Advertisement
|
|
พระที่นั่งอนันตสมาคม
The Ananto samakhom Throne Hall
พระที่นั่งอนันตสมาคม อาคารหินอ่อนศิลปะสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก เริ่มก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ด้วยทรงมีพระราชประสงค์ที่จะสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่รับรองแขกเมือง และใช้สำหรับประชุมปรึกษาราชการแผ่นดิน ภายหลังจากที่สร้างพระที่นั่งอัมพรสถานในเขตพระราชวังดุสิตเสร็จแล้วในปี พ.ศ.2449 โดยทรงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เป็นแม่กองจัดการก่อสร้าง ให้นายมาริโอ ตามานโญ (Mario Tamagno) สถาปนิกชาวอิตาลีเป็นนายช่างออกแบบ และนายอันนิบาลเล ริกอตติ (Annibale Rigotti) เป็นสถาปนิก
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2451 พร้อมทั้งพระราชทานชื่อพระที่นั่งว่า "พระที่นั่งอนันตสมาคม" ซึ่งเป็นชื่อพระที่นั่งองค์หนึ่งภายในพระอภิเนาว์นิเวศน์ พระบรมมหาราชวังที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ด้วยสภาพที่ทรุดโทรมยากแก่การบูรณะจึงได้รื้อลง
พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นพระที่นั่งที่สร้างขึ้นตามสถาปัตยกรรมแบบอิตาเลียนเรอเนสซองส์ (Italian Renaissance) และแบบนีโอคลาสสิก (Neo Classic) ภายนอกประดับด้วยหินอ่อนซึ่งสั่งมาจากเมืองคาราร่า (Carara) ประเทศอิตาลี องค์พระที่นั่งเป็นอาคารหินอ่อนสองชั้น มีโดมสูงใหญ่อยู่ตรงกลาง และมีโดมเล็กๆ โดยรอบอีก 6 โดม ส่วนกว้างขององค์พระที่นั่งประมาณ 47.49 เมตร ส่วนยาวประมาณ 112.50 เมตร และส่วนสูงประมาณ 47.49 เมตร ชั้นบนเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ แบ่งเป็นท้องพระโรงหน้าและท้องพระโรงหลัง บนเพดานโดมของพระที่นั่ง มีภาพเขียนสีปูนเปียกขนาดใหญ่ที่สวยงามจำนวน 6 ภาพ แสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของพระบรมราชจักรีวงศ์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 6 เป็นฝีมือการวาดของศาสตราจารย์ แกลิเลโอ คินี (Galileo Chini) และนายซี.ริโกลี (Mr. C. Riguli) มีแนวทางการวาดภาพการใช้สีแสงเงาตามแบบจิตรกรรมตะวันตกที่ดูมีมิติ แตกต่างกับจิตรกรรมไทยดั้งเดิมที่เน้นการเขียนลายเส้นสวยๆ ให้สีแบนๆ
การก่อสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม ได้ดำเนินการจนสำเร็จบริบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อปี พ.ศ.2458 รวมใช้เวลาในการก่อสร้างทั้งสิ้น 8 ปี งบประมาณค่าก่อสร้างตามราคาในสมัยนั้นคิดเป็นเงิน 15 ล้านบาทช่วงแรก พระที่นั่งอนันตสมาคมนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้สอยในฐานะเป็นท้องพระโรงของพระราชวังดุสิต เช่น เป็นมงคลสถานจัดงานพระราชพิธี หรืองานพระราชทานเลี้ยงในวโรกาสสำคัญต่างๆ ครั้นเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ.2475 แล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นที่ประชุมรัฐสภาของชาติ
งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งจัดขึ้นภายในพระที่นั่งอนันตสมาคม
ต่อมาภายหลัง แม้ว่าจะมีการก่อสร้างห้องประชุมของรัฐสภาขึ้นใหม่ที่บริเวณถนนอู่ทองในแล้ว รัฐสภาก็ยังได้รับพระราชทานพระมหากรุณาให้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมต่อไปในฐานะอาคารรัฐสภาของชาติ ทุกคราวที่มีรัฐพิธีเปิดสมัยประชุมสภา พระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทุกวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี นอกจากนี้ รัฐสภาก็ได้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นสถานที่จัดงานพระราชพิธีและรัฐพิธีเสมอมา
พระที่นั่งอนันตสมาคม ตั้งเด่นสง่างามอยู่ปลายถนนราชดำเนิน เขตดุสิต ในอาณาบริเวณเดียวกับพระที่นั่งวิมานเมฆ ใกล้กับพระบรมรูปทรงม้า สวนอัมพร และสวนสัตว์ดุสิต ส่วนมากเรามักจะมองเห็นด้านหน้าของพระที่นั่ง จากทางลานพระบรมรูปทรงม้า แต่ประตูทางเข้าชมจะอยู่ด้านหลัง ซึ่งจะเข้าได้จากทางถนนอู่ทองใน ตรงข้ามสวนสัตว์ดุสิต หรือทางถนนราชวิถี คือเข้าผ่านทางพระที่นั่งวิมานเมฆแล้วเดินชมพระที่นั่งอื่นมาเรื่อยๆ
|
|
|
ข้อมูลเพิ่มเติม
|
ถนนอู่ทองใน แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 |
|
0-2244-1549, 0-2244-1557-60 |
|
0-2244-1558 |
|
เปิดให้เข้าชมภายในได้ในวันเด็ก (เสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมของทุำกปี) |
|
สาย 16, 18, 23, 70, 72, 503, 505, 509 |
|
บริเวณด้านหน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม |
|
สามารถถ่ายรูปได้ |
|
พระบรมรูปทรงม้า, พระที่นั่งวิมานเมฆ, พระที่นั่งอัมพรสถาน, พิพิธภัณฑ์กองทัพบกเฉลิมพระเกียรติ, พิพิธภัณฑ์ฯ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ฯ, รัฐสภา, วังปารุสกวัน, วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม, วัดโสมนัสวิหาร, สวนสัตว์ดุสิต, สวนอัมพร, หมุดคณะราษฎร์ |
|
คลิกดูแผนที่ตั้งของพระที่นั่งอนันตสมาคม
|
https://www.myfirstbrain.com/AroundTheCity_View.aspx?Id=56056
ภาพประกอบจาก google
วันที่ 13 ก.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 11,191 ครั้ง เปิดอ่าน 7,149 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,134 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,420 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 4,240 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,012 ครั้ง |
เปิดอ่าน 113,249 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,320 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,944 ครั้ง |
|
|