Advertisement
กรรม แปลว่า กิจการที่คนกระทำ คำว่า ทำ หมายถึง ทั้งทำด้วยกาย อันเรียกว่า กายกรรม ทั้งทำด้วยวาจา อันเรียกว่า วจีกรรม ทั้ง ทำด้วยใจ คือคิด อันเรียกว่า มโนกรรม นั่นคือความหมายของกรรม แต่ว่ากรรม นั้น คือ อะไรกันหละ ?
ลองมาหาคำตอบดีกว่า…
คำว่า "กรรมคืออะไร" จำต้องทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งเข้าไปอีก พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้แปลความได้ว่า
"เรากล่าวเจตนา (ความจงใจ) ว่าเป็นกรรม เพราะคนจงใจ คือมีใจมุ่งแล้ว จึงทำทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง ทางใจบ้าง"
ฉะนั้น กรรม คือ กิจที่ที่บุคคลจงใจทำหรือทำด้วยเจตนา ถ้าทำด้วยไม่มีเจตนาไม่เรียกว่า กรรม อย่างเช่นไม่มีเจตนาเหยียบมดตาย ไม่เป็นกรรม คือ ปาณาติบาต ต่อเมื่อเจตนาจะเหยียบให้ตายจึงเป็นกรรม คือ ปาณาติบาต
แต่เมื่อจัดอย่างละเอียด สิ่งที่ทำด้วยไม่มีเจตนา ท่านจัดเป็นกรรมชนิดหนึ่ง เรียกว่า กรรมสักว่าทำ เพราะอาจให้โทษได้เหมือนกัน เหมือนอย่างที่กฎหมายถือว่าผิดในฐานประมาท
กรรมเกี่ยวกับคนเราอย่างไร ?
กรรมเกี่ยวกับคนเรา หรือ คนเรานั่นแหละเกี่ยวกับกรรมอยู่ตลอดเวลา เพราะคนเรานั้นตั้งแต่ตื่นนอนขึ้น จนถึงหลับไปใหม่ ก็มีเจตนาทำอะไรต่างๆ พูดอะไรต่างๆ คิดอะไรต่างๆ อยู่เสมอ โดยปกติไม่มีใครหยุดนิ่งอยู่เฉยๆ ได้ ถึงมือไม่ทำ ปากก็พูด ถึงปากไม่พูด ใจก็คิดถึงเรื่องต่างๆ……
การต่างๆ ที่ทำนี้แหละ เรียกว่า กายกรรม
คำต่างๆ ที่พูดนี่แหละ เรียกว่า วจีกรรม
เรื่องต่างๆ ที่คิดนี่แหละ เรียกว่า มโนกรรม
กรรม นั้น ดี หรือ ไม่ดี กรรมจะดีหรือไม่ดี ก็สุดแต่ผลที่เกิดขึ้นจากกรรมนั้น ๆ ถ้าให้เกิดผลเป็นคุณเกื้อกูลแก่ตนเองและผู้อื่น
ก็เป็นกรรมดี เรียกว่า กุศลกรรม แปลว่า กรรมที่เป็นกิจของคนฉลาด หรือ บุญกรรม กรรมที่เป็นบุญ คือความดีเป็นเครื่องชำระล้างความชั่ว เช่น รักษาศีล ประพฤติธรรมที่คู่กับศีล หรือแม้กิจการที่ดีที่ชอบ ที่เป็นตามที่แสดงมาแล้วที่เป็นสุจริตต่างๆ เช่น การตั้งใจช่วยมารดาบิดาทำการงาน การตั้งใจเรียน
การตั้งใจประพฤติตนให้ดี การช่วยเหลือเกื้อกูลมิตรสหาย การทำสาธารณสงเคราะห์ต่างๆ
ส่วนกรรม ที่ให้เกิดผลเป็นโทษเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นให้เดือดร้อนเป็นกรรมชั่ว ไม่ดี เรียก อกุศลกรรม แปลว่ากรรมที่เป็นกิจของคนไม่ฉลาด บาปกรรม กรรมเป็นบาป เช่น การประพฤติผิดในศีลธรรม ประพฤติทุจริตต่างๆ ที่ตรงกันข้ามกับกุศลกรรม
ตัวอย่างของกรรมดีและกรรมไม่ดี ข้างต้นนั้น กล่าวตามแนวพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าได้ทรงจำแนกแสดงเป็นแนวทางปฏิบัติไว้ชัดเจน เรียกว่า กรรมบถ แปลว่า ทางของกรรม เรียกสั้นๆว่า ทางกรรม ทรงชี้แจงไว้เพียงพอและเข้าใจง่าย ว่าทางไหนดี ทางไหนไม่ดี คือ
กายกรรม (กรรมทางกาย) นั้น ฆ่าเขา 1 ลักของเขา 1 ประพฤติผิดในทางกาม 1 นั้นเป็นอกุศล ไม่ดี ควรเว้นจากการทำอย่างนั้น และการอนุเคราะห์เกื้อกูลเขา 1 เลี้ยงชีพในทางที่ชอบ 1 สังวรในกาม 1 เป็นกุศล เป็นส่วนดี
วจีกรรม (กรรมทางวาจา) นั้น พูดมุสา 1 พูดส่อเสียดเพื่อให้เขาแตกกัน 1 พูดคำหยาบด้วยใจมีโทสะเพื่อให้เขาเจ็บใจ 1 พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล 1 เป็นอกุศล ไม่ดี ควรเว้นจากการพูดอย่างนั้น และการพูดคำจริง 1 พูดสมัครสมาน 1
พูดคำสุภาพระรื่นหูจับใจ 1 พูดมีหลักฐานถูกต้อง ชอบด้วยกาละเทศะ 1 เป็นกุศล เป็นส่วนดี
มโนกรรม (กรรมทางใจ) นั้น คิดเพ่งเล็งอยากได้ของเขามาเป็นของของตนเอง 1 คิดพยาบาทมุ่งร้ายเขา 1 เห็นผิดจากคลองธรรม
เช่น เห็นว่าทำดีแล้วไม่ได้ดี ทำชั่วไม่ได้ชั่ว 1 เป็นอกุศล ไม่ดี ไม่ควรคิดอย่างนั้น และการคิดเผื่อแผ่ 1
คิดแผ่เมตตาจิตให้เขาอยู่เป็นสุข 1 คิดเห็นชอบตามคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว 1 เป็นกุศลเป็นส่วนดี
คนที่เว้นจากทางกรรมที่เป็นอกุศล และดำเนินไปในทางกรรมที่เป็นกุศล จะเรียกว่า ธรรมจารี แปลว่า ผู้ประพฤติธรรม
สมจารี แปลว่า ผู้ประพฤติเรียบร้อยสม่ำเสมอ ความประพฤติดังนี้เรียกว่า ธรรมจริยา หรือ ธรรมจรรยา
สมจริยา หรือ สมจรรยา สมจริยา ดังนี้แหละคือ หลักสมภาพในพุทธศาสนา สมภาพ คือ ความเสมอกันนั้น อาจทำให้เสมอกันได้ในทางที่อาจทำได้ แต่ไม่อาจทำให้เสมอกันได้ในทางที่ไม่อาจจะทำในทางที่ไม่อาจจะทำนั้น เช่น คนเกิดมามีเพศต่างกัน มีรูปร่างสูงดำต่ำขาวต่างกัน เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนี้ใครจะทำให้เสมอกันได้ เช่น ทำให้สูงต่ำเท่ากันหมด แม้ในคนเดียวกันนิ้วทั้ง 5 ก็ไม่เท่ากัน จะทำให้เท่ากันได้อย่างไร สิ่งที่ไม่อาจจะทำให้เท่ากันได้
ถ้าใครไปพยายามจัดทำเข้าก็เหมือนกับ นิทาน เรื่อง เปรตจัดระเบียบ
เรื่องมีอยู่ว่า มีคนเดินทางหลายคน เข้าไปนอนพักอยู่ในศาลา ซึ่งเป็นที่พักของคนเดินทางหลังหนึ่ง เมื่อพากันนอนหลับแล้ว มีเปรตเจ้าระเบียบตนหนึ่งเข้าไปในศาลา เห็นคนนอนอยู่เป็นแถว จึงเข้าไปตรวจดูทางเท้า ก็เห็นเท้าของคนนอนหลับไม่เสมอกัน จึงดึงเท้าของคนเหล่านั้นลงมาให้เสมอกัน ครั้นตรวจดูเท้าเป็นแถวเสมอกันเรียบร้อยดีแล้ว ก็ไปตรวจดูทางด้านศรีษะ เห็นศรีษะของคนเหล่านั้นไม่อยู่ในแถวเสมอกันอีก จึงดึงศรีษะขึ้นมาเสมอกันเป็นแนวเดียวกันทั้งหมด
แล้วย้อนกลับไปตรวจดูทางเท้าอีก ก็เห็นเหลื่อมล้ำไม่เสมอกันอีกก็ดึงเท้าให้เสมอกันใหม่อีก คนก็ไม่เป็นอันได้หลับได้นอนเป็นสุข เพราะต้องถูกดึงเท้าบ้างดึงศรีษะบ้าง ขึ้นๆ ลงๆ ไม่รู้จักแล้ว ทั้งเปรตเจ้าระเบียบนั้น ก็ไม่สามารถจัดให้เสมอกันได้
การจัดให้เสมอกันในทางที่ไม่อาจจะจัดได้เช่นนี้ เป็นการจัดการที่ไม่สำเร็จ รังแต่จะทำให้เกิดความเดือดร้อนวุ่นวาย ไม่สงบสุขอย่างเดียว
ส่วนการจัดการให้เสมอกันในทางที่อาจจัดได้นั้น พระพุทธเจ้าทรงจัดด้วยหลัก สมจริยา นี้ คือ เว้นจากทางกรรมฝ่ายอกุศล แต่ให้ดำเนินในทางกรรมฝ่ายกุศล ตามที่ทรงสั่งสอนไว้
คราวนี้มาพิจารณาดูว่า เมื่อปฏิบัติในสมจริยานั้น เป็นสมภาพอย่างไร สมภาพ แปลว่า ความเสมอกัน คือ ตัวเราเองกับผู้อื่น หรือผู้อื่นกับตัวเราเองเสมอกัน ตัวเราเองรักสุขเกลียดทุกข์ ผู้อื่นก็รักสุขเกลียดทุกข์เหมือนกัน ตัวเราเองไม่ปรารถนาให้ผู้อื่นมาก่อกรรมที่ไม่ดีแก่เราทุกๆข้อ พอใจแต่จะให้เขามาประกอบกรรมดีแก่เราทั้งนั้น
ถึงผู้อื่นก็เหมือนกัน เขาก็ไม่ประสงค์ให้เราไปก่อกรรมที่ชั่วร้ายแก่เขา ประสงค์แต่จะให้เราไปประกอบกรรมที่ดีแก่เขาทั้งนั้น
เมื่อทั้งเราทั้งเขาต่างมีความชอบและไม่ชอบเสมอกันอยู่เช่นนี้ ทางที่จะให้เกิดสมภาพได้โดยตรงก็คือ ทั้งสองฝ่ายต่างดำเนินเข้าหาจุดที่เสมอกันนี้ คือ งดเว้นจากกรรมที่ชั่วร้าย
ซึ่งต่างก็ไม่ชอบให้ใครมาทำแก่ตนด้วยกันและดำเนินไปในทางกรรมที่ดี ซึ่งเกื้อกูลกัน ที่ต่างก็ชอบจะให้ใครมาทำแก่ตนด้วยกัน เมื่อประพฤติดังนี้ สมภาพที่ถูกต้องจึงเกิดขึ้น และ เป็นสมภาพคือเป็นความเสมอกันจริงๆ และเมื่อมีสมภาพดังนี้ ภราดรภาพคือ ความเป็นพี่น้องกันหรือเป็นญาติที่คุ้นเคยไว้วางใจกันได้ก็เกิดขึ้น
เสรีภาพ คือ ความมีเสรีอันที่จะไปไหน ๆ ได้ ทำอะไรได้โดยไม่ถูกใครเบียดเบียน และ ก็ไม่เบียดเบียนใครด้วย สมจริยาของพระพุทธเจ้าอันยังให้เกิดสมภาพ ภราดรภาพ เสรีภาพ ดังกล่าวมานี้ เป็นธรรมจรรยา
ความประพฤติธรรมประกอบอยู่ด้วยหลักยุติธรรมและศีลธรรมต่างๆ บริบูรณ์ ถ้ามีปัญหา ประพฤติธรรม คือประพฤติอย่างไร ? ก็ตอบได้ว่า ต้องประพฤติธรรมให้สมจริยาดังกล่าวนั่นเอง และเมื่อเข้าใจความดังนี้แล้ว คำว่า สมจริยา ก็จะแปลว่า ความประพฤติเรียบร้อยสม่ำเสมอก็ได้ ความประพฤติสมควรหรือเหมาะสมก็ได้ ความประพฤติโดยสมภาพก็ได้ เป็นคำแปลที่ถูกต้องกับความหมายทั้งนั้น ดังนี้แหละ เป็นธรรมจริยา
ฉะนั้น หลักธรรมจรรยาของพระพุทธเจ้า ก็เป็นหลักที่เป็น แม่บท ของหลักทั้งหลายแห่งความสุขสงบของชุมนุมชนทั่วไป ถ้าไม่อยู่ในแม่บทนี้แล้วก็จะเกิดความสงบสุขไม่ได้ สมภาพ ภราดรภาพ เสรีภาพ ก็จัดมีขึ้นไม่ได้
จะมีได้ก็เช่น เสรีภาพของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และเป็นผู้ที่จัดทำไปนอกแม่บทก็จะเป็นเหมือนเปรตจัดระเบียบดังกล่าวแล้ว ซึ่งต้องจัดกันไม่รู้จักเสร็จ ทั้งเป็นการก่อภัยก่อเวร ก่อศัตรูและความวุ่นวายเดือดร้อน จัดกันไปจนโลกแตกก็ไม่เสร็จ
กรรมตามที่กล่าวมานี้ ที่ชี้ระบุลงไปว่า กรรมคืออะไร และทำอย่างไรเป็นกรรมดี ทำอย่างไรเป็นกรรมไม่ดี เป็นทางกรรมในพระพุทธศาสนา ซึ่งเมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ก็พอประมวลเป็นหลักใหญ่ๆ ได้เป็น 3 ข้อ คือ
1. พระพุทธศาสนาแสดงว่ามีกรรม ใครทำกรรมดีก็เป็นกุศลกรรมติดตัว ใครทำกรรมชั่วก็เป็นอกุศลกรรมติดตัว
2. พระพุทธศาสนาแสดงว่ามีกรรมวิบาก คือ ผลของกรรม ผลที่ดีเกิดจากกรรมที่ดี ผลที่ชั่วเกิดจากกรรมที่ชั่ว ไม่สับสนกัน เหมือนอย่างผลมะม่วงก็ย่อมเกิดจากต้นมะม่วง ผลขนุนก็ย่อมเกิดจากต้นขนุน หว่านพืชเช่นไรก็ได้ผลเช่นนั้น
3. พระพุทธศาสนาแสดงว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตนเอง คือ ตัวเราเองทุกๆคน เป็นเจ้าของกรรมที่เราทำ และเป็นเจ้าของผลกรรมนั้นๆ ด้วย เมื่อตัวเราเองทำดีก็มีกรรมดีติดตัว และต้องได้รับผลดี เมื่อตัวเราเองทำไม่ดีก็มีกรรมชั่วติดตัว ต้องได้รับผลชั่วไม่ดี จะปัดกรรมที่ตัวเราเองทำ ให้พ้นตัวออกไป และจะปัดผลของกรรมให้พ้นตัวออกไปด้วย หาได้ไม่ ต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อกรรมของตนเอง
เมื่อหลักกรรมของพระพุทธศาสนา มีอยู่ดังนี้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสสอนให้ทุกๆคน หมั่นนึกคิดอยู่เสมอๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตนเอง เป็นกรรมทายาทคือเป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่อาศัยเฉพาะ (ตนเป็นคนๆไป) นอกจากนี้ พระพุทธเจ้ายังได้ตรัสไว้ว่า กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและดีต่างๆกัน เป็นต้น
http://blog.eduzones.com/offy/5087
🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) ในราคา ฿129 คลิกเลย👇👇https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 55,950 ครั้ง เปิดอ่าน 34,224 ครั้ง เปิดอ่าน 216,507 ครั้ง เปิดอ่าน 27,262 ครั้ง เปิดอ่าน 16,011 ครั้ง เปิดอ่าน 15,802 ครั้ง เปิดอ่าน 21,455 ครั้ง เปิดอ่าน 34,081 ครั้ง เปิดอ่าน 33,869 ครั้ง เปิดอ่าน 25,009 ครั้ง เปิดอ่าน 36,369 ครั้ง เปิดอ่าน 17,585 ครั้ง เปิดอ่าน 15,268 ครั้ง เปิดอ่าน 21,754 ครั้ง เปิดอ่าน 45,323 ครั้ง เปิดอ่าน 20,555 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 10,344 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 20,555 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 44,875 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 3,908 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 23,843 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 22,182 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 55,950 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 20,491 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,069 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,334 ครั้ง |
เปิดอ่าน 48,489 ครั้ง |
เปิดอ่าน 35,107 ครั้ง |
|
|