Advertisement
❝ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ Swine Influenza เป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่ติดต่อในหมู เกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ ซึ่งปกติมีการแพร่ระบาดอยู่ในฝูงหมู โดยไข้หวัดหมูมีเชื้อหลายประเภท ทั้ง H1N1 H1N2 และ H3N2 (สายพันธุ์ H3N2 มักจะเกิดจากการแพร่ระบาดจากคนสู่หมู) สำหรับโรคไข้หวัดหมูที่กำลังแพร่ระบาดในประเทศเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกานั้น เกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ สายพันธุ์ เอช 1 เอ็น 1 (H1N1) ซึ่งเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ของคน ซึ่งไม่เคยพบมาก่อน เนื่องจากเป็นการผสมกันของสารพันธุกรรมไข้หวัดใหญ่ ในมนุษย์ ไข้หวัดนกที่พบในทวีปอเมริกาเหนือ และไข้หวัดหมูที่พบในทวีปเอเชีย และยุโรป ❞
นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผอ.สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดใหม่นี้ว่า แม้จะมีเชื้อตั้งต้นมาจากหมู ด้วยที่มาของการเกิดสายพันธุ์ใหม่ใน หมู และพบเป็นครั้งแรกในประเทศเม็กซิโก ก่อนได้รับการเปลี่ยนชื่อมาเป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ สายพันธุ์ เอช 1 เอ็น 1 (H1N1) แต่ระยะแพร่ระบาดคือ ติดต่อจากคนสู่คน ดังนั้นการบริโภคผลิตภัณฑ์จากหมูไม่มีอันตรายแต่อย่างใด
ทั้งนี้หากเปรียบเทียบกับ "ไข้หวัดนก" ที่เคยแพร่ระบาดในอดีต ซึ่งเป็นเชื้อที่ติดต่อจากสัตว์ปีกสู่คนได้นั้น จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ผู้ได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์นี้ มีอัตราเสียชีวิตร้อยละ 5-7 ซึ่งถือว่ายังน้อยกว่าอัตราของผู้เสียชีวิตของผู้ป่วยโรคไข้หวัดนก
ปกติแล้วไข้หวัดหมูจะติดต่อกันในกลุ่มหมูด้วยกันทางการหายใจ และสามารถติดต่อสู่คนได้โดยตรงจากหมูที่ป่วย หรือมีเชื้อไข้หวัดหมูอยู่ในสิ่งแวดล้อม โดยผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะป่วยด้วยโรคนี้ ได้แก่ เกษตรกรผู้เลี้ยงหมู คนฆ่าหมูหรือชำแหละเนื้อหมู คนขายเนื้อหมู รวมทั้งผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับหมู และผู้บริโภคเนื้อหมูที่ปรุงไม่สุก การแพร่กระจายเชื้อไข้หวัดหมูจากคนสู่คนนั้น มีลักษณะเดียวกับการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ในคน ดังนั้น นอกจากจะต้องระวังการติดเชื้อจากหมูแล้ว ยังต้องระวังการแพร่กระจายเชื้อจากคนสู่คนอีกด้วย
เชื้อมีอยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยแพร่ไปยังผู้อื่น โดยการไอหรือจามรดกันในระยะใกล้ชิด หรือติดจากมือและสิ่งของที่มีเชื้อปนอยู่ และเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูกและตา เช่น การแคะจมูกการขยี้ตา ไม่ติดต่อจากการรับประทานเนื้อหมูสุก ตั้งแต่เริ่มแสดงอาการจนถึง 7 วันหลังแสดงอาการ ผู้ป่วยจะมีลักษณะอาการคล้ายคลึงไข้หวัดใหญ่คือ ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ไอ คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามร่างกายรุนแรง ท้องร่วง และปวดศีรษะรุนแรง อาการป่วยจะพัฒนารวดเร็ว และจะมีอาการหายใจลำบากอย่างรุนแรงภายใน 5 วัน
ทั้งนี้อาจจะพบว่าผู้ที่รับเชื้อจะแสดงอาการไม่รุนแรง ในกรณีที่ผู้ติดเชื้อมีสุขภาพแข็งแรงและอาการไม่รุนแรง สามารถรักษาหายได้ด้วยภูมิต้านทานของร่างกาย ทั้งนี้หากเป็นผู้สูงอายุหรือเด็กจะมีความเสี่ยงมากกว่า ส่วนในกรณีที่มีอาการรุนแรง เกิดจากมีการอักเสบที่ปอด จนถึงขั้นเสียชีวิตได้
ผลวิจัยพบว่า ยาในกลุ่มป้องกันเชื้อไวรัส Amantadine และ Rimantadine ยังไม่สามารถใช้ต้านเชื้อได้ เพราะไวรัสชนิดนี้ดื้อยาต้านไวรัส แต่ข่าวดีก็คือ ในเอกสารเรื่องการแพร่ระบาดของไข้หวัดชนิดนี้ กงสุลใหญ่ ในนครลอสแองเจลิสของสหรัฐ แสดงข้อมูลที่ระบุว่า สามารถใช้ยาชนิดเดียวกับยาไข้หวัดใหญ่ทั่วไปในการรักษาไข้หวัดชนิด A (H1N1) ได้คือ ยาโอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) หรือ ทามิฟลู (Tamiflu) และยา Zanamivir ซึ่งเป็นยาชนิดพ่น นอกเหนือจากการรักษาหลังอาการ โดยเฉพาะหากผู้ป่วยได้รับยาโอเซลทามิเวียร์ภายใน 48 ชั่วโมง ก็สามารถลดการติดเชื้อและอาการไม่รุนแรง
โอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) เป็นยาต้านไวรัสในรูปแคปซูล 75 มก. และผงยาสำหรับละลาย 12 มก./มล. ที่ มีฤทธิ์เป็น Neuraminidase Inhibitor ใช้รักษาและป้องกันไข้หวัดใหญ่ชนิด A และ B ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการติดต่อระหว่างคน เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะถูกดูดซึมโดยตับเข้าต่อต้านทำลายเชื้อไวรัส
คำแนะนำการใช้เพื่อรักษาและป้องกันไข้หวัดใหญ่ควรเป็นไปตามอาการและภายใต้การสั่งของแพทย์นับว่าปลอดภัยที่สุด ปริมาณ ที่ใช้โดยทั่วไป ทามิฟลู® ใช้รักษาไข้หวัดใหญ่ในผู้ป่วยที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไปคือ 75 มก. วันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 5 วัน ขนาดการใช้สำหรับเด็กอายุต่างๆ คำนวณตามน้ำหนัก และ ทามิฟลู® ใช้ป้องกันไข้หวัดใหญ่ มาตรฐานปริมาณการใช้สำหรับรักษาไข้หวัดใหญ่ในเด็กอายุ 13 ปีขึ้นไป 75 มก. วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 6 สัปดาห์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
หนาวแล้ว ออกแคมป์กันเถอะ! ⛺ เตาแก๊สปิคนิค พกพาสะดวก ออก Outdoor ได้สบายๆ รุ่น KJ-101 แถมฟรี!!กล่องเก็บเตา ในราคา ฿244https://s.shopee.co.th/7fJQKGPCjr?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 13,353 ครั้ง เปิดอ่าน 10,892 ครั้ง เปิดอ่าน 13,778 ครั้ง เปิดอ่าน 15,842 ครั้ง เปิดอ่าน 15,679 ครั้ง เปิดอ่าน 78,619 ครั้ง เปิดอ่าน 12,628 ครั้ง เปิดอ่าน 18,228 ครั้ง เปิดอ่าน 10,886 ครั้ง เปิดอ่าน 23,356 ครั้ง เปิดอ่าน 11,185 ครั้ง เปิดอ่าน 16,919 ครั้ง เปิดอ่าน 11,015 ครั้ง เปิดอ่าน 5,048 ครั้ง เปิดอ่าน 10,716 ครั้ง เปิดอ่าน 75,909 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 13,699 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 1,801 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 12,637 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 33,253 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 16,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 17,110 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 14,331 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 8,819 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,258 ครั้ง |
เปิดอ่าน 22,234 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,216 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,479 ครั้ง |
|
|