ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ระบบย่อยอาหาร


วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดอ่าน : 206,781 ครั้ง
Advertisement

ระบบย่อยอาหาร

Advertisement

ระบบย่อยอาหารประกอบด้วยอวัยวะหลาย ๆ อวัยวะ ได้แก่ ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ตับ ตับอ่อน ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ซึ่งอวัยวะบางอวัยวะไม่มีการย่อยแต่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหาร 

        การย่อยอาหาร (Digestion) หมายถึงการแปรสภาพของสารอาหารที่มีโมเลกุลใหญ่และละลายน้ำไม่ได้ ให้เป็นสารอาหารที่มีโมเลกุลเล็กลงจนสามารถละลายน้ำ และดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยอาศัยกระบวนการทางเชิงกลและกระบวนการทางเคมี

        ระบบย่อยอาหารประกอบด้วยอวัยวะหลาย ๆ อวัยวะ ได้แก่ ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ตับ ตับอ่อน ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ซึ่งอวัยวะบางอวัยวะไม่มีการย่อยแต่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหาร

        การย่อยอาหารเป็นกระบวนการที่ทำให้อาหารที่มีโมเลกุลใหญ่ มีขนาดเล็กลงจนสามารถซึมเข้าสู่เซลล์ได้


         การย่อยมี 2 ลักษณะคือ


        1. การย่อยเชิงกล เป็นการย่อยอาหารโดยไม่ใช้เอ็นไซม์มาช่วย เป็นการบดเคี้ยวให้อาหารมีขนาดเล็กลง ได้แก่ การบดเคี้ยวอาหารในปาก

        2. การย่อยทางเคมี เป็นการย่อยที่ต้องใช้เอ็นไซม์ (หรือน้ำย่อย)มาช่วย ทำให้โมเลกุลของอาหารมีขนาด เล็กลง เช่นการเปลี่ยนโมเลกุลของแป้งเป็นน้ำตาล


         สารและเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการย่อยในกระเพาะอาหาร

        1. HCl มี pH อยู่ระหว่าง 0.9-2.0

        2. Pepsinogen เป็น Proenzyme ต้องได้รับ HCl จึงเปลี่ยนเป็นเพปซิน (Pepsin) สำหรับย่อยโปรตีนเป็นเพปไทด์ ซึ่งประกอบด้วยกรดอะมิโน 4-12 โมเลกุล

        3. Prorennin เป็น Proenzyme ต้องได้รับ HCl จึงเปลี่ยนเป็นเรนนิน (Rennin) สำหรับย่อยโปรตีนในน้ำนม

        4. Lipase สร้างขึ้นในปริมาณน้อยมาก เพราะสภาพเป็นกรดของกระเพาะอาหาร

        5. Gastrin เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากเซลล์ในกระเพาะอาหาร ทำหน้าที่กระตุ้นให้ Parirtal Cell หลั่ง HCl ออกมา

        การย่อยอาหารจะเริ่มตั้งแต่อาหารเข้าสู่ร่างกายโดยผ่าน ปาก ลิ้น ฟัน ต่อจากนั้นอาหารจะถูกลืนผ่านลำคอไปตามอวัยวะต่าง ๆ ตามลำดับ ดังนี้

         ปาก เป็นอวัยวะแรกของระบบย่อยอาหาร ภายในปากจะมีส่วนประกอบดังนี้

        -ฟัน ทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหารให้มีขนาดเล็กลง
        -ต่อมน้ำลาย จะขับน้ำลายซึ่งมีน้ำย่อย ไทอะลิน(Ptyalin) ออกมาคลุกเคล้ากับอาหาร และช่วยใน การย่อยอาหารจำพวกแป้งให้เป็นน้ำตาล
        -ลิ้นจะช่วยกวาด,คลุกเคล้าอาหาร และส่งอาหารที่เคี้ยวลงสู่หลอดอาหาร
         -หลอดอาหาร ท่อลำเลียงอาหารอยู่ด้านหลังของหลอดลมและทะลุกระบังลมไปต่อกับปลายบนของกระเพาะอาหาร ทำหน้าที่ลำเลียงอาหารที่เคี้ยวแล้วลงสู่กระเพาะอาหาร โดยการบีบรัดของผนังกล้ามเนื้อ
          -กระเพาะอาหาร เป็นอวัยวะที่ต่อจากหลอดอาหาร ในกระเพาะจะขับน้ำย่อยเพบซิน(Pepsin) ซึ่งจะย่อยอาหารโปรตีนเป็นส่วนใหญ่ โดยจะใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง จากนั้นจะส่งต่อไปยังลำไส้เล็ก
          -ลำไส้เล็ก การย่อยและดูดซึมสารอาหารส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่นี่ ลำไส้เล็กมีรูปร่างเป็นท่อยาวประมาณ 15 ฟุต มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว แบ่งออกเป็น 3 ตอน คือตอนต้น ตอนกลาง และตอนปลาย ภายในลำไส้เล็กจะมีส่วนที่ยื่นออกมาจำนวนมากเรียกว่า วิลไล(villi) ภายในวิลไลมีเส้นเลือดฝอยและน้ำเหลืองช่วยดูดซึมอาหารที่มีโมเลกุลขนาดเล็กเข้าสู่เซลล์ การย่อยอาหารในลำไส้เล็ก เป็นการย่อยขั้นสุดท้าย ซึ่งต้องอาศัยเอ็นไซม์จากลำไส้เล็กเองและจากตับอ่อนในการย่อยอาหารประเภทแป้ง ไขมัน และโปรตีน นอกจากนี้ยังมีน้ำดีซึ่งสร้างโดยตับและสะสมไว้ในถุงน้ำดี อาหารที่ย่อยแล้วซึมเข้าไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อาหารที่เหลือจากการถูกดูดซึมจะเคลื่อนที่ลงสู่ลำไส้ใหญ่ เพื่อถ่ายออกจากร่างกายเป็นอุจจาระต่อไป
          -ลำไส้ใหญ่ เป็นส่วนสุดท้ายของระบบย่อยอาหาร อยู่ติดกับลำไส้เล็ก ตรงรอยต่อจะมี ไส้ติ่ง(Vermiform appendix)ติดอยู่ ในลำไส้ใหญ่จะไม่มีการย่อยอาหาร แต่จะมีการดูดซึมน้ำเข้าสู่ร่างกาย และส่งกากอาหารที่เหลือออกสู่ทวารหนักเป็นอุจจาระ


         การปฏิบัติตนในการดูแลรักษาอวัยวะในระบบ

        1. รับประทานอาหารให้ครบทุกประเภทในแต่ละมื้อ และรับประทานอาหารแต่พอควร ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป โดยเคี้ยวอาหารให้ละเอียด

        2. รับประทานอาหารที่สะอาด และปรุงสุกใหม่ ๆ

        3. ไม่รับประทานอาหารพร่ำเพรื่อ จุกจิก และทานให้ตรงเวลา

        4. อย่ารีบรับประทานอาหารขณะกำลังเหนื่อย

        5. ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีรสจัดจนเกินไป

        6. ถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาและสม่ำเสมอ

 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

 

🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) ในราคา ฿129 คลิกเลย👇👇

https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6


ระบบย่อยอาหาร

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

พายุสุริยะ คืออะไร

พายุสุริยะ คืออะไร


เปิดอ่าน 26,941 ครั้ง
สัตว์ในป่าชายเลน

สัตว์ในป่าชายเลน


เปิดอ่าน 198,250 ครั้ง
ปรากฏการณ์เรือนกระจก

ปรากฏการณ์เรือนกระจก


เปิดอ่าน 46,963 ครั้ง
ปรากฏการณ์ในโฟโตสเฟียร์

ปรากฏการณ์ในโฟโตสเฟียร์


เปิดอ่าน 14,069 ครั้ง
บรรยากาศ (ATMOSPHERE)

บรรยากาศ (ATMOSPHERE)


เปิดอ่าน 23,166 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ฮือฮา! นักวิทยาศาสตร์ค้นพบคลื่นความโน้มถ่วง-ทฤษฎี 100 ปีที่แล้วของไอน์สไตน์!

ฮือฮา! นักวิทยาศาสตร์ค้นพบคลื่นความโน้มถ่วง-ทฤษฎี 100 ปีที่แล้วของไอน์สไตน์!

เปิดอ่าน 21,642 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ดวงอาทิตย์ ส่องแสงได้อย่างไร
ดวงอาทิตย์ ส่องแสงได้อย่างไร
เปิดอ่าน 56,108 ☕ คลิกอ่านเลย

สำรวจหาดาวเคราะห์แบบเดียวกับโลก มี 100 พันล้านดวง
สำรวจหาดาวเคราะห์แบบเดียวกับโลก มี 100 พันล้านดวง
เปิดอ่าน 20,478 ☕ คลิกอ่านเลย

ข้าวกล้องงอก
ข้าวกล้องงอก
เปิดอ่าน 18,750 ☕ คลิกอ่านเลย

พบหลุมยุบยักษ์ปริศนาที่ไซบีเรีย นักวิทย์เร่งหาคำตอบ
พบหลุมยุบยักษ์ปริศนาที่ไซบีเรีย นักวิทย์เร่งหาคำตอบ
เปิดอ่าน 13,891 ☕ คลิกอ่านเลย

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบิดาวิทยาศาสตร์ไทย
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบิดาวิทยาศาสตร์ไทย
เปิดอ่าน 25,420 ☕ คลิกอ่านเลย

ปรากฏการณ์ Earth Shine คืออะไร
ปรากฏการณ์ Earth Shine คืออะไร
เปิดอ่าน 37,478 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

การใช้ AI ในการแก้โจทย์ PISA เครื่องมือ ChatGPT ผู้ช่วยสำหรับครู
การใช้ AI ในการแก้โจทย์ PISA เครื่องมือ ChatGPT ผู้ช่วยสำหรับครู
เปิดอ่าน 1,645 ครั้ง

การเป็นพลเมืองที่ดี
การเป็นพลเมืองที่ดี
เปิดอ่าน 3,931 ครั้ง

5 อภิมหาม้าเหล็ก ทุบสถิติ วิ่งเร็วที่สุดในโลก
5 อภิมหาม้าเหล็ก ทุบสถิติ วิ่งเร็วที่สุดในโลก
เปิดอ่าน 11,391 ครั้ง

เปิดผลวิจัยคนไทยติดแชต กระทบงาน-การเรียนหนัก
เปิดผลวิจัยคนไทยติดแชต กระทบงาน-การเรียนหนัก
เปิดอ่าน 10,871 ครั้ง

เครื่องหมาย *, # ในโทรศัพท์มีไว้ทำไม
เครื่องหมาย *, # ในโทรศัพท์มีไว้ทำไม
เปิดอ่าน 23,246 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ