|
ถั่วพู |
สรรพคุณทางยา มีโปรตีนช่วยให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันบางชนิด มีกรดใช้รักษาสิวและโรคผิวหนังบางอย่าง
|
การนำไปใช้ กินได้ทั้งสดและสุก เป็นผักจิ้มน้ำพริก ใส่ในยำ ทอดมันแกงป่า
|
|
มะเขือเปราะ |
สรรพคุณทางยา ลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ขับปัสสาวะ และฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
|
การนำไปใช้ นิยมใส่ในแกงเผ็ด แกงเขียวหวาน แกงป่า ผัดเผ็ดต่างๆ กินเป็นผักจิ้มน้ำพริกได้
|
|
มะระขี้นก |
สรรพคุณทางยา ช่วยให้เจริญอาหาร เป็นยาระบาย แก้โรคลมเข้าข้อเข่าบวม แก้โรคม้าม ลดน้ำตาลในเลือด มะระขี้นกประกอบด้วยวิตามินซี ช่วยป้องกันไข้หวัด บำรุงสุขภาพเหงือกและฟัน ป้องกันเลือดออกตามไรฟันและเยื่อบุต่างๆ
|
การนำไปใช้ เป็นผักสดและลวกสุกกินกับน้ำพริก ถ้าซอยบางๆ นำมาต้มกับน้ำเกลือให้สุกแล้วผัดกับไข่ก็อร่อย
|
|
ยอ |
สรรพคุณทางยา ใบยอช่วยบำรุงไต แก้ไข้ ส่วนผลช่วยเจริญอาหาร ฟอกเลือด แก้คลื่นเหียน อาเจียน ในผลยอประกอบด้วยวิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินซี แคลเซียม ธาตุเหล็ก เส้นใยอาหาร และเบต้า-แคโรทีน
|
การนำไปใช้ กินทั้งผลและใบ ผลสุกมาทำน้ำ ฝานใส่ส้มตำช่วยให้เปรี้ยวหรือเป็นเครื่องปรุงในน้ำพริก ใบยอใส่ห่อหมก แกงอ่อมกะทิใบยอกับปลาดุก ถ้าเป็นใบอ่อนนิยมกินกับน้ำพริก
|
|
บวบ |
สรรพคุณทางยา ช่วยความความร้อนในร่างกาย ในบวบประกอบด้วย แคลเซียม และฟอสฟอรัส เป็นสารประกอบกับแคลเซียมในการสร้างกระดูกและฟัน ช่วยให้การหลั่งน้ำนมเป็นไปตามปกติ ช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อ รวมกับธาตุอื่นรักษาสมดุลความเป็นกรด-ด่างในร่างกาย
|
การนำไปใช้ นิยมผัดกับไข่ เป็นผักใส่ในแกงเลียง บางภาคจะนำบวบมาลวกสุกกินกับน้ำพริก
|
|
หัวปลี |
สรรพคุณทางยา ช่วยให้เจริญอาหาร เป็นอาหารบำรุงน้ำนมในสตรีให้นมบุตร แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ในหัวปลีประด้วยธาตุเหล็ก และเส้นใยอาหาร
|
การนำไปใช้ กินได้ทั้งสดและต้มสุก แบบสดกินเป็นผักสดกับหลนต่างๆ ก๋วยเตี๋ยว ผัดไทย ถ้าต้มหรือย่างสุกจะนำมาทำยำหรือหั่นใส่แกง ต้มยำ
|
|
สะเดา |
สรรพคุณทางยา ดอกสะเดาเป็นยาบำรุง ขับปัสสาวะ ในสะเดาประกอบด้วยวิตามินเอ และวิตามินซี ซึ่งมีมากในใบ แคลเซียม ธาตุเหล็ก และเส้นใยอาหาร
|
การนำไปใช้ ทั้งดอกและใบนิยมกินกับน้ำปลาหวาน ปลาดุกหรือกุ้งย่างบ้างก็กินกับน้ำพริก ปลาช่อนเผาเกลือ หรือนำดอกมายำก็ได้
|
|
เห็ดฟาง |
สรรพคุณทางยา มีสารป้องกันการเติบโตของเซลล์มะเร็ง ต้านไวรัส แก้ไข้หวัดได้ ช่วยย่อยอาหาร แก้ร้อนใน บำรุงร่างกาย และลดคอเลสเตอรอลในเลือด
|
การนำไปใช้ นิยมใส่ในต้มยำ ต้มข่า แกงป่า แกงเห็ดแบบอีสาน ยำ และใส่ในแกงเลียง
|
|
ชะอม |
สรรพคุณทางยา ยอดและใบช่วยลดความร้อนในร่างกาย ส่วนรากแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลมในลำไส้ ในชะอมประกอบด้วยโปรตีน วิตามินบี 1 และวิตามินซี
|
การนำไปใช้ ชะอมมีกลิ่นฉุน จึงนิยมกินสุกโดยใส่ผสมในไข่แล้วนำมาเจียวกินเป็นเครื่องเคียงน้ำพริกกะปิ ทางภาคเหนือ นิยมแกงกับปลาย่าง แกงขนุนอ่อน ทางภาคอีสาน นิยมใส่ในแกงหน่อไม้
|
|
ข้าวโพดอ่อน |
สรรพคุณทางยา ในข้าวโพดอ่อนประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต เบต้าแคโรทีน วิตามินซี แคลเซ๊ยม เส้นใยอาหาร ฟอสฟอรัส เป็นสารประกอบกับแคลเซียมในการสร้างกระดูกและฟัน ช่วยให้การหลั่งน้ำนมเป็นไปตามปกติ ช่วยสร้างเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ รวมกับธาตุอื่นรักษาสมดุลความเป็นกรด-ด่างในร่างกาย
|
การนำไปใช้ ทำผัดผักรวมมิตร ใส่แกงเลียง แกงป่า ลวกจิ้มกับน้ำพริก
|
|
ใบชะพูล |
สรรพคุณทางยา เป็นอาหารบำรุงธาตุ แก้ปวดท้อง จุกเสียด ในใบชะพูล ประกอบด้วยวิตามินเอ แคลเซียม ธาตุเหล็ก เส้นใยอาหาร และเบต้า-แคโรทีน
|
การนำไปใช้ นิยมกินสด เช่น กินเป็นผักเมี่ยงคำ ลาบ ทางภาคเหนือและภาคใต้นิยมใส่ในแกง เช่น แกงเนื้อใบชะพูล แกงหอยแครงใบชะพลู หรือชุบแป้งทอด และทำเป็นยำใบชะพูดทอดกรอบ
|
|
สายบัว |
สรรพคุณทางยา ช่วยบรรเทาความร้อนในร่างกาย ในสายบัวประกอบด้วยเส้นใยอาหาร ทำให้ขับถ่ายสะดวก ท้องไม่ผูก ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคริดสีดวงทวาร โรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน
|
การนำไปใช้ นิยมทำแกงกะทิสายบัวกับปลาทู หรือผัดกับหมูหรือกุ้ง ลวกสุกกินกับน้ำพริก ภาคอีสานนำมาแกงสายบัวใส่ปลา นอกจากนี้ยังทำเป็นขนมสายบัว
|
|
มะระจีน |
สรรพคุณทางยา ช่วยย่อยอาหารและเป็นยาระบายอ่อนๆ รักษาโรคเบาหวาน
|
การนำไปใช้ ใส่แกงคั่วกับปลาดุก ลวกจิ้มน้ำพริก กินกับขนมจีน ผัดกับไข่ หรือหั่นบางๆ แช่เย็นกินกับกุ้งเต้น ทำแกงจืดมะระยัดไส้ ต้มจับฉ่าย ตามร้านก๋วยเตี๋ยวนิยมใส่ในน้ำซุบก๋วยเตี๋ยว บ้างก็สกัดเอาน้ำดื่มเพื่อสุขภาพ
|
|
บัวบก |
สรรพคุณทางยา ช่วยบำรุงหัวใจ ลดอาการแพ้ ลดความดันโลหิตสูง ช่วยสมานแผล เร่งการสร้างเนื้อเยื่อ ระงับการเติบโตของแบคทีเรีย โดยน้ำคั้นจากต้นและใบเป็นยาแก้ปวดหัวข้างเดียว ขับปัสสาวะ แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า แก้ช้ำ ในบัวบกประกอบด้วย วิตามินเอ วิตามินบี 1 แคลเซียม และ เส้นใยอาหาร
|
การนำไปใช้ นิยมกินสดเป็นผักแนมกับลาบ ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย หรือน้ำพริกหรือคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำเชื่อมเป็นเครื่องดื่ม
|
|
ถั่วฝักยาว |
สรรพคุณทางยา ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดี และระบบขับถ่ายทำงานปกติ
|
การนำไปใช้ กินได้ทั้งสดและลวกสุก เป็นผักจิ้มน้ำพริก ใส่ในแกงส้ม แกงป่า และที่นิยมคือผัดพริกขิงหมูกับถั่วฝักยาว
|
|
ตำลึง |
สรรพคุณทางยา ใบตำลึงดับพิษร้อน แก้เจ็บตา ตาแดง ตาแฉะ ส่วนตำลึงทั้งต้นแก้โรคผิวหนัง ลดน้ำตาลในเลือด ในตำลึงประกอบด้วยแคลเซียม เส้นใยอาหาร และเบต้า-แคโรทีน
|
การนำไปใช้ กินได้ทั้งผลอ่อนสีเขียวและใบ ผลอ่อนนิยมนำมาแกงส้ม ลวกสุกกินกับน้ำพริก ใบตำลึงใส่ในแกงเลียง แกงจืดหมูบดตำลึง ก๋วยเตี๋ยว ต้มเลือดหมู
|
|
กระเจี๊ยบมอญ |
สรรพคุณทางยา มีสารช่วยขับพยาธิตัวจี๊ด รักษาความดันโลหิต บำรุงสมอง และเป็นยาระบาย เมือกเหนียวของกระเจี๊ยบช่วยเคลือบกระเพาะอาหารให้กับผู้มีปัญหาโรคกระเพาะอาหารหรือลำไส้อักเสบ ในกระเจี๊ยบมอญประกอบด้วยแคลเซียม เป็นส่วนสำคัญในการสร้างกระดูกและฟัน ช่วยในการแข็งตัวของเลือด
|
การนำไปใช้ กินเป็นผักสดและผักต้มกับน้ำพริก
|
|
แตงกวา |
สรรพคุณทางยา ทำให้ผิวหนังมีความชุ่มชื่น ยืดหยุ่น
|
การนำไปใช้ มีทั้งแตงกวาและแตงร้าน กินเป็นผักสดจิ้มน้ำพริก ทำเป็นแตงกวาผัดไข่ แกงจืดแตงกวายัดไส้ ถ้านำมายำหรือตำแตงจะใช้แตงร้าน เพราะมีเนื้อมากกว่าแตงกวา
|
|
กุยช่าย |
สรรพคุณทางยา น้ำมันระเหยในกุยช่ายมีกลิ่นฉุน มีสารอัลลิซิน (Allicin) ลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ลดความดันโลหิต ป้องกันมะเร็ง ในกุยช่ายประกอบด้วยเส้นใยอาหาร ทำให้ขับถ่ายสะดวก ท้องไม่ผูก ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคริดสีดวงทวาร โรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน
|
การนำไปใช้ กินได้ทั้งดอกและใบ ดอกกุยช่ายนิยมผัดกับตับหมู ส่วนใบกินสดกับก๋วยเตี๋ยวผัดไทย หมี่กะทิ หมี่กรอบ และใส่เป็นไส้ขนมกุยช่าย
|
|
ฟักทอง |
สรรพคุณทางยา กระตุ้นการหลั่งของอินซูลินซึ่งช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต ป้องกันมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ บำรุงตับ ไต นัยน์ตา ควบคุมการสมดุลของร่างกาย ในฟักทองประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต และเบต้า-แคโรทีน
|
การนำไปใช้ ทำอาหารคาวได้หลายอย่าง เช่น แกงเผ็ดเนื้อใส่ฟักทอง แกงเลียง ฟักทองผัดไข่ ส่วนขนมหวาน เช่น ขนมฟักทอง ฟักทองแกงบวด ฟักทองนึ่ง สังขยาฟักทอง ฟักทองเชื่อม ใส่เป็นสีเหลืองในแป้งขนมบัวลอย
|
|
ยอดมะระขี้นก |
สรรพคุณทางยา เป็นยาเจริญอาหาร ยาขับพยาธิ บำรุงน้ำนม ขับน้ำคาวปลาในสตรีหลังคลอด แก้หัวเข่าบวม โรคตับ และลดน้ำตาลในเลือด ในยอดมะระขี้นกประกอบด้วยวิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินซี เส้นใยอาหาร และฟอสฟอรัส เป็นสารประกอบกับแคลเซียมในการสร้างกระดูกและฟัน ช่วยให้การหลั่งน้ำนมเป็นไปตามปกติ ช่วยสร้างเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ รวมกับธาตุอื่นรักษาสมดุลความเป็นกรด - ด่างในร่างกาย
|
การนำไปใช้ นิยมนำมาลวกจิ้มน้ำพริก
|
|
ผักบุ้งไทย |
สรรพคุณทางยา มีสารอย่างหนึ่งที่มีโครงสร้างคล้ายอินซูลิน ทำหน้าที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เป็นอย่างดี และมีสรรพคุณในการดูดซับไขมันได้ดี ในผักบุ้งไทยประกอบด้วยวิตามินเอ วิตามินซี แคลเซียม ธาตุเหล็ก เส้นใยอาหาร และฟอสฟอรัส
|
การนำไปใช้ ผักบุ้งไทยมี 2 ชนิด คือ ผักบุ้งท้องนาสีแดงและผักบุ้งน้ำสีขาว ส่วนผักบุ้งท้องนานิยมนำมากินสดกับส้มตำ ลาบ น้ำพริก ส่วนผักบุ้งน้ำมักกินสุก เช่น นำมาผัดผักบุ้งหมูสับ ใส่ในแกงเทโพ แกงส้ม ใส่ในก๋วยเตี๋ยว เช่น ก๋วยเตี๋ยวเย็นตาโฟ ก๋วยเตี๋ยวน้ำตก หรือซอยเฉียงส่วนก้านบางๆ ผัดกับน้ำมัน นำใบมาชุปแป้งทอดแล้วกินแนมกับขนมจีนน้ำพริก บ้างก็นำก้านมาซอยเป็นเส้นยาวชุบแป้งทอด ทำเป็นยำผักบุ้งทอดกรอบ
|