Advertisement
ผู้เสียหายในคดีอาญามีสิทธิในการเรียกร้องค่าสินทดแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยผู้เสียหายจะได้รู้สิทธิที่จะได้ดำเนินการให้ถูกต้องและได้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีที่เป็นผุ้เสียหาย โดยสรุป ดังนี้
มาตรา ๔๔/๑ ได้บัญญัติไว้ว่า “ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทน เพราะเหตุที่ได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกาย ชื่อเสียงหรือได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สิน อันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย ผู้เสียหายจะ ยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญา ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนก็ได้
การยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่ง ผู้เสียหายต้องยื่นคำร้องก่อนเริ่มสืบพยาน ในกรณีที่ไม่มีการสืบพยานให้ยื่นคำร้องก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดี และให้ถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและผู้เสียหายอยู่ในฐานะโจทก์ในคดีส่วนแพ่งนั้น ทั้งนี้คำร้องดังกล่าวต้องแสดงรายละเอียดตามสมควรเกี่ยวกับความเสียหายและจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่เรียกร้อง หากศาลเห็นว่าคำร้องนั้นยังขาดสาระสำคัญบางเรื่องศาลอาจมีคำสั่งให้ผู้ร้องแก้ไขคำร้องให้ชัดเจนได้
คำร้องตามวรรคหนึ่ง จะมีคำขอประการอื่นที่มิใช่คำขอบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน อันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยในคดีอาญามิได้ และต้องไม่ขัดหรือแย้งกับคำฟ้องในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ และในกรณีที่พนักงานอัยการได้ดำเนินการตามความในมาตรา ๔๓ แล้วผู้เสียหายจะยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่งเพื่อเรียกทรัพย์สินหรือราคาทรัพย์สินอีกไม่ได้”
หลักเกณฑ์ในการใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
๑. คดีที่จะยื่นคำร้อง
|
ต้องเป็นคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ หมายถึง คดีที่ผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ทำการสอบสวน เสนอสำนวนให้พนักงานอัยการพิจารณาฟ้องต่อศาล
|
๒. ศาลที่จะยื่นคำร้อง
|
หมายถึง ศาลที่พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีอาญานั้น
|
๓. ผู้มีสิทธิยื่นคำร้อง
|
ผู้ร้องต้องเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๒ (๔) หรือผู้มีอำนาจทำการแทนผู้เสียหาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๔, ๕ และ ๖ และเป็นผู้ที่มีสิทธิที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนตามกฎหมายด้วย
|
๔. ประเภทของความเสียหาย
|
เป็นความเสียหายเพราะเหตุได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือได้รับความเสื่อมต่อเสรีภาพในร่างกาย ชื่อเสียงหรือได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย
|
๕. ค่าสินไหมทดแทน
|
ได้แก่ ค่าปลงศพ ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายอื่น ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ ค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย ค่าเสียความสามารถประกอบการงาน ฯลฯ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยละเมิด
|
๖. แบบคำร้องและรายละเอียดในคำร้อง
|
คำร้องดังกล่าวต้องแสดงรายละเอียดตามสมควร เกี่ยวกับความเสียหายจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่เรียกร้อง พร้อมเอกสารหลักฐานแนบท้ายคำร้องด้วย เช่น ใบเสร็จรับเงิน, บัญชีค่าใช้จ่าย, ค่าปลงศพ, ค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ
|
๗. ระยะเวลาที่ยื่นคำร้อง
|
ผู้ร้องต้องยื่นคำร้องต่อศาลก่อนเริ่มสืบพยานหรือในกรณีที่ไม่มีการสืบพยาน ให้ยื่นก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดี
|
๘. ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย
|
การยื่นคำร้องได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียม แต่ถ้าเรียกร้องสูงเกินสมควร หรือดำเนินคดีโดยไม่สุจริต ศาลอาจมีคำสั่งให้ต้องเสียค่าธรรมเนียมก็ได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๒๕๓
|
๙. ลักษณะต้องห้ามของคำร้อง
|
- คำร้องจะมีคำขอประการอื่นที่มิใช่คำขอบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน อันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยในคดีอาญามิได้
- คำร้องต้องไม่ขัดหรือแย้งกับคำฟ้องในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์
- ในกรณีที่พนักงานอัยการได้ดำเนินการตามความในมาตรา ๔๓ แล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องเพื่อเรียกทรัพย์สินหรือราคาทรัพย์สินอีกไม่ได้
|
๑๐. การบังคับคดี
|
เมื่อศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้จำเลยขดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ร้องแล้ว ผู้ร้องจะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา จึงอาจบังคับคดีได้ตามกฎหมาย โดยติดต่อกับพนักงานบังคับคดีต่อไป ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายตามระเบียบ
|
วันที่ 10 ก.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,408 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,149 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,170 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,135 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 11,320 ครั้ง |
เปิดอ่าน 40,383 ครั้ง |
เปิดอ่าน 29,492 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,294 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,996 ครั้ง |
|
|