ท้าวแสนปม
เรื่องนี้เกิดขึ้นในสมัยที่เมืองไทยยังไม่เป็นบึกแผ่นมั่นคงเหมือนอย่างในปัจจุบัน คนเชื้อสายไทยต่างก็แยกย้ายกันอยู่ โดยมีพ่อบ้านพ่อเมืองปกครองซึ่งก็ล้วนอยู่ในอำนาจของขอม
ครั้งนั้นมีเจ้านายไทยพระองค์หนึ่งมีพระนามว่า “ เจ้าพรหม ” ทรงเป็นผู้นำที่คนไทยให้ความเตารพมาก พระองค์คอยหาโอกาสที่จะกอบกู้อิสระให้คนไทยพ้นจากอำนาจขอมเสียทีและในเวลาต่อมาอาณาจักรขอมก็เริ่มอ่อนแอลง เพราะมีชีวิตที่สะดวกสบายมานานและประมาทในความแข็งแกร่งของคนไทย
เพื่อปลดปล่อยคนไทยให้หลุดพ้นจากแอกของขอม เจ้าพรหมทรงนำกำลังที่รวบรวมไว้บุกเข้าจู่โจมขอมในทันที และประสบความสำเร็จในการเข้ายึดเมืองขอมไว้ได้ แล้วคนไทยก็ยึดครองเมืองของขอมนั้น เจ้าพรหมได้รับเชิญให้เสด็จขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า พระเจ้าพรหมแห่งเมืองเชียงแสน
ในเวลาต่อมา กษัตริย์มอญ มีพระประสงค์ที่จะขยายอาณาเขตของพระองค์จึงได้ยกทัพมาตีเมืองเชียงแสน พระเจ้าพรหมทรงเห็นว่าข้าศึกที่ยกมานั้นมีกำลังมากเกินที่จะต้านทายไว้ได้ ดังนั้นพระองค์จึงตัดสินพระทัยทิ้งเมือง และอพยพชาวพระนครมุ่งลงมาทางใต้ล่วงเข้ามาชายแดน เขตเมืองกำแพงเพชรพบซากเมืองเก่า พระองค์จึงโปรดให้ซ่อมแซมเมืองขึ้นใหม่แล้วขนานนามเมื่อว่า “ นครไตรตรึงษ์ ”
กล่าวกันว่า พระมหากษัตริย์เสวยราชย์สืบสันติวงษ์ครองเมืองเรื่อยมาจนถึง 3 ชั่วคนครั้นถึงรัชกาลที่ 3 พระเจ้าไตรตรึงษ์ทรงมีพระธิดาองค์หนึ่งมีสิริโฉมงดงามยิ่งนักนามว่า “ อุษา ” พระบิดาทรงรัก และหวงแหน พระธิดามาก จึงทรงสร้างปราสาทให้พระธิดาอยู่ต่างหาก จัดหาข้าราชบริพารคอยปรนนิบัติรับใช้อยู่ตลอดเวลา
วันหนึ่งในขณะเดินเล่นในสวนหลวงพระธิดาอานึกอยากเสวยมะเขือขึ้นมาทันที จึงสั่งพี่เลี้ยงไปนำมะเขือมาให้เสวยแต่พี่เลี้ยงก็หามะเขือไม่ได้สักผลเดียวในวัง จึงอาสาออกไปหามะเขือนอกพระราชวัง ใกล้ ๆ กับกำแพงพระราชวัง มีชายหนุ่มคนหนึ่งมีชื่อ “ แสนปม ” อาศัยอยู่ที่นั่นสาเหตุที่เขาถูกเรียกว่า
“ แสนปม ” ก็เพราะว่าเนื้อตัวของเข้าเต็มไปด้วยปุ่มปมนับแสนนับพันแต่ว่าเป็นคนขยันและร่าเริง เขาทำมาหากินด้วยการปลูกผักแล้วนำไปขายในตลาดในเมือง
แสนปมปลูกผักต่าง ไว้มากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเขือ แต่เขามีนิสัยแปลกประหลาดอยู่อย่างหนึ่งคือชอบถ่ายปัสสาวะรดต้นมะเขือที่ปลูกนั้นแล้ว ก็ทำให้มันงอกงามได้อย่างแปลกประหลาดเสียด้วยในขณะทำงานอยู่ในสวน พี่เลี้ยงของพระธิดาไปพบเข้าและขอซื้อมะเขือของเขา หลังจากได้มะเขือสมใจแล้วพี่เลี้ยงก็กลับเข้าสู่พระนครแล้วนำมะเขือที่ได้นั้นไปให้ห้องเครื่องปรุงมาถวาย แต่หลังจากเสวยมะเขือเข้าไปแล้ว พระธิดาก็ทรงครรภ์โดยมิได้สมสู่กับชายใดทั้งสิ้น
เมื่อพระธิดาของพระองค์ประสูติพระโอรสแล้ว พระเจ้าไตรตรึงษ์มีพระประสงค์จะสืบหาบิดาของพระนัดดาของพระองค์ แต่ก็ต้องรอจนพระนัดดาเจริญวัยและคลานได้เสียก่อน ในเวลาต่อมา พระเจ้าไตรตรึงษ์ทรงรับสั่งให้เป่าประกาศให้ทุกคนหาของมาถวายพระนัดดาของพระองค์ และทรงอธิฐานว่าผู้ใดก็ตามที่เป็นบิดาของกุมารนี้ เมื่อเขาถวายสิ่งใดแก่พระกุมารขอให้พระกุมารชอบสิ่งของของผู้นั้น
ในคราวนั้นแสนปมก็ถูกเรียกให้เข้าร่วมในพิธีด้วย แต่เขาไม่มีอะไรที่จะถวายพระกุมารเลยนอกจากข้าวสุกเพียงก้อนหนึ่งในมือเท่านั้น แต่ก็น่าประหลาดที่พระกุมารชอบก้อนข้าวสุกของเขาเป็นพิเศษ เหตุการณ์นี้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของคนทั้งหลายในที่นั้น ทำให้พระองค์ละลายพระทัยและอัปยศอดสูยิ่งนัก จึงรับสั่งให้ลงโทษโดยให้นำพระธิดาและพระนัดดาไปลอยแพตามแม่น้ำพร้อมกับนายแสนปม
แต่ทันทีที่แพลอยมาถึงไร่ของนายแสนปม พระอินทร์ทรงรู้เรื่องราวความทุกข์ยากของนายแสนปมด้วยความสงสารจึงปลอมตนเป็นลิง แล้วเอากลองสารพัดนึกมามอบให้นายแสนปมใบหนึ่งแล้วสั่งว่าหากปรารถนาสิ่งใดก็ให้ตีกลองใบนั้น แต่ให้ตั้งสัตย์อธิฐานได้เพียงสามครั้งเท่านั้นด้วยความปลื้มปิติอย่างยิ่ง นายแสนปมจึงตั้งอธิฐานขอให้ปมที่เกิดขึ้นทั่วตัวหายไป หลังจากตีกลองปมเหล่านั้นก็หายหมด เมื่อตีกลองครั้งที่สองก็ตั้งอธิฐานขอให้มีบ้านเมืองครอบครอง และเมื่อตีครั้งที่สาม ก็ขอให้ได้เปลทองคำสำหรับบุตรชายของตนได้นอน และแล้วแสนปมก็ได้สิ่งปรารถนาทั้งสามประการนั้น
และด้วยบุญญาธิการนี้ พระโอรสก็ได้บรรทมในเปลทองคำจึงได้นามว่า “ อู่ทอง ” แสนเองก็ได้เป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า “ เจ้าศิริชัยเชียงแสน ” ครองเมืองที่เนรมิตขึ้นนั้นและตั้งชื่อเมืองว่า “ เมืองเทพนคร ” หลังจากสิ้นพระชนม์ลง เจ้าชายอู่ทองก็ขึ้นครองราชย์แทนและทรงปกครองอยู่เป็นเวลา 6 ปีก่อนที่จะย้ายราชธานีไปอยู่ที่อยุธยา