ส่วนความรู้สึกของประชาชนต่อการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัด 2009
ร้อยละ 82.29 ระบุน่ากลัว เพราะมีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว เป็นเชื้อโรคที่ทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนทางระบบทางเดินหายใจ ทำให้เป็นปอดบวม
ร้อยละ 17.71 ระบุไม่น่ากลัว หากรู้จักป้องกันตัวเองอย่างถูกวิธี หมั่นออกกำลังกาย กินอาหารที่มีประโยชน์อย่างสม่ำเสมอ ปฏิบัติตามข้อแนะนำที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศออกมา ฯลฯ สาเหตุที่ทำให้จำนวนตัวเลขการเสียชีวิตและยอดผู้ติดเชื้อที่เพิ่มมากขึ้น
ร้อยละ 25.74 ระบุ ประชาชนไม่ได้ดูแลตัวเองเท่าที่ควร
ร้อยละ 24.75 ระบุมาตรการของรัฐยังไม่รัดกุม
ร้อยละ 19.31 ระบุมีการปกปิดข้อมูลข้อเท็จจริงบางประการ
สำหรับความเห็นที่รัฐบาลประกาศสั่งปิดโรงเรียนกวดวิชา 15 วัน
ร้อยละ 68.75 ระบุไม่ได้ผล เพราะการแพร่ระบาดไม่ได้มีเฉพาะแค่ ร.ร.กวดวิชาเท่านั้น ห้างสรรพสินค้า สถานที่ทำงาน หรือตามสถานที่ต่าง ๆ ที่มีคนอยู่จำนวนมากก็มีภาวะเสี่ยงเช่นกัน เป็นการแก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด
ร้อยละ 31.25 เห็นว่าได้ผล เพราะช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคที่กำลังขยายวงกว้างอย่างรวดเร็วได้ในระดับหนึ่ง นอกจากนี้
ร้อยละ 89.58 เห็นว่ามาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลประกาศออกมายังไม่เพียงพอ
มีเพียงร้อยละ 10.42 เท่านั้น ระบุเพียงพอ ส่วนมาตรการที่ประชาชนอยากให้รัฐบาลประกาศออกมาเพิ่มเติมเพื่อป้องกันและยับยั้งการเสียชีวิต ได้แก่ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และการป้องกันตัวให้มากยิ่งขึ้น การเปิดเผยข้อมูลความจริง ทั้งตัวเลขการเสียชีวิตและยอดผู้ติดเชื้อ ปิดทำความสะอาด ฆ่าเชื้อโรค ตามสถานที่ต่างๆ ทั้งรัฐและเอกชน เป็นต้น
ด้านความเชื่อมั่นต่อการแก้ไขปัญหา ผู้ตอบคำถามส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.47 เชื่อมั่นแพทย์ไทย และให้คะแนน 7.41 จากเต็ม 10 คะแนน ร้อยละ 38.30 เชื่อมั่นรัฐบาล ให้คะแนน 6.59 และร้อยละ 31.91 เชื่อมั่นกระทรวงสาธารณสุข ให้คะแนน 5.59 นอกจากนี้ ร้อยละ 60.32 เห็นด้วยไทยจะผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เอง และควรเร่งดำเนินการ
ด้านพญ.สร้อยสอางค์ พิกุลสด ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย กล่าวถึงสถานการณ์การบริจาคโลหิตขณะนี้ ว่า ยังมีผู้เข้ามาบริจาคที่ศูนย์ฯ ทุกวัน ๆ ละ 500 ราย ทำให้ได้รับโลหิตประมาณ 1,500 ยูนิตต่อวัน ซึ่งอยู่ในปริมาณเพียงพอกับความต้องการ แสดงให้เห็นศรัทธาของคนไทยที่ต้องการสร้างกุศลด้วยการบริจาคโลหิต ขณะเดียวกันเมื่อเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 ทำให้สถานศึกษาปิดการเรียนการสอน มีผลกระทบต่อปริมาณโลหิตที่ได้รับบริจาคจากสถานศึกษาประมาณ 100-200 ยูนิต ซึ่งในวันถัดไปศูนย์ฯ พยายามออกหน่วยเคลื่อนที่อื่นชดเชย เช่น สถานที่ราชการ สถานที่ทำงาน
พญ.สร้อยสอางค์ กล่าวด้วยว่า สำหรับผู้ที่ต้องการบริจาคโลหิตแต่เกิดป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดใหญ่ 2009 โรคชิคุนกุนยา และไข้เลือดออก แนะนำให้ดูแลตัวเองให้หายขาดก่อน หายแล้วต้องพักฟื้นอีก 1 เดือน จึงจะสามารถบริจาคโลหิตได้ ขณะที่คนใกล้ชิดผู้ป่วยที่ต้องการบริจาค ก็ให้ดูอาการว่าติดโรคเหล่านี้หรือไม่ภายใน 7 วันก่อนมาบริจาคโลหิต ส่วนแบบสอบถามที่ออกมาใหม่ ที่ถามถึงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของผู้ที่มาบริจาคโลหิตเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมทางเพศนั้น ไม่มีผลต่อยอดการบริจาคโลหิตแต่อย่างใด ทุกคนยังให้ความร่วมมือตอบแบบสอบถามตามปกติ
|