Advertisement
หยุดเหล้าเข้าพรรษา
วันหยุดติดต่อมาตั้งแต่ปลายสัปดาห์ก่อนถึงวันนี้เป็นวันที่ห้า สุดท้าย และเป็นวันเข้าพรรษา
วันสำคัญทางพุทธศาสนาของไทยที่เป็นวันรวมของพุทธศาสนิกชนทั้งปวง ได้แก่พุทธบริษัทสี่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ที่คนไทยเรียกพระสงฆ์ สงฆ์ หรือพระ เขียนเป็นสันสกฤตว่า "ภิกขุ" มีทั้งที่เป็นพระ คือผู้ที่อุปสมบทจากพระอุปัชฌาย์ สมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าทรงเป็นอุปัชฌาย์ด้วยพระองค์เอง ซึ่งขณะนั้นมีการบวชให้หญิงด้วยเช่นกัน เรียกภิกษุณี ก่อนพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ทรงห้ามบวชภิกษุณีจากนั้น (ขณะนี้มีการรื้อฟื้นภิกษุณีขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ทั้งในต่างประเทศและในประเทศ ไม่ทราบว่าทุกรูปถือศีล 227 ข้อเช่นเดียวกับภิกษุหรือไม่ อย่างไร) และที่เป็นสามเณร ถือศีล 10 ข้อ
พุทธศาสนิกชนทั่วไปที่ถือศีล 5 ศีล 8 ฝ่ายชายเรียกว่า อุบาสก ฝ่ายหญิง เรียกว่า อุบาสิกา หรือนักบวชหญิงที่เราเรียกว่า "ชี" "แม่ชี"
วันรวมทางพุทธศาสนามี 3 วัน คือวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา และวันอาสาฬหบูชา เป็นวันที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า พระสงฆ์ และพุทธศาสนิกชน กล่าวคือ วันมาฆบูชา เป็นวันที่พระสงฆ์ 1,250 รูปมาประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน ทั้งหมดเป็นสงฆ์ที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ทั้งสิ้น และเป็นสงฆ์ที่บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นอรหันต์ และเป็นวันเพ็ญ เดือน 3
วันวิสาขบูชา คือวันเพ็ญ เดือน 6 เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน
วันอาสาฬหบูชา คือเมื่อวาน อธิบายความไปแล้ว
ส่วนวันของสงฆ์ นอกจากทั้งสามวันดังกล่าว ยังมีวันสำคัญอีก 2 วัน ที่พระสงฆ์จะต้องปวารณาตนอยู่ในถิ่นที่ ไปค้างอ้างแรมที่ไหนไม่ได้ คือวันเข้าพรรษา มีกำหนด 3 เดือน ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันออกพรรษา คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ปีนี้ตรงกับวันที่ 4 ตุลาคม เป็นวันอาทิตย์
วันเข้าพรรษา คือวันที่พระภิกษุอธิษฐานอยู่ประจำในวัด หรือเสนาสนะที่คุ้มแดดคุ้มฝนได้แห่งหนึ่ง ไม่ไปค้างแรมในที่อื่นเป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งเป็นฤดูฝน
เหตุที่ต้องมีการจำพรรษาของพระภิกษุ ตามพุทธประวัติ คือเมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ เกิดเหตุการณ์ขึ้น กล่าวคือ ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งพากันกล่าวตำหนิพระสงฆ์ว่าไม่รู้จักกาลเวลายังพากันจาริกเรื่อยไปไม่หยุดแม้ในระหว่างฤดูฝน ทำให้เดินไปเหยียบข้าวกล้าของชาวนาเสียหาย ขณะที่พวกนิครนถ์นักบวชในศาสนาอื่น และฝูงนกยังหยุดพักผ่อนไม่ออกไปท่องเที่ยว
เมื่อเรื่องทราบถึงพระพุทธองค์ในเวลาต่อมา พระองค์จึงรับสั่งให้พระสงฆ์ประชุมพร้อมกันและตรัสถามจนได้ความจริง แล้วจึงทรงบัญญัติเรื่องการเข้าพรรษาไว้ว่า
"อนุชานามิ ภิกขเว วสฺสงฺ อุปคนฺตุง" แปลว่า "ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้พวกเธออยู่จำพรรษา"
ครั้นกาลเวลาผ่านเลยมา ส่วนที่มากับวันเข้าพรรษาอีก 2 อย่างคือ เทียนพรรษาที่ภิกษุต้องใช้จุดในอุโบสถระหว่างพรรษา ใช้แทนแสงสว่างในยามค่ำคืน และผ้าอาบน้ำฝน สำหรับภิกษุสามเณรใช้ผลัดอาบน้ำฝนไม่ให้ประเจิดประเจ้อ จึงมีประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาถวายวัด และถวายผ้าอาบน้ำฝนพร้อมกันไปด้วย
ขณะเดียวกัน พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย โดยเฉพาะคนไทย นิยมให้บุตรหลานที่เป็นชายเมื่ออายุครบบวช คือ 20 ปีบริบูรณ์ได้มีโอกาสบวชเรียนในบวรพุทธศาสนา ได้ใช้โอกาสเข้าพรรษา 3 เดือนนี้ให้ลูกหลานผู้ชายบวช เรียกว่าบวช 3 เดือน หรือบวชในพรรษา ผู้เข้ารับการอุปสมบทในห้วงนี้จะได้ปวารณาอยู่ในพรรษา 3 เดือน และส่วนใหญ่จะอยู่รับกฐินภิญโญโมทนาให้เสร็จก่อนจึงลาสิกขาออกมาปฏิบัติหน้าที่การงานต่อไป
สำหรับพุทธศาสนิกชนบางส่วน อาศัยกาลเข้าพรรษานี้ ลด ละ เลิก อบายมุขทั้งปวง เช่น หยุดเหล้าเข้าพรรษา บ้างนิยมเข้าวัด รักษาศีล ฟังธรรม เจริญจิตภาวนา ละเว้นจากการประพฤติชั่วทั้งปวง
ไม่ว่าจะเป็นการบวชลูกผู้ชายที่อายุครบบรรลุนิติภาวะ ไม่ว่าจะถือศีลกินเพล ไม่ว่าจะ ลด ละ เลิก อบายมุขทั้งปวง โดยเฉพาะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด และบุหรี่ ล้วนแต่เป็นกุศลทั้งสิ้น ขออนุโมทนา
http://www.matichon.co.th
คอลัมน์ โลกสองวัย
โดย บางกอกเกี้ยน
วันที่ 8 ก.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,130 ครั้ง เปิดอ่าน 7,128 ครั้ง เปิดอ่าน 7,129 ครั้ง เปิดอ่าน 7,127 ครั้ง เปิดอ่าน 7,131 ครั้ง เปิดอ่าน 7,131 ครั้ง เปิดอ่าน 7,133 ครั้ง เปิดอ่าน 7,131 ครั้ง เปิดอ่าน 7,132 ครั้ง เปิดอ่าน 7,129 ครั้ง เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง เปิดอ่าน 7,130 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,132 ครั้ง เปิดอ่าน 7,128 ครั้ง เปิดอ่าน 7,130 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,126 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,128 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,127 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,130 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,129 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,130 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,127 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 8,670 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,300 ครั้ง |
เปิดอ่าน 5,505 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,976 ครั้ง |
เปิดอ่าน 24,283 ครั้ง |
|
|