่งที่จังหวัดเลย เพชรบูรณ์ ปราจีนบุรี สำนักงานเกษตรจังหวัดมักนิยมแนะนำให้เกษตรกรเพาะปลูกเพราะเป็นพืชที่มีอนาคต และราคาดี
กระชายดำ มีลักษณะเหง้าหรือหัวคล้ายกับกระชายธรรมดาที่ใช้ปรุงอาหารอยู่ในครัวเรือนแต่ไม่มีรากขนาดใหญ่ที่เรียกว่า “นิ้ว” เหมือนกระชายทั่ว ๆ ไป และเมื่อพิจารณาลักษณะใบจะพบว่า ใบของกระชายดำจะใหญ่และมีสีเขียวเข้มกว่า กาบใบมีสีแดงจางและหนาอวบ กระชายดำมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Boesenbergia pandurata(Roxb.) อยู่ในวงศ์ ZINGIBERACEAE ลักษณะแตกต่างที่เด่นชัดกับกระชายธรรมดาก็คือ เนื้อในของหัวกระชายดำจะมีสีคล้ายดั่งผลหว้า คือมีสีออกม่วงอ่อน ๆ ไปจนถึงสีม่วงเข้มถึงดำ จึงได้ชื่อว่า “กระชายดำ” กระชายดำเป็นพืชล้มลุกจัดเป็นว่านชนิดหนึ่ง ลำต้นมีความสูงประมาณ 30 ซม. ส่วนกลางของลำต้นเป็นแก่นแข็ง มีกาบหรือโคนใบหุ้ม ใบมีกลิ่นหอม ก้านใบแทงขึ้นจากหัวในดิน ออกเป็นรัศมีติดผิว ขนาดใบกว้างประมาณ 7-15 ซม. ยาว 30-35 ซม. ลักษณะใบและลำต้นเหมือนกระชายเหลืองและกระชายแดง แต่ขอบใบและก้านใบของกระชายดำอาจมีสีม่วงแกมเล็กน้อย ดอกออกจากยอด ช่อละหนึ่งดอก มีใบเลี้ยงที่ช่อดอก ดอกมีสีชมพูอ่อน ๆ ริมปากดอกมีสีขาว กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกันมีลักษณะเป็นรูปท่อ มีขน โคนเชื่อมติดกันเป็นช่อยาว เกสรตัวผู้จะเหมือนกับกลีบดอกอับเรณูอยู่ใกล้ปลายท่อ เกสรตัวเมียมีขนาดยาวเล็ก ยอดของมันเป็นรูปปากแตรเกลี้ยงไม่มีขน การขยายพันธุ์การปลูกกระชายดำก็เหมือนกับการปลูกกระชายธรรมดาโดยทั่วไป สามารถปลูกได้ดีในดินที่ร่วนซุย การระบายน้ำดี แต่ระวังอย่าให้น้ำท่วมขังเพราะจะทำให้หัวหรือเหง้าเน่าเสียได้ง่ายส่วนในดินเหนียวและดินลูกรังไม่ค่อยจะเหมาะสมนัก โดยธรรมชาติแล้วกระชายดำชอบขึ้นตามร่มไม้ในป่าดิบและป่าเบญจพรรณทั่วไป แต่ในที่โล่งแจ้งก็สามารถปลูกกระชายดำได้ผลดี
กระชาย มี 3 ชนิด คือ
1.กระชายเหลืองหรือกระชายขาว 2.กระชายแดง 3.กระชายดำ
กระชายเหลืองและกระชายแดงนิยมใช้เป็นเครื่องเทศปรุงอาหาร ส่วนกระชายดำใช้เป็นสมุนไพรเมื่อผ่าเหง้าหัวออกดูจะมีสีม่วงคล้ำ มีกลิ่นคล้ายกระชายทั่วไป(แต่ฉุนกว่า)ลักษณะใบและลำต้นเหมือนกระชายเหลืองและกระชายแดง แต่ขอบใบและก้านใบอาจมีสีม่วงแกมเล็กน้อย เดิมชาวเขาเผ่าม้งนำกระชายดำเข้ามาปลูกในอำเภอด่านซ้ายและอำเภอนาแห้ว เพื่อใช้เป็นสมุนไพรประจำบ้าน ต่อมามีการขยายพันธุ์ออกไปเรื่อยๆ จนมีพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มมากขึ้น “กระชายดำ” มีสรรพคุณทางยาดังนี้ คือ รากเหง้า เป็นยาขับปัสสาวะ, ขับลม, แก้บิด, แก้ท้องอืดเฟ้อ, แก้โรคกระเพาะอาหาร โดยใช้รากเหง้าดองกับสุราขาว หรือนำไปตากแห้งแล้วบดเป็นผงใช้ผสมน้ำสุกรับประทาน หรือผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอนขนาดประมาณเม็ดพุทรารับประทานทุกวันเป็นยาอายุวัฒนะ, กระตุ้นประสาททำให้กระชุ่มกระชวย และเป็นยาบำรุงกำลัง
เรา ๆ ท่าน ๆ ได้ยินจนชินหู พูดกันติดปาก ประกอบกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาคราชการ เอกชน ต่างให้การสนับสนุนนำข้อมูลเรื่องราวออกเผยแพร่สู่สาธารณชน จนเป็นที่รู้จักนิยมอุปโภคบริโภคสมุนไพรเพิ่มขึ้น
”กระชายดำ” เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องเพิ่มพลังทางเพศ หรือ “โสมไทย” เดิมเป็นสมุนไพรที่หารับประทานยาก ไม่เป็นที่นิยม แต่ยามนี้ปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจราคาดีขายกัน ก.ก.ละ 100-300 บาท หากอยู่ในช่วงขาดแคลนราคาสูงถึง ก.ก.ละ 500-600 บาท มีปลูกกันมากที่จังหวัดเลย เพชรบูรณ์ ปราจีนบุรี และนครสวรรค์ ด้วยสรรพคุณที่หลากหลาย ทั้งบำรุงกำลัง เพิ่มฮอร์โมนทำให้สมรรถภาพทางเพศเพิ่มขึ้น แก้ปวดเมื่อย ขับปัสสาวะ ขับลม รักษาโรคความดันโลหิตสูง ขยายหลอดเลือดหัวใจ โรคเกาต์ โรคกระเพาะอาหาร สตรีประจำเดือนมาไม่ปกติ รวมถึงการขับผิวพรรณให้เปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล เราสามารถบริโภคได้หลายวิธี เช่น นำไปผสมเหล้าดื่มเป็นยาดอง หรือจะหั่นเป็นชิ้น ๆ ตากแห้งแล้วต้มน้ำร้อนดื่มแทนน้ำหรือน้ำชา เป็นประจำก็แจ๋วครับ บางตำราบอกให้นำหัวกระชายดำไปตากแห้ง หรือใช้แบบสดดองกับน้ำผึ้งแท้ 7 วัน ดื่มวันละ 2 ครั้ง (เช้า หรือ ก่อนนอน) อาการมะเขือเผาจะค่อย ๆ ทุเลาลง หรือทำเป็นผงผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอนก็ได้เช่นกัน
ด้วยสรรพคุณเหล่านี้ ทำให้บรรดาคุณผู้ชายที่เริ่มรู้ตัวว่าอ่อนเปลี้ยเพลียแรงไม่ซู่ซ่าเหมือนสมัยหนุ่ม ๆ พอรู้ว่ากินแล้วเพิ่มพลังอย่างว่าเลยขวนขวายซื้อกันใหญ่ เพราะราคาไม่แพง ทั้งหาซื้อได้ง่ายในตลาด ครั้นจะซื้อไวอะกร้าคงสู้ราคาไม่ไหว กระชายดำนี่แหละซู่ซ่าได้เหมือนกัน เผลอ ๆ จะดีกว่าด้วยซ้ำครับ
“วิธีปลูก”
ปลูกพื้นที่ดินร่วนปนทราย อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล ประมาณ 630 เมตร
ใช้เหง้าแก่เป็นท่อนพันธุ์ ควรปลูกระยะห่างประมาณ 30 ซม. ก่อนปลูกควรใส่น้ำยาเร่งราก และควรปลูกต้นฤดูฝน (พฤษภาคม)
เก็บเกี่ยวภายในเดือนธันวาคม ควรเก็บหลังต้นแห้งตายประมาณ 1 เดือน จึงจะได้เหง้าที่มีคุณภาพ ส่วนที่ใช้เป็นยาเหง้าสด และแห้ง
สรรพคุณยาไทย ตามตำรายาไทย เหง้ากระชายดำตองเหล้าใช้เป็นยาบำรุงกำลัง เสริมสร้างสุขภาพทางเพศของท่านชาย ช่วยให้อารมณ์ทางเพศ ของผู้ชายมีความสมบูรณ์ขึ้น มีปริมาณน้ำเชื้อมากขึ้น ความเป็นชายแข็งตัวทนทานขึ้น ปรับสมดุลฮอร์โมนทางเพศของท่านสุภาพสตรี สร้างความสมดุลความดันโลหิต ทำให้การหมุนเวียนของโลหิตดีช่วยการทำงานของระบบย่อยอาหาร แก้ลำไส้อักเสบ ตกขาวในสตรี ทำให้ผิวพรรณผุดผ่อง และยังช่วยบำรุงร่างกาย แก้อ่อนเพลีย ปวดเมื่อย เหน็บชา ปวดหลังหัวเข่า ช่วยบำบัดอาการของ โรคเกาต์รูมารติซั่ม รูมาตอยต์เรื้อรัง บำบัดอาการโลหิตจาง มึนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม
วันที่ 21 ก.ค. 2552
หน้าหนาวแล้ว คุณครูสนใจไหม DoDo เก้าอี้แคมป์ปิ้ง รับน้ำหนักได้เยอะ พร้อมกระเป๋าจัดเก็บ โครงอลูมิเนียมรับน้ำหนักได้200KG ในราคา ฿189 - ฿509 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/9pNuttuIUm?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง เปิดอ่าน 7,178 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,169 ครั้ง เปิดอ่าน 7,234 ครั้ง เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง เปิดอ่าน 7,194 ครั้ง เปิดอ่าน 7,169 ครั้ง เปิดอ่าน 7,172 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,170 ครั้ง เปิดอ่าน 7,168 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,161 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,163 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,173 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,166 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,161 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,165 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,176 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 31,385 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,405 ครั้ง |
เปิดอ่าน 3,974 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,975 ครั้ง |
เปิดอ่าน 4,703 ครั้ง |
|
|