ขอกล่าวนิด ๆ ขอพูดหน่อย ๆ
การเกษตรที่อาศัยธรรมชาติที่พึ่งพาซึ่งกันและกันโดยเฉพาะการเกษตรในปัจจุบัน ที่ต้องการพัฒนาและแก้ไขเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกับพืชและสัตว์ เพราะที่ผ่านมาสารเคมีที่ตกค้างในพืชที่คนนำมาบริโภค ทำให้มีผลกระทบต่อร่างกาย ตลอดจนสภาพแวดล้อม หรือชีวิบริเวณเป็นอย่างมาก ฉะนั้นควรที่จะหันมาสนใจในเรื่องการเกษตรธรรมชาติที่ปลอดจากสารเคมี ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ย สารกำจัดหรือป้องกันศัตรูพืช ที่ได้มาจากธรรมชาติรอบตัวเรา ซึ่งจะเป็นการลดต้นทุนการผลิต แล้วยังปลอดภัยในเรื่องของสุขภาพอนามัยของผู้ผลิตและผู้บริโภคอีกด้วย
เอกสารนี้ได้นำความรู้การปุ๋ยหมักชีวภาพ การทำน้ำหมักจุลินทรีย์จากพืชสดสีเขียวและจากผลไม้ที่สามารถหาหาวัตถุดิบในท้องถิ่นทั่ว ๆ ไปได้ แต่ผลที่ได้คุ้มค่าเกิดประโยชน์เป็นอย่างดียิ่ง และขอขอบคุณคนของแผ่นดิน ชุมชนดินหนองแดนเหนือ ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานีตลอดจนองค์การแพลนแห่งประเทศไทยที่สนับสนุนด้านงบประมาณในการฝึกอบรมครู นักเรียน ผู้ปกครอง เกี่ยวกับการเกษตรแบบยั่งยืน กสิกรรมไร้สารพิษ ชีวิตยั่งยืน พื้นดินจะอุดมชั่วลูก ชั่วหลานสืบไป.....................
การทำน้ำหมักจากพืชสดสีเขียว
ส่วนประกอบ
1. ผักบุ้ง หน่อกล้วย หน่อไม้ อย่างละ 2 กิโลกรัม หรือถ้าหาไม่ได้ครบ ก็ใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง จำนวน 6 กิโลกรัม
2. ใบเขียว ๆ พืชตระกูลถั่ว ต่าง ๆ จำนวน 2 กิโลกรัม
3. น้ำตาบทรายหรือกากน้ำตาย จำนวน 4 กิโลกรัม
4. หัวเชื้อน้ำจุลินทรีย์ 10 ช้อนแกง (ไม่มีก็ได้)
วิธีหมัก
นำผักบุ้ง หน่อไม้ หน่อกล้วย และใบพืชมาหั่นตามขวาง ขนาด 3 – 5 เซนติเมตร นำไปคลุกกับน้ำตาลทรายหรือกากน้ำตาล จากนั้นนำไปบรรจุในถังพลาสติกแล้วปิดปากถังให้สนิทพอประมาณ หมักไว้ในที่ร่มไม่ให้โดนแดด ประมาณ 7 – 15 วัน จะได้น้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์ จึงกรองเอาแต่น้ำเก็บไว้ใช้ ส่วนกากให้นำไปใช้ผสมทำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยพืชสดต่อไปได้
การเก็บรักษา
ควรเก็บไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกแสงแดด เพราะจุลินทรีย์จะตาย ถ้ามีกลิ่นเหม็น ให้เติมน้ำตาลลงไปแล้วปิดฝาเหมือนเดิม กลิ่นจะหายไป ถ้าเป็นฝ้าสีขาวลอยหน้าแสดงว่าน้ำหมัก หมักได้ผลดี คือเกิดราขาว เป็นราที่เป็นประโยชน์ แต่หากเป็นสีดำ เหม็น แสดงว่าเป็นราดำ คืออาหารไม่พอ ให้เติมน้ำตาลหรือกากน้ำตาล
การนำไปใช้ ของน้ำหมักจากพืชสีเขียว
· ปรับโครงสร้างดิน ใช้น้ำหมัก 1 ส่วนต่อน้ำ 100 ส่วน รดราดดิน แล้วคลุมด้วยฟาง ก่อนการปลูกพืช 7 วัน
· ใช้เป็นหัวเชื้อทำปุ๋ยหมัก ใช้น้ำจุลินทรีย์ 3 ช้อนแกง ต่อน้ำ 15 ลิตร และเติมน้ำตาลทรายหรือกากน้ำตาล 3 ช้อนแกงนำไปรดกองปุ๋ย
· ใช้บำบัดน้ำเสีย กลิ่นเหม็น น้ำจุลินทรีย์ 1 ส่วนต่อน้ำตาล 1 ส่วน น้ำ 10 ส่วน
· ใช้เร่งให้พืชเติบโต แข็งแรง ด้านทานโรคและแมลง ใช้น้ำจุลินทรีย์ 3ช้อนแกงต่อน้ำ 1 ปี๊บหรือ 20 ลิตร ฉีดพ่นหรือรดราดบริเวณรอบต้นพืช
“ ไม่มีคนยากจน ในหมู่ของคนที่ขยัน”
การทำน้ำหมักจากผลไม้
ส่วนประกอบ
· กล้วยน้ำว้าสุก มะละกอสุก ฟักทองแก่ อย่างละ 2 กิโลกรัม ถ้าหาไม่ได้ครบทั้ง 3 ชนิดอาจใช้อย่างใดอย่างหนึ่งแทนก็ได้
· น้ำตาลทรายหรือกากน้ำตาล 3 กิโลกรัม
· น้ำเชื้อจุลินทรีย์จากผลไม้10 ช้อนแกง(ไม่มีก็ได้)
วิธีหมัก
ใช้ผลไม้ทั้งผล ไม่ต้องล้าง ไม้ต้องปลอกเปลือก หั่นตามขวาง หนา 3 – 5 เซนติเมตร การหมัก และการเก็บรักษาก็ทำเช่นเดียวกับน้ำหมักจากพืชสดสีเขียว
ประโยชน์ของน้ำหมักจากผลไม้
มีประโยชน์เหมือนน้ำหมักจากพืชสดสีเขียว
1. ใช้เร่งผล เพื่อเพิ่มความหวาน เร่งราก หัว เหง้าของพืชให้อวบสมบูรณ์
2. ใช้ผสมกับน้ำจุลินทรีย์จากพืชสดสีเขียว โดยใช้ให้ตรงกับช่วงเจริญของต้นไม้ช่วงต่าง ๆ
การนำไปใช้ของน้ำหมักจากผลไม้ ใช้ได้เช่นเดียวกับการหมักจากพืชสดสีเขียว หรือจะนำไปใช้ร่วมกันทั้งสองชนิดโดยใช้สูตรตามตารางดังนี้
สูตร
|
ระยะของพืช
|
น้ำหมัก
จากพืช
(ส่วน)
|
น้ำหมักจากผลไม้
(ส่วน)
|
1
|
เร่งการเจริญเติบโตของพืช
|
10
|
1
|
2
|
ช่วยเร่งออกดอก
|
5
|
5
|
3
|
ช่วงเร่งผล ราก หัว
|
1
|
10
|
การต่อเชื้อน้ำหมักทั้งสองประเภทเพื่อนำไปขยายให้มีปริมาณมากขึ้น โดยใช้
· น้ำหมัก 1 ส่วน
· น้ำตาลหรือกากน้ำตาล 1 ส่วน
· น้ำสะอาด 10 ส่วน
นำทั้งสามอย่างหมักรวมกันไว้ประมาณ 7 – 15 วัน หรืออาจจะนานกว่านี้ก็ได้ แต่ให้สังเกต ถ้าเป็นฝ้าขาวแสดงว่าน้ำหมักนั้นสมบูรณ์ นำไปใช้ ได้มีประสิทธิภาร แต่ถ้าเป็นสีดำมีกลิ่นเหมือน ให้เติมน้ำตาลหรือกากน้ำตาล ซึ่งมีสาเหตุมาจากอาหารให้กับจุลินทรีย์ไม่พอ
เอกสารหมาย 3 / 2550
ของฝากจาก
ครูคำโหล่ง
โรงเรียนชุมชนสงเคราะห์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษ