ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เลาะโลกหุ่นยนต์ เวิลด์โรโบคัพ"09


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,165 ครั้ง
Advertisement

เลาะโลกหุ่นยนต์ เวิลด์โรโบคัพ"09

Advertisement



แอ๊กชั่นกับหุ่นยนต์ไทย

สร้างความภูมิใจให้กับประเทศไทยอีกครั้งในสนามแข่งขันหุ่นยนต์ระดับโลก "เวิลด์ โรโบคัพ 2009" ที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 13 โดยปีนี้จัดที่เมืองกราซ ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.-5 ก.ค. ที่ผ่านมา

ครั้งนี้เด็กไทยยังคงคว้าแชมป์หุ่นยนต์กู้ภัยได้เป็นสมัยที่ 4 ติดต่อกัน โดยทีมไอราป_โปร นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

และคว้าแชมป์หุ่นยนต์เตะฟุตบอล รุ่นสมอลล์ ไซซ์ ลีก ให้ไทยเป็นสมัยที่สอง โดยทีม สคูบา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขณะที่อันดับ 3 เป็นทีมเยาวชนไทยเช่นกัน คือทีม พลาสมา ซี นิสิตจากรั้วจุฬาลง กรณ์มหาวิทยาลัย แชมป์เก่าปีที่แล้ว

ส่วนนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ จอมเกล้าธนบุรี ซึ่งเข้าร่วมแข่งขันหุ่นยนต์เสมือนคน หรือหุ่นยนต์ฮิวแมนอยด์ด้วย แม้จะพลาดโล่รางวัล แต่ประสบการณ์ที่ได้รับถือเป็นรางวัลที่ดีเยี่ยมให้กับทุกคน

สนามแข่งขันหุ่นยนต์ระดับโลกนี้ แบ่งเป็น 4 ประเภท เริ่มจากหุ่นยนต์เตะฟุตบอล (RoboCup Soccer) หุ่นยนต์กู้ภัย (RoboCup Rescue) หุ่นยนต์ทำงานบ้าน (RoboCup@ Home) และหุ่นยนต์ระดับเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี (RoboCup Junior) แต่ละประเภทแบ่งออกเป็นหลายรุ่น หลายลีก

รวมแล้วมีผู้สมัครร่วมแข่งขันกว่า 300 ทีม จาก 30 ประเทศทั่วโลก

เรียกได้ว่าคนรักหุ่นยนต์ไม่ควรพลาด เพราะงานนี้มีผู้ร่วมแข่งขันตั้งแต่วัยเด็กเยาวชน นักศึกษา นักวิจัย จนถึงระดับโปรเฟสเซอร์ ที่รักในสิ่งเดียวกัน

สนามแข่งขันแบ่งเป็น 2 ฮอลล์ใหญ่ ให้วิ่งดูตามความสนใจ ต่างจากสนามแข่งขันที่เมืองซูโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน เจ้าภาพ ปีที่แล้ว ซึ่งมีเพียงฮอลล์เดียว

นอกจากจะตื่นตากับการแข่งขันที่มีมากมายให้เลือกชม ยังได้เห็นความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เช่น หุ่นยนต์ขนาดจิ๋ว "นาโนโรบอต" รูปทรงสี่เหลี่ยม ที่ทุกคนต้องหยุดมองด้วยความสงสัย ด้วยขนาดเพียง 1-1.5 ไมโครเมตร ถ้าจะมองให้ชัดต้องมองผ่านกล้องจุลทรรศน์เท่านั้น

เจ้านาโนโรบอตนี้จะเป็นประโยชน์ในวงการแพทย์ ช่วยเรื่องการรักษาพยาบาล ตอนนี้สามารถควบคุมให้เคลื่อนที่ไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกายรวมถึงกระแสเลือด สำรวจเซลล์มะเร็ง เข้าไปถ่ายภาพในร่างกาย และสามารถบังคับในระยะไกลได้

1.เด็กไทยแชมป์โลก

2.หุ่นยนต์เตะฟุตบอล

3.มุมนิทรรศการ

4.กองเชียร์หลากรุ่น

5.มิตรภาพ

6.ส่องดูนาโนโรบอต

7.เด็กๆ สนใจหุ่นยนต์กู้ภัยสัญชาติไทย

8.หุ่นยนต์ฮิวแมนอยด์ของไทย

9.วาร์ดาห์ อินาม



ในอนาคตมันจะมีสมองเป็นของตัวเอง ตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง และจะเห็นมันในรูป Nanosoccer Field of Play ด้วย

ไปที่สนามหุ่นยนต์ทำงานบ้าน (RoboCup@Home) สนามแข่งขันที่จำลองขอบเขตบ้านขึ้นมาหลังหนึ่ง แยกซอยเป็นห้องต่างๆ ทั้งห้องนั่งเล่น ห้องครัว ห้องน้ำ หุ่นยนต์สูงเกือบเท่ามนุษย์จะเดินเคลื่อนที่ไปมาในบ้านจำลอง

"หุ่นยนต์ต้องเคลื่อนที่โดยไม่ชน จดจำหน้าตาเจ้าของบ้านได้ว่าใครเป็นใคร มีการทักทาย ตอบโต้ และแลกเปลี่ยนข้อมูลบางอย่างซึ่งเป็นคำสั่งพื้นฐาน หุ่นยนต์ต้องหยิบจับสิ่งของ เช่น จาน ชาม หรือค้นหาสิ่งของมาได้ตามคำสั่ง การแข่งขันประเภทนี้มีการพัฒนาที่รุดหน้ามากใน 3 ปีที่ผ่านมา การหยิบจับสิ่งของตอนนี้เป็นเรื่องง่าย มันสามารถหยิบของใส่ไมโครเวฟได้แล้ว ถือเป็นการยกระดับและผลักดันให้มีหุ่นยนต์ที่บริการในบ้านมากยิ่งขึ้น" ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ นายกสมาคมวิชาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทยกล่าว

มองขึ้นไปเหนือเพดาน สะดุดตากับ "BRIM" บอลลูนสีขาวลูกใหญ่ เวลาทำงานต้องมีคนบังคับอยู่ด้านล่าง เหมือนการเล่นรถบังคับวิทยุ

"BRIM" จะติดตั้งกล้องไว้ และบังคับให้ลอยไปมาเพื่อบันทึกภาพมุมสูงในสนามแข่งขัน แต่ข้อเสียของมันคืออ่อนไหวกับลม เมื่อมีการเปิดปิดประตูจะเคลื่อนที่ไปได้ไม่เสถียร

ด้านในสุดเป็นสนามแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัย นอกจากจะคึกคักแล้ว สิ่งที่ได้เห็นคือ Flying Robot หรือที่เรียกว่า ARIEL GUAD-ROTER สีดำ ทำจากวัสดุพลาสติกไนลอน ที่มีความเหนียว รูปร่างหน้าตาเหมือนเฮลิคอปเตอร์ ติดใบพัด 4 อัน บินทรงตัวนิ่งๆ ทั้งยังติดกล้องถ่ายภาพมุมสูง การส่งสัญญาณภาพชัดเจน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในอนาคตที่จะใช้บินไปดูสถานการณ์ภาพรวมของเหยื่อผู้เคราะห์ร้าย สภาพพื้นผิว เส้นทางโดยรวมก่อนส่งหุ่นยนต์กู้ภัยตะลุยเข้าไปในภาคพื้นดิน

สนามแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยในปีถัดไป จะนำ "Flying Robot" นี้มาใช้ซึ่งจะทำให้การแข่งขันเข้มข้นและตื่นตายิ่งขึ้น

หุ่นยนต์โรบอตแอดโฮม



สำหรับคนขี้เมื่อย SEGWAY ช่วยได้ เราจะเห็นยานพาหนะเหล่านี้อยู่ในสนาม เกิดจาก SEMICONDUCTOR ของนักวิจัยเอ็มไอที ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ คล้ายรถจักรยาน แม้จะมีล้อเดียวแต่การทรงตัวไม่ยาก แต่หากมีน้ำหนักของผู้โดยสารความยากจะเพิ่มขึ้นในการเคลื่อนที่

SEGWAY มีใช้แล้วที่บ้านเรา เช่น ที่สวนจตุจักร หรือสนามบินสุวรรณภูมิ ในบางรุ่นสามารถวิ่งในทางขรุขระได้

เดินโฉบไปเรื่อยๆ ถ้าไม่สังเกตให้ดีจะมองไม่เห็นสนามแข่งขัน กลุ่มซีมูเลชั่นลีก อ.จักรกฤษณ์ขยายความให้ฟังว่า เป็นการแข่งขันแบบจำลองผ่านคอมพิวเตอร์ เราจะไม่สัมผัสโดยตรงแต่จะปล่อยให้คอมพ์แข่งขันกันเอง ผ่านการป้อนข้อมูลและมีการนำเสนอผ่านดิสเพลย์ ซึ่งเป็นโลกของคอมพิวเตอร์ล้วนๆ เหมือนการเล่นเกม ข้อดีคือไม่ผูกติดกับกลไก ไม่ต้องสั่งหุ่นยนต์ให้วิ่งจริงๆ ฉากทำได้ตามจินตนาการ ในอนาคตสมาคมวิชาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทยจะผลักดันให้เกิดการแข่งขันขึ้น

แวะไปสนามแข่งขันของเหล่าเซียนเอไอรุ่นเยาว์วัยไม่เกิน 18 ปี หรือโรโบคัพ จูเนียร์ กันบ้าง

การแข่งขันคล้ายกับผู้ใหญ่ มีทั้งหุ่นยนต์เตะฟุตบอล แต่ขนาดของสนามเล็กกว่า ประมาณ 2x3 เมตร หุ่นยนต์มีขนาดใหญ่ขึ้น การประมวลผลไม่ซับซ้อนมากนัก

อีกสนามที่โดดเด่นเห็นจะเป็น แดนซิ่ง โรบอต (Dancing Robot) ซึ่งนอกจากหน้าตาน่ารักแล้ว ยังออกสเต็ป วาดลวดลายตามจังหวะสนุกๆ สร้างรอยยิ้มได้ไม่น้อย

"แดนซิ่ง โรบอตยังปลูกฝังการทำงานและการอยู่ร่วมกันกับหุ่นยนต์ที่จะนำมาใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น และมีการพัฒนาต่อเนื่องหลายปี" อ.จักรกฤษณ์กล่าวเพิ่มเติม

ไปคุยกับทีมเข้าร่วมแข่งขันจากแต่ละชาติกันบ้าง

เริ่มที่ วาร์ดาห์ อินาม หญิงแกร่งหัวหน้าทีม SAVIOUR จากปากีสถาน ทีมหุ่นยนต์กู้ภัยน้องใหม่ ที่มีฝันอยากให้หุ่นยนต์ช่วยเหลือชีวิตมนุษย์ได้ในสถานการณ์จริง กล่าวว่าทราบมาก่อนว่าประเทศไทยได้แชมป์มาหลายปีซ้อน แต่ไม่ได้ไปดูการแข่งขัน เพราะยุ่งอยู่กับการซ่อมแซมหุ่นยนต์ แต่เมื่อเห็นผลคะแนนแล้วตกใจมาก เพราะทีมไทยสามารถเก็บเหยื่อได้สูงสุด หุ่นยนต์ของทีมไทยมีดีไซน์ที่ดี ดูจากการนำวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่นำมาใช้ ผสมผสานกันอย่างลงตัวจนกลายเป็นโรบอตที่ดีมากๆ

ด้าน ยาเซอร์ จิตซาซาน ทีม AVA จากมาเลเซีย กล่าวว่า หุ่นยนต์กู้ภัยของทีมไทยนั้นตัวใหญ่และแข็งแรงมาก หุ่นยนต์แมนวลยังเก็บเหยื่อได้มากอีกด้วย Yaser ยังถามต่อด้วยความสงสัยว่าได้ยินจากคณะกรรมการว่าในประเทศไทยมีทีมหุ่นยนต์กู้ภัยกว่า 100 ทีม จริงหรือ เพราะที่บ้านเขามีเพียงไม่กี่สิบทีมเท่านั้น และครั้งนี้เป็นการลงแข่งขันครั้งแรกซึ่งหุ่นยนต์เขายังไม่มีอินโนเวชั่นมากนัก

อ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา ผู้ช่วยอธิการ บดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่าการแข่งขันหุ่นยนต์เตะฟุตบอลในประเทศไทยจะเริ่มเดือนสิงหาคมนี้ ทีมสคูบาจะไม่ร่วมลงแข่งขัน เพื่อเปิดโอกาสให้ทีมน้องใหม่เข้าร่วม แต่เราจะเดินสายไปยังต่างประเทศตามคำเชิญของต่างชาติ เช่น ไชน่า โอเพ่น ที่จีน ในเดือนพ.ย. ตามด้วย แจแปน โอ เพ่น โรโบคัพ ซ็อกเกอร์ ในเวลาใกล้กัน ที่ญี่ปุ่น รวมถึงเรากำลังสร้างหุ่นยนต์ฮิวแมนอยด์เพื่อร่วมลงในลีกอื่นๆ ด้วย

"สถาบันการศึกษาต่างๆ ควรสนับสนุนให้เยาวชนที่สนใจเข้าชมการแข่งขัน เพราะสมองของเขาสามารถดูดซับเทคโนโลยีได้รวดเร็ว ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับการพัฒนาประเทศ"

รศ.ดร.วรา วราวิทย์ ที่ปรึกษาสมาคมวิชาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรม ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอม เกล้าพระนครเหนือ กล่าวว่า การจัดเวิร์ก ช็อปหุ่นยนต์กู้ภัยในไทยจะมีขึ้นปลายปีนี้ หลังการแข่งขันไทยแลนด์ เรสคิว โดยจะมีตัวแทนจากทีมต่างๆ ทั่วโลกมาร่วมแลกเปลี่ยน

"เชื่อว่าจะมีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ หรือเป็นการอวดดีซึ่งหมายถึงแสดงสิ่งที่ดีที่สุดออกมา เพื่อในปีหน้าหุ่นยนต์ของทุกทีมจะมีศักยภาพสูงขึ้น"

เวิลด์ โรโบคัพ 2010 จะมีขึ้นใกล้บ้านเรานี่เอง คือประเทศสิงคโปร์

เชื่อว่า "ทีมไทยแลนด์" จะยังคงเป็นที่จับตามองของเซียนโรบอตทั่วโลกอีกครั้ง


โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 923 วันที่ 14 ก.ค. 2552

ขายดีมากครับคุณครู (พร้อมส่ง) เครื่องเคลือบบัตรA4 รุ่นSL200 เครื่องเคลือบกระดาษA4 A3 A5 ABSป้องกันการ์ด ในราคา ฿368 - ฿999 ที่ Shopee

https://s.shopee.co.th/4VLvxbi7ho?share_channel_code=6


เลาะโลกหุ่นยนต์ เวิลด์โรโบคัพ"09เลาะโลกหุ่นยนต์เวิลด์โรโบคัพ09

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ดวงดี อย่าเหลิง

ดวงดี อย่าเหลิง


เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง
..>>> ทางแก้กรรมของชาวพุทธ ...

..>>> ทางแก้กรรมของชาวพุทธ ...


เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง
ฟ้องด้วยภาพโดย HandWriting?

ฟ้องด้วยภาพโดย HandWriting?


เปิดอ่าน 7,170 ครั้ง
รุนแรงเพราะรัก

รุนแรงเพราะรัก


เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง
Mind mapping

Mind mapping


เปิดอ่าน 7,427 ครั้ง
ฝึกอ่านอักษรนำ หนูหริ่ง

ฝึกอ่านอักษรนำ หนูหริ่ง


เปิดอ่าน 7,315 ครั้ง
ฝาก...รอยยิ้ม

ฝาก...รอยยิ้ม


เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

.ง า ขี้ ม่ อ น..คื อ อ ะไ ร.... ?

.ง า ขี้ ม่ อ น..คื อ อ ะไ ร.... ?

เปิดอ่าน 7,168 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๕  การแต่งคำประพันธ์
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๕ การแต่งคำประพันธ์
เปิดอ่าน 7,408 ☕ คลิกอ่านเลย

กลอนขนมไทย
กลอนขนมไทย
เปิดอ่าน 7,866 ☕ คลิกอ่านเลย

การบำบัดโรคด้วยเสียงดนตรี ....
การบำบัดโรคด้วยเสียงดนตรี ....
เปิดอ่าน 7,180 ☕ คลิกอ่านเลย

รูปหายาก 5
รูปหายาก 5
เปิดอ่าน 7,165 ☕ คลิกอ่านเลย

   10  ข้อ...ของการอดอาหารผิดวิธี
10 ข้อ...ของการอดอาหารผิดวิธี
เปิดอ่าน 7,153 ☕ คลิกอ่านเลย

มารู้จัก  การ กัวซากันเถอะ  !!
มารู้จัก การ กัวซากันเถอะ !!
เปิดอ่าน 7,154 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

วิธีป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์
วิธีป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์
เปิดอ่าน 12,573 ครั้ง

10 เรื่องจริงเกี่ยวกับความฝัน ที่คุณอาจไม่เคยรู้
10 เรื่องจริงเกี่ยวกับความฝัน ที่คุณอาจไม่เคยรู้
เปิดอ่าน 21,941 ครั้ง

วิธีปลูกหอมญี่ปุ่น
วิธีปลูกหอมญี่ปุ่น
เปิดอ่าน 40,838 ครั้ง

ขั้นตอนการใช้งานระบบลงทะเบียนและติดตามประเมินผลครูผู้เข้ารับการพัฒนา
ขั้นตอนการใช้งานระบบลงทะเบียนและติดตามประเมินผลครูผู้เข้ารับการพัฒนา
เปิดอ่าน 36,646 ครั้ง

เคล็ดลับการออกกำลังกายให้ได้ผล
เคล็ดลับการออกกำลังกายให้ได้ผล
เปิดอ่าน 48,480 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ