Advertisement
สำนวนไทย |
|
การใช้ถ้อยคำสำนวนให้มีประสิทธิผล |
ถ้อยคำ หมายถึง คำพูด ส่วนการใช้ถ้อยคำหมายถึงการสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิผล ทั้งนี้ เราจะต้องเข้าใจความหมายและวิธีการใช้ของถ้อยคำ
ความหมายของถ้อยคำ แบ่งเป็น
1. ความหมายเฉพาะของคำ พิจารณาเป็นความหมายเฉพาะของคำ เช่น ดาวล้อมเดือน ในความหมายตรง หมายถึง ดวงดาวและดวงเดือนบนฟ้า แต่ในเชิงอุปมา หมายถึง บุคคลที่เด่นที่สุด เป็นต้น หรือคำว่า น้อยหน่า อาจหมายถึงผลไม้ชนิดหนึ่ง แต่ความหมายในประหวัด หมายถึง ลูกระเบิด
2. ความหมายเทียบเคียงกับคำอื่น แบ่งเป็น
2.1 คำที่มีความหมายเหมือนกัน เช่น กิน หม่ำ เสวย ฉัน รับประทาน คำเหล่านี้มีความหมายเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงผู้ใช้และผู้ฟังระดับภาษา
2.2 คำที่มีความหมายตรงกันข้าม เช่น ตื้น-ลึก นางฟ้า-ซาตาน
2.3 คำที่มีความหมายร่วมกัน ตัวอย่างดังตาราง
เฉือน |
เชือดแบ่งเอาแต่บางส่วน |
ปาด |
เอาส่วนที่ไม่ต้องการออก โดยการฝานบาง ๆ |
สับ |
เอาของมีคมฟันลงไปโดยแรง หรือซอยถี่ ๆ |
แล่ |
เอาของมีคมเฉือนบาง ๆ |
เจียน |
ตัด ขลิบ เฉือนให้ได้รูปตามต้องการ |
ฝาน |
ตัด เฉือน แฉลบให้เป็นชิ้น |
เฉาะ |
เอามีดสับเฉพาะที่ต้องการ แล้วงัดให้แยกออก |
คว้าน |
เอาสิ่งมีคมแหวะให้กว้าง เพื่อเอาส่วนในออก |
ตัด |
ทำให้ขาดด้วยของมีคม โดยไม่ใช้ภาชนะรอง |
หั่น |
ทำให้ขาดด้วยของมีคม โดยใช้ภาชนะรอง |
|
คำเหล่านี้ มีความหมายร่วมกันคือ ทำให้ขาดด้วยของมีคม
2.4 คำที่มีความหมายแคบกว้าง ต่างกัน เช่น อาวุธ มีความหมายกว้างกว่าปืน ปืนมีความหมายกว้างกว่า ปืนใหญ่ ปืนพก เป็นต้น |
|
สำนวน |
สำนวน หมายถึง ถ้อยคำที่ผูกไว้ตายตัว สลับที่หรือตัดคำใดออกไม่ได้ สำนวนรวมถึง สุภาษิต ภาษิต คำพังเพย มีลักษณะคมคาย กินใจ ถ้อยคำกระทัดรัด ไพเราะ รื่นหู นับเป็นมรดกทางภาษาที่สมควรเรียนรู้สืบไว้ และควรค่าแก่การรักษา
สำนวน อาจมีจำนวน 2 ถึง 12 คำ อาจมีเสียงสัมผัสหรือไม่มีก็ได้ เช่น คลุกคลีตีโมง คว้าน้ำเหลว สร้างวิมานในอากาศ ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ รำไม่ดี หมูไม่กิน ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
สำนวน เป็นการใช้ภาษากล่าวถึงเรื่องราว เหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างกระทัดรัด ได้ความหมาย ซึ่งสรุปครอบคลุมเหตุการณ์ อาจใช้ถ้อยคำคล้องจอง เพื่อให้จำง่าย และใช้กันอย่างแพร่หลาย ตัวอย่างของสำนวนต่าง ๆ พร้อมความหมายมีดังนี้ |
กงกำกงเกวียน |
ทุกข์สุขเป็นไปกรรมที่สร้างไว้ |
กระดี่ได้น้ำ |
ดีใจเกินควร |
ไก่แก่แม่ปลาช่อน |
เล่ห์เหลี่ยมมาก |
แกงจืดจึงรู้คุณเกลือ |
เมื่อได้รับความลำบาก จึงนึกถึงคุณ |
กำปั้นทุบดิน |
ตอบแบบขอไปที ให้พ้น ๆ ตัว |
ขมิ้นกับปูน |
ไม่ถูกกัน |
เข้าด้ายเข้าเข็ม |
เวลาสำคัญ |
ขิงก็รา ข่าก็แรง |
ต่างก็แข็งเข้าหากัน ไม่ยอมเสียเปรียบกัน |
เข้าตาจน |
หมดหนทาง |
ไข่ในหิน |
ระมัดระวังเต็มที่ |
คลุมถุงชน |
แต่งงานกันโดยการบังคับของผู้ใหญ่ |
คืบก็ทะเล ศอกก็ทะเล |
อันตรายจากทะเล มีมาก |
คางคกขึ้นวอ แมงปอใส่ตุ้งติ้ง |
ไม่สมกับฐานะหรือตำแหน่งที่ได้มา |
คนตายขายคนเป็น |
จัดงานศพใหญ่โต จนเป็นหนี้สิน |
จนมุม |
ไม่มีทางหนี |
จับปลาสองมือ |
ทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน ย่อมได้ผลไม่ดี |
ชักใบให้เรือเสีย |
ชักชวนให้เสียความตั้งใจ |
ชักหน้าไม่ถึงหลัง |
รายได้ไม่พอกับรายจ่าย |
เชื้อไม่ทิ้งแถว |
ลูกย่อมมีอุปนิสัยเหมือนพ่อแม่ |
เดินลอยชาย |
เดินตามสบาย |
ตีปลาหน้าไซ |
ขัดขวาง มิให้เขาทำงานได้สำเร็จ |
ตีนแมว |
คนย่องเบา ขโมย |
ฯลฯ |
|
ที่มา http://blog.eduzones.com/winny/3595
Advertisement
เปิดอ่าน 8,348 ครั้ง เปิดอ่าน 360,353 ครั้ง เปิดอ่าน 28,312 ครั้ง เปิดอ่าน 21,937 ครั้ง เปิดอ่าน 9,252 ครั้ง เปิดอ่าน 28,233 ครั้ง เปิดอ่าน 44,682 ครั้ง เปิดอ่าน 24,136 ครั้ง เปิดอ่าน 76,078 ครั้ง เปิดอ่าน 49,330 ครั้ง เปิดอ่าน 20,824 ครั้ง เปิดอ่าน 116,922 ครั้ง เปิดอ่าน 308,717 ครั้ง เปิดอ่าน 329,834 ครั้ง เปิดอ่าน 205,240 ครั้ง เปิดอ่าน 115,370 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 51,278 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 111,152 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 1,329,387 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 90,705 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 205,240 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 60,211 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 590,685 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 25,104 ครั้ง |
เปิดอ่าน 35,055 ครั้ง |
เปิดอ่าน 35,258 ครั้ง |
เปิดอ่าน 20,865 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,476 ครั้ง |
|
|