แหล่งที่มาและประเภท
คาร์โบไฮเดรต
วิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป 3 ว 40283 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
นางสุจินดา สระคูพันธ์
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 1 อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
คำนำ
หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด กินดี อยู่ดี เล่มที่ 2 เรื่อง แหล่งที่มาและประเภทคาร์โบไฮเดรต ได้จัดทำขึ้นสำหรับใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป 3 ว 40283 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยพัฒนาขึ้นตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ของสาระการเรียนรู้เกี่ยวกับสาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร มีกิจกรรมการเรียนรู้หลากหลายที่จะให้นักเรียนพัฒนาทักษะกระบวนการคิด กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ และกระบวนการแก้ปัญหา เพื่อให้นักเรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ทำกิจกรรมร่วมกันและเรียนรู้อย่างมีความสุข ภายในหนังสือ อ่านเพิ่มเติม มีภาพถ่ายจากสถานการณ์จริง ภาพลายเส้นและภาพการ์ตูนประกอบบทเรียน เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจง่ายขึ้น และให้เหมาะสมกับนักเรียนที่ไม่ได้เรียน เน้นทางด้านวิทยาศาสตร์โดยตรง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความรู้และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีเจตคติทางวิทยาศาสตร์และสามารถนำไปใช้ ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี
ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสืออ่านเพิ่มเติมเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ แก่นักเรียนและผู้สนใจที่จะช่วยให้การจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับ แหล่งที่มาและ ประเภทคาร์โบไฮเดรตมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถพัฒนาเป็นองค์ความรู้อย่างถาวรและคงทน หากมีข้อเสนอแนะใดที่จะให้หนังสืออ่านเพิ่มเติมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โปรดแจ้งให้ทราบด้วย จักขอบคุณยิ่ง
นางสุจินดา สระคูพันธ์
คำแนะนำสำหรับนักเรียน
หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด กินดี อยู่ดี เรื่อง แหล่งที่มาและประเภทคาร์โบไฮเดรต ประกอบด้วยจุดประสงค์การเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนเรียน บทนำ เนื้อหา กิจกรรม แบบทดสอบหลังเรียน มีจุดมุ่งหมายให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยนักเรียนจะได้รับประโยชน์ จากหนังสืออ่านเพิ่มเติมเล่มนี้ตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้อย่างเคร่งครัด
1. อ่านจุดประสงค์การเรียนรู้
2. ทำแบบทดสอบก่อนเรียน
3. อ่านสาระในบทนำ
4. ศึกษาเนื้อหาตามลำดับโดยไม่ต้องเร่งรีบ
5. อ่านรายละเอียดของกิจกรรมทุกข้อ
6. ปฏิบัติกิจกรรมตามคำชี้แจงของกิจกรรมทุกข้อ
7. เมื่อทำกิจกรรมตามคำชี้แจงของกิจกรรมแล้ว จึงตรวจดูเฉลยที่อยู่หน้าถัดไป
ถ้าตอบผิดให้นักเรียนกลับไปศึกษาเนื้อหาและตอบคำถามอีกครั้ง เมื่อตอบ
ถูกต้องแล้ว จึงทำแบบทดสอบหลังเรียน
8. ควรมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง โดยไม่ดูเฉลยก่อนทำกิจกรรม
9. ควรศึกษาเอกสารนี้ด้วยตนเอง ถ้ามีปัญหาหรือข้อสงสัยให้ปรึกษาครูทันที
10. ให้นักเรียนทำงานลงกระดาษคำตอบที่ครูเตรียมให้
11. เมื่อนักเรียนทำงานเสร็จแล้ว ควรนำหนังสืออ่านเพิ่มเติมเล่มนี้ไปเก็บให้เป็นที่
อย่างมีระเบียบ
ขอให้นักเรียนตั้งใจศึกษาเนื้อหา และปฏิบัติตามกิจกรรมอย่างเต็มความสามารถ
เพื่อจะได้พัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ แหล่งที่มาและประเภทคาร์โบไฮเดรต อย่างต่อเนื่องและนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันต่อไป
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความหมายและแหล่งที่มาของสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตได้
2. อธิบายความแตกต่างระหว่างคาร์โบไฮเดรตประเภทต่างๆได้
3. บอกโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรตแต่ละประเภทได้
บทนำ
อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ของการดำรงชีวิต ช่วยเสริมสร้างร่างกายให้เจริญเติบโตแข็งแรง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและให้พลังงานเพื่อการดำรงชีวิต มนุษย์ต้องการหรือปรารถนาให้มีชีวิตหรือดำรงชีวิตแบบ “กินดี อยู่ดี” การที่มีชีวิต “กินดี อยู่ดี” ก็คือ การมีชีวิตหรือดำรงชีวิตที่มีคุณภาพทั้งด้านกำลังกาย สติปัญญา ความรู้สึกนึกคิด ดังนั้น เราจึงต้องคำนึงถึงคุณค่าของอาหารที่กินเข้าไปทุกครั้ง เช่น
- ควรกินอาหารอะไร อย่างไร
- แหล่งอาหารใดที่ให้สารอาหารประเภทใด
- สารอาหารแต่ละประเภทสำคัญอย่างไร
- กินอาหารปริมาณเท่าไร จึงจะถูกสัดส่วนตามที่ร่างกายต้องการ
- หากกินอาหารมากเกินไปจะเกิดผลเสียอย่างไร
- ควรตระหนักถึงความสำคัญที่ร่างกายจะแปรสภาพอาหารและสารอาหารอย่างไร และร่างกายนำไปใช้ประโยชน์อย่างไร
หนังสืออ่านเพิ่มเติมเล่มนี้ มีเนื้อหาเกี่ยวกับ ความหมายและแหล่งที่มาของสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ความแตกต่างระหว่างคาร์โบไฮเดรตประเภทต่าง ๆ และโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อนักเรียน สามารถนำไปพัฒนาและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้มีชีวิตหรือดำรงชีวิตแบบ “กินดี อยู่ดี”
แหล่งที่มาและความแตกต่างระหว่าง
คาร์โบไฮเดรต
ประเภทต่างๆ
ความหมายคาร์โบไฮเดรต
คาร์โบไฮเดรต (carbohydrate) เป็นสารประกอบอินทรีย์ ประกอบด้วยธาตุหลัก 3 ธาตุ คือ คาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจน ในอัตราส่วน 1:2:1 มีสูตรทั่วไป คือ (CH2O) n เมื่อ n เป็นจำนวนอะตอมของคาร์บอน ดังนั้น คาร์โบไฮเดรตที่เป็นโมเลกุลเดี่ยวมีคาร์บอน 6 อะตอม
จะมีสูตรเป็น (CH2O)6 หรือ C6H12O6 และมีหมู่คาร์บอกซาลดีไฮด์ (- CHO) หมู่ไฮดรอกซิล
(-OH) และหมู่คาร์บอนิล ( > CO) เป็นส่วนประกอบสำคัญ
ทำไมถึงเรียกสารประกอบอินทรีย์ประเภทนี้ ว่า คาร์โบไฮเดรตในโมเลกุลของคาร์โบไฮเดรตมีอัตราส่วนระหว่าง H :O = 2:1 เช่นเดียวกับน้ำ ( H2O) จึงเรียกสารประกอบอินทรีย์ประเภทนี้ ว่า คาร์โบไฮเดรต ซึ่งคาร์โบมาจากภาษาละติน หมายถึง คาร์บอนและไฮเดรต มาจากภาษากรีก หมายถึง น้ำ
คาร์โบไฮเดรตมีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ พืชสร้างคาร์โบไฮเดรต ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis)
แสงอาทิตย์
6 CO2 + 6 H2O C6 H12 O6 + 6 O2
คลอโรฟิลล์
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis) เป็นกระบวนการเปลี่ยนพลังงานแสง
ให้เป็นพลังงานเคมีสะสมไว้ในพืช
Advertisement
เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,182 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,150 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,395 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,177 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง