บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชา ส 33102 พระพุทธศาสนา เพื่อเป็นการตอบวัตถุประสงค์และข้อคำถามในการวิจัย ดังนี้
1. เพื่อการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชา ส 33102 พระพุทธศาสนา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90
2. เพื่อศึกษาผลการใช้ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชา ส 33102 พระพุทธศาสนา ให้มีคะแนนสูงเกินเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 85
3. เพื่อการประเมินผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชา ส 33102 พระพุทธศาสนา
1. เพื่อการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหาจิต สำหรับนักเรียนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90
ผลการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต สำหรับนักเรียนระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชา ส 33102 พระพุทธศาสนา ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลและสรุปผล ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ผู้วิจัยขอเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลโดยแบ่งเป็น 4 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน และความต้องการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต สำหรับนักเรียนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สรุปผลได้ดังนี้
ขั้นที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน
ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน และความต้องการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลและสรุปผลดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. ผลการศึกษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้กำหนดนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาไว้ในมาตรา 81 อาทิ ให้รัฐต้องจัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางสังคมเศรษฐกิจและสังคม การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้อง ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2545 - 2559 : ฉบับสรุป บทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษามีหลายประการ จะเห็นได้ว่าการจัดการศึกษา ต้องเป็นบริการที่พอเพียงรวดเร็ว ฉับไวให้ได้ทั้งปริมาณและมาตรฐานคุณภาพ
2. ผลการศึกษาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ได้กำหนด แนวการจัดการศึกษาที่ยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ดังนั้นจึงให้ผู้เรียนมีความสามารถเรียนรู้ด้วยวิธีการต่างๆ ตามสติปัญญา ความสามารถของผู้เรียนและพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล จากรายงานผลการตรวจราชการ ประจำปีงบประมาณ 2542 ของผู้ตรวจราชการ 12 เขตการศึกษา สรุปได้ว่า คุณภาพการศึกษาอยู่ระดับต้องปรับปรุง จึงมีการปฏิรูปการศึกษาขึ้น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนการสอนทั้งของผู้เรียนและครู กล่าวคือ ครูลดบทบาทจากผู้บอกเล่าและบรรยาย มาเป็นการวางแผนจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ในหมวด 9 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ได้ให้ความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาว่าเป็นสิ่งสำคัญ ในการช่วยแก้ปัญหาด้านการศึกษาให้สำเร็จลุล่วงไปได้ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2543) มาตรา 66 ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
3. วิสัยทัศน์ของโรงเรียนสายปัญญารังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า “โรงเรียนสายปัญญารังสิตเป็นแหล่งจัดการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของชุมชน มุ่งเน้นให้นักเรียนเป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีวินัย มีคุณธรรมและพื้นฐานทางเทคโนโลยี”
4. ผลการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ขั้นตอนเกี่ยวกับการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จากเอกสารการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จากการศึกษาพบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถกำหนดเนื้อหา ตัวอักษร สีสัน เสียง ภาพ ประกอบบทเรียนได้ตามที่ต้องการ ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับบทเรียนได้ทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจบทเรียน มากขึ้น ไม่เบื่อหน่ายต่อบทเรียน
5. ผลการศึกษาความต้องการของนักเรียนด้านเนื้อหาสาระ กิจกรรมของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจากครูผู้สอน และผู้เชี่ยวชาญด้านบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กำหนดจุดประสงค์ ลำดับเนื้อหา กำหนดวิธีสอนและการวัดและประเมินผล โดยขอความคิดเห็น และข้อเสนอแนะด้วยแบบสอบถามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา จำนวน 3 คน เพื่อนำมากำหนดเนื้อหา และเสนอให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้องและปรับปรุงแก้ไข ได้เนื้อหาที่ใช้พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน
6. ผลการศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนและผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ความต้องการ ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะเน้นด้านเนื้อหาสาระให้กำหนดจุดประสงค์ กิจกรรม ลำดับเนื้อหา กำหนดวิธีสอนและการวัดและประเมินผล แล้วเสนอให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้อง และปรับปรุงแก้ไข ได้เนื้อหาที่ใช้พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ขั้นที่ 2 การพัฒนาและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
เมื่อผู้วิจัยได้สังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานที่ได้จากการวิจัยที่ 1 มาเป็นข้อมูลเพื่อสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยดำเนินการดังนี้
1. ศึกษาเนื้อหาการเรียนการสอนสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา หน่วยการเรียนรู้ พระธรรม เรื่อง การบริหารจิตและเจริญปัญญา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ช่วงชั้นที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544
2. วิเคราะห์เนื้อหาและแยกเป็นหน่วยย่อย เรื่อง การบริหารจิต ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขพร้อมทั้งกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
3. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8 เรื่อง การบริหารจิตและการเจริญปัญญา สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ช่วงชั้นที่ 3 โดยจัดลำดับก่อน หลัง เสนอให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน ประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ ด้วยแบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ ที่ผู้วิจัยได้ปรับปรุง จากแผนการสอน วิชา ส 0113 พระพุทธศาสนา ของ พิณภาคย์ บุตรจันทร์. 2544 : 470 โดยมีค่าความสอดคล้อง (I.O.C) = 4.65 มีความเหมาะสมมากที่สุดและมีคุณภาพดีเยี่ยม สามารถนำไปใช้สอนนักเรียนได้เป็นอย่างดีมาก
4. สร้างแบบทดสอบ เรื่องการบริหารจิต เป็นแบบปรนัย โดยศึกษาวิธีการสร้างแบบทดสอบ และสร้างแบบทดสอบตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม นำแบบทดสอบที่ได้ไปให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน ประเมินข้อสอบกับจุดประสงค์ก่อนนำไปใช้ เพื่อหาประสิทธิภาพ ของแบบทดสอบด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (I.O.C) = 1.00 นำแบบทดสอบมาปรับปรุงแก้ไข หลังจากผู้เชี่ยวชาญตรวจแล้ว ได้ข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 12 ข้อ ซึ่งครอบคลุมจุดประสงค์ การเรียนรู้ จากนั้นนำแบบทดสอบไปทดสอบกับนักเรียนที่ผ่านการเรียน เรื่อง การบริหารจิต นำไปหาค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบ โดยใช้สูตร รุจิร์ ภู่ภาระ และคณะ. 2526 : 120 - 121
5. ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และศึกษาการใช้งานโปรแกรม Adobe Flash และโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง
6. ออกแบบ วางแผน เขียนผังงาน (Flowchart) และสตอรี่บอร์ดในการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เพื่อให้เห็นภาพของการนำเสนอที่ชัดเจน
7. จัดทำเนื้อหา สร้างกราฟิก ถ่ายภาพนิ่ง จัดทำวีดีทัศน์ บันทึกเสียงและจัดกิจกรรม ในการเรียนสำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
8. สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามที่ออกแบบไว้ ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จำนวน 3 คน ตรวจสอบแก้ไขปรับปรุงและเสนอแนะ
9. สร้างแบบประเมินคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การสร้างแบบประเมินคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้านเทคนิคการผลิตสื่อและด้านเนื้อหา มีขั้นตอนดังนี้
9.1 ศึกษาขั้นตอนในการสร้างแบบประเมินคุณภาพ
9.2 ศึกษาคุณสมบัติที่ใช้ในการประเมินความเหมาะสมของบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน ได้แก่ ด้านเทคนิคการผลิตสื่อ คือ การนำเสนอ ภาพและตัวอักษร สีและเทคนิค ภาษาและเสียงประกอบ ด้านเนื้อหา คือ ด้านเนื้อหาและการดำเนินเรื่อง ด้านรูปภาพและภาษา ด้านเวลาเรียน ข้อดีของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่น่าชมเชย และข้อเสนอแนะที่ควรปรับปรุงแก้ไข
9.3 ออกแบบและสร้างแบบประเมินคุณภาพเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยถือเกณฑ์การให้คะแนนของแบบประเมินดังนี้
ระดับ 5 หมายถึง คุณภาพดีมาก
ระดับ 4 หมายถึง คุณภาพดี
ระดับ 3 หมายถึง ปานกลาง
ระดับ 2 หมายถึง พอใช้
ระดับ 1 หมายถึง ควรปรับปรุง
เกณฑ์ในการแปลความหมายของค่าเฉลี่ยของผลการประเมินมีดังนี้
ค่าเฉลี่ย 4.51 – 5.00 หมายถึง คุณภาพดีมาก
ค่าเฉลี่ย 3.51 – 4.50 หมายถึง คุณภาพดี
ค่าเฉลี่ย 2.51 – 3.50 หมายถึง ปานกลาง
ค่าเฉลี่ย 1.51 – 2.50 หมายถึง พอใช้
ค่าเฉลี่ย 1.00 – 1.50 หมายถึง ควรปรับปรุง
เกณฑ์การพิจารณาว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้นมีคุณภาพ ผู้วิจัยกำหนดให้มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.5 ขึ้นไป
9.4 นำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ และปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ ของผู้เชี่ยวชาญและนำไปใช้ในการประเมินคุณภาพ
10. นำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างเสร็จไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิจารณาด้านเนื้อหาและด้านเทคโนโลยีการศึกษา จำนวน 3 คน ประเมินคุณภาพ พร้อมทั้งปรับปรุงแก้ไข ตามข้อเสนอแนะ โดยใช้แบบประเมินคุณภาพสื่อการสอน
11. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิจารณาแล้วไปทดลองใช้ เพื่อหาข้อบกพร่อง และแก้ไขปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพตามขั้นตอนดังนี้
11.1 หาประสิทธิภาพของบทเรียน ขั้นทดลองรายบุคคล (One by One Testing) ทำการทดลองกับกลุ่มเป้าหมาย นักเรียนโรงเรียนสายปัญญารังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 3 คน โดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ที่มีผลการเรียนอ่อน ปานกลาง และเก่ง โดยดูจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ผ่านมาโดยใช้เกณฑ์ เกรดเฉลี่ยดังนี้ ผลการเรียนต่ำกว่า 2.50 คือ กลุ่มอ่อน ผลการเรียนอยู่ระหว่าง 2.50 -&nbs