ทำไม ? ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องใช้การจูงใจในการบริหารงาน
องค์กรมีส่วนประกอบไปด้วย โครงสร้างการบริหารงาน ระบบการบริหารงาน พนักงานในการปฏิบัติการหรือดำเนินการ และทั้งสามองค์ประกอบนั้นย่อมต้องมีความสัมพันธ์กัน ประสานกันเมื่อองค์ประกอบดำเนินเป็นไปอย่างสัมพันธ์กันแล้วก็ย่อมทำให้องค์กรประสบผลสำฤทธิ์ในทุกด้าน อาทิเช่น เสถียรภาพการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ด้านลูกค้า การเงินหรือผลกำไร แต่ในทุกกระบวนการนั้นการที่จะทำให้องค์ประกอบทั้งสามสานสัมพันธ์กันแบบระบบได้นั้นย่อมต้องอาศัยเครื่องมือหรือกลยุทธ์ในการบริหารงาน นั้นก็คือ การจูงใจ การจูงใจในบางตำราได้กล่าวไว้ว่า การจูงใจนั้นมีความจำเป็นต่อกระบวนการเพิ่มผลผลิตทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การจูงใจภายในหรือการจูงใจภายนอกเป็นสิ่งที่กระตุ้นเพื่อให้ลูกจ้างได้เกิดความกระตือรือร้น จากเหตุปัจจัยดังกล่าวการจูงใจจึงเป็น Keyตัวหนึ่งที่ทำให้องค์กรไปสู่ความสำเร็จได้ องค์ประกอบขององค์กรทั้งสามนั้นจะดำเนินไปด้วยดีไม่ได้ถ้าไม่มี บุคคล ในที่นี่หมายถึงพนักงานในองค์กร ทั้งโครงสร้างการบริหาร ระบบบริหาร แต่ถ้าพนักงานเหล่านี้ถ้าได้รับการจูงใจจากองค์กรแล้ว ย่อมทำให้เกิดผลดีตามมามากมาย การจูงใจจึงเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จ (Motivations is a key success of the organizations) ขององค์กรที่มีความสำคัญและความจำเป็นไม่น้อยเลยทีเดียว
การนำการจูงใจเข้ามาบริหารงานในองค์กร การจูงใจ ถือเป็นกลยุทธ์การบริหารองค์กรประการหนึ่งที่เป็นผลกับพนักงานโดยตรง เมื่อผู้บริหารนำการจูงใจเข้ามาบริหารกับพนักงานทั่วทั้งองค์กร หลายสิ่งที่จะต้องเปลี่ยนคือ
1. พฤติกรรมองค์กร Organization Behavior
เมื่อพนักงานได้รับการจูงใจตามนโยบายของผู้บริหารไม่ว่าจะเป็นการจูงใจในลักษณะใดก็ตาม พนักงานจะตอบสนองตามนโยบายโดยเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองในการทำงานให้มีเสถียรภาพมากขึ้นกว่าเดิม นั้นเพราะ มีเหตุจูงใจเพื่อให้ได้ตามแรงกระตุ้นจากการจูงใจนั้น การจูงใจจึงเป็นกลยุทธ์การปรับพฤติกรรมของพนักงานโดยอัตโนมัติ ยกตัวอย่างเช่น ผู้บริหารได้ให้แรงจูงใจกับฝ่ายการตลาดว่า ถ้าฝ่ายการตลาดสามารถทำ Market Share เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 15 % พนักงานฝ่ายตลาด ทุกคนจะได้รับโบนัสเพิ่มขึ้นอีก 5 % ดังนั้นเมื่อพนักงานฝ่ายการตลาดได้ทราบนโยบายการทำงานของผู้บริหารในการปรับโบนัสเพิ่มขึ้นแต่ต้องเพิ่ม Market Share พนักงานทุกคนจะกระตือรือร้นเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเองจากคนที่ไม่ค่อยทำงาน ก็กลับขยันทำงานมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ได้ตามเป้าประสงค์ที่วางไว้
2. วัฒนธรรมองค์กร Cultural Organization
วัฒนธรรมองค์กรเป็นอะไรที่มีมานานจะกี่ยุคกี่สมัยวัฒนธรรมองค์กรก็ไม่สามารถที่จะปรับเปลี่ยนได้ง่าย อาทิเช่น การบริหารงานระบบอาวุโส ใครมาก่อน ใครมาหลัง ใครอายุมากใครอายุน้อย ระบบการบริหารงานในองค์กรจึงเปลี่ยนไปด้วยความล่าช้า แต่ถ้าผู้บริหารได้นำการจูงใจมาบริหารงาน โดยการกำหนดการจูงใจตามความสามารถของบุคคล พนักงานทุกคนก็จะแสดงความสามารถในการทำงานอย่างเต็มที่เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ของการจูงใจนั้นเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น พนักงานฝ่ายผลิต ขึ้นตรงกับผู้บริหารอาวุโสท่านหนึ่ง ผู้บริหารองค์กรได้นำนโยบายการจูงใจให้กับฝ่ายผลิตว่า พนักงานท่านใดที่มีจำนวนผลิตเพิ่มขึ้นก็จะได้รับค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นชิ้นละ 20 บาท และจะพิจารณาให้เป็นหัวหน้าหน่วยฝ่ายผลิต เป็นต้น ดังนั้น ระบบการบริหารอาวุโสโดยการนำการจูงใจเข้ามาบริหารซึ่งพนักงานจะไม่ข้องเกี่ยวใด ๆ กับผู้บริหารอาวุโส
3. ความจงรักภักดีต่อองค์กร
เมื่อพนักงานทุกคนได้รับในสิ่งที่ตนเองต้องการไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งหน้าที่การงานที่มั่นคง ความรับผิดชอบโดยตรง ค่าจ้าง เงินเดือน โบนัส สวัสดิการ และค่าตอนแทนอื่น ๆ พนักงานทุกคนจะเกิดความรักและความหวงแหนองค์กรเป็นอย่างมากนั้นเพราะถือว่าองค์กรเปรียบเสมือนสายเลือดที่ให้มีชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข และทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นผลมาจากการจูงใจทั้งนั้น อาทิเช่น พนักงานที่อยู่ครบ 5 ปี จะมีสิทธิ์เบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้ทั้งครอบครัว หรือ พนักงานที่ปฏิบัติงานด้วยดีไม่มีความเสื่อมเสียมีความตั้งใจทำงานก็จะได้รับการประกาศเกียรติคุณให้เป็นพนักงานยอดเยี่ยมหรือพนักงานดีเด่นแล้วแต่ความเหมาะสม และพฤติกรรมในการหวงแหนองค์กรก็จะปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด อาทิเช่น พนักงานมีความซื่อสัตย์ในการปฏิบัติหน้าที่ทั้งซื่อสัตย์ด้านเวลามาทำงานและการประพฤติตัว พนักงานมีความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเหมาะสมและอุทิศตนในการทำงานให้องค์กรโดยไม่มีข้อแม้ พนักงานจะรักษาความลับ ขององค์กรให้ถึงที่สุดไม่ไปเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารหรือนำไปบอกเล่าให้กับคู่แข่งขันได้รับทราบความเคลื่อนไหว พนักงานมีความรักองค์กรและไม่คิดจะเกิดการไม่เปลี่ยนงานใหม่ นั้นเพราะพนักงานได้รับความต้องการตามความประสงค์ของตนเอง และองค์กรก็มีประสิทธิภาพในการบริหารบุคลากรได้อย่างต่อเนื่อง พนักงานจะปกป้องชื่อเสียงและเกียรติยศขององค์กรไม่ให้เสื่อมเสีย
ดังที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ผู้บริหารจึงจำเป็นอย่างยิ่งต่อการนำการจูงใจมาบริหารงานในองค์กร เพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จในทุกด้าน และผลประโยชน์ดังที่กล่าวมาสืบเนื่องมาจากการใช้การจูงใจทั้งหมด ถ้าผู้บริหารเล็งเห็นความสำเร็จขององค์กร ผู้บริหารต้องเล็งเห็นกลยุทธ์ในการบริหารงานให้ประสบผลสำเร็จเช่นกัน และเฟืองขององค์กรที่มีความสำคัญที่สุด เป็นทรัพยากรที่ มีคุณค่าต่อองค์ประกอบทั้งสามขององค์กรนั้น คือ บุคคล หรือพนักงาน เมื่อพนักงานทั้งหมดได้รับการจูงใจจากการบริหารงานขององค์กร องค์กรก็จะประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว และต่อเนื่องทำให้องค์กรได้รับผลประโยชน์มากมายตามเป้าประสงค์หรือนโยบายที่องค์กรได้วางไว้ ทั้งหมดจึงเป็นเหตุสำคัญที่ผู้บริหารจำเป็นต้องนำการจูงใจเข้ามาบริหารงานเพื่อเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จประการหนึ่ง