บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ในอดีตสังคมไทยเป็นสังคมที่มีเอกลักษณ์นำความภาคภูมิใจ ลักษณะของสังคมเป็นสังคมที่เปิดกว้างยอมรับวัฒนธรรมจากภายนอก และนำมาปรับใช้ให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมและวิถีชีวิตของตนเองได้อย่างเหมาะสมและกลมกลืน เป็นสังคมที่สงบ สันติ อบอุ่น และเอื้ออาทรต่อกัน ปราศจากความขัดแย้งอย่างรุนแรง มีความยึดมั่นในหลักธรรมของศาสนาเป็นที่ตั้งและอยู่บนพื้นฐานของหลักเหตุผลและทางสายกลาง มีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนสืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน (สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2539: ก)
เมื่อประเทศไทยย่างเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 นับตั้งแต่แผนพัฒนาฉบับที่ 8 เป็นต้นมา เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในอดีต ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา กระแสโลกาภิวัฒน์อันเกิดจากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนยีสารสนเทศ ได้ผลักดันให้โลกอยู่ในภาวะไร้พรมแดนใน ด้านเศรษฐกิจ กระแสโลกาภิวัฒน์ได้ทำให้ตลาดของโลกกว้างขึ้น มีการรวมกลุ่มการทำกิจกรรมการค้าของภูมิภาคของโลก ทำให้ทุกประเทศเกิดการแข่งขันทางการค้าเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรงในด้านสังคม สังคมไทยมีโอกาสรับรู้ข่าวสารได้หลากหลาย ตามชนิดที่ตนต้องการ สามารถเรียนรู้ข่าวสาร รับข้อมูลข่าวสารได้จากกรอบโลกและภายในบ้านของตนเอง อำนาจการแพร่ของข่าวสารกระจายสู่ท้องถิ่นต่างๆ อย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันกระแสวัฒนธรรมและการเรียนรู้ จากข้อมูลข่าวสารที่ขาดการกลั่นกรองจากสื่อในรูปแบบต่างๆ ได้ก่อให้เกิดวัตถุนิยมและบริโภคนิยม ตลอดจนความฟุ่มเฟือยและฟุ้งเฟ้อในหมู่คนรุ่นใหม่ และถูกครอบงำทางวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้น จนดูประหนึ่งว่าผู้คนห่างไกลจากหลักธรรมทางศาสนามากยิ่งขึ้นทุกขณะซึ่งหากไม่มีการแก้ไขปรับปรุงส่งเสริมด้านจริยธรรมแล้ว สังคมไทยที่ดีงามตั้งแต่บรรพบุรุษย่อมถึงเวลาล่มสลาย เพราะกระแส ยุคโลกาภิวัฒน์ในยุคปัจจุบัน
ดังนั้นการพัฒนาโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของโรงเรียนสายปัญญารังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จึงมีความสำคัญกล่าวคือ ในการประเมินครั้งนี้ได้ประเมินเพียง 5 กิจกรรมย่อยเท่านั้นเพื่อให้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา โรงเรียนสายปัญญารังสิตมีความตั้งใจจะดำเนินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ เพื่อให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนได้มีคุณธรรมและจริยธรรมเป็นที่ปรากฏเกียรติและเกิดความภูมิใจในตัวเอง โดยการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้เรียนให้มีคุณภาพนำความรู้คู่คุณธรรม ช่วยให้ผู้เรียนมีความเก่ง ดี และมีสุขที่สมบูรณ์แบบ
ปัจจุบันคุณภาพของผู้เรียนทางด้านคุณธรรม จริยธรรมระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 อยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2 จึงได้ร่วมมือกับสถาบันพระพุทธศาสนา และโรงเรียน ร่วมกันพัฒนาด้านคุณธรรมและจริยธรรมให้เกิดกับตัวผู้เรียน เป็นสำคัญ
โรงเรียนสายปัญญารังสิต ตั้งอยู่ในตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี มีสภาพเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ ซึ่งประกอบไปด้วยข้าราชการครูและบุคคลากรทางการศึกษา จำนวน 100 กว่าคน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1–6 โรงเรียนสายปัญญารังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จำนวนประมาณ 1,800 คน
สภาพแวดล้อมในชุมชน ประกอบด้วยชุมชนการเคหะสินสมุทร วัดรังสิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี วิทยาเขตปทุมธานี มหาวิทยาลัยรังสิต หมู่บ้านปรีชา หมู่บ้านเมืองเอก บ้านพักอาศัย หอพัก และร้านค้าต่าง ๆ มากมาย
สภาพปัญหาของโรงเรียน เนื่องจากสภาพแวดล้อมอยู่ในชุมชนขนาดใหญ่มีสิ่งยั่วยวนใจ ไปในทางที่ไม่ดีหลายประการ ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมลดลง
ความต้องการในการพัฒนาในโรงเรียน ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้ดียิ่งขึ้น
สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา
1. สภาพแวดล้อม สถานที่ตั้งบ้านพัก ที่อยู่อาศัย
2. สถานะครอบครัว สังคมในชุมชน
3. เศรษฐกิจ รายได้ของครอบครัว
4. ปัญหาสิ่งเสพติด
ผู้รับผิดชอบ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของโรงเรียนสายปัญญารังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ขึ้นเพื่อแก้ปัญหา / พัฒนา โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของโรงเรียนสายปัญญารังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี และได้ประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของโรงเรียนสายปัญญารังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เพื่อนำผลมาใช้ในการปรับปรุง แก้ไข และพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง อันจะส่งผลให้เกิดคุณภาพของผู้เรียนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 อย่างยั่งยืน
คำถามการประเมินโครงการ
1. สภาวะแวดล้อมของโครงการเป็นอย่างไร สอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัดหรือไม่ ตรงกับความต้องการของโรงเรียนและชุมชนระดับใด ควรปรับปรุงส่วนใดบ้าง
2. ปัจจัยนำเข้าในการดำเนินโครงการเป็นอย่างไร มีความเพียงพอเพียงใด
3. กระบวนการในการดำเนินกิจกรรมเป็นอย่างไร มีประสิทธิภาพระดับใด มีปัญหาจากการดำเนินโครงการอย่างไรบ้าง
4. ผลลัพธ์ และผลกระทบในการดำเนินโครงการเป็นอย่างไร มีประสิทธิผลจากการดำเนินโครงการระดับใด
5. ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน และนักเรียนมีความพึงพอใจจากการดำเนินโครงการหรือไม่ แนวทางในการปรับปรุงโครงการควรเป็นอย่างไร
วัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ
การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของโรงเรียนสายปัญญารังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลรวม 5 ด้าน ได้แก่
(1) เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อมของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของโรงเรียนสายปัญญารังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
(2) เพื่อประเมินปัจจัยของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของโรงเรียนสายปัญญารังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
(3) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของโรงเรียนสายปัญญารังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
(4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของโรงเรียนสายปัญญารังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
(5) เพื่อประเมินผลกระทบของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของโรงเรียนสายปัญญารังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
ขอบเขตของการประเมินโครงการ
1. ขอบเขตของการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของโรงเรียนสายปัญญารังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ประเมินด้วยรูปแบบการประเมินแบบซิป โมเดล (CIPP Model) เป็นกรอบในการประเมิน ด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ผู้ประเมินได้ใช้บทประยุกต์ของ CIPP โดยประเมินเพิ่มอีก คือด้านผลกระทบของโครงการ (Impact)
เป็นการประเมินวัตถุประสงค์และรายละเอียดต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของโรงเรียนสายปัญญารังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี มีลักษณะเป็นแบบประเมินเมื่อเสร็จสิ้นการดำเนินงานโดยประเมินในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1.1 การประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) เป็นการประเมินความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของโรงเรียนสายปัญญารังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี กับนโยบายของกระทรวง กลยุทธ์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลยุทธ์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2 จุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 และวิสัยทัศน์ของโรงเรียนที่ว่าด้วย “โรงเรียนสายปัญญารังสิต เป็นแหล่ง จัดการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของชุมชนมุ่งเน้นให้นักเรียนเป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน มีวินัย มีคุณธรรมและพื้นฐานทางเทคโนโลยี” ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการวางแผนใน การกำหนดวัตถุประสงค์
1.2 การประเมินด้านปัจจัย (Input Evaluation) เป็นการประเมินเกี่ยวกับความพอเพียงของงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ บุคลากร สถานที่ ในการดำเนินโครงการตามกิจกรรมย่อยทั้ง 5 กิจกรรม เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงสร้างเพื่อกำหนดรูปแบบของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของโรงเรียนสายปัญญารังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
1.3 การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) เป็นการประเมินกิจกรรมย่อยทั้ง 5 กิจกรรม จากผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียนผู้ปกครองนักเรียน และชุมชน เป็นการตัดสินใจในด้านการประยุกต์ใช้เพื่อควบคุมการดำเนินการของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของโรงเรียนสายปัญญารังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
1.4 การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) เป็นการประเมินโครงการเกี่ยวกับความพึงพอใจในประสิทธิผลด้านผลผลิตจากการจัดกิจกรรมจากความร่วมมือของผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และชุมชนจะช่วยในการตัดสินใจเพื่อตัดสินและดูผลสำเร็จของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของโรงเรียนสายปัญญารังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
1.5 การประเมินด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) ของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของโรงเรียนสายปัญญารังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ที่มีต่อนักเรียน โรงเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และชุมชน ทั้งผลกระทบด้านบวก และด้านลบ
ขอบเขตเนื้อหาในการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของโรงเรียน สายปัญญารังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี สรุปได้เป็นแผนภูมิที่ 1 และ 2 ดังนี้
แผนภาพที่ 1 โครงสร้างของการประเมินตามแบบ CIPPI Evaluation Model
การประเมินผล
(Evaluation)
|
เพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับผลงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ
|
เพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับ
การเนินการตามโครงการ
|
เพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับ
การกำหนดโครงสร้าง
|
เพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับ
การวางแผน
|
เพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับผลกระทบของโครงการ
|
ที่มา สุรชัย วงค์คำ, ( 2543, หน้า 20 )
แผนภาพที่ 2 ขอบเขตเนื้อหาในการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
ของโรงเรียนสายปัญญารังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
สภาวะแวดล้อม
|
ปัจจัย
|
กระบวนการ
|
ผลผลิต
|
ผลกระทบ
|
- โครงการสร้างสภาวะแวดล้อม ที่ดี
- หลักการ วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
มีความสอดคล้องกัน
- การกำหนดเป้าหมาย วิธีดำเนินการระยะเวลา มีความเหมาะสมปฏิบัติได้จริง
- บรรยากาศ
- การประสานงาน
|
- จำนวนบุคลากร
- คณะกรรมการ
- งบประมาณ
- วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้
- อาคารสถานที่ ห้องปฏิบัติงาน
|
- สภาพปัญหา ความต้องการ
- กรอบแนวคิดและกำหนดจุดพัฒนา
- ความรับผิดชอบ
- การดำเนินกิจกรรมตามขั้นตอนทุกกิจกรรม
- การนิเทศติดตาม
- การประเมินผล
- การวิเคราะห์และนำผลมาพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง
การปรับปรุง
วิธีการ
|
Advertisement
เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,150 ครั้ง เปิดอ่าน 7,175 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,200 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,149 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,182 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 22,496 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,950 ครั้ง |
เปิดอ่าน 26,125 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,964 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,768 ครั้ง |
|
|