งานบวชนับว่าเป็นธรรมเนียมประเพณีของชาวไทย ที่นับถือพระพุทธศาสนา เพราะผู้ที่มั่นคงในพระพุทธศาสนา มีจุดมุ่งหมายให้บุตรของตนได้เป็นศาสนทายาท สืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวต่อไป อีกประการหนึ่งคือ ต้องการปลูกฝังบุตรของตนได้เรียนรู้หลักของพระศาสนา เพื่อจะได้นำไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตการครองเรือนต่อไป (ที่มา)
เมื่อชายไทยครบอายุครบ20ปีบริบูรณ์ก็ จะถึงเกณฑ์บวช โดยมากชายไทยนิยมบวชก่อนที่จะแต่งงานเพราะถือว่าบิดามารดาจะได้ผลบุญอานิสงส์มากกว่าการบวชหลังแต่งงานแล้ว
ครั้งเมื่อตกลงใจจะบวชก็จะมีการบอกกล่าวให้ญาติพี่น้องมิตรสหายให้ทราบว่าจะทำการอุปสมบทในวันนั้นวันนี้ ข้างฝ่ายบุตรก็จะไปหาเจ้าอาวาสที่วัด เจ้าอาวาสผู้ซึ่งเป็นอุปัชฌาจารย์ก็จะสอนให้ท่องบทสวดขานนาคก่อน
ชาวพื้นเมืองจะเรียกวันก่อนบวชนี้ว่า "วันมื้อเต้า" โดยเจ้าภาพและญาติมิตรสหายก็จะมาช่วยกันตระเตรียมงานไว้ ในวันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันรวมเรียกว่า "วันมื้อโฮม" ญาติพี่น้องทั้งหลายก็จะมาร่วมในงานอย่างพร้อมหน้าพร้อมตากันทีเดียว
นาคที่จะอุปสมบทจะแต่งตัวด้วยผ้าแพรพรรณให้สมควรแก่ฐานะ ครั้นได้ฤกษ์ดีก็นำนาคเข้าขบวนแห่ตรงไปที่วัด ถ้าเป็นเจ้าภาพที่มีฐานะก็จะจัดขบวนแห่อย่างใหญ่โต มีเถิดเทิง กลองยาว และการละเล่นเล็กๆน้อยๆร่วมขบวนแห่ ส่วนนาคจะต้องเดินไปหรือขี่คอ หรือนั่งบนช้างหรือม้าก็ได้ สุดแล้วแต่ฐานะเจ้าภาพ (ที่มา)
ได้ร่วมงานบวชนาคลูกชายของพี่สาวที่เคารพนับถือกัน....สะดุดตากับพานบายศรีรูปพญานาค สะดุดใจในคำสูตรขวัญของพ่อพราหมณ์ ที่ล้วนไพเราะ กินใจ ให้ความระลึกถึงผู้มีพระคุณ นามว่า แม่ได้เป็นอย่างดี
แม้ว่าสังคมปัจจุบันจะละเลยบางประเพณีอันดีงาม หากจะมองแล้ว งานอุปสมบทก็คือการปลูกฝังให้คนดิบ เป็นคนสุก เรียนรู้ธรรม ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ให้รู้จักหลักของศาสนา ไม่ว่าจะฐานะ ยากจน ร่ำรวย แต่พ่อแม่ทุกคนก็ล้วนหวังที่จะได้เห็นชายผ้าเหลืองของบุตรชาย
ไม่ว่าจะเป็นสังคมของคนไทย คนจีน ล้วนแต่ชื่นชมกับการมีบุตรชาย....เพราะอะไร?