Advertisement
ดวงตาปลอดภัย
ในการเสวนาทางวิชาการของสมาคมภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย ที่จัดให้แก่สมาชิก และครู อาจารย์ที่สนใจ เรื่อง สุริยุปราคาเต็มดวงแห่งศตวรรษ เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ได้มีการแนะนำถึงวิธีการดูปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ครั้งสำคัญนี้ให้ปลอดภัยต่อดวงตา
นายสิทธิชัย จันทรศิลปิน นักวิชาการศึกษา ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้อง ฟ้าจำลอง) กรุงเทพฯ ได้แนะเคล็ดลับการ ดูสุริยุปราคาให้ปลอดภัยต่อดวงตาว่า วิธีดูสุริยุปราคาที่ง่ายและดีที่สุด ไม่ว่าจะใช้อุปกรณ์ราคาถูกหรือแพงนั่นก็คือ ต้องจำไว้ให้ขึ้นใจว่า ลดแสงจ้า อย่าดูนาน เพราะแสงอาทิตย์มีความรุนแรงและมีรังสีที่อันตรายต่อดวงตา หากจ้องมองนาน ๆ เช่น รังสีอัลตราไวโอเลต จักษุแพทย์บอกว่า เซลล์จอตาสามารถสร้างทดแทนขึ้นมาได้ หากไม่โดนทำลายอย่างรุนแรง
วิธีการดูสุริยุปราคาที่ดีที่สุด นอกจากต้องใช้อุปกรณ์แล้ว ขณะดูให้นับหนึ่งถึงห้า แล้วหยุด มองสีเขียวหรือบรรยากาศทั่วไป เพื่อให้สายตาได้พัก แล้วค่อยดูใหม่ ก็นับหนึ่งถึงห้าอีกเช่นกัน
อุปกรณ์ที่จะใช้ดูนั้น นักวิชาการจากท้องฟ้าจำลองบอกว่าถ้าทุนน้อยก็ใช้วิธีการแบบคนโบราณ ก็คือ เอากระจกใสมารมควันเทียนให้มืดสนิท วิธีตรวจสอบก็คือ เอากระจกที่รมควันเทียนมาส่องดูหน้าคน หากยังมองทะลุก็ต้องรมควันเทียนอีกที ให้แน่ใจว่ามองหน้าใครไม่เห็นแล้ว จึงจะเอาไปส่องดูดวงอาทิตย์ได้ แต่ก็มีข้อควรระวังก็คือ ต้องไม่ให้เกิดริ้วรอยขีดข่วนหรือรอยนิ้วมือบนบริเวณที่รมควัน เพราะจะทำให้แสงเล็ดลอดเข้ามาทำอันตรายต่อดวงตาได้ ต้องพึงระวังหากนำไปใช้กับเด็ก ๆ
ใช้ฟิล์มถ่ายรูปขาวดำ วิธีการดั้งเดิมก็คือ ดึงฟิล์มออกจากกลักให้โดนแสงสว่างแล้วนำมาติดบนกระดาษแผ่นใหญ่ที่เจาะรูไว้แล้ว ให้กระดาษช่วยบังแสง แต่ในยุคการถ่ายรูปดิจิทัล ฟิล์มขาวดำกลายเป็นของหายากไปแล้ว
ฟิล์มเอกซเรย์ที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว เป็นอันตรายมากหากใช้ทั้งแผ่น เพราะแสงเล็ดลอดผ่านจุดที่มีภาพถ่าย ต้องใช้บริเวณขอบสีดำ ตัดออกมาเฉพาะส่วนนั้น หากนำมาส่องหน้าคนแล้วยังมองเห็นกันอยู่ก็ตัดมาซ้อนกันหลาย ๆ แผ่น จนกว่าจะมองไม่เห็นใคร จึงจะใช้มองดวงอาทิตย์ได้อย่างปลอดภัย
หากมีตังค์มากหน่อยก็ใช้แผ่นไมลาร์ ซึ่งเคลือบโลหะพิเศษมาปิดหน้ากล้อง แต่ก็อาจจะทำให้แสงโคโรน่าของอาทิตย์ไม่สวย ห้ามนำกล้องดูดาวมาใช้ส่องดูดวงอาทิตย์ เพราะเลนส์กล้องดูดาวเป็นจุดรวมแสง ทำให้ตาบอดได้ ต้องใช้แผ่นไมลาร์ปิดเลนส์ก่อน แต่ขณะใช้ก็ต้อง ระมัดระวังไม่ให้แผ่นไมลาร์เลื่อนหลุด
กล้องรูเข็มก็เป็นอีกวิธี เพียงแค่เจาะ รูกระดาษแล้วดูผ่านฉากจะช่วยถนอมสายตา ได้ หรือใช้วิธีอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ หากในช่วงเกิด สุริยุปราคา เราจะเห็นแสงลอดใบไม้เว้าแหว่งตามแสงดวงอาทิตย์ เวลาถ่ายรูปจะเกิดความสวยงามแบบแปลก ๆ ที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ให้
อุปกรณ์ที่ห้ามนำมาใช้เด็ดขาดก็คือ แว่นกันแดด ไม่ว่าจะใช้เลนส์สีเข้มแค่ไหน ก็เป็นอันตรายต่อดวงตา หากนำมาใช้มองดวงอาทิตย์
แต่ไม่ว่าจะใช้อุปกรณ์แบบไหน ก็ต้องไม่ลืมกฎที่ว่า ลดแสงจ้า อย่าดูนาน ทุกครั้งที่ดูสุริยุปราคา ให้นับหนึ่งถึงห้าแล้วหยุดพักสายตา แล้วค่อยมาดูใหม่ใช้วิธีการเดิม
เช้าวันพุธที่ 22 กรกฎาคม ตั้งแต่เวลา 07.00-09.00 น. หากอยู่ในภาคเหนือ เช่น เชียง ราย ก็จะมีโอกาสเห็นสุริยุปราคาบางส่วนมากหน่อย เห็นดวงอาทิตย์แหว่งถึง 69% ถ้าอยู่ในกรุงเทพฯ จะเห็นดวงอาทิตย์แหว่งเพียง 42% ถ้าอยากดูแบบเต็มดวงก็ต้องไปอยู่ในบางพื้นที่ของประเทศจีน ซึ่งโชคดีที่เป็นพื้นที่ในเงามืด ทำให้เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงแห่งศตวรรษนาน 6 นาที 39 วินาที
เช้าวันพุธ ถ้าอากาศเป็นใจ ไม่มีเมฆฝนมาบัง เราจะได้เห็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ครั้งสำคัญ หากทำงานดึก นอนตื่นสาย ก็ตัดใจตื่นเช้ากันสักวันน่า.
นสพ.ดอทคอม
วันที่ 21 ก.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,149 ครั้ง เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,149 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,152 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,135 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,156 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 32,056 ครั้ง |
เปิดอ่าน 64,199 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,968 ครั้ง |
เปิดอ่าน 3,760 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,191 ครั้ง |
|
|