Advertisement
ความแตกต่างระหว่าง แก๊ส LPG และ ก๊าซ NGV
ความแตกต่างระหว่างก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas Vehicles: NGV) และก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas: LPG)
• ก๊าซธรรมชาติ (NGV) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนซึ่งมีองค์ประกอบของก๊าซมีเทน (Methane) เป็น ส่วนใหญ่ จึงเป็นก๊าซที่มีน้ำหนักเบากว่าอากาศ การขนส่งไปยังผู้ใช้จะขนส่งผ่านทางท่อในรูปก๊าซภายใต้ ความดันสูง จึงไม่เหมาะสำหรับการขนส่งไกลๆ หรืออาจบรรจุใส่ถังในรูปก๊าซธรรมชาติอัดโดยใช้ความดันสูง หรือที่เรียกว่า CNG แต่ปัจจุบันมีการส่งก๊าซธรรมชาติในรูปของเหลวโดยทำก๊าซให้เย็นลงถึง –160 องศา เซลเซียส จะได้ของเหลวที่เรียกว่า Liquefied Natural Gas หรือ LNG ซึ่งสามารถขนส่งทางเรือไปที่ไกลๆ ได้ และเมื่อถึงปลายทางก่อนนำมาใช้ก็จะทำให้ของเหลวเปลี่ยนสถานะกลับเป็นก๊าซอย่างเดิม ก๊าซธรรมชาติมีค่า ออกเทนสูงถึง 120 RON จึงสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในยานยนต์ได้
• ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ซึ่งมีองค์ประกอบของก๊าซโพรเพน (Propane) เป็นส่วนใหญ่ จึงเป็นก๊าซที่หนักกว่าอากาศ โดยตัว LPG เองไม่มีสี ไม่มีกลิ่นเช่นเดียวกับก๊าซธรรมชาติ แต่เนื่องจากเป็นก๊าซที่หนักกว่าอากาศจึงมีการสะสมและลุกไหม้ได้ง่าย ดังนั้น จึงมีข้อกำหนดให้เติมสารมีกลิ่น เพื่อเป็นการเตือนภัยหากเกิดการรั่วไหล LPG ส่วนใหญ่จะใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือนและกิจการอุตสาหกรรม โดยบรรจุเป็นของเหลวใส่ถังที่ทนความดันเพื่อให้ขนถ่ายง่าย นอกจากนี้ ยังนิยมใช้แทนน้ำมันเบนซินในรถยนต์ เนื่องจากราคาถูกกว่า และมีค่าออกเทนสูงถึง 105 RON
หมายเหตุ
1. ค่าออกเทน (Octane number) หมายถึง หน่วยการวัดความสามารถ ในการต้านทานการน็อคของเครื่องยนต์
2. RON (Research Octane Number) เป็นค่าออกเทนที่มีประสิทธิภาพต่อต้านการน็อคในเครื่องยนต์หลายสูบ ที่ทำงานอยู่ในรอบของช่วงหมุนต่ำ โดยใช้เครื่องยนต์ทดสอบมาตรฐานภายใต้สภาวะมาตรฐาน 600 รอบ ต่อนาที
3. MON (Motor Octane Number) เป็นค่าออกเทนที่มีประสิทธิภาพต่อต้านการน็อคในเครื่องยนต์หลายสูบ ในขณะทำงานที่รอบสูง โดยใช้เครื่องยนต์ทดสอบมาตรฐานภายใต้สภาวะมาตรฐาน 900 รอบต่อนาที
หมายเหตุ : ค่าแรงดันก๊าซที่มา:การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
GasThai.Com คัดลอกเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะเพื่อการศึกษาและให้ความรู้ผู้สนใจ
ขอขอบคุณ การปิโตรเลี่ยมแห่งประเทศไทย
LPG ขณะอยู่ในถังมีสถานะเป็นของเหลว มีค่าแรงดัน 100-130 PSI ( ปอล์นต่อตารางนิ้ว) หรือ 4-6 BAR
NGV ขณะอยู่ในถังมีสถานะเป็นก๊าซ มีค่าแรงดัดประมาณ 2200-2800 PSI หากเติมเต็มๆจะถึง 3000 PSI หรือ 200 BAR
Advertisement
เปิดอ่าน 21,376 ครั้ง เปิดอ่าน 19,082 ครั้ง เปิดอ่าน 3,996 ครั้ง เปิดอ่าน 25,152 ครั้ง เปิดอ่าน 13,190 ครั้ง เปิดอ่าน 20,969 ครั้ง เปิดอ่าน 21,115 ครั้ง เปิดอ่าน 55,957 ครั้ง เปิดอ่าน 23,041 ครั้ง เปิดอ่าน 19,310 ครั้ง เปิดอ่าน 20,007 ครั้ง เปิดอ่าน 33,406 ครั้ง เปิดอ่าน 36,719 ครั้ง เปิดอ่าน 41,742 ครั้ง เปิดอ่าน 22,156 ครั้ง เปิดอ่าน 25,671 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 21,415 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 61,471 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 20,007 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 1,403 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 25,639 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 63,800 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 16,401 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 15,869 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,068 ครั้ง |
เปิดอ่าน 24,977 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,520 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,579 ครั้ง |
|
|