ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

..คลิป...แปลกแต่จริง...เอาปลิงมารักษาโรค...!!!


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,141 ครั้ง
Advertisement

..คลิป...แปลกแต่จริง...เอาปลิงมารักษาโรค...!!!

Advertisement

การรักษาโรค...ด้วยปลิง!!.....

ปลิง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ตามหนองน้ำหรือลำธาร จะหากินด้วยการดูดเลือดจากสัตว์อื่น ๆ ไม่เว้นแม้คน ปลิงจะมีน้ำลายที่มีสารทำให้เลือดของเหยื่อไม่แข็งตัว ถ้าปลิงเข้าไปดูดเลือดในร่างกายของคนและหากนำออกมาไม่ทัน อาจทำให้คนผู้นั้นเสียชีวิตได้....ปกติเราจะรู้เรื่องราวปลิง แบบผู้ร้าย...แต่คราวนี้ เจ้าปลิงได้กลายเป็นพระเอกซะแล้ว...เรามาดูกันนะคะว่าปลิงรักษาโรคให้คนได้อย่างไร?........

                   

                                                                              http://www.youtube.com/watch?v=mkHzS0XCbJU

                                       

           หลายคนอาจจะรู้จักปลิงในฐานะของปรสิตที่ดูดเลือดกินเป็นอาหารและคิดว่าปลิงเป็นสัตว์ที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ แต่ทราบหรือไม่ว่าที่จริงแล้วปลิงถูกนำมาใช้ช่วยรักษาโรคได้ ปลิงจัดอยู่ในไฟลัมแอนนิลิดา (Annelid)  subclass Hirudinea มีสองเพศในตัวเดียว (Hermaphrodite) คือมีทั้งอันฑะและรังไข่อยู่ในตัวเดียวกัน ผสมพันธุ์ภายในตัวเองโดยใช้ clitellum ในการเก็บไข่ ปลิงอาศัยอยู่ทั้งบนบกและในน้ำ มีขนาดลำตัวอยู่ระหว่าง 5 45 มิลลิเมตร ปลิงบางชนิดเป็นปรสิตที่กินเลือดสัตว์จำพวกปลาไปจนถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและมนุษย์ โดยปลิงจะใช้อวัยวะที่เรียกว่าแว่นดูดหรือ sucker ซึ่งภายในจะมีขากรรไกรที่มีลักษณะเป็น 3 แฉกแต่ละแฉกจะมีฟันซี่เล็กๆอยู่จำนวนมากใช้สำหรับเกาะที่ตัวเหยื่อ นอกจากนั้นในน้ำลายของปลิงยังมีสาร Hirudin ที่มีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด ทำให้เลือดบริเวณที่ถูกปลิงกัดนั้นมีการไหลเวียนได้ตลอดเวลา และนี่คือเหตุผลที่แพทย์เลือกปลิงมาใช้เป็นการแพทย์ทางเลือก

 

  ที่มา : http://cache.eb.com/eb/image?id=26996&rendTypeId=4

           เมื่อ 2500 ปีก่อน ปลิงเริ่มเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในวงการแพทย์สมัยโบราณ โดยปลิงถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคและช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้ ซึ่งประวัติการนำปลิงมาใช้รักษาโรคนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ อ้างอิงได้จากภาพวาดบนฝาผนังที่พบบริเวณหลุมศพในช่วงราชวงศ์ฟาโรห์ เนื่องจากวงการแพทย์สมัยนั้นยังไม่เจริญแพทย์ชาวอียิปต์จึงนำปลิงไปใช้รักษาอาการโรคไขข้ออักเสบ ช่วยบรรเทาอาการไข้ และช่วยในการผ่าตัดหลอดเลือดดำ คนอิยิปต์โบราณเชื่อว่าการที่คนเราเจ็บป่วยหรือเป็นโรคนั้นเกิดจากความไม่สมดุลในร่างกายและหากต้องการทำให้อาการป่วยนั้นหายไปจะต้องปฏิบัติดังนี้คือ ให้ผู้ป่วยขับสารพิษออกจากร่างกายโดยการถ่ายอุจจาระ หรืออาเจียนออกมา หรือให้ผู้ป่วยอดอาหารเพื่อรอให้ร่างกายขับสารพิษออกมาและวิธีสุดท้ายคือการเอาเลือดเสียออกจากร่างกาย ซึ่งนี่เป็นจุดเริ่มต้นของการนำปลิงมาช่วยรักษาโรคนั่นเอง 

 

 ที่มา : http://brevity.biz/images/leech.jpg

               ปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์ได้มีการค้นคว้าและทำงานวิจัยเพื่อนำปลิงมาใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการอักเสบ ปวดบวมหรือมีอาการทางสมองเช่น ปวดศีรษะหรือเลือดคั่งในสมอง โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องใช้การปลูกผิวหนังหรือเนื้อเยื่อรวมไปถึงการผ่าตัดอวัยวะต่างๆ เช่น การต่อกระดูกนิ้วเท้า ต่อแขน ขา โดยปลิงจะถูกนำมาช่วยรักษาอาการเลือดคั่งตามผิวหนังบริเวณที่เพิ่งได้รับการปลูกถ่ายใหม่ตลอดจนช่วยฟื้นฟูระบบการหมุนเวียนของเลือดบริเวณที่ผ่าตัดได้ ดังจะเห็นได้จากผลการวิจัยของ Essen – Mitte Clinic ในเยอรมันที่นำปลิงมาใช้รักษาคนไข้จำนวน 16 คน โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงที่มีอายุเฉลี่ย 68 ปีและได้รับความเจ็บปวดจากโรคข้อต่อกระดูกอักเสบ ซึ่งวิธีการรักษานั้นเริ่มจากการนำปลิงจำนวน 4 ตัวไปวางไว้ตรงบริเวณที่ผู้ป่วยมีอาการปวด เช่น บริเวณหัวเข่า จากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีแล้วจึงนำปลิงออก ทำเช่นนี้ติดต่อกันเป็นเวลา 3 วัน ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าอาการปวดนั้นบรรเทาลง ถ้าสังเกตจากขั้นตอนการรักษาแล้วดูเหมือนว่าปลิงจะมีส่วนช่วยทำให้อาการปวดนั้นบรรเทาลงได้ แต่ความจริงแล้วที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บปวดนั่นอาจเป็นเพราะผู้ป่วยได้รับสาร Hirudin ในน้ำลายของปลิงที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกชา นั่นหมายความว่าปลิงไม่ได้ช่วยทำให้อาการของโรคข้อต่อกระดูกอักเสบหายไปเพียงแต่ช่วยทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บปวดในขณะที่ทำการรักษามากกว่า ส่วนข้อควรระวังของการนำปลิงมาใช้รักษาโรคคือ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการแพ้สาร Hirudin ที่ได้รับจากปลิง อาจทำให้เกิดอาการแพ้จนเกิดเป็นผื่นคันตามผิวหนัง และอาจมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนร่วมด้วย ดังนั้นแพทย์จึงต้องทำการทดสอบผู้ป่วยก่อนทุกครั้งก่อนที่จะนำปลิงมาใช้รักษาทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ป่วยเอง

 

  ที่มา : http://img187.imageshack.us/img187/5619/leech2rz5.jpg

 

ขอบคุณที่มาข้อมูล  kroo.ipst.ac.th/biology/main.php?url=article_view...id...

                                                                                                             .....

                                                             ฟังเพลง  ขยะแขยง    http://charyen.com/jukebox/play.php?id=1366

                                                                                                

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 1712 วันที่ 18 ก.ค. 2552


..คลิป...แปลกแต่จริง...เอาปลิงมารักษาโรค...!!!

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

100ข้อคิดดีๆ

100ข้อคิดดีๆ


เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง
คำรัก กับ คำมักง่าย

คำรัก กับ คำมักง่าย


เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง
ใครคิดค้นหมากฝรั่ง......../

ใครคิดค้นหมากฝรั่ง......../


เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง
Thai Food Recipes with Photos

Thai Food Recipes with Photos


เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ภาพถ่ายชนะเลิศงานพระศพ?พระพี่นางเธอฯ?

ภาพถ่ายชนะเลิศงานพระศพ?พระพี่นางเธอฯ?

เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
เคล็ดลับดีๆ...ผลไม้ล้างพิษ
เคล็ดลับดีๆ...ผลไม้ล้างพิษ
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย

โปรแกรมฟรีที่คุณครูยุคไอทีน่ามีไว้ใช้...สไตล์ครูสุทธิพร  คล้ายเมืองปัก
โปรแกรมฟรีที่คุณครูยุคไอทีน่ามีไว้ใช้...สไตล์ครูสุทธิพร คล้ายเมืองปัก
เปิดอ่าน 7,147 ☕ คลิกอ่านเลย

วิธีเอาตัวรอด!!!(มา*อมยิ้ม*วันหยุดกัน)
วิธีเอาตัวรอด!!!(มา*อมยิ้ม*วันหยุดกัน)
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย

Tips ดีๆ.....
Tips ดีๆ.....
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย

ศัพท์ใหม่......วัยรุ่น (ใหญ่) (ขำ ขำ)
ศัพท์ใหม่......วัยรุ่น (ใหญ่) (ขำ ขำ)
เปิดอ่าน 7,134 ☕ คลิกอ่านเลย

เลือกของขวัญ ให้ถูกใจ.....  ใน 12 ราศี
เลือกของขวัญ ให้ถูกใจ..... ใน 12 ราศี
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) / หน่วยแสดงผลข้อมูล (Output Unit)
หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) / หน่วยแสดงผลข้อมูล (Output Unit)
เปิดอ่าน 198,619 ครั้ง

กว่าจะมาเป็น นพวรรณ เลิศชีวกานต์
กว่าจะมาเป็น นพวรรณ เลิศชีวกานต์
เปิดอ่าน 15,645 ครั้ง

น้ำค้างเกิดขึ้นจากอะไร
น้ำค้างเกิดขึ้นจากอะไร
เปิดอ่าน 135,958 ครั้ง

Parts of Speech    Sentence   Phrase   Clause
Parts of Speech Sentence Phrase Clause
เปิดอ่าน 79,769 ครั้ง

ปลูกมะนาวนอกฤดู 1 ไร่ ได้ 1 แสน
ปลูกมะนาวนอกฤดู 1 ไร่ ได้ 1 แสน
เปิดอ่าน 19,124 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ